Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน ป้าต๋อย เพศหญิง อายุ 82 ปี,…
การวางแผนการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน
ป้าต๋อย เพศหญิง อายุ 82 ปี
สิ่งแวดล้อมในบ้าน
สภาพภายในบ้านและสิ่งแวดล้อมภายนอก : เป็นบ้าน 2 ชั้น
สิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน : มีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านเกือบหมดทุกอย่าง เช่น มีราวจับเวลานั่งชักโครก มีเครื่องออกซิเจน เครื่องกรองน้ำ เป็นต้น
แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ : ใช้เครื่องกรองน้ำดื่ม
ลักษณะของส้วมที่ใช้ : เป็นแบบชักโครก
การกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล : ผู้ดูแลจะมีหน้าที่ในการนำขยะไปทิ้งในถังขยะหน้าบ้าน
สภาพที่ตั้งของที่อยู่อาศัย : อยู่ใกล้ตลาดหนองมน
การคมนาคม : มีรถติดบ้างตรงตลาดหนองมน วันเสาร์อาทิตย์จะติดเป็นประจำ
สัตว์เลี้ยงที่มี : สุนัข 2 ตัว พันโกลเด้นและพันธุ์บางแก้ว
ข้อมูลผู้ดูแล
ผู้ดูแล : ชื่อ น้าขาว นามสกุล ไม่ทราบข้อมูล เพศ หญิง อายุ 50 ปี การศึกษา ประถมศึกษาปีที่4
ภาวะสุขภาพ : สุขภาพแข็งแรงดี
ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ : เป็นผู้ดูแล
ระยะเวลาที่ดูแล : ดูแลผู้สูงอายุประมาณ 15 ปี ตั้งแต่ปี 2549-2564
ระยะเวลาที่ให้การดูแลต่อวันและกิจกรรม : ผู้ดูแลจะช่วยดูแลในเรื่องการทำอาหารให้ผู้สูงอายุทาน ช่วยดูแลทำความสะอาดภายในบ้าน การกำจัดขยะ ผู้ดูแลไม่ได้ช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุมาก เนื่องจากผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรงดีและช่วยเหลือตนเองได้
ข้อมูลเกี่ยวกับแบบแผนสุขภาพ
3.แบบแผนการขับถ่าย
การขับถ่ายอุจจาระ วันละ 1-2 ครั้ง/วัน ลักษณะอุจจาระเป็นก้อนปกติ มีสีดำเล็กน้อย มีรับประทานยา Magesto-F ก่อนนอน 1 เม็ด เพื่อช่วยในการย่อยและระบาย ไม่เคยมีอาการท้องผูก หรือถ่ายลำบาก
การขับถ่ายปัสสาวะ ลักษณะปัสสาวะเหลืองใส ปัสสาวะตอนกลางวันบ่อย เนื่องจากดื่มน้ำเยอะ ปัสสาวะตอนกลางคืน 3-4 ครั้ง ไม่มีอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะไม่สุด เป็นต้น
จากการประเมินโดยการใช้แบบประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ แปลผลว่า ไม่พบภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ
สรุปปัญหาที่พบ : ไม่พบปัญหาสุขภาพในแบบแผนนี้
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
จากการประเมินโดยใช้แบบประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL) ผลการประเมินเท่ากับ 19 ซึ่งแปลผลได้ว่า ผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพาเล็กน้อยหรือไม่มีภาวะพึ่งพาเลยเมื่อเปรียบเทียบกับค่าคะแนนที่แบบประเมินกำหนด
4.2 พฤติกรรมการออกกำลังกาย
ผู้สูงอายุบอกว่าออกกำลังกายโดยการเดินวันละ 65 ก้าว ครั้งละ 30 รอบ และเดินโดยการแกว่งแขน 500 ก้าว โดยจะเริ่มออกกำลังกายเวลาประมาณ 14.30 น. และความถี่ในการออกำลังกายขึ้นอยู่กับ สภาพอากาศของแต่ละวัน
4.1 ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีคนอื่นช่วยเหลือ หรือพยุง
4.3 กิจกรรมการส่งสริมสุขภาพ และกิจกรรมอื่นๆ ที่ผู้สูงอายุเข้าร่วม
ผู้สูงอายุมีการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมอายุทุกครั้ง เช่น กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่า “ขณะที่เที่ยวจังหวัดตราด ในช่วงการเดินทางต้องมีคนช่วงพยุง”
” 3 เดือนก่อนหกล้ม หัวฟาดขอบเตียง เย็บ4เข็ม”
แบบแผนการพักผ่อนและการนอนหลับ
5.1 ปกตินอนหลับวันละ............ชั่วโมง
ผู้สูงอายุบอกว่าจะเข้านอนประมาณ 22.00-23.00 น. เนื่องจากชอบดูซีรี่ส์ และจะตื่นนอนตอน ประมาณ 09.00-10.00 น. คิดเฉลี่ยการนอนหลับในแต่ละวันประมาณ 10-11 ชั่วโมงตอนกลางคืน ผู้สูงอายุมีลุกขึ้นมาปัสสาวะ
5.2 ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
ผู้สูงอายุไม่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ สามารถนอนหลับได้ดี และหลับสนิท เวลาลุกขึ้นปัสสาวะตอน กลางคืน หรือพ่นยาเวลามีอาการจากโรคภูมิแพ้ ผู้สูงอายุสามารถกลับมานอนหลับได้ตามปกติ
5.3 การปฏิบัติตนเพื่อผ่อนคลายและส่งเสริมการนอนหลับ
ผู้สูงอายุมีการสวดมนต์ก่อนนอนทุกครั้ง
สรุปปัญหาที่พบ : ตอนกลางคืนผู้สูงอายุมีลุกขึ้นมาปัสสาวะ
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
ระดับการศึกษา อนุปริญญา มีการได้ยินที่ปกติ ไม่ใช้เครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุใส่แว่นเนื่องจากมีสายตายาว เคยผ่านการลอกตาทั้ง 2 ข้าง มีการใช้ยาหยอดตา
ผลการประเมินสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE - Thai 2002 ได้28/30 คะแนน
แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
7.1 ความรู้สึกต่อตนเองในด้านต่าง ๆ
รู้สึกว่าตนเองใช้ชีวิตคุ้มมาก ชอบขับรถซิ่ง ตอนเรียนที่โรงเรียนชลชาย สนุกกับการใช้ชีวิต และเคยเล่นลิเก ในเรื่องจันทโครพ ในเรื่องผู้สูงอายุแสดงเป็นโจร รู้สึกว่าตนเองไม่สวย แต่ก็มีคนมาจีบเยอะ
7.2 ความรู้สึกผิดปกติของตนเองที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย
รู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล เพราะลูกต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้เป็นเงินหลายบาท รู้สึกเกรงใจลูก
รู้สึกว่าตนเองเป็นภูมิแพ้ คนที่เป็นภูมิแพ้ทำกรรมไว้เยอะ
7.3 วิธีการเผชิญและแก้ไขปัญหา
ไม่ค่อยเกิดความเครียดหรือวิตกกังวล เมื่อเกิดความเครียดและวิตกกังวลก็จะปฏิบัติธรรมทุกวันพระ ทำวัดเช้า-เย็น อโหสิกรรมให้ทุกคนที่ทำกับเรารู้จักปล่อยวางเพราะจะทำให้ชีวิตเราสบาย
สรุปปัญหาที่พบ
วิตกกังวล เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล
ภูมิแพ้ ผู้สูงอายุคิดว่าเกิดจากเวรกรรม
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
8.1 บทบาทในครอบครัว - เป็นหัวหน้าครอบครัว มีลูกสาวทั้งหมด 4 คน สามีเสียชีวิต บุตร 1 คน อยู่ที่เยอรมัน บุตรอีก 2 คน มีครอบครัวแล้ว มีบุตรสาวอีก 1 คนคอยดูแลเพราะบุตรสาวยังไม่มีครอบครัว ผู้สูงอายุทำงานบ้านเองได้บ้างบางอย่าง
8.2 สัมพันธภาพในครอบครัว ภายในครอบครัวรักใคร่กลมเกลียวกันดี มีบุตรสาวคอยดูแล และบุตรคนอื่นๆก็คุยโทรศัพท์ด้วยกันบ่อย ๆ และมาเยี่ยมบ้างบางครั้ง
8.3 การเปลี่ยนแปลงบทบาทและสัมพันธภาพในครอบครัวเมื่อเจ็บป่วย -
สรุปปัญหาที่พบ : ไม่พบปัญหาสุขภาพในแบบแผนนี้
แบบแผนเพศสัมพันธุ์
9.1 การมีเพศสัมพันธุ์ เป็นหญิงหม้าย ไม่ได้แจ้งประวัติการมีเพศสัมพันธ์
9.2 ปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ มีประวัติตัดปีกมดลูกและ รังไข่ 1 ข้างเนื่องจากตั้งครรภ์นอกมดลูก
9.3 พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมกับเพศ เหมาะสม
สรุปปัญหาที่พบ : ไม่พบปัญหาสุขภาพในแบบแผนนี้
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด
10.1 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด เครียดเรื่องโรคประจำตัว และเรื่องค่าใช้จ่ายที่บุตรสาวต้องรับผิดชอบ
10.2 วิธีการเผชิญและแก้ไขความเครียด ทำวัดเช้า – เย็นที่บ้าน ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่า เวลามีปัญหาจะปล่อยวางปัญหานั้น
10.3 บุคคลที่คอยให้ความช่วยเหลือ ลูกสาว
สรุปปัญหาที่พบ : ไม่พบปัญหาสุขภาพในแบบแผนนี้
แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ
11.1 การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาปฏิบัติธรรมที่บ้านทุกวันพระ สวดมนต์ทั้งเช้าและเย็น
11.2 สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมีพระพุทธศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยคุณป้าต๋อยบอกว่าใช้ชีวิตแบบรู้จักปล่อยวาง
11.3 ความเชื่อเกี่ยวกับทางด้านสุขภาพ
เชื่อเรื่องเวรกรรมโดยคุณป้าต๋อยบอกว่าเป็นเพราะเวรกรรมจึงทำให้เกิดการเจ็บป่วยต่าง ๆ มีความเชื่อว่าการรับประทานน้ำมันมะพร้าวจะสามารถแก้อัลไซเมอร์ได้ มีการสั่งยาจีนมารับประทานเอง
สรุปปัญหาที่พบ : ไม่พบปัญหาสุขภาพในแบบแผนนี้
แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร
จากการประเมินโดยใช้แบบประเมินภาวะโภชนาการ (Mini Nutritional Assessment: MNA)
การคัดกรองได้ 11 คะแนน แปลผล มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
สรุปปัญหาที่พบ : มีโอกาสเกิดภาวะขาดสารอาหาร จากการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย
รับประทานอาหาร 4 มื้อ คือ รับประทานอาหารเช้าประมาณ 10.00 น. รับประทานข้าวไรซ์เบอร์รี่ผสมถั่วต้ม 8 ชนิดปั่นรวมกัน และนำใส่ถุงแล้วแช่งแข็งเมื่อจะรับประทานนำมาผสมกับน้ำอุ่น รับประทานกับแครอทและฟักทองญี่ปุ่น รับประทานอาหารกลางวันประมาณ 14.00 น. รับประทานอาหารเย็นประมาณ 18.00 น. รับประทานอาหารน้อย ประมาณครึ่งทัพพี และเวลาประมาณ 20.00 น. ดื่มโกโก้ อาหารเสริมโปรตีนของ amway และขนมปังลูกเกดปิ้ง 2 แผ่น
ผู้สูงอายุมีดัชนีมวลกายปกติ ( 20.88 กิโลกรัม/เมตร2 )
ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่า “กินยาเสริมธาตุเหล็ก” “มีอาการเบื่ออาหาร กินได้น้อยลง”
ดื่มน้ำวันละปริมาณ 2,000-2500 ml
แบบแผนการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
ผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพตนเองโดยออกกำลังเบาๆหลังตื่นนอนและตอนเย็น เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามคำแนะนำของแพทย์ จึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง และระดับไขมันในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ มีประวัติแพ้ยา Penicillin ซึ่งจะมีผื่นแดงขึ้นตามลำตัว ปฏิเสธการแพ้อาหาร ปฏิเสธการดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่
ผู้สูงอายุให้ประวัติว่าเป็นโรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคภูมิแพ้และเส้นเลือดสมองตีบรักษาที่โรงพยาบาลพระราม 9
ผู้สูงอายุเคยได้รับการผ่าตัดลอกตาทั้ง 2 ข้างที่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว หลังผ่าตัดการมองเห็นชัดขึ้นเป็นปกติแต่มีต้อเนื้อ ต้องไปสะกิดออกและได้ดูแลดวงตาโดยสวมแว่น หยอดตา ป้ายตาเป็นประจำทุกวัน
สรุปปัญหาที่พบ : ผู้ป่วยให้ประวัติที่รับรู้ถึงข้อมูลสุขภาพและการดูแลสุขภาพของตนเอง
การดูแลความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุจะรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและไปตรวจตามแพทย์นัดสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุจะทำการตรวจวัดและบันทึกผลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพเป็นประจำ
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้สูงอายุชื่อ - อายุ 82 ปี เพศ หญิง สัญชาติ ไทย
เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ สถานภาพสมรส หม้าย การศึกษา ปวส. มหาวิทยาลัยบูรพา รายได้ ได้รับเงินจากบุตร 30,000 บาท/เดือน ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ - ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20130
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพผู้สูงอายุ
โรคประจำตัวและการรักษา
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus : DM) รักษาที่โรงพยาบาลพระราม 9 ตรวจวัดค่าระดับน้ำตาล = 98 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เป็นมานาน 20 ปี
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension : HT) รักษาที่โรงพยาบาลพระราม 9 ตรวจวัดค่าความดันโลหิตครั้งล่าสุด = 119/80 mmHg เป็นมานาน 20 ปี
โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia : DLP) รักษาที่โรงพยาบาลพระราม 9 ตรวจวัดค่าระดับ คอเลสเตอรอลล่าสุด = 140 mg/dl เป็นมานาน 20 ปี
โรคเส้นเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke) รักษาที่โรงพยาบาลพระราม 9 เป็นมานาน 10 ปี
ภูมิแพ้ (Allergy) ผู้สูงอายุรับประทานยา Zyrtec เมื่อรู้สึกไอ และยาพ่นจมูก
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
เคยเข้ารับการผ่าตัดและทำหมันเนื่องจากท้องนอกมดลูก
เคยผ่าตัดลอกตา 2 ข้าง ที่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว
แพ้ยา Penicillin มีผื่นแดงขึ้นตามลำตัว
ปฏิเสธประวัติการแพ้อาหาร
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
มารดาเป็นเบาหวาน มีพี่น้องทั้งหมด 6 คนรวมผู้สูงอายุด้วย
ผู้สูงอายุเป็นพี่คนโต มีน้องชาย 2 คน น้องชาย 1 คนเป็นโรค
เบาหวาน น้องสาว 3 คน น้องสาวเป็นเบาหวาน 1 คน หลอดเลือดตีบ 1 คน มีบุตร 4 คน เป็นบุตรสาวทั้งหมดแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว
ลักษณะของครอบครัว
จำนวนสมาชิกภายในครอบครัว : 6 คน
หัวหน้าครอบครัว : นางจิตรประภา มั่งคั่ง (ป้าต๋อย)
สัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว : มีสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว รักใคร่กลมเกลียวกัน ไม่ทอดทิ้งกัน ถึงบุตรบางคนจะไม่ได้อยู่ด้วยแต่ก็จะมีการโทรวีดีโอคอลคุยกันอย่างสม่ำเสมอ
รายได้เฉลี่ยของครอบครัว : 30,000 บาท/เดือน
แหล่งรายได้ : บุตรสาว
ลักษณะชุมชน
ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ใกล้ตลาดหนองมน มีสถานบริการสุขภาพในชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแสนสุข คนส่วนใหญ่ในชุมชนจะนับถือศาสนาพุทธ จะมีวัฒนธรรมและประเพณีในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคือ งานวัดประจำปีที่วัดตาลล้อม และประเพณีไหลบางแสน
ข้อวินิจฉัยที่ 2 มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
ข้อสนับสนุน
S : ป้าต๋อยบอกว่า “ขณะที่เที่ยวที่จังหวัดตราด ในช่วงการเดินทางต้องการให้มีคนช่วยพยุง”
“รับประทานยาหลายตัว”
O : จากการส่งต่อ พบว่า การประเมิน Thai FRAT ผู้สูงอายุได้คะแนน 6 คะแนน แปลผล มีความเสี่ยงหกล้ม และผู้สูงอายุให้ประวัติว่า "ประมาณ 3 เดือนก่อน หกล้ม หัวฟาดขอบเตียง เย็บ 4 เข็ม"
การวิเคราะ์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
หกล้มที่เกิดจากการเป็นลมที่เกิดจากโรคต่างๆ ซึ่งภาวการณ์หกล้ม เป็นความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตราย และพบบ่อยในผู้สูงอายุโดยแต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักประสบกับการลื่นล้มและครึ่งหนึ่งลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและกระดูกหัก พบว่า 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีกและบางส่วนต้องใช้รถเข็นไปตลอดชีวิต ส่งผลให้ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเองและต้องมีคนดูแลตลอดเวลา มีภาวะสับสน มีปัญหาการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าตามมาได้ โดยปัยจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการหกล้มในผู้สูงอายุ ได้แก่ อายุ โรคประจำตัว การใช้ยา สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ พื้นทางเดินไม่เรียบหรือลื่น เป็นต้น ในผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น การทํางานของสมองลดลง อวัยวะที่ช่วยในการ เคลื่อนไหวทํางานไม่สัมพันธ์ กัน การทรงตัวบกพร่องปฏิกิริยาตอบสนองของม่านตาต่อแสงลดลง ทําให้ปรับตัวสําหรับการเห็นได้ไม่ดี โดยเฉพาะที่มืด สายตายาว มองภาพใกล้ไม่ชัด ลานสายตาแคบลง เป็นต้น
ซึ่งสำหรับผู้สูงอายุรายนี้มีอายุที่มาก ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เมื่อไปสถานที่ที่ไม่คุ้นชินต้องมีคนช่วงพยุง และผู้สูงอายุมีปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากใช้ยารักษาโรคหลายชนิด เคยมีประวัติการหกล้มเมื่อ 3 เดือน และมีสัตว์เลี้ยงที่บ้าน
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่เกิดอุบัติเหตุการพลัดตกหกล้ม
เกณฑ์การประเมินผล
ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมในบ้านที่ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม
ได้รับการฝึกการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการเกิดพลัดตกหกล้ม
กิจกรรมทางการพยาบาล
ประเมินปัจจัยเสี่ยงภายนอกทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงพลัดตกหกล้ม ได้แก่ สภาพแวดล้อมภายในบ้านได้แก่ พื้น บริเวณบันได ห้องน้ำ และการแต่งกาย โดยการสอบถาม
ประเมินความเสี่ยงในการเกิดการหกล้ม โดยใช้แบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน (Thai FRAT) เพื่อใช้สำหรับวางแผนการพยาบาล เนื่องจากการเรียนออนไลน์จึงไม่สามารถประเมินได้ แต่ทางกลุ่มเห็นว่าผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม เนื่องจากผู้สูงอายุได้รับประทานยารักษาโรคประจำตัวหลายโรค และมีประวัติการหกล้ม
ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวในการป้องกันการหกล้ม ดังนี้
3.1 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสวมถุงเท้าแบบที่มีพื้นกันลื่นหรือรองเท้าแตะกันลื่น เพื่อเพิ่มแรงเสียดทานทำให้ยึดเกาะกับพื้นมากขึ้น
3.2 แนะนำเวลาเดินให้เดินช้าๆ หรืออาจมีไม้เท้าสำหรับไว้ใช้ช่วยพยุงตัว
3.3 แนะนำให้ค่อยๆลุกนั่งช้าๆ ไม่ควรรีบลุก เนื่องจากจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด เสี่ยงต่อการหกล้มได้
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ดังนี้
4.1 แนะนำให้เอา พรม เสื่อ หรือผ้ายางปูรองพื้นออก หรือนำเทป 2 หน้า หรือแผ่นยางกันลื่นติด เพื่อไม่ให้พรมลื่น
4.2 ควรเก็บของที่ใช้บ่อยๆ ไว้ในที่ที่สามารถหยิบได้ง่าย
4.3 ควรติดผ้ายางกันลื่นในบริเวณพื้นห้องน้ำเพื่อกันลื่น และเพิ่มราวจับบริเวณที่อาบน้ำและข้างโถส้วม เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถจับและยึดเหนี่ยวได้
4.4 เพิ่มดวงไฟเล็กๆ หรือแผ่นแปะเรืองแสงสำหรับติดที่ทางเดิน เพื่อให้มีแสงสว่างเวลากลางคืนระหว่างทางเดินไปห้องน้ำ
ส่งเสริมการออกกำลังกาย เช่น การเดิน, การรำมวยจีน เพราะจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นข้อต่อต่างๆ ฝึกการเดินหรือการทรงตัว
แนะนำให้ผู้สูงอายุใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะออกกำลังกาย เช่น สนับเข่า สนับข้อศอก หมวกกันกระแทก สนับก้นกันการกระแทก เพื่อช่วยลดการเจ็บบาดหากเกิดการพลัดตกหกล้ม
เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ซักถามในสิ่งที่ยังสงสัยหรือไม่เข้าใจ
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุให้ความร่วมมือปฏิบัติตามคำแนะนำของพยาบาล
ประเมินผล
1.ผลการประเมินขาดการทดสอบการยืนต่อเท้าเป็นเส้นตรง (Tandem Test) เนื่องจากประเมินเป็นการสัมภาษณ์ออนไลน์และผู้สูงอายุมิได้อยู่ที่บ้านขณะทำการประเมิน แต่กลุ่มมีความเห็นว่าผู้สูงอายุมีความเสี่ยงเนื่องจากใช้ยาหลายตัวและมีประวัติหกล้ม
จากการพูดคุย ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่าภายในบ้านมีการติดตั้งมือจับในจุดต่างๆอย่างพอเพียง ส้วมเป็นส้วมนั่ง มีมือจับ ผู้สูงอายุนั่งขณะอาบน้ำ แสงสว่างของโถงทางเดินมีความเพียงพอ มีการติดไฟบริเวณบันไดทางขึ้นและมีสัตว์เลี้ยงบริเวณนอกบ้าน
ได้ให้คำแนะนำโดยทำเป็นสื่อมอบให้ทางแอพพลิเคชั่นไลน์
กิจกรรมของญาติ/ผู้ดูแล
ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เป็นระเบียบและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ เช่น เก็บของไว้ในที่ที่ผู้ป่วยสามารถหยิบได้สะดวก
ข้อวินิจฉัยที่ 4 ส่งเสริมการคิด เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม
ข้อมูลสนับสนุน
S : -
O : ผู้สูงอายุเพศหญิง อายุ 82 ปี
จากการทดสอบแบบประเมิน MMSE ข้อ 5 เรื่องการจำผู้สูงอายุจำได้ 1 คำจาก 3 คำ
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายทางกายภาพ
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้สูงอายุสามารถทำแบบประเมิน MMSE ได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 22 คะแนน จาก 30 คะแนน เมื่อทำการประเมินซ้ำ
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การส่งเสริมการคิด เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม เป็น ภาวะการณ์รู้คิดบกพร่องในผู้สูงอายุ จะมีปัญหาทางด้านความจำมากกว่าคนที่อยู่ในวัยและการศึกษาระดับเดียวกันและมีโอกาสพัฒนาเป็นโรคสมองเสื่อมได้แต่ไม่ถึงกับทำให้สูญเสียหน้าที่การทำงานของกระบวนการ รู้คิดเหมือนในผู้ป่วยสมองเสื่อม ผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องจะเริ่มมีการสูญเสียความจำ ที่เป็นเรื่องใหม่ๆ ดังนั้นการทบทวนความรู้ในผู้สูงอายุที่มีภาวการณ์รู้คิดบกพร่องเล็กน้อย เพื่อช่วยในการป้องกันและชะลอความเสื่อม ด้วยการส่งเสริมการบริหารสมองโดยใช้ Neurobics Exercise เพื่อส่งเสริมความจำแก่ผู้สูงอายุโดยการออกแบบกิจกรรมสนับสนุนที่เอื้อต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Penderctal., 2002)) เพื่อส่งเสริมความจำเนื่องจาก
1) ผู้สูงอายุอาจเกิดโรคสมองเสื่อมโดยอายุร่วมกับการมีโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสริมสำคัญที่ทำให้มีโอกาสเกิด โรคสมองเสื่อมได้ง่ายกว่าผู้สูงอายุทั่วไป
2) ผู้สูงอายุถ้าพบมีภาวะสมองเสื่อมร่วมด้วยอาจส่งผลให้ลืมกินยา กินยาผิดชนิด กินยาผิดเวลา ลืมนัด และยังมีผลกับการประกอบกิจวัตรประจำวัน ทำให้ไม่สามารถควบคุมโรคได้ จนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย
3) ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในบริบทเขตเมือง มีหลายรายอาศัยเพียงลำพังขาดผู้ดูแล ด้วยอายุและการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ก็ถือว่ามีความพร่องในการดูแลตนเองอยู่แล้วถ้าต้องมาเจอปัญหากับภาวะสมองเสื่อมร่วมด้วยอาจทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตและเป็นปัญหาแก่ชุมชนในอนาคต การมีความจำดีขึ้นจะส่งผลให้ผู้สูง
อายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย
กิจกรรมทางการพยาบาล
ทำกิจกรรมการเล่น “กรรไก ไข่ ผ้าไหม” เพื่อเป็นการฝึกสมาธิกระตุ้นการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา
แนะนำให้ผู้สูงอายุฝึกการทำกิจกรรมที่ทำให้สมองซึกที่ไม่ค่อยได้ใช้ได้ใช้ง่ายเยอะขึ้น ได้แก่ การทำกิจกรรม “ฝึกสมองสองมือ” โดยการฝึกทำดังนี้
2.1 ท่าจีบ แอล เป็นท่าที่กระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน และเป็นการกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุล ให้เกิดการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว
2.2 ท่าแตะจมูก แตะหู เป็นท่าที่ช่วยให้เกิดการมองภาพด้านซ้ายและขวาดีขึ้น
2.3 ท่าโป้งก้อย เป็นท่าที่กระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซึกขวา และเป็นการกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
2.4 ท่าแตะหู เป็นท่าที่กระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซึกขวา และเป็นการกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ และเพื่อป้องกันการยึดติดของไหล่
3.ทำกิจกรรมเกมฝึกสมอง Stroop Test เพื่อเป็นการฝึกสมองและสมาธิ
ทำกิจกรรม “จับให้ได้ อะไรหายไป” เพื่อเป็นการฝึกสมอง เสริมทักษะความจำ จินตนาการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฝึกสายตา สร้างสมาธิ
5.ทำกิจกรรม “มากลางวัน เธอนัดให้มากลางคืน” เพื่อเป็นการฝึกสมาธิและไหวพริบในการทำท่าทางที่ตรงข้ามกัน
ประเมินผล
1.กิจกรรม “กรรไกร ไข่ ผ้าไหม” ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมและสามารถทำตามได้อย่างช้าๆและถูกต้อง โดยรอบแรกผู้สูงอายุยังเปลี่ยนมือตามเพลงไม่ทัน ผู้นำจึงค่อยๆทำท่าทางและร้องเพลงให้ช้าลงตามความสามารถของผู้สูงอายุ ในรอบที่ 2 ผู้สูงอายุสามารถเปลี่ยนมือและทำตามจังหวะเพลงได้พร้อมๆกัน
2.กิจกรรม “ฝึกสมองสองมือ” ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตลอด สามารถทำตามได้ทุกท่า ยกเว้นท่าจีบ แอล ผู้สูงอายุมีสับสนบ้างเล็กน้อย
4.กิจกรรม “จับให้ได้ อะไรหายไป”
ผลการประเมิน ทำกิจกรรมโดยการประเมิน 2 รอบ คือ วันพฤหัสบดี และวันศุกร์ ผลการเล่นรอบแรกในวันพฤหัสบดี แสดงผลให้เห็นว่า ผู้สูงอายุยังไม่สามารถที่จะหาสิ่งที่หายไปจากภาพที่สาธิตได้ แต่พอเริ่มเล่นไประยะหนึ่งของเวลา ผู้สูงอายุสามารถที่จะเข้าใจในการทำกิจกรรมและสามารถเลือกภาพที่หายไปได้อย่างถูกต้อง และรอบที่ 2 ของการทำกิจกรรมในวันศุกร์ แสดงผลให้เห็นว่า ผู้สูงอายุทำกิจกรรมในครั้งนี้ออกได้มาค่อนข้างดี แต่มีความสับสนกับรูปภาพที่ให้เลือกบางช่วง ซึ่งพอทำกิจกรรมได้สักระยะหนึ่งของเวลา ผู้สูงอายุสามารถเลือกภาพได้ถูกหมดทุกภาพ
5.กิจกรรม “มากลางวัน เธอนัดให้มากลางคืน” ผู้สูงอายุมีความตั้งใจที่จะทำตาม แต่ยังสับสนและแยกสิ่งที่ตรงข้ามกันไม่ค่อยได้
3.กิจกรรม “เกมฝึกสมอง Stroop Test” ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมตลอดระยะเวลา และสามารถบอกสีได้อย่างถูกต้อง มีสีเหลือง และ สีเขียวที่ผู้สูงอายุยังตอบผิดบ้างในรอบแรก และในรอบสอง ผู้สูงอายุสามารถบอกสีได้อย่างถูกต้องทั้งหมด
กิจกรรมของญาติ/ ผู้ดูแล
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ออกกำลังกาย และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง เพื่อป้องการการพึ่งพา และเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ใช้ความคิด และไตร่ตรองในการทำกิจวัตร
ข้อวินิจฉัยที่ 3 ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคประจำตัว
ข้อมูลสนับสนุน
S: จากการทำแบบประเมิน 10 ข้อเกี่ยวกับโรคประจำตัวที่ผู้เรียนได้จัดทำขึ้นเอง ผู้สูงอายุทำได้ 7/10 ข้อ
O: U/D: HT, DM, DLP
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ความรู้ เป็นความคุ้นเคย ความตระหนักหรือความเข้าใจในเกี่ยวกับบุคคลหรือ ความรู้ เป็นความคุ้นเคย ความตระหนักหรือความเข้าใจในเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งอื่น เช่น ข้อเท็จจริง ทักษะ หรือวัตถุ วิธีหาความรู้มีหลายวิธีและมีแหล่งที่มาต่าง ๆ เช่น ประสบการณ์ การศึกษา เหตุผล ความทรงจำ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจและการฝึกฝน ซึ่งผู้สูงอายุมักจะใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาในการดูแลสุขภาพของตนเอง อาจจะมีทั้งความรู้ที่ถูกต้องและความรู้ที่ยังไม่ถูกต้องหากผู้สูงอายุขาดความรู้ความเข้าในเรื่องโรคประจำตัวจะทำให้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่ามีด้วยกันทั้งหมด 5 โรคที่สำคัญคือ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด อุดกั้นเรื้อรัง โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง หากมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ดีและมีความเหมาะสม ก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ไม่เป็น ภาระแก่บุคคลรอบข้าง สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ยาวนาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ในการปฏิบัติอย่าง สม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ พฤติกรรมการออกกำลังกาย การบริโภค อาหารและยา และการจัดการความเครียดที่เหมาะสม จะช่วยบรรเทาปัญหาความเจ็บป่วย และการลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้ หากเราขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และเกิดความรุนแรงของโรคตามมา
เป้าระสงค์ทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยกับโรคประจำตัว
เกณฑ์การประเมินผล
1.ผู้สูงอายุสามารถวิเคราะห์ตัวชี้วัดการควบคุมโรค
2.ระบุภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรค
3.ระบุพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการดูแลของโรค
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความร่วมมือในการทำกิจกรรม โดยการทักทายแนะนำตัว บอกวัตถุประสงค์ของการพูดคุยและทำแบบประเมินในครั้งนี้
2.จัดกิจกรรม “ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคประจำตัว” ที่นิสิตได้จัดเตรียมไว้ ได้แก่ โรค HT, DM, DLP เป็นคำถามให้เลือกตอบ คำถามปลายเปิดและคำถามที่ให้ผู้สูงอายุวิเคราะห์ค่าตัวชี้วัดของโรคประจำตัวที่ผู้สูงอายุเป็น (ดังเอกสารแนบการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุสไลด์ที่7-26)
https://bit.ly/3Dw4XIj
4.ขณะให้ความรู้เรื่องโรคประจำตัวได้เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุถ่ายทอดประสบการณ์และความคิดในมุมมองของตนเองและสอดแทรกความรู้เพิ่มเติมในประเด็นนั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ซักถามเกี่ยวกับโรคประจำตัวในประเด็นที่สงสัย
3.ขณะทำกิจกรรมให้คำแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในประเด็นที่ผู้สูงอายุยังขาดความรู้ความเข้าใจ ผู้สูงอายุตอบเรื่องโรค HT ผิด 1 ข้อ ในประเด็นอาการของภาวะความดันโลหิตสูง (ดังเอกสารแนบการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุสไลด์ที่8)
https://bit.ly/3Dw4XIj
ผู้สูงอายุตอบเรื่องโรค DM ผิด1ข้อ ในประเด็นภาวะแทรกซ้อนภายหลังการเกิดโรคเบาหวาน(ดังเอกสารแนบการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุสไลด์ที่16)
https://bit.ly/3Dw4XIj
ผู้สูงอายุตอบเรื่องโรค DLP ผิด 1 ข้อในประเด็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญภายหลังการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง (ดังเอกสารแนบการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุสไลด์ที่25)
https://bit.ly/3Dw4XIj
ประเมินผล
ทำให้ได้เรียนรู้ว่าค่าความดันโลหิตสูงใน
จากการทำกิจกรรมประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคประจำตัวผู้สูงอายุทำได้ 7/10 คะแนน โดยผู้สูงอายุตอบเรื่องอาการของภาวะความดันโลหิต ผิด 1 ข้อ เรื่องภาวะแทรกซ้อนภายหลังการเกิดโรคเบาหวานผิด 1 ข้อเรื่องภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญภายหลังการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง ผิด 1 ข้อ
ผู้สูงอายุตั้งใจฟังขณะอธิบาย และใส่ใจเกี่ยวกับโรคประจำตัวของตนเอง- การใช้คำถามปลายเปิดทำให้เห็นว่าผู้สูงอายุตอบคำถามจากประสบการณ์ส่วนตัว
ผู้สูงอายุกล่าวขอบคุณและบอกว่าจะนำความรู้ที่ได้ไปพูดคุยกับผู้สูงอายุท่านอื่น
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
-ให้ความร่วมมือในการทำแบบประเมิน
-ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคประจำตัว
ข้อวินิจฉัยที่ 1 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดสารอาหาร เนื่องจากเบื่ออาหาร
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
ทางการพยาบาล
ภาวะขาดสารอาหาร (under-nutrition) หมายถึง สภาวะของร่างกายที่เกิดจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับสารอาหารไม่ครบ หรือมีปริมาณต่ำกว่าที่ร่างกายต้องการทำให้เกิดโรคขึ้น เช่น โรคขาดโปรตีน โรคขาดวิตามินต่างๆ เป็นต้น
การเบื่ออาหารมักเกิดในผู้สูงอายุ ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ผลกระทบที่ตามมาจากการรับประทานอาหารได้น้อยลง คือ ภาวะโลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลีย ผมร่วง เวียนศีรษะ น้ำหนักลด สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและไขมัน ผมร่วง เวียนศีรษะและอ่อนเพลียได้ง่ายกว่าปกติ ใจสั่น ชาหรือเสียวบริเวณข้อต่อ แก้มตอบและตาโหล ท้องบวม ผมและผิวเเห้ง แผลหายช้า อ่อนล้าหมดแรง ไม่มีสมาธิจดจ่อ มีอารมณ์ฉุนเฉียวและหงุดหงิด ซึมเศร้าและวิตกกังวล
ซึ่งในผู้สูงอายุรายนี้มีภาวะโลหิตจาง มีภาวะเบื่ออาหาร และจากการประเมินจากแบบประเมินภาวะโภชนาการ (Mini Nutritional Assessment: MNA) ได้ 11 คะแนน แปลผลว่า มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
ข้อมลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยบอกว่า “รู้สึกเบื่ออาหาร” “ตอนเย็นรับประทานอาหารน้อย ประมาณครึ่งทัพพี”
O: แบบประเมินภาวะโภชนาการ
(Mini Nutritional Assessment: MNA) ได้ 11 คะแนน แปลผลว่า มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหาร
เกณฑ์การประเมินผล
1.ทำแบบประเมินภาวะโภชนาการ (Mini Nutritional Assessment: MNA) ได้ 12-14 คะแนน แปลผลว่า มีภาวะโภชนาการปกติ
ผู้สูงอายุได้รับพลังงาน 1000 Kcal/วัน
ผู้สูงอายุบันทึกอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน
ผู้ป่วยสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับภาวะสุขภาพถูกต้องมากกว่า 8 จาก 9 ข้อ หรือมากกว่า 80%
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะโภชนาการโดยทำแบบประเมินภาวะโภชนาการ (MNA) เพื่อประเมินภาวะขาดสารอาหาร
แนะนำให้ผู้สูงอายุและญาติคำนวณปริมาณแคลอรี่ที่ควรได้รับโดยใช้สูตร BEE ของเพศหญิง ซึ่งในผู้สูงอายุรายนี้พลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวันคือ 1000 Kcal และบันทึกอาหารที่รับประทานเข้าไป เพื่อประเมินว่าได้รับอาหารเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่
ให้คำแนะนำผู้สูงอายุโดยการทำกิจกรรม เรื่อง ผู้สูงวัยกินอย่างไรให้เพียงพอ โดยการแสดงภาพอาหาร พลังงานที่ควรได้รับ ตัวอย่างอย่าพลังงานอาหารแต่ละประเภท และทำแบบทดสอบ 9 คำถาม
4.แนะนำผู้สูงอายุจดบันทึกชนิดอาหารที่บริโภคในแต่ละวันโดยวิธีการกะปริมาณของอาหารและชนิดเพื่อคำนวณพลังงานที่ได้รับ
แนะนำให้ผู้ป่วยจัดอาหาร โดยหลีกเสี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซและท้องอืด ควรเป็นอาหารที่เคี้ยวง่ายรสไม่จัด และควรร้อน ปรุงสุกใหม่ เนื่องจากการรับประทานอาหารร้อนจะกระตุ้นให้อยากอาหารมากขึ้น และควรมีเนื้อสัมผัสอาหาร (food texture) ที่กลิ่นและรสชาติอาหาร ที่ผู้สูงอายุยอมรับได้
แนะนำแนวทางการเลือกอาหารที่เหมาะสม ได้แก่ ต้มยำกุ้งน้ำใส ข้าวไรส์เบอรี่ ผัดไทยวุ้นเส้น ลาบ(รสไม่จัด) ขนมปังขาว ขนมปังโฮลวีท ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กน้ำใส ขนมจีน สลัดผัก สเต็กอกไก่ โยเกิร์ต คอนเฟรก
แนะนำให้ผู้สูงอายุแบ่งอาหารทานวันละ 5 – 6 มื้อ และให้ทานของว่างระหว่างวัน เพื่อให้ได้รับพลังงานอาหารที่เพียงพอ
สนับสนุนให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายสม่ำเสมอ เนื่องจากการออกกำลังกายช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันส่วนเกิน เพิ่มระดับไขมันเอซดีแอล (HDL) ในกระแสเลือด และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ร่างกายดึงน้ำตาลไปใช้ได้ดีขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงป้องกันการเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง
แนะนำให้รับประทานอาหารรสชาติจืดอ่อน ไม่เผ็ดร้อน หากมีปัญหาเรื่องสุขภาพฟันให้รับประทานอาหารอ่อน ไม่แข็ง
แนะนำผู้สูงอายุลดเครื่องดื่มชา และกาแฟ สุรา และการสูบบุหรี่ เพราะเป็นปัจจัยทำให้ขาดสารอาหาร
11.แนะนำให้ผู้สูงอายุเลือกรับประทานอาหารที่ตนเองชอบรสชาติที่ชอบและไม่ขัดต่อโรคประจำตัว เพื่อกระตุ้นความอยากอาหารและรับประทานอาหารได้มากขึ้น
แนะนำให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลจัดสภาพแวดล้อมให้สะอาด รับประทานร่วมกันหรือทานพร้อมญาติ เพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร
กิจกรรมของญาติและผู้ดูแล
1.จัดอาหารให้น่ารับประทาน จัดอาหารใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อกระตุ้นการอยากอาหารและป้องกันภาวะเบื่ออาหาร 2.ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมให้น่ารับประทานเพื่อกระตุ้นความอยากอาหารของผู้สูงอายุ
ประเมินผล
ผู้ป่วยทำแบบประเมินภาวะโภชนาการ (MNA) ได้ 11 คะแนน แปลผลว่าเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
ผู้สูงอายุรับฟังกิจกรรมอย่างตั้งใจ และทำแบบประเมินความรู้เรื่องโภชนาการ ได้ 8 ใน 9 ข้อ หรือคิดเป็น 88 %
ผู้ป่วยรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ได้แก่ ขนมปัง สลัด ผลไม้ กาแฟ ปลากะพงทอด ยำวุ้นเส้น ลาบ ต้มยำกุ้ง ข้าวครึ่งทัพพี
นางสาววรินทร หมั่นตลุง 62010090 กลุ่ม 02-7