Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขภาพกลุ่มวัยเรียน, นางสาวเกียรติสุดา จีนจิ้ว 610105 - Coggle…
การดูแลสุขภาพกลุ่มวัยเรียน
การตรวจสายตานักเรียน
การตรวจสายตาในเด็กนักเรียน มีความจำเป็นสำหรับนักเรียนทุกคนเพราะความสามารถในการมองเห็นจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก นักเรียนจึงควรได้รับการตรวจสายตาเบื้องต้นปีละ 1
การช่วยเหลือ
ความสามารถในการมองเห็นข้างใดข้างหนึ่งเท่ากับ 6/9 ( 20/30 ) หรือ 6/12 ( 20/40 ) ต้องเฝ้าระวังโดยการวัดสายตาปีละครั้ง
ความสามารถในการมองเห็นข้างใดข้างหนึ่งน้อยกว่า 6/12 ( 20/40 ) ควรไปพบจักษุแพทย์
ความสามารถในการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างต่างกันเกิน 2 แถว เช่น ขวา 6/6 ( 20/20 ) ซ้าย 6/24 ( 20/70 ) ควรพบจักษุแพทย์เพื่อวัดสายตาประกอบแว่น
ระหว่างรอรับการแก้ไข ควรช่วยเหลือเบื้องต้นโดยให้นักเรียนเลื่อนมานั่งเรียนแถวหน้าชั้นเรียนชั่วคราว
การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์
การตรวจการได้ยิน
นักเรียนทุกคนควรได้รับการคัดกรองการได้ยินโดยเฉพาะนักเรียนชั้น ป.1 โดยวิธีการทดสอบการได้ยินอย่างง่าย
วิธีที่ 1 ให้นักเรียนยืนหันหลังให้ผู้ตรวจ ผู้ตรวจใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ถูกันเบาๆ ทางด้านหลังห่างจากหูของนักเรียนประมาณ 1 นิ้ว แล้วถามนักเรียนว่าได้ยินเสียงหรือไม่
วิธีที่ 2 ให้นักเรียนยืนหันหลังให้ผู้ตรวจ ห่างจากผู้ตรวจประมาณ 5 ฟุต ผู้ตรวจเรียกชื่อหรือบอกให้นักเรียนทำตามคำสั่งด้วยเสียงปกติ
การตรวจร่างกายทั่วไป 10 ท่า
การเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ และเตรียมนักเรียน
การช่วยเหลือ
ถ้าตรวจพบว่านักเรียนมีปัญหาสุขภาพ พยาบาลต้องให้การดูแลรักษาและให้คำแนะนำที่หมาะสม
หรือส่งต่อไปรับการรักษาจากแพทย์หรือบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะในกรณีเจ็บป่วยเกินขอบเขตการรักษาและจะต้องติดตามผลการช่วยเหลือและให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง เมื่อนักเรียนกลับมาโรงเรียน
อนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
สถานที่ตั้ง
ควรเป็นสถานที่ในย่านกลางเมืองที่มีการคมนาคมสะดวก ไม่ควรห่างจากย่านชุมชนเกินกว่า 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 2 ไร่ หรือตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดปลอดภัยจากอันตรายในท้องถนนหลวง โดยตั้งห่างจากถนนใหญ่พอสมควร ไกลจากสถานที่มีเสียงรบกวนหรือสิ่งรบกวนเป็นประจำ จนเป็นเหตุรำคาญ
อาคารเรียน
ขอให้คำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักนักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน ตลอดจนภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 1.5 ตารางเมตรต่อนักเรียน 1 คน โรงเรียนระดับประถมศึกษาไม่ควรมีชั้นเรียนเกิน 3ชั้น ในระดับมัธยมศึกษาไม่ควรมีชั้นเรียนเกิน 4 ชั้น และควรจัดให้นักเรียนที่เป็นเด็กโตอยู่ชั้นบนสุ
พื้นที่ใช้สอยและอุปกรณ์เครื่องใช้
ห้องเรียนและเครื่องใช้ในห้องเรียน
ขนาดของห้องเรียนควรเป็น 6 X 8 เมตร หรือ 7 X 8 เมตร บรรจุนักเรียนได้ 30 - 40 คนมีช่องว่างเพื่อความสะดวกแก่การเดินตรวจของครูทำให้สามารถข้าถึงนักเรียนได้ทุกโต๊ะ
ห้องปฐมพยาบาล ยาและข้อควรระวังในการใช้ยา
ห้องพยาบาลสำหรับโรงเรียนที่มีนักเรียนเกินกว่า 1,000 คน ควรมีเรือนพยาบาลแยกออกมาต่างหากหนึ่งหลังและควรมีพยาบาลประจำโรงเรียนแบ่งเป็นสัดส่วนโดยมีฉากหรือตู้กั้น ให้มีเตียงพักผู้ป่วยอย่างน้อย 1 เตียง และมีตู้เวชภัณฑ์สำหรับปฐมพยาบาล ห้องพยาบาล
ข้อควรระวังในการใช้ยาในงานอนามัยโรงเรียน
ครูหรือพยาบาลประจำโรงเรียนควรเป็นผู้หยิบยาให้นักเรียนโดยต้องอ่านฉลากยาและวิธีใช้ยาให้เข้าใจจนแน่ใจว่าเป็นยาที่ต้องการ
ยาต่างๆ เมื่อใช้แล้วบางรายอาจมีอาการแพ้ได้โดยเฉพาะยาใช้ภายนอก
ยาปฐมพยาบาลต้องใช้ให้ถูกต้องตามอาการเจ็บป่วยและตามวิธีที่บอกไว้ในฉลาก ในรายที่มีอาการรุนแรงควรรีบปรึกษาแพทย์หรือส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
หลักการจัดตู้ยา
ชั้นบนเป็นที่สำหรับวางยารับประทาน ให้ติดป้ายสีขาวว่า "ยารับประทาน" ไว้ในที่เห็นชัด
ชั้นกลางเป็นที่สำหรับวางเครื่องมือพยาบาลปัจจุบัน เช่น กรรไกร คีม แก้วยา ปรอทสำหรับวัดไข้ เครื่องวัดความดันโลหิต หูฟัง เป็นต้น
ชั้นล่างเป็นที่สำหรับวางยาใช้ภายนอก ห้ามรับประทาน ให้ติดป้ายสีแดงว่า "ยาใช้ภายนอก" ไว้ในที่เห็นชัด
4.ชั้นล่างสุดที่เป็นตู้ไม้ทึบสามารถเปิดปิดได้ ใช้สำหรับเก็บวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน กระเป๋าน้ำร้อน-เย็น ม้วนสำลี เป็นต้น
โรงอาหารและโรงครัว
โรงอาหารและโรงครัว แต่ละโรงเรียนควรมีโรงอาหารหรือที่รับประทานอาหาร ประกอบไปด้วยโต๊ะอาหารและที่นั่งเหมาะสมเพียงพอกับจำนวนนักเรียน น้ำสะอาดสำหรับดื่มและใช้ในการปรุงอาหาร ล้างภาชนะ ล้างมือ
สนาม
สนามควรมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเนื้อที่บริเวณโรงเรียน โดยตั้งอยู่บริเวณด้านหน้า มีการจัดแบ่งสนามกีฬา สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นเป็นสัดส่วน มีความปลอดภัยและตรวจสอบให้ใช้งานได้อยู่เสมอ
ส้วมและที่ปัสสาวะ
ส้วมและที่ปัสสาวะ โรงเรียนทุกแห่งจำเป็นต้องจัดให้มีส้วมและที่ปัสสาวะที่ถูกสุขลักษณะเพียงพอกับจำนวนนักเรียน ส้วมที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปที่นับว่าถูกสุขลักษณะ
การระบายอากาศ แสงสว่างและเสียง
ห้องเรียนต้องมีการถ่ายเทอากาศและแสงสว่างเพียงพอ ควรจัดให้มีช่องลมและประตูหน้าต่างเพียงพอในแต่ละห้องเรียน ถ้าการถ่ายเทอากาศไม่ดีพอ อากาศภายในห้องเรียนจะอบอ้าว อาจทำให้นักเรียนมึน ซึม ง่วงนอน
น้ำดื่ม - น้ำใช้
น้ำดื่มน้ำใช้ ทุกโรงเรียนจำเป็นต้องจัดให้มีน้ำสะอาดไว้ให้นักเรียนดื่มและใช้อย่างเพียงพอ โดยน้ำดื่มควรจัดไว้ให้ประมาณคนละ 1 ลิตรต่อวันในช่วงระยะเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
การจัดการขยะ
ในโรงเรียนจะมีทั้งขยะแห้งและขยะเปียก การกำจัดควรพิจารณาตามประเภทของขยะ ซึ่งวิธีการควรมีความเหมาะสม ปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบของโรงเรียน
การจัดการน้ำเสีย
มีรางระบายน้ำเสียจากอาคารต่างๆ ต้องไม่ชำรุดหรืออุดตัน
ระบายน้ำเสียลงบ่อรับน้ำเสียและจัดทำเป็นท่อซึม
น้ำเสียจากโรงครัว โรงอาหาร จะมีคราบไขมันปนอยู่ด้วย จึงควรทำบ่อดักไขมัน
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
โรงเรียนที่มีขีดความสามารถแข็งแกร่งมั่นคงที่จะเป็นสถานที่ที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี เพื่อการอาศัย ศึกษาและทำงาน
แนวคิดของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
เป็นแนวคิดที่กว้างขวางและครอบคลุมด้านสุขภาพอนามัยในทุกแง่มุมของชีวิต ทั้งในโรงเรียนและชุมชน
ความสำคัญของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
การจัดการศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนาเด็กไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ภูมิปัญญาความรู้ และคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
คุณลักษณะของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
ส่งเสริมสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาและสาธารณสุข ครู สหภาพครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพร่วมกัน
1.1 ครอบครัวและกลุ่มในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน
1.2 องค์กรที่ให้บริการในชุมชนที่เชื่อมโยงกับโรงเรียน
ใช้ความพยายามในการจัดให้มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและความปลอดภัย
2.1 การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคม
2.2 ปราศจากความทารุณโหดร้าย
2.3 มีบรรยากาศที่เอื้ออาทร เชื่อมั่น เคารพซึ่งกันและกัน
2.4 สนับสนุนความต้องการทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์
2.5 มีสนามเด็กเล่นที่ปลอดภัย
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ 6 ประการ
ส่งเสริมสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาและสาธารณสุข ครู นักเรียนและผู้นำชุมชน มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพร่วมกับครอบครัวและชุมชนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน
ใช้ความพยายามในการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและความปลอดภัย การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ปราศจากความทารุณโหดร้าย
จัดให้มีการสอนสุขศึกษา หลักสูตรที่ช่วยปรับปรุงความรู้ ความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องสุขภาพและสุขนิสัย
จัดให้เข้าถึงบริการสุขภาพที่ให้บริการอย่างมีประสิทธิผลที่ดีที่สุดในโรงเรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ทรัพยากรและข้อปฏิบัติต่างๆ ในโรงเรียน
ดำเนินการตามนโยบายและข้อปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ นโยบายทั่วไปที่มุ่งให้กิจกรรม
และทรัพยากรต่างๆ เป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
ความพยายามในการปรับปรุงสุขภาพอนามัยของชุมชน มุ่งเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
ชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน
นางสาวเกียรติสุดา จีนจิ้ว 610105