Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขภาพกลุ่มวัยเรียน, นางสาวเกียรติสุดา จีนจิ้ว 610105 - Coggle…
การดูแลสุขภาพกลุ่มวัยเรียน
ขั้นตอนสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
สร้างความสนับสนุนของชุมชนและท้องถิ่นเพื่อให้เกิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา
วิเคราะห์สถานการณ์
กำหนดจุดเริ่มต้นในการทำงาน
จัดทำแผนปฏิบัติการ
ติดตามและประเมินผล
พัฒนาเครือข่ายระดับท้องถิ่น
องค์ประกอบโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
นโยบายส่งเสริมสุขภาพ (School Policies)
การบริหารจัดการในโรงเรียน (School Management Practices)
โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน (School / Community Projects)
การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ (Health School Environment)
บริการอนามัยโรงเรียน (School Health Services)
สุขศึกษาในโรงเรียน (School Health Education)
โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย (Nutrition/Food Safety)
การออกกำลังกาย กีฬา นันทนาการ (Physical Exercise, Sport, Recreation)
การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม (Counseling/Social Support)
การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน (Health Promotion for Staff)
องค์ประกอบที่5 บริการอนามัยโรงเรียน
บริการอนามัยโรงเรียน หมายถึง การที่โรงเรียนจัดให้มีบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียนทุกคน ได้แก่ การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ การตรวจสุขภาพ และการรักษาพยาบาลเบื้องต้นในโรงเรียน
แนวทางการดำเนินงานในโรงเรียนระดับประถมศึกษา (ช่วงชั้นที่ 1-2 )
การตรวจสุขภาพนักเรียน
ครูอนามัย ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลที่รับผิดชอบโรงเรียน เพื่อวางแผน และนัดหมายวันเวลาเข้าบริการ
ครูอนามัยประสานงานกับครูประจำชั้นนักเรียนชั้น ป.1-ป.4 เพื่อชั่งน้ำหนัก / วัดส่วนสูง ประเมินภาวการณ์เจริญเติบโต ทดสอบสายตาโดยใช้ E - Chart แล้วลงบันทึกในบัตรสุขภาพ (ส.ศ.3) ไว้ให้เรียบร้อย
จัดเตรียมสถานที่ นำนักเรียนเข้ารับบริการตรวจสุขภาพ อำนวยความสะดวกในขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจสุขภาพนักเรียน
สำหรับนักเรียนชั้น ป.5 ขึ้นไปให้ดำเนินการ ดังนี้
ประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อขอรับแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้น ป. 5 ทุกคน ในต้นปีการศึกษา
ให้ส่งต่อแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองนี้ตามตัวนักเรียนขึ้นไปทุกชั้น ควบคู่ไปกับบัตรสุขภาพ( ส.ศ.3) เมื่อนักเรียนออกจากโรงเรียน ให้ส่งมอบแก่ผู้ปกครอง
ครูอนามัยประสานกับครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษา เพื่อให้นักเรียนชั้น ป.5 ขึ้นไปตรวจสุขภาพตนเอง ตามรายการต่างๆ ที่ระบุในแบบบันทึกฯ
ครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษา แนะนำนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพให้ไปรับบริการที่สถานบริการสาธารณสุข โดยใช้สิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพ
ตัวชี้วัด
นักเรียนชั้นป.5 ขึ้นไปตรวจสุขภาพด้วยตนเอง
นักเรียนชั้น ป.1- 4 ได้รับการตรวจสุขภาพโดยบุคลากรสาธารณสุข
การจัดบริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
จัดหายาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับห้องพยาบาลให้เพียงพอ
ครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษา ส่งต่อนักเรียนที่เจ็บป่วยไปรับบริการที่ห้องพยาบาล
ครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษา ส่งต่อนักเรียนที่ตรวจสุขภาพตนเองพบว่ามีปัญหาสุขภาพลไปขอรับคำแนะนำจากห้องพยาบาล
ครูอนามัย / ครูพยาบาลให้การดูแลรักษาเบื้องต้นแก่นักเรียนและบุคลากรที่เจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพ
ครูอนามัย / ครูพยาบาล ส่งต่อนักเรียนหรือบุคลากรที่เจ็บป่วยเกินขอบเขตการบริการของห้องพยาบาล ไปรับบริการที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลในพื้นที่รับบริการตามสิทธิ
ตัวชี้วัด
มียาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น
นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการช่วยเหลือ
นักเรียนและบุคลากรที่เจ็บป่วยเกินขอบเขตการบริการของห้องพยาบาล เช่น ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คอพอกจากการขาดสารไอโอดีน ฯลฯ ได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษา
การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ
ทดสอบสายตา ปีละ 1 ครั้ง
ตัวชี้วัดที่ 4 -7 เป็นการตรวจสุขภาพ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสำหรับนักเรียนชั้น ป.1-4 ส่วนนักเรียนชั้น ป.5 – ม.6 ให้นักเรียนตรวจตนเอง
การทดสอบการได้ยิน ( ตัวชี้วัดที่ 4 )
ตรวจสุขภาพช่องปาก ( ตัวชี้วัดที่ 5 - 7)
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ( ตัวชี้วัดที่ 8 - 12 )
ตัวชี้วัด
นักเรียนได้รับการทดสอบสายตาปีละ 1 ครั้ง
นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยบุคลากรสาธารณสุขปีละ 1 ครั้ง
นักเรียนชั้น ป.1 ได้รับการทดสอบการได้ยินด้วยเครื่องตรวจการได้ยิน
นักเรียนไม่มีฟันแท้ผุ ( ฟันที่ได้รับการอุดหรือแก้ไขแล้ว ถือว่าไม่ผุ )
นักเรียนไม่มีภาวะเหงือกอักเสบ
นักเรียนชั้น ป.1 ได้รับการฉีดวัคซีนหัดเยอรมัน คางทูม ( MMR)
นักเรียนชั้น ป.1 ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ( BCG) หรือเคยได้รับแต่ไม่มีร่องรอยให้เห็น ได้รับการฉีดวัคซีน BCG
นักเรียนชั้น ป.1 ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก (dT) และวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ( OPV) กระตุ้น
นักเรียนชั้น ป.6 ได้รับการฉีดวัคซีน dT กระตุ้น
นักเรียนชั้น ป.1 ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ( DTP) หรือเคยได้รับมาน้อยกว่า 4 ครั้ง ได้รับการฉีดวัคซีน dT 2 ครั้ง
นางสาวเกียรติสุดา จีนจิ้ว 610105