Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนแก้ไขปัญหาในชุมชน, นางสาวญานิตา ประดับบุตร 611181 - Coggle Diagram
การวางแผนแก้ไขปัญหาในชุมชน
ระยะก่อนวางแผน
(Pre-Planning)
การศึกษาสาเหตุของปัญหา
ขั้นตอนการศึกษาสาเหตุปัญหา
การวิเคราะห์ข้อมูล
PRECEDE Framework
เริ่มจากการวิเคราะห์ถึงเป้าหมายที่ต้องการก่อนเป็นกระบวนการย้อนกลับจากเป้าหมายที่ต้องการไปสู่ปัจจัยที่จะนำเข้าเพี่อแก้ปัญหาโดยประกอบด้วย 6 ขั้นตอน
Epidemiological And Social Diagnosis (ขั้นที่1 2)
Behavioral Diagnosis (ขั้นที่ 3)
Educational Diagnosis (ขั้นที่ 4)
Administrative Diagnosis (ขั้นที่ 5)
ปัจจัยทั้ง 3 มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม การรับรู้
ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมนั้น ๆ
ปัจจัยเสริม ได้แก่ การมีทักษะ การมีแหล่งประโยชน์และบริการทางสาธารณสุข ทรัพยากรของชุมชน กฎระเบียบ
ปัจจัยสนับสนุน ทัศนคติและพฤติกรรมที่เกิดจากสังคม หรือคนใกล้ชิด
การวิเคราะห์โยงใยสาเหตุของปัญหา
( Web of causation )
ขั้นตอนในการสร้าง
เริ่มต้นจากปัญหาที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ
หาสาเหตุที่ใกล้ที่สุดก่อนเรียกว่าสาเหตุทางตรง(Direct causal)
ใช้หลักของเหตุผลหรือหลักทางวิชาการ (Basic on Reason) ศึกษาจากตำรา เอกสาร การวิจัย
ใช้ประสบการณ์ (Based on Experience) ความรู้ ความชำนาญ
หลังจากนั้นให้ พิจารณาต่อไปอีกว่า สาเหตุทางตรงที่อยู่ใกล้กับปัญหาที่เรากำลังศึกษาอยู่นั้น เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ซึ่งในเวลานี้สาเหตุทางตรงกำลังจะเป็นผลที่เกิดขึ้นของสาเหตุที่จะหาต่อไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ใช้ในการสนับสนุนปัญหาควรเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหาในลักษณะของปัญหาทางด้านสุขภาพและควรเป็นข้อมูลทางด้านความรู้ เจตคติและการปฏิบัติตัวเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา (Priority Setting)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกัน (Consensus) ที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหานั้นๆ
เพื่อให้สอดคล้องกับการวางแผนแก้ไขปัญหาตามลำดับก่อนหลัง ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการประสานความร่วมมือทรัพยากรและการดำเนินงาน
วิธีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
ความยากง่ายในการแก้ปัญหา
( Ease of Management of Susceptibility to Management )
ด้านวิชาการ
มีความรู้ด้านวิชาการในการนำมาใช้แก้ปัญหาได้หรือไม่
ด้านทรัพยากร
ดูแลบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และวิธีดำเนินการ รวมทั้้งนโยบาย สนับสนุนของผู้บริหาร
ด้านระยะเวลา
มีเวลาเพียงพอที่จะแก้ไขปัญหานั้นๆหรือไม่
ด้านกฎหมาย
ดูวิธีการแก้ปัญหาว่าขัดกับกฎหมายหรือไม่
ด้านศีลธรรม
ดูว่าการแก้ปัญหาขัดกับศัลธรรม จรรยา ขนบธรรมเนียม ประเพณีหรือไม่
ภาวะด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน
ขนาดปัญหา (Size of problem)
สามารถพิจารณาได้ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยพิจารณาในรูปของอัตราความชุกของโรคและเปรียบเทียบกับน้ำหนักคะแนนซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0-4
ความรุนแรงของปัญหา (Seriousness)
พิจารณาประกอบกับอัตราตายหรือความทุพพลภาพจากโรคหรือปัญหานั้นๆประกอบกับความคิดของแพทย์พยาบาลหรือผู้เชี่ยวชาญและผลกระทบที่จะทำให้เกิดผลเสียแก่ครอบครัวชุมชนและประเทศชาติในด้านร้อยละของประชากร โดยให้ค่าอยู่ระหว่าง 0-4
การตระหนักในปัญหาของชุมชน (Community Concern)
ประชาชนในชุมชนเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้นมีความสำคัญหรือมีความวิตกห่วงใยหรือต้องการให้แก้ไขรีบด่วนหรือไม่
หลักการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาอนามัยชุมชน
ควรเป็นปัญหาที่สามารถให้การช่วยเหลือในลักษณะของการป้องกันมากกว่าการรักษา
เป็นปัญหาที่กระทบต่อประชากรกลุ่มใหญ่
โดยเฉพาะประชากรกลุ่มผู้เยาว์หรือกลุ่มแรงงาน
ระยะวางแผน
ลักษณะของแผนอนามัยชุมชนที่ดี
ตั้งอยู่บนรากฐานของความเป็นจริง
มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และเป็นไปได้ตามสถานการณ์ของความเป็นจริง
มีกลยุทธ์หรือกิจกรรมแก้ปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้
กำหนดการใช้ทรัพยากรและงบประมาณได้อย่างเหมาะสมกับชุมชนและเกิดประโยชน์สูงสุด
มีกำหนดระยะเวลาการทำงานที่แน่นอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั้งสิ้นสุดการทำงาน
มีการกำหนดขอบเขตหน้าที่การทำงานและความรับผิดชอบงานให้แก่บุคลากรในทีมงานอย่างเหมาะสม
สามารถประเมินความสำเร็จของงานได้
มีลักษณะยืดหยุ่นและง่ายต่อการปรับปรุงแก้ไข
เป็นแผนที่สอดคล้องกับนโยบาย
ประเภทของแผน
ประเภทของแผนแบ่งตามเวลา
แผนระยะยาว
แผนที่มีระยะดำเนินงานตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้นไป
มีลักษณะเป็นนโยบาย มีเป้าหมายและทิศทางการแก้ปัญหาอย่างกว้างขวาง ๆ
แผนระยะกลาง
ระยะดำเนินงานอยู่ระหว่าง 2-5 ปี เป็นแผนที่อาศัยกรอบเค้าโครงจากแผนระยะยาว
แผนระยะสั้น
แผนซึ่งมีระยะดำเนินงานอยู่ระหว่าง 2 ปีลงไป เป็นแผนที่อาศัยกรอบเค้าโครงจากจากแผนระยะปานกลางรวมทั้งแผนที่กำหนดกิจกรรมเพียงครั้งเดียวเพื่อแก้ไขปัญหา
ประเภทของแผนแบ่งโดยอาศัยการกระทำเป็นหลัก
แผนเพื่อการกระทำซ้ำหรือแผนถาวร
แผนนี้จะรวมนโยบายวิธีการและแนวปฏิบัติเข้าไว้ด้วยกันเพื่อครอบคลุมถึงสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
แผนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ซ้ำกันหรือแผนเพื่อใช้ครั้งเดียว
เป็นแผนซึ่งกำหนดกิจกรรมเพื่อใช้ในสถานการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ
ประเภทของแผนแบ่งตามลายลักษณ์อักษร
แผนที่มีลายลักษณ์อักษร
เป็นการวางแผนที่มีลายลักษณ์อักษรเป็นหลักฐาน สามารถ ตรวจสอบได้เมื่อต้องการเป็นได้ทั้งแผนที่มีความสลับซับซ้อนและแผนการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง
แผนที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร
เป็นการวางแผนที่ไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานได้ มักเป็นแผนที่ไม่ยุ่งยาก
ประเภทของแผนแบ่งตามพื้นที่
แผนชาติ
เป็นการวางแผนในลักษณะกำหนดเป็นแนวทางหรือนโยบาย
แผนภาค
เป็นการวางแผนในลักษณะของการมุ่งเน้นการปฏิบัติโดยยึดนโยบายเป็นกรอบ
แผนพื้นที่
เป็นการวางแผนในลักษณะของแผนงานเน้นกิจกรรมการแก้ไขปัญหา
การจัดทำแผนแก้ไขปัญหาอนามัยชุมชน
แผนงาน
กลุ่มโครงการตั้งแต่ 2 โครงการขึ้นไปที่กำหนดขึ้นในลักษณะประสานสัมพันธ์กัน เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ องค์ประกอบของแผนงาน ดังนีี้
หัวเรื่อง
ปัญหา เป็นการระบุปัญหาอนามัยชุมชนซึ่งมีวิธีการเขียนปัญหาในลักษณะของข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเป็น 2 ลักษณะคือในภาวะสุขภาพชุมชนและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพชุมชน
วิเคราะห์ปัญหา
เป้าประสงค์หรือเป้าหมายของการแก้ปัญหา เป็นการระบุว่าต้องการแก้ปัญหาอะไร
วัตถุประสงค์ การเขียนวัตถุประสงค์ของแผนงาน จะต้องนำนโยบายมาพิจารณาประกอบการเขียน โดยวัตถุประสงค์นั้้นจะต้อง สอดคล้องกับระยะเวลาในการดำเนินงานแก้ไขปัญหา
วิธีการทางสาธารณสุขในการแก้ปัญหา เป็นกลุ่มกิจกรรมที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานแก้ ไขปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดีและเมื่อการะทำรวมกันแล้วจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการส่งเสริม การป้องกันโรค รักษาพยาบาลและการฟื้นฟู
ประเมินผล
โครงการ
เป็นแผนปฏิบัติการโดยยึดวิธีการทางสาธารณสุขจากแผนงานมาหนึ่งกลวิธีหรือมากกว่าหนึ่งกลวิธีมาขยายขอบเขตของกลวิธีออกมาในรูปของกิจกรรมในลักษณะการชี้แจงรายละเอียดของงานทำให้มองเห็นแนวทางดำเนินงานการแก้ไขปัญหา
องค์ประกอบของการเขียนโครงการ ดังนี้
ชื่อโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
หลักการและเหตุผล เป็นการเขียนความเพื่อบอกให้ทราบถึงหลักการของสิ่งที่จะกระทำในการแก้ปัญหาความเป็นมา
วัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์จากแผนงานหลักและกำหนดปริมาณของสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น
ระยะเวลาดำเนินการ
วิธีการดำเนินการ ขั้นตอนนี้ประกอบด้วย
ขั้นเตรียมงาน
ได้แก่ กำหนดการในการติดต่อประสานงานกับบุคคลที่จะมาร่วมในการแก้ไขปัญหา ,กำหนดการเบิกยืมทรัพยากรและงบประมาณที่จะนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ,กำหนดการประชาสัมพันธ์
ขั้นดำเนินการ
ประกอบด้วย วัน เดือน ปีระยะเวลา สถานที่ และงานหรือกิจกรรมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหา
ทรัพยากร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การประเมินผล
ผู้ประเมินผล
นางสาวญานิตา ประดับบุตร 611181