Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเเสดงพื้นเมือง4ภาค, แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะนาฏศิลป์ วัฒนธรรมพื้นเมืองพื้…
การเเสดงพื้นเมือง4ภาค
ภาคใต้
-
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ :หนังตะลุง เป็นการแสดงมหรพพื้นบ้านที่นิยมแพร่หลายทั่วไปในทุกจังหวัดภาคใต้ แสดงโดยการเชิดตัวแผ่นหนังที่กำหนดทำขึ้นเป็นตัวละครในเรื่อง ตัวหนังที่เชิดนี้ทำด้วย หนังวัวหรือหนังแพะ ตอกเป็นลายฉลุลวดลายงดงาม แล้วใช้ไม้ชักเชิดให้เคลื่อนไหวท่าทางไปกับบทพากย์ เรื่องที่นำมาแสดงเป็นเรื่อง รามเกียรติ์ และเรื่องอื่นๆที่นายหนังแต่งขึ้น เองผูกเป็นเรื่องราว
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงมีดังนี้
1.กลองตุ๊ก 2.ฆ้องคู่ 3.โหม่ง 4.ซอด้วงหรือปี่ 5.ทับ (โทน) 6.ฉิ่ง
วัฒนธรรมพื้นเมืองภาคใต้:เพลงนาเป็นการละเล่นที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นในจังหวัดชุมพรเป็นครั้งแรก ดังคำกล่าวที่ว่า “ เพลงนาชุมพรกาพย์กลอนนครศรีธรรมราช ” นับว่าเป็นเพลงพื้นบ้านที่มีขับร้องกันอย่างแพร่หลายเมื่อครั้งในอดีตมีการสืบทอดกันมาอย่างช้านาน และมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ปัจจุบันเพลงนากำลังจะสูญหายไป เนื่องจากประชาชนในจังหวัดชุมพรได้มีการเปลี่ยนแปลงอาชีพจากการทำนาเป็นการปลูกพืชชนิดอื่นแทน และในอดีตผู้ที่ร้องเพลงนาได้มีจำนวนไม่มาก อีกทั้งยังขาดผู้สืบทอดศิลปะการแสดงเพลงนา
วัฒนธรรมพื้นเมืองภาคใต้
เพลงบอก คือการแสดงชนิดหนึ่งของไทย เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้บริเวณจังหวัดภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง อันได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสงขลา นิยมเล่นในวันตรุษสงกรานต์ เป็นการบอกข่าวของชาวบ้านทุกละแวกให้ทราบว่าใกล้ถึงปีใหม่แล้ว หรือเป็นการบอกเล่าเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ เช่นบอกข่าวเชิญไปทำบุญตามเหตุการณ์ ต่าง ๆ เรียกได้ว่า เพลงบอกเป็นความเชื่อทางวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งของชาวใต้ซึ่งคู่กับชาวบ้านมานานตั้งแต่โบราณ และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้:
โนห์ราการแต่งกายของมโนราห์ใต้ ผู้แสดงนุ่งสนับเพลาพร้อมเครื่องทรงครบชุด สวมเทริด สวมเล็บมือยาว การขับร้องใช้ประสานเสียงกัน และรับส่งเวลามีบทขับ โดยลูกคู่หน้าโรง การร้องบทใช้ด้นเป็นคำกลอนสด
-
บุคคลสำคัญภาคใต้
คล้าย พรหมเมศหรือมโนราห์คล้ายขี้หนอน เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ที่บ้านคลองเขเปล ตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวดันครศรีธรรมราช หัดรำโนรากับโนราเดช แห่งบ้านหูด่าน อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้สมรสกับนางปราง มีบุตร ๒ คน คือนายคล้อย พรหมเมศ และนางแคล้ว (พรหมเมศ) พิบูลย์ โนราคล้ายขี้หนอนเป็นโนราที่มีชื่อเสียงของเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ท่านมีชีวิตอยู่ถึงสี่แผ่นดินด้วยกัน ท่านเกิดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) และถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. ๒๔๗๖ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) สิริรวมอายุได้ ๘๐ ปี โนราคล้าย พรหมเมศ ได้ออกโรงรำมโนราห์อยู่หลายปีจนมีชื่อเสียงโด่งดัง โดยมีท่ารำที่เป็นเอกลักษณ์สวยงาม คือ "ท่าตัวอ่อน" และ "ท่ากินนรเลียบถ้ำ" จึงทำให้มีสมญานามต่อมาว่า "คล้ายขี้หนอน" (คำว่าขี้หนอนเป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง "กินนร") ดังนั้นคำว่า "โนราคล้ายขี้หนอน" ก็คือ "โนราคล้ายกินนร" นั่นเอง ที่เรียกกันเช่นนั้นเพราะว่าท่านชื่อคล้ายและรำโนราสวยงามราวกับกินนร
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ
- วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา - วัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ
ภาคกลาง
-
การแสดงพื้นบ้านภาคกลาง โดยธรรมชาติภาคกลางภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสายเหมาะแก่การเกษตรกร ทำนา ทำสวน และเป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงออกมา เช่น เต้นกำรำเคียว ระบำชาวนา รำกลองยาว รำสีนวล ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง เป็นต้น และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลางคือ การร่ายรำที่ใช้มือ แขน และลำตัว เช่นการจีบมือ ม้วนมือ ตั้งวง การอ่อนเอียงและยักตัว
บุคคลสำคัญภาคกลาง ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีชื่อจริงว่า เกลียว เสร็จกิจ ป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) ปี 2539[2] จากการเป็นแม่เพลงพื้นบ้านภาคกลางที่มีชื่อเสียง เต็มไปด้วยความสามารถในการเล่นเพลงแบบหาตัวจับได้ยาก และเมื่อหันเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่ง ก็ได้รับความนิยมอย่างสูง มีผลงานเพลงดังมากมาย ในจำนวนนั้นก็เป็นเพลงที่เกิดจากการแต่งของตัวเองด้วยหลายเพลง โดยในการนำเสนอเพลงลูกทุ่ง ขวัญจิต ศรีประจันต์ ก็ได้นำท่วงทำนองเพลงพื้นบ้านภาคกลางเข้ามาผสมผสานอย่างลงตัว
เพลงอีแซว เป็นเพลงประจำถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีอายุกว่า 100 ปี แต่เดิมนิยมเล่นในลักษณะเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหญิง โดยใช้ภาษาเรียบง่าย ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นเพลงปฏิพากย์ ร้องโต้ตอบกัน และมีความยาวมากขึ้น มีลักษณะสนุกสนาน สามารถเล่นได้ในทุกโอกาส
การเเต่งกายของภาคกลาง ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง
ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อ
ความสวยงาม
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ จะเข้ ขลุ่ย ซออู้ ซอด้วง ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ปี่ ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง เป็นต้น
การแสดงระบำชาวนา เป็นการแสดงที่ไม่มีการขับร้อง ไม่มีเนื้อเพลง มีเพียงดนตรี ประกอบจังหวะซึ่งเป็นดนตรีที่มีความสนุกสนาน เพลิดเพลินอุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการทำนาตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการเกี่ยวข้าว ฉะนั้นอุปกรณ์ที่ใช้จึงได้แก่ เมล็ดข้าว เคียวเกี่ยวข้าว รวงข้าง กระด้ง เป็นต้น ท่ารำจะเป็นท่าที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา เป็นขั้นตอนการทำนาตั้งแต่เริ่มหว่านข้าว ไถนา เกี่ยวข้าว ฝัดข้าว เป็นต้น
การแสดงเต้นกำรำเคียว เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เก่าแก่แบบหนึ่งของชาวชนบทในภาคกลางของไทย แถบจังหวัดนครสวรรค์ ที่อำเภอพยุหะคีรี ซึ่งแต่เดิมประชาชนส่วนมากยึดอาชีพการทำนาเป็นหลักและด้วยนิสัยรักสนุก ประกอบกับการเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนของไทยด้วย จึงได้เกิดการเต้นกำรำเคียวขึ้น ซึ่งในเนื้อเพลงแต่ละตอนจะสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่าง ชัดเจน ลักษณะการรำไม่อ่อนช้อยเช่นการรำไทยทั่ว ๆ ไป จะถือเอาความสนุกเป็นใหญ่ จะมีทั้ง “เต้น” และ “รำ” ควบคู่กันไป ส่วนมือทั้งสองของผู้รำข้างหนึ่งจะถือเคียว อีกข้างหนึ่งถือต้นข้าวที่เกี่ยวแล้ว จึงได้ชื่อว่า “ เต้นกำรำเคียว”
ผู้เเสดง ฝ่ายหญิงมักใส่เสื้อคอกลมหรือคอเหลี่ยมกว้าง และ
ฝ่ายชายมักใส่เสื้อคอกลมสีสันฉูดฉาด จำนวนผู้แสดงไม่มีกำหนดตายตัว โดยหน้าที่ของผู้แสดงแต่ละคนสามารถแยกได้เป็น พ่อเพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายชาย), แม่เพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายหญิง), คอต้น (ผู้ร้องนำคนแรก), คอสองและคอสาม, ลูกคู่
ภาคเหนือ
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ : เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น ที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” มีลักษณะการแสดงลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อย นุ่มนวล และสวยงาม แต่การแสดงบางชุดได้รับอิทธิพลจากศิลปะของพม่า เช่น ฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว
-
การแต่งกาย :จะแต่งกายแบบไทยชาวภาคเหนือสมัยโบราณ คือ เกล้าผมทัดดอกไม้และอุบะ นุ่งผ้าตามแบบชาวเหนือ สวมเสื้อทรงกระบอกแขนยาว คอกลมห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง และ สวมเล็บมือยาว 8 นิ้ว เว้นแต่นิ้วโป้งหรือนิ้วหัวแม่มือ
-
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ ชุด : ฟ้อนเล็บ:
เป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทางภาคเหนือโดยเฉพาะรูปแบบการฟ้อนมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบพื้นเมืองหรือฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง กระบวนท่ารำเป็นลีลาท่าฟ้อนที่มีความงดงามเพลงแต่ไม่ถือเทียน นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน สำหรับชื่อชุดการแสดงจะมีความหมายตามลักษณะของผู้แสดงที่จะสวมเล็บยาวสีทองทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ ชุด : ฟ้อนเทียน
ฟ้อนเทียน : เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ จึงอยู่ที่แสงเทียนที่ผู้แสดงถือในมือข้างละ ๑ เล่ม เข้าใจว่าการฟ้อนเทียนนี้แต่เดิมคงจะใช้เป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
บุคคลสำคัญภาคเหนือ : นางลมุล ยมะคุปต์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2448 ที่จังหวัดน่าน เมื่ออายุได้ 5 ขวบ บิดาได้พามาถวายตัวที่วังสวนกุหลาบ ฝึกหัดนาฏศิลป์ด้วยความอดทนและตั้งใจจริง รวมทั้งมีพรสวรรค์เป็นพิเศษจึงได้รับการคัดเลือกให้ฝึกหัดเป็นตัวพระตั้งแต่แรกเริ่ม ขณะที่อยู่ในวังสวนกุหลาบท่านได้รับเกียรติให้เป็นตัวนายโรงของทุกเรื่อง ทั้งละครนอก ละครใน ละครพันทาง จากนั้นท่านได้สมรสกับนายสงัด ยมะคุปต์ ซึ่งมีความสามารถในเรื่องปีพาทย์และขับเสภา นางลมุล ได้ติดตามสามีไปเป็นครูนาฏศิลป์ในคุ้มพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ได้ปรับปรุงท่ารำต่างๆ และนำหารแสดงของภาคเหนือ เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว มาเผยแพร่ที่กรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2477 เริ่มรับราชการที่โรงเรียนนาฏดุริยาคศาสตร์ ดำรงตำแหน่งครู ครูพิเศษ และตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ ประจำวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ท่านได้ถ่ายทอดท่ารำและประดิษฐ์คิดค้นท่ารำที่งดงามไว้มากมาย เช่น รำแม่บทใหญ่ รำวงมาตรฐาน รำเถิดเทิง ระบำกฤดภินิหาร ระบำโบราณคดีชุด ทวารวดี ศรีวิชัย เชียงแสน ลพบุรี ท่านเป็นผู้วางหลักสูตรนาฏศิลป์ภาคปฏิบัติให้กับวิทยาลัยนาฏศิลป และวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ ท่านจากไปอย่างสงบเมื่อ พ.ศ. 2526
ภาคอีสาน
-
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน ชุด :เซิ้งสวิง เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการฟ้อนรำที่จำลอง หรือเล่าเรื่องราวการหาสัตว์น้ำของชาวบ้าน โดยใช้สวิงเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือ แสดงคู่ชาย-หญิง ก็ได้ หรือ แสดงเพียงผู้หญิงเท่านั้น ก็ได้
เซิ้งสวิงมีการประยุกต์กันมาเรื่อยๆ และในปี พ.ศ. 2515 ทางกรมศิลปากรจึงได้นำท่าฟ้อนของท้องถิ่นอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มาปรับปรุงให้มีท่วงท่ากระฉับกระเฉงขึ้น ท่าฟ้อนจะแสดงให้เห็นถึงการออกไปหาปลา การช้อนปลา จับปลา และดีอกดีใจเมื่อหาปลาได้มากๆ ผู้แสดงฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ถือสวิงไปช้อนปลา ส่วนฝ่ายชายจะนำข้องไปคอยใส่ปลาที่ฝ่ายหญิงจับได้
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน : การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น
การแต่งกาย : ชาย สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าโพกศีรษะและคาดเอว มือถือตะข้อง หญิง นุ่งผ้าซิ่นพื้นบ้านอีสาน ผ้ามัดหมี่มีเชิงยาวคลุมเข่า สวมเสื้อตามลักษณะผู้หญิงชาวภูไท คือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอก ประดับเหรียญโลหะสีเงิน ปัจจุบันใช้กระดุมพลาสติกสีขาวแทน ขลิบชายเสื้อ คอ ปลายแขน และขลิบผ่าอกตลอดแนวด้วยผ้าสีตัดกัน เช่น สีเขียวขลิบแดง หรือสวมเสื้อกระบอกคอปิด ผ่าอก ห่มสไบเฉียงทับตัวเสื้อ สวมสร้อยคอโลหะทำด้วยเงิน ใส่กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า ผมเกล้ามวยสูงไว้กลางศีรษะ ทัดดอกไม้ มือถือสวิง
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-