Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทสรุปประวัติวรรณคดี ทั้ง 2 พระองค์ ในเรื่องรามเกียรติ์ - Coggle Diagram
บทสรุปประวัติวรรณคดี ทั้ง 2 พระองค์ ในเรื่องรามเกียรติ์
สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช
ลักษณะการแต่ง เป็นกลอนบทละคร พร้อมกับ ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ตามต้นฉบับ บทละคร เป็นสมุดไทยดำ ตัวหนังสือเป็นเส้นทอง
4 ตอน ที่เราเจอ
หนุมานเกี้ยวนางวานรินทร์
เนื้อเรื่องตอนแรกขาดหายไป เริ่มแต่หนุมานพบนางวารินในถ้ำ นางวารินนั้นเป็น
นางฟ้า ถูกพระอิศวรสาปให้มาอยู่ในถ้ำ คอยพบหนุมานเพื่อบอกทางแก่หนุมานไปฆ่าวิรุณจำบัง แล้วจึงจะพ้นคำสาป เมื่อ
หนุมานพบนางวาริน นางไม่เชื่อว่าเป็นหนุมาน หนุมานจึงต้องหาวเป็นดาวเป็นเดือนให้ดู นางจึงเชื่อหนุมานเกี้ยวนางวาริน
และได้นางเป็นภรรยา ต่อมาหนุมานไปฆ่าวิรุณจำบังตามที่นางวารินบอก เมื่อฆ่าวิรุณจำบังแล้ว หนุมานจึงกลับมายังถ้ำ และส่งนางวารินกลับเขาไกรลาสตามที่ได้สัญญาไว้กับนาง
ท้าวมาลีวราชว่าความ
เป็นตอนต่อจากหนุมานเกี้ยวนางวาริน ทศกัณฐ์ทราบว่าวิรุณจำบังตาย จึงทรงทูลเชิญ
ท้าวมาลีวราชพระอัยกาผู้มีวาจาสิทธิ์มาว่าความท้าวมาลีวราชเสด็จมายังสนามรบ ทศกัณฐ์เข้าเฝ้ากล่าวโทษพระราม ท้าว
มาลีวราชจึงทรงตรัสสั่งให้พระรามและนางสีดาเข้าเฝ้าเพื่อไต่ถามความจริง นางสีดาทูลตามความเป็นจริงท้าวมาลีวราชจึง
ตรัสให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่พระราม แต่ทศกัณฐ์ไม่ยอม ท้าวมาลีวราชจึงทรงสาปแช่งทศกัณฐ์ และอวยพรให้แก่พระราม
แล้วเสด็จกลับ
พระมงกุฎประลองศร
ทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด
ตอนนี้เป็นตอนต่อจากท้าวมาลีวราชว่าความ เรื่องมีว่า ทศกัณฐ์มีความแค้นเทวดาที่
เป็นพยานให้แก่พระราม จึงทำพิธีปลุกเสกหอกกบิลพัทที่เชิงเขาพระสุเมรุ และทำพิธีเผารูปเทวดา พระอิศวรจึงมีเทวบัญชาให้
เทพบุตรพาลีมาทำลายพิธี ทศกัณฐ์พุ่งหอกกบิลพัทหมายสังหารพิเภก พิเภกหลบไปอนยู่หลังพระลักษณ์ พระลักษณ์ต้องหอ
พระรามให้หนุมานไปหายาพร้อมแม่หินและลูกหิน หนุมานเข้าเมืองลงกาเพื่อไปนำลูกหินบดยามา และผูกผมทศกัณฐ์กับผม
นางมณโฑไว้ด้วยกัน พระฤาษีโคบุตรต้องมาช่วยแก้ผมให้
อิทธิพลของเรื่องรามเกียรติ์ที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย
๑. ด้านภาษาและวรรณคดี มีสำนวนที่มาจากเรื่องรามเกียรติ์หลายสำนวน เช่น ลูกทรพี เหาะเกินลงกา สิบแปดมงกุฎ ราพณาสูร ตกที่นั่งพิเภก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้นิยมแต่งรามเกียรติ์ ทำให้เกิดรามเกียรติ์หลายสำนวน
๒.ด้านศิลปกรรม รามเกีรติ์ก่อให้เกิดแรงดลใจให้จิตรกรนำเรื่องราวไปวาดภาพตามฝาผนังโบสถ์ วิหาร เช่นเดียวกับ
เรื่องชาดกนอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การปั้นตัวละครต่างๆ ในเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อใช้ประดับในที่ต่างๆ
๓. ด้านนาฏศิลป์ เรื่องนี้นิยมนำมาแสดงโขน ละคร หนังใหญ่ จึงนับว่ามีอิทธิพลต่อนาฏกรรมไม่ใช่น้อย
๔. ด้านประเพณี รามเกียรติ์ให้ความรู้เกี่ยวกับด้านประเพณีต่างๆโดยเฉพาะพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีวิวามงคล พระราชพิธีราชาภิเษก พิธีปล่อยม้าอุปการ การยกทัพ เป็นต้น
๕. ด้านความเชื่อ พระรามเป็นพระนารายณ์อวตาร ฉะนั้น พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ จะใช้พระนามของพระรามเพื่อความเป็นสิริวัสดิมงคล เช่น พระรามาธิบดี พระราเมศวร เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ผู้แต่ง รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตในราชสำนักแต่งกลองขึ้น และ บางตอนทรงแต่งขึ้นและแก้ไขด้วยพระองค์เอง
ลักษณะการแต่ง ร้อยแก้วเป็นกลอนบทละคร ตั้งแต่บทพรรณาเจริญความรุ่งเรืองไปจนถึง โคลงสี่สุภาพบอก วันเดือนปีที่แต่ง
จุดประสงค์ เพื่อความบันเทิง เพื่อใช้เป็นบทละครสำหรับละครใน รวบรวมวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ให้กลายเป็นวรรณคดีระดับ The Best
เรื่องย่อ แบ่งเป็น 3 ตอน
ตอนแรก กำเนิดตัวละครต่างๆ อย่างเช่น ทศกัณฐ์ พระรามพละลักษณ์ นางสีดา คงมาจากนารายณ์ปราบนนทกมาคับ
ตอนที่ 2 จุดสงคราม ตั้งแต่พระลักษณ์ตัดหูตัดจมูก นางสัมนักขา ลักสีดาโดยทศกัณฐ์เป็นยักษ์ลักพาตัว ยกพลวานรไปตีเมืองลงกา
ตอนที่ 3 พระรามครองเมือง ตั้งแต่ทศกัณฐ์ เสด็จสวรรคต จากศรของพระราม พระขึ้นทรงราชย์ หนุมานครองเมืองลพบุรี เป็นเจ้าพระยาอนุชิต จนไปถึงนาสีดา คืนดีกับพระราม หลังเหตุวิวาทะ
หนุมานหลอกลวงแจ้งนางสีดาว่า พระราม สวรรคต แล้วกลับมาเมืองอโยธา แล้วพระรามกลับมามีชีวิต แต่นางสีดาทะเลาะวิวาทกลับพระราม แล้วนาสีดาลงไปอยู่บาดาล สุดท้ายก็คืนดีจากพระอิศวร ชัดๆคับ