Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
GA 38 wk. Respiratory Distress Syndrome with Early-onset sepsis,…
-
-
-
D Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคและการปฏิบัติตัว
ภาวะหายใจลำบาก (Respiratory Distress) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด เมื่อใดก็ตามที่เกิดความผิดปกติที่ทำให้ร่างกายต้องมีการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินหายใจ เพื่อปรับให้ได้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของร่างกายได้เพิ่มมากขึ้น โดยมีอาการและอาการแสดง คือ หายใจลำบาก เช่น หายใจเร็วมากกว่า 60 ครั้ง/นาที มีปีกจมูกบาน หรือร่องใต้ซี่โครงบุ๋ม หายใจออกมีเสียงดัง มีอาการเขียว การติดเชื้อในทารกแรกเกิด หมายถึง การติดเชื้อในทารกแรกเกิดที่มีอายุน้อยกว่า 28 วัน ร่วมกับการพบเชื้อในกระแสเลือด หรือน้ำไขสันหลังจากการเพาะเชื้อ แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
1.การติดเชื้อในระยะแรก (EOS) เป็นการติดเชื้อที่เกิดภายใน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วันแรกหลังเกิด 2. การติดเชื้อในระยะหลัง (LOS) เป็นการติดเชื้อที่เกิดชึ้นหลังอายุ 72 ชั่วโมง หรือหลังอายุ 3 วัน อาการและอาการแสดง ได้แก่ อุณหภูมิกายไม่คงที่ ซึมลง ดูดนมช้าหรือดูดแล้วเขียว รับนมไม่ได้
-
E Environment สิ่งแวดล้อม
จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ ให้อากาศถ่ายเทดี ห่มผ้าให้ความอบอุ่นแก่ทารก
T Treatment การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาโรงพยาบาล ได้แก่ ไข้ ซึม สะดือแดง ดูดนมไม่ดี ท้องอืด อาเจียน แหวะนม ถ่ายมูกเลิอด หายใจลำบากมากกว่า 70 ครั้งต่อนาที ถ้ามีอาการเหล่านี้ให้รีบมาโรงพยาบาล
H Health การส่งเสริม การฟื้นฟู
ส่งเสริมให้ได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย มองหน้าสบตา โดยอุ้มให้หน้าลูกอยู่ในระดับเดียวกับแม่ ยิ้ม พูดคุยกับลูกบ่อยๆ และเคลื่อนไหนแขน-ขาทั้งสองข้าง โดย ให้ลูกนอนหงายเพื่อสามารถเคลื่อนไหวแขน-ขาได้อย่างอิสระ ใช้นิ้วสัมผัสฝ่ามือลูก ไม่ควรใส่ถุงมือตลอดเวลา เพื่อฝึกให้ลูกให้มือ
-
D Diet การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
ให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างดียวจนครบ 6 เดือน การให้นมแต่ละครั้งนานไม่น้อยกว่า 20-30 นาที และให้นมแม่อย่างน้อย 8 ครั้ง/วัน โดยมารดาต้องรู้จักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการสร้างน้ำนมและการบำรุงร่างกายของตนเอง หลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิด งดอาหารหมักดอง หรือของมึนเมา บุหรี่หรือกาแฟ งดอาหารรสหวานให้รับประทานผลไม้ที่ไม่หวาน เมื่ออายุ 6-7 เดือน ให้นมแม่และควรให้อาหารเสริมเป็นอาหารบด วันละ 1 มื้อ เพื่อแทนนม ควรเพิ่มเนื้อสัตว์สุกบด เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา และผลไม้ วัย 8-9 เดือน รับประทานอาหารเสริมแทนนมแม่ 2 มื้อ วัย 10-12 เดือน อาหารเสริมเนื้อจะเริ่มหยาบขึ้น เช่น ข้ามต้ม ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ โดยตัดชิ้นเล็กๆนำมาต้มสุก
-