Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผังความคิดวิกฤตการขาดแคลนพยาบาล - Coggle Diagram
ผังความคิดวิกฤตการขาดแคลนพยาบาล
ปัญหาการพยาบาลของรัฐ
และผลกระทบจากการขาดแคลนพยาบาล
สาเหตุของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาล
สภาพปัญหาการขาดแคลนพยาบาล
การขาดแคลนพยาบาลที่เกิดขึ้นเป็นอุปสรรคของการให้บริการด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจและระบาดวิทยา ประกอบกับการขยายหลักประกันสุขภาพ และการขยายบริการสุขภาพเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าบริการส่งผลให้มีความต้องการพยาบาลเพิ่มมากขึ้นมีความต้องการบริการการรักษาพยาบาลของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนประชากรผู้สูงอายุ
การมีระบบบริการสุขภาพที่ทั่วถึงหลังจากที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและมีการใช้บริการเพิ่มขึ้นทำให้มีความต้องการอัตรากำลังพยาบาลสูงขึ้น
การเปลี่ยนแปลงแบบแผนความเจ็บป่วยที่รุนแรงและซับซ้อนความเจ็บป่วยเรื้อรังมากขึ้นและโรคอุบัติใหม่ต่างๆ
นโยบายส่งเสริมการส่งออกการบริการสุขภาพที่มุ่งให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน (medical hub)
การเปิดเสรีเกี่ยวกับอาชีพการบริการใน 8 วิชาชีพที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การลดกำลังการผลิตพยาบาลวิชาชีพ
การมีข้อจำกัดของตำแหน่งในการจ้างงาน และไม่สามารถรักษากำลังคนทางการพยาบาลไว้ในระบบสุขภาพได้
การแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาล
และความต้องการบริการสุขภาพ
บทบาทพยาบาลวิชาชีพกับการแก้ไขการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาล
1. บทบาทผู้บริหารทางการพยาบาล
วางแผนจัดสรรอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพให้มีความพอเพียง
สร้างแรงจูงใจ การจ่ายเงินเดือนค่าจ้างค่าตอบแทนต่างๆ
เพื่อบุคลากรจะได้นำเงินไปใช้จ่ายแสวงหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานสามารถแลกเวรและขอเวรได้มีการเสริมแรงจูงใจเชิดชูคนดี
ได้รับคำชมเชยส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านการศึกษาอบรม
การจัดสวัสดิการที่เหมาะสม
ความพึงพอใจที่ได้รับความยุติธรรมความเสมอภาคและได้รับประโยชน์จากการทำงานเท่าเทียมกัน
ผู้บริหารทางการพยาบาลและบุคลากรร่วมกันกำหนดเป้าหมาย
ที่เจาะจงและชัดเจน
ปรับปรุงเส้นทางความก้าวหน้าของพยาบาลวิชาชีพที่มีทักษะและความชำนาญสูง
2. บทบาทอาจารย์พยาบาล
ควรมีนโยบายในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรหลายช่องทางรวมทั้งมีอาจารย์รุ่นพี่พยาบาลหรือนักศึกษาพยาบาลอธิบายถึงลักษณะของวิชาชีพพยาบาลที่เป็นจริง
สร้างและปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาลให้กับนักศึกษาพยาบาล
ศึกษางานวิชาการ หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องกำลังคนทางการพยาบาลการคงอยู่และการลาออกของพยาบาลวิชาชีพ
ร่วมวางแผนกับฝ่ายปฏิบัติการเกี่ยวกับอัตรากำลังการผลิตพยาบาลเพิ่มให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ
3.บทบาทพยาบาลปฏิบัติการ
สร้างทัศนคติที่ดี ความภาคภูมิใจในวิชาชีพพยาบาลให้กับตนเอง
ปรับเปลี่ยนระบบการทำงานของตนเองให้มีการกำหนดเป้าหมายในการทำงานเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อประสบผลสำเร็จและภูมิใจในความสำเร็จของตนและพัฒนางานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
1. การเพิ่มการผลิตพยาบาลวิชาชีพ
2. การลดการสูญเสียและเพิ่มการธำรงรักษาพยาบาลวิชาชีพการเพิ่ม
ปรับปรุงเส้นทางความก้าวหน้าของพยาบาลวิชาชีพในระบบราชการ
ที่มีทักษะและความชำนาญสูงให้เข้าสู่ตำแหน่งชำนาญการพิเศษได้ทุกตำแหน่งและขยายกรอบอัตราตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพระดับเชี่ยวชาญ
และทรงคุณวุฒิ
การปรับปรุงระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
สร้างหลักประกันความมั่นคงในอาชีพโดยการบรรจุพยาบาลวิชาชีพเป็นข้าราชการโดยเฉพาะในพื้นที่ขาดแคลน
พัฒนาระบบการจ้างงานหลังเกษียณและการจ้างงานแบบไม่เต็มเวลา
พัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานและสถานที่ทำงานเพื่อส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเพิ่มการผลิตพยาบาลแต่ความต้องการบุคลากรที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้ในอนาคตการขาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในเกือบทุกวิชาชีพจะยังเป็นปัญหาระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย
สาเหตุหลักของปัญหาการพยาบาลของรัฐ
ปัญหาการไม่ได้รับการบรรจุเข้าสู่ระบบราชการ
ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มักถูกละเลยมากกว่าวิชาชีพด้านสาธารณสุขอื่น
ผลกระทบจากการขาดแคลนพยาบาล
1. ผลกระทบต่อพยาบาลวิชาชีพ
:
ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจจากความเสี่ยง ความเครียดและภาระงานที่หนัก
2. ผลกระทบต่อผู้ป่วย:
จากการดูแลที่ได้รับอาจไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้นเพราะต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน
3.ผลกระทบต่อองค์การ:
โรงพยาบาลในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิต้องลดบริการบางประเภทลง
สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการลงทุนจ้างพยาบาลล่วงเวลาในหอผู้ป่วยต่างๆ
สถานบริการสุขภาพของรัฐขาดแคลนพยาบาลที่จบใหม่มาทำงานทดแทนพยาบาลวิชาชีพที่ลาออก
4.ผลกระทบต่อสังคมและประเทศ
ได้แก่ การสูญเปล่าในการผลิตพยาบาลวิชาชีพของรัฐ การสูญเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตพยาบาลและการพัฒนาบุคลากรที่จบใหม่