Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case 1
ผู้ป่วยเด็กหญิงอายุ 14 ปี น้ําหนัก 40 กิโลกรัม ส่วนสูง 142…
Case 1
ผู้ป่วยเด็กหญิงอายุ 14 ปี น้ําหนัก 40 กิโลกรัม ส่วนสูง 142 เซนติเมตร เด็กได้รับการตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าเป็น Thalassemia ตั้งแต่อายุ 12 เดือน และมารักษาที่โรงพยาบาล มหาราช อย่างต่อเนื่อง
-
-
การรักษาด้วยยา
Lasix 30 mg v
กลุ่มยา : Diuretics
กลไกการออกฤทธิ์ : ยับยั้งการดูดกลับของโซเดียมและคลอไรด์ที่บริเวณลูปออฟเฮนเล (Loop of Henle)
ผลข้างเคียง : ปวดศีรษะ ง่วงซึม เกร็งกล้ามเนื้อ ตะคริว ความดันโลหิตต่ำ ปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ อ่อนเพลีย ภาวะของเหลวในร่างกายต่ำ ภาวะขาดน้ำ
-
MTV 1 tab oral bid pc
วิตามินเสริมที่ประกอบด้วยวิตามินหลากหลายชนิดซึ่งพบได้ในอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน โดยจะนำมาใช้ในกรณีที่อาจได้รับวิตามินจากอาหารไม่เพียงพอ หรือเพื่อรักษาภาวะขาดวิตามินของร่างกายที่อาจเกิดจากอาการป่วยบางชนิด เช่น การขาดสารอาหาร โรคเกี่ยวกับการย่อยอาหาร และอื่น ๆ เป็นต้น
-
-
การผ่าตัด Splenetomy
splenectomy คือการผ่าตัดเอาม้ามออก มี2ประเภทคือ วิธีการเปิด แบบดั้งเดิมโดยใช้แผลขนาดเต็มและวิธีการ laparoscopic ซึ่งใช้ incisions ขนาดเล็กมากการผ่าตัดผ่านกล้องส่องผ่านจะทำให้เเผลหายเร็วเเละมีเเผลขนาดเร็วกว่า
-
-
-
cpm 1 tab oral
กลุ่มยา : Antihitamine
กลไกการออกฤทธิ์ : โดยยายับยั้ง Histamine H1 receptors ที่หลอดเลือดในระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร
ผลข้างเคียง : อาจมีอาการปากแห้งคอแห้ง ไม่สบายท้อง ง่วงซึมปวดหัวใจสั่น วิงเวียน นอนไม่หลับ อ่อนล้า คลื่นไส้อาเจียน
-
-
-
ความรู้เพิ่มเติม
แนวทางการปฏิบัติตัว
รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เลือด ตับ เครื่องในสัตว์ งดยาและวิตามินที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ เช่น ferrous sulfate ,ferrous gluconate, ferrous fumalrate
การควบคุมโรค
การควบคุมโรคธาลัสซีเมียเป็นสิ่งสาคัญและจำเป็นต่อสถานการณ์โรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย เนื่องจาก จำนวนผู้ป่วยและผู้เป็นพาหะยังมีจำนวนมาก หลักการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย ดังนี้
- การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคให้แก่ผู้ป่วย ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป
- การให้คำแนะนาปรึกษาทางพันธุศาสตร์ ตรวจหายีนในผู้ที่มียีนแฝงอยู่ และการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์
-
-
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
- มีภาวะ moderate anemia
เนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย
ข้อมูลสนับสนุน
- Dx.Thalassemia
- Capillary refill > 2sec
- หน้าซีด ริมฝีปาก เยื่อบุตาซีด
- มีอาการอ่อนเพลีย
- Hb = 9 g/dl
- Hct = 26%
- พบ Serum ferritin 2300 มก./ดล.
เป้าหมายการพยาบาล : มีอาการข้างเคียงจากภาวะซีดลดลง เกณฑ์การประเมินผล :
- ไม่มีอาการแสดงของภาวะซีด ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตัวซีด
- Hb = 14-18 g/dl
- HCT = 37-47%
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมิน Vital sign ทุก 4 ชั่วโมงและประเมินค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด เพื่อประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา คือ
- Lasix 30mg v ก่อนให้เลือด เพื้อป้องกันภาวะน้ำเกิน
- CPM 1 tab oral ก่อนให้เลือด เพื่อป้องกันการแพ้เลือด
- ดูแลให้ได้รับเลือดตามแผนการรักษา คือ PRC v drip 600 ml in 4hr และประเมินอาการหลังให้เลือด
- ดูแลให้พักผ่อนและกำหนดกิจกรรมที่จำเป็นที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ เพื่อลดความต้องการในการใช้ออกซิเจนในร่างกาย
- ให้ได้รับ Folic acid 5 mg 1 tab oral ODตามแผนการรักษาเพื่อเพิ่มเม็ดเลือดแดง
- เฝ้าระวังอาการและอาการแสดงของภาวะซีด ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตัวซีด
- ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC เพื่อประเมินภาวะซีด
- มีภาวะเสี่ยงต่อเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนจากตัวนำออกซิเจนลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
- Dx.Thalassemia
- Capillary refill > 2sec
- มีอาการอ่อนเพลีย หน้าซีด ริมฝีปาก เยื่อบุตาซีด
- Hb = 9 g/dl
- Hct = 26%
เป้าหมายการพยาบาล : เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนได้เพียงพอเกณฑ์การประเมินผล :
- ไม่มีอาการแสดงของภาวะซีด ได้แก่ อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย ตัวซีด หายใจลำบาก ใช้กล้ามเนื้อช่วยหายใจ
- Hb = 14-18 g/dl
- HCT = 37-47%
- O2 sat = 95-100%
- capillary < 2 sec
- RR = 12-20 bpm
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว เพื่อประเมินอาการพร่องออกซิเจน
- จัดท่านอนศีรษะสูง 30-45 องศา เพราะทำให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลงปอดขยายตัวได้เต็มที่เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
- ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียง เพราะการพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการทำกิจกรรม ทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
- ดูแลให้ได้รับเลือดตามแผนการรักษา คือ PRC v drip 600 ml in 4hr และประเมินอาการหลังให้เลือด
- ดุแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
- Vital sign ทุก 4 ชม เพราะการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
- ประเมิน O2 saturation ทุก 4 ชม เพราะเป็นการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
- ติดตามผล lab Hb, Hct เพราะเป็นค่าท่ีแสดงถึงความเข้มข้นของเลือดในร่างกาย
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากระบบภูมิต้านทานลดลงหลังการผ่าตัดม้ามและมีภาวะซีด
ข้อมูลสนับสนุน
- Neutrophil = 31%
- S / P splenectomy เมื่ออายุ 7 ปี
- Hb = 9 g/dl
- Hct = 26%
เป้าหมายทางการพยาบาล: ไม่มีภาวะติดเชื้อเกณฑ์การประเมินผล :
- ไม่มีอาการของภาวะติดเชื้อที่ระบบต่างๆ เช่น ระบบหายใจ เช่น ไอ มีไข้ ระบบปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะแสบขัด
- V / S ไม่บ่งบอกถึงภาวะติดเชื้อ คือ BT 36.5-37.5 องศาเซลเซียส, PR 60-100 bpm, RR 12-20 bpm, BP 140 / 90 และ 90/60 mmHg
- ค่าแลปไม่บ่งบอกถึงภาวะติดเชื้อ ได้แก่ WBC 4.5-13.5 x 10 ^ 3 มม ^ 3 , Neutrophils 54-62% , lymphocytes 25-33 , Monocytes 3-7% , Basophil 0-0.75%
กิจกรรมการพยาบาล
- ดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อมและข้าวของเครื่องใช้ให้สะอาด เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
- แนะนำและสอนการล้างมือก่อน หลังการรับประทานอาหารและเข้าห้องน้ำ เพื่อลดการนำเชื้อเข้าร่างกาย
- แนะนำการได้รับวัคซีนให้ครบ โดยครั้งต่อไปที่จะได้รับอยู่ในช่วง 11-12 ปี คือ td และ HPV
- แนะนำการรับประทานอาหารที่สะอาดไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ
- แนะนำและสอนการทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังขับถ่าย จากหน้าไปหลัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- แนะนำการใส่หน้ากากอนามัยและหลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด เพื่อลดการติดเชื้อทางเดินหายใจ
- ประเมินสัญญาณชีพ เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ รวมทั้งให้คำแนะนำผู้ปกครองในการสังเกตอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น บ่งบอกภาวะติดเชื้อได้
- ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการติดเชื้อ เช่น WBC
- มีภาวะเหล็กคั่งในร่างกาย เนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกง่ายและได้รับเลือดบ่อย
ข้อมูลสนับสนุน
- Serum fereritin 2300 มก./ดล.
- รับเลือดทุก 1-2 เดือน
- S / P splenectomy เมื่ออายุ 7 ปี
เป้าหมายการพยาบาล : ภาวะเหล็กคั่งในร่างกายลดลงเกณฑ์การประเมินผล :
- อาการและอาการแสดงภาวะเหล็กเกิน เช่น ปวดบริเวณข้อต่อ โดยเฉพาะข้อนิ้ว รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย อ่อนแรง ขนตามร่างกายหลุดร่วง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิวหนังมีสีคล้ำหรือสีเทา
- Serum fereritin < 1000 มก./ดล.
กิจกรรมการพยาบาล
- ดูแลการให้ยาขับเหล็ก Desferal 1000 mg + 5% D/NSS/2 200 ml v drip in 24 hr x 7 days
- ติดตามผลแลปทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะค่า Serum fereritin
- ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชม .
- สังเกตอาการและอาการแสดงภาวะธาตุเหล็กในร่างกายสูง เช่น ปวดบริเวณข้อต่อ โดยเฉพาะข้อนิ้ว รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย อ่อนแรง ขนตามร่างกายหลุดร่วง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิวหนังมีสีคล้ำหรือสีเทา เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เครื่องในสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากเลือด หอยชนิดต่าง ๆ เมล็ดฟักทอง งาดำ งาขาว ดาร์กช็อกโกแลต เพื่อป้องกันธาตุเหล็กในร่างกายสูง
- ไม่ควรซื้อยาหรืออาหารเสริมด้วยตนเอง เนื่องจากยาบางชนิดมีธาตุเหล็กเป็นส่วนผสม ผู้ป่วยอาจได้รับธาตุเหล็กเพิ่ม
- มีโอกาสเกิดภาวะเเทกซ้อนจากการได้รับเลือด
ข้อมูลสนับสนุน
- แพทย์มีแผนการรักษาให้ PRC V drip 600 ml in 4 hr
- ผู้ป่วยต้องมาตรวจตามนัดเพื่อรับเลือดทุก 1-2 เดือน
เป้าหมายทางการพยาบาล : ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเกณฑ์การประเมินผล :
- ไม่มีอาการแสดงของภาวะติดเชื้อที่ปนมากับเลือด เช่น ไข้ หนาวสั่น
- V/S อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ BT 36.5-37.5 องศาเซลเซียส , PR 60-100 bpm , RR 12-20 bpm , BP 90/60- 140/90 mmHg
- ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับเลือด เช่น มีผื่นคัน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
กิจกรรมการพยาบาล
- ก่อนการขอ/จองเลือด
- ให้ตรวจสอบและทบทวน Order ร่วมกับแพทย์ขณะตาม Round อีกครั้งถึงชนิดและจํานวนที่ให้เพื่อจองเลือด ตรวจสอบความถูกต้องของถุงเลือดและใบคล้องเลือดให้ตรงกันทุกจุด รวมทั้งวันหมดอายุและลักษณะกับพยาบาล 2 คน
- นําเลือดนําผ้ามาห่อและวางไว้ให้อยู่ระดับอูณหภูมิห้อง ไม่เกิน 30 นาที
- คลื่นไส้ อาเจียน แจ้งให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงการปฎิบัติตัว วัตถุประสงค์และอาการข้างเคียง
- วัดสัญญาณชีพเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานไม่ควรเกิน 60 นาที
- ดูแลให้ได้รับยา CPM (chlorpheniramine maleate) 1 tab oral ก่อนให้เลือด 30 นาที
- ขั้นตอนการให้เลือด
- ตรวจสอบความถูกต้องของผู้ป่วย โดยระบุให้ตรงกัน โดยจะถามชื่อจากผู้ป่วยและคอนเฟิร์มกับญาติรวมถึงตรวจสอบ ป้ายข้อมือ ตรวจสอบชื่อสกุล HN ของผู้ป่วย
- สอบถามกลุ่มเลือดขอผู้ป่วย ปรับอัตราการไหล PCR v drip 600 ml in 4 hr อัตรการไหลอยู่ที่ 150 cc/hr ผ่านเครื่อง Infilltion pump
- ประเมินและติดตามสัญญาณชีพ ทันทีหลังให้ 15นาที x 4ครั้ง 30นาที x 2 ครั้ง 1 ชั่วโมงจนกว่าเลือดจะหมด ร่วมกับ ติดตามอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะผิดปกติ เช่น มีผื่น หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หากมีอาการผิดปกติ หยุดการให้เลือดและรายงานแพทย์ทันที
- หลังให้เลือด
- หลังจากให้เลือดประเมินสัญญาณชีพและติดตามอาการแสดง
- ติดตามระดับ HCT , Hb ซ้ำ
- มีโอกาสกระดูกหักง่าย เนื่องจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นทําให้กระดูกขยาย
ข้อมูลสนับสนุน
- S / P splenectomy เมื่ออายุ 7 ปี
- Dx. Thalassemia
เป้าหมายทางการพยาบาล : ผู้ป่วยไม่มีภาวะกระดูกหักเกณฑ์การประเมินผล :
- ไม่มีภาวะกระดูกหัก
- ค่าความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitometry) ค่า T-score มากกว่า -1
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินอาการและอาการแสดงของเด็ก การมีกระดูกไม่แข็งแรง การซักประวัติผู้เลี้ยงดูเกี่ยวกับการได้รับอุบัติเหตุ
เพื่อประเมินอาการและความเสี่ยงของภาวะกระดูกหัก
- ให้ข้อมูลและแนะนําผู้เลี้ยงดูให้ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ให้เด็กออกกําลังกายที้หนัก ลดแรงกระแทกที่อาจทําให้เกิดกระดูกหักได้
- ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา และมาติดตามอาการตามแพทย์นัด เพื่อประเมินอาการและความผิดปกติของโรค และ ประเมินความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก
- แนะนําให้เด็กได้รับประทานอาหารทสนมีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ถั่วธัญพืช และอาหารที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม และ วิตามินดีสูง เพื่อป้องกันภาวะกระดูกหัก เช่น นม ใบตําลึง ผักกวางตุ้ง ส้มเขียวหวาน มะขาม
- มีความวิตกกังวลเนื่องจากมีภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลง
ข้อมูลสนับสนุน
- Dx: Known case Thalassemia
เป้าหมายทางการพยาบาล :
เพื่อให้ผู้ป่วยและมารดาบิดายอมรับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปและมีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายเกณฑ์การประเมินผล :
- บิดามารดา หรือผู้ดูแล มีสีหน้าที่สดชื่นขึ้น
- ผู้ป่วยและมารดาบิดาเข้าใจให้ความร่วมมือในการดูแลปรับเปลี่ยนทัศนคติและยอมรับการเปลี่ยนแปลง
กิจกรรมการพยาบาล
- พยาบาลเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง (Self-help group) ที่เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีประสบการณ์การเจ็บป่วยที่คล้ายคลึงกันทำให้รับรู้ถึงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันแลกเปลี่ยนวิธีการจัดการกับปัญหาเป็นการลดแรงตึงเครียดที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจถือเป็นการเสริมพลังอำนาจทางด้านอารมณ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งซึ่งนำไปสู่การปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างเป็นสุขตามศักยภาพ
- ผู้ปกครองเพื่อนและบุคลากรด้านสุขภาพจะต้องให้การยอมรับเข้าใจในศักยภาพการปฏิบัติตัวของโรคธาลัสซีเมียและครอบครัวรวมถึงเปิดโอกาสให้ได้มีส่วนร่วมในการรักษา อีกทั้งควรกล่าวยกย่องชมเชยเมื่อมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้เด็กที่เจ็บป่วยเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
- สนับสนุนข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่เด็กโรคธาลัสซีเมียทั้งข้อมูลทางด้านการดูแลสุขภาพและการเรียนการสอน เพื่อที่จะสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคและปรับตัวให้เข้ากับการทำกิจกรรมในโรงเรียน โดยใช้กลวิธีในการให้ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย เช่น การสอนด้วยตัวพยาบาลเอง การใช้คู่มือวิดีทัศน์ สื่อออนไลน์ การสนทนากลุ่มหรือการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยช่องทางการสื่อสารเหล่านี้จะสามารถช่วยลดความวิตกกังวลของเด็กโรคธาลัสซีเมียและกล้าที่จะขอคำปรึกษาจากพยาบาล
- สนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวเพื่อน รวมถึงบุคลากรด้านสุขภาพ จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการดูแลทำให้ผู้ดูแลรับรู้ภาระในการดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมียลดลงเนื่องจากการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่มีผลต่อความสามารถในการดูแลผู้ป่วย ทำให้ผู้ดูแลเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการเผชิญกับปัญหาและให้การดูแลได้อย่างประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย
ข้อมูลสนับสนุน
เป้าหมายทางการพยาบาล : ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตัวเอง เกณฑ์การประเมินผล :
- ผู้ป่วยเข้าใจและปฏิบัติตัวดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ ดังนี้
- ด้านโภชนาการ
- งดรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เลือด น้ำเต้าหู้เพราะผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียมีการดูดซึมธาตุเหล็กสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดม้าม
- แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น อาหารนม ปลากรอบ เนื่องจากผู้ป่วยธาลัสซีเมียมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้พร่องแคลเซียม
- เเนะนำให้รับประทานผลไม้ที่มีวิตตามินซี เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะธาตุเหล็กเกิน ทำให้วิตามินซีถูกออกซิไดส์เพิ่มขึ้น อาจเกิดการพร่องวิตามินซี
- ด้านการออกกำลังกาย แนะนำและส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้กำลังใจและสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมและกีฬาที่ตนเองสนใจและถนัดตามความเหมาะสมของร่างกาย
- ช่วยเหลือผู้ปกครองในการอธิบายกับทางโรงเรียนหรือขอใบรับรองแพทย์ เพื่อให้ทางโรงเรียนทราบเมื่อทำกิจกรรมต่างๆควรให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมได้และหยุดพักถ้าเด็กรู้สึกเหนื่อย
- ให้คำแนะนำผู้ปกครองหากต้องพาผู้ป่วยไปรักษาทันตกรรม ควรปรึกษาทันตะแพทย์ เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมเนื่องจากผู้ป่วยธาลัสซีเมียอาจมีการขยายของกระดูกใบหน้าและขากรรไกร
- ให้กำลังใจผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถอยู่กับโรคนี้ได้ และดูแลรักษาตนเองให้ได้ผลดี มีการติดตามการรักษาสม่ำเสมอ
-
อ้างอิง
เกียรติกำจร กุศล และ พัสตราภรณ์ แก้วพะวงค์. (2564). เอกสารประกอบการเรียนการสอน : การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีความผิดปกติระบบโลหิตวิทยา. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
บุษบารัตน์ ศิลปวิทยากร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมีย. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา ,20(3), 12-23
วสันต์ ศรีแดน และคณะ. (2564). บทบาทพยาบาลในปัจจุบันต่อการสนับสนุนทางสังคมในวัยรุ่นโรคธาลัสซีเมีย. มหาวิทยาลัยนครพนม : วิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนี นครพนม