Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนา เด็กชายอายุ 1 ปี 6 เดือน, นางสาวธารทิพย์ แสงแดง เลขที่…
ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนา
เด็กชายอายุ 1 ปี 6 เดือน
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
(Freud’s Psychoanalytic Theory)
ฟรอยด์ เป็นผู้ให้ความสําคัญต่อประสบการณ์ในวัยเด็กของบุคคลซึ่งจะมีผลต่อบุคลิกภาพเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ โดย ฟรอยด์ เน้นว่า ชีวิตของบุคคลวัยเด็กหรือปฐมวัยเป็นวัยที่สําคัญที่สุดของชีวิตของมนุษย์ การจัดการ ตอบสนองและให้ประสบการณ์ท่ีดีต่อความต้องการทางร่างกาย จะทําให้เด็กพัฒนาไปตามขั้นตอนเป็นอย่างดี
ลักษณะจิตใจของบุคคลสามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 ส่วน
อิด (Id) เป็นเสมือนแรงจูงใจหรือความอยากที่จะทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นความต้องการของร่างกาย หรืออาจกล่าวได้ว่า อิด (Id) เป็นอํานาจฝ่ายต่ำก็ได้ เพราะเป็นความปรารถนาซึ่งดําเนินตามความพอใจของตน แต่อย่างเดียว โดยไม่คํานึงถึงความนิยมหรือมาตรฐานของสังคม
อีโก้ (Ego) เป็นส่ิงท่ีจะทําให้ อิด (Id) บรรลุตามจุดมุ่งหมาย เป็นส่วนของจิตที่รู้สํานึก รู้จักกล่อม เกลาจิตใจให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แท้จริง รวมทั้งยังรู้จักเลือกและควบคุมความปรารถนาต่าง ๆ โดยคํานึงถึง ความเป็นจริง
ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) คือ ส่วนที่เป็นมโนธรรมและศีลธรรม มีวิจารณญาณและความรู้สึกผิด ชอบ โดยเป็นส่วนที่คอยควบคุม อิด
ลําดับขั้นพัฒนาการทางเพศของ ฟรอยด์
ขั้นความพอใจอยู่บริเวณปาก(OralStage)
อยู่ในช่วงอายุ0–1ปี
เป็นระยะที่ทารก มุ่งความสนใจไปที่ปาก การดูด การกัด หรือการได้สัมผัสบริเวณปากจะนําความสุขมาให้ทารกมากที่สุด การดูด อาหารนอกจากสนองความต้องการในด้านความหิวแล้ว ยังทําให้ทารกได้ผ่อนคลายความตึงเครียดทางร่างกาย ด้วย
ขั้นความพอใจอยู่บริเวณทวารหนัก(AnalStage) อยู่ในช่วงอายุ 1-2 ปี
อยู่ในช่วงอายุ1–2ปีระยะนี้เกิด เมื่อเด็กเรียนรู้เรื่องการขับถ่าย การขับถ่ายของเด็กควรเป็นไปโดยเด็กพอใจและไม่มีความรู้สึกขัดแย้ง ในขณะที่ การวางกฎเกณฑ์บังคับเด็ก เช่น การบังคับให้เด็กถ่ายเป็นเวลา จะทําให้เด็กมีความตึงเคียดทางอารมณ
ขั้นความพอใจอยู่บริเวณอวัยวะเพศ(PhallicStage) อยู่ในช่วงอายุ3–5ปี
ความพึงพอใจของเด็กเลื่อนไปอยู่ที่อวัยวะสืบพันธ์ ลักษณะท่ีเด่นชัดของขั้นนี้ คือ เด็กมีความสนใจและความ อยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสภาพร่างกายซึ่งแตกต่างไปตามเพศ การเกิดของทารก บทบาทของพ่อแม่ในการให้ กําเนิดบุตร และพฤติกรรมทางเพศของผู้ปกครอง ซ่ึงการเล่นอวัยวะเพศจะพบได้ในเด็กอายุช่วงน้ี ซึ่งเป็นวัย ก่อนเข้าเรียน การให้ความรัก ความอบอุ่นของผู้ท่ีเกี่ยวข้องทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองและครู ต่อเด็กจะทําให้เด็กผ่าน ขั้นนี้ไปได้ และจะเรียนรู้ถึงบทบาทางเพศของตนโดยการเลียนแบบ (Identification) บทบาทของพ่อแม
ขั้นก่อนวัยรุ่น (Latency Stage) อยู่ในช่วงอายุ 6 – 12 ปี
เป็นระยะที่เด็กจะหันความ สนใจ
จากความสัมพันธ์ภายในครอบครัวไปสู่เพื่อนฝูง ระยะนี้พลังต่าง ๆ ในขั้นที่ 3 ยังคงแฝงอยู่ ไม่แสดงปรากฏ ออกมา
ขั้นวัยรุ่น(GenitalStage)อายุ13–18ปี
เป็นขั้นที่เด็กมีความสนใจในเพศตรงข้ามมาก
ทุกที การเริ่มต้นที่แท้จริงของความรักระหว่างเพศจะเกิดขึ้นในขั้นนี้
กรณีศึกษา อายุ 1 ปี 6 เดือน
สำหรับกรณีศึกษาอยู่ในลำดับขั้นพัฒนาการทางเพศของฟรอยด์ ขั้นความพอใจอยู่บริเวณทวารหนัก(AnalStage)
มารดาเป็นผู้ดูแลหลัก ในขณะที่เข้าห้องน้ำจะมีมารดาไปเฝ้า เด็กชายจะขับถ่ายเมื่อรู้สึกอยากขับถ่าย ไม่มีการกำหนดเวลา ส่วนมากจะอยากขับถ่ายในตอนสายๆของทุกวัน มารดาไม่ได้บังคับให้ไปขับถ่าย
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg’s Moral Development Theory)
มีความเชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลจะต้องเกิดขึ้นเป็นลําดับขั้น โดยเร่ิมจากข้ันแรกก่อน แต่ระยะเวลาในการอยู่ขั้นหนึ่งขั้นใดนั้นจะแตกต่างกันแล้วแต่บุคคล หรือบางคนอาจจะอยู่ในขั้นที่คาบเกี่ยวกัน ก็ได้ พัฒนาการทางจริยธรรมจําเป็นเช่นเดียวกับพัฒนาการทางด้านการคิดและเหตุผล กล่าวคือ จะค่อย ๆ มี การเปลี่ยนแปลงในการแยกแยะถึงผลดี ผลเสีย แล้วนําไปก่อให้เกิดการจัดระบบใหม่ที่จะนําไปสู่ขบวนการ สมดุลของโครงสร้างในที่สุด
ขั้นพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม
ระดับเริ่มมีจริยธรรม(Preconventionallevel)เป็นระดับก่อนเกณฑ์(อายุ2–10ปี)
ขั้นที่ 1 (อายุ 2 – 7 ปี) เด็กจะเคารพกฎเกณฑ์เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ
ขั้นที่ 2 (อายุ 7 – 10 ปี) ใช้หลักการแสวงให้รางวัล เด็กจะเลือกกระทําในสิ่งที่นําความพอใจ มาให้ตนเท่านั้น สิ่งใดที่สนองความต้องการของตนถือว่าสิ่งนั้นถูกต้อง
ระดับมีจริยธรรมตามกฎเกณฑ์และประเพณีนิยม(Conventional level) เป็นระดับตาม กฎเกณฑ์ (อายุ 10 – 16 ปี)
ขั้นที่ 3 (อายุ 10 – 13 ปี) เป็นการทําตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ โดยเด็กมองว่าการทําดีคือทําสิ่งที่ ทําให้ผู้อื่นพอใจและการช่วยเหลือผู้อ่ืน ทําตามสังคมเพ่ือให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นเด็กด
ขั้นที่ 4 (อายุ 13 – 16 ปี) เป็นการทําตามหน้าที่ทางสังคม ซึ่งกฎที่ผู้ปกครองหรือสังคมตั้งไว้ เป็นตัวกําหนดความประพฤติด้านจริยธรรมของเด็ก การทําถูกคือการทําตามหน้าที่ เคารพผู้ปกครองและทํา ตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่สังคมตั้งไว้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกประณามจากสังคม
ระดับมีจริยธรรมของตนเอง (Post conventional หรือ autonomous หรือขั้น principled) เป็นระดับหลังเกณฑ์ (อายุ 16 ปีขึ้นไป)
ขั้นที่ 5 (อายุ 16 ปีขึ้นไป) คํานึงถึงกฎที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม คํานึงถึงสิทธิส่วนบุคคล ยอมรับกฎที่เป็นประชาธิปไตย
ขั้นที่ 6 (วัยผู้ใหญ่) เป็นการยึดหลักอุดมคติ คํานึงถึงหลักจริยธรรม ตัดสินความถูกผิดจาก จริยธรรมที่ตนยึดถือจากสามัญสํานึกตนเองและจากเหตุผล คํานึงถึงสิทธิมนุษยชนและเคารพสถานภาพของ บุคคลไม่คล้อยตามสังคม สามารถบังคับใจตนเองได
ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจของเพียเจท์ (Piaget’s Cognitive Development Theory)
เห็นว่า ความคิดหรือสติปัญญานั้น หมายถึง การท่ีบุคคลสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับความต้องการของ สิ่งแวดล้อม สามารถจัดและดัดแปลงความคิดและการแสดงออกของคนอย่างน่าพึงพอใจ ซึ่งเป็นผลระหว่าง การรับ คือ ขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Assimilation) และการจัดปรับขยายโครงสร้าง (Accommodation) ผลของการทํางานของขบวนการดังกล่าวจะเกิดเป็นโครงสร้างขึ้น (Schema)
พัฒนาการทางปัญญาของเด็กเป็นขั้น ๆ ตามลําดับอายุ
ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensoimotor Stage)อยู่ในช่วงตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 2 ขวบ
เป็นขั้นที่เด็กรู้จักการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ปาก หู ตา ฯลฯ ในขั้นนี้จะเป็นการ พัฒนาการทางความคิดก่อนระยะเวลาที่ทารกจะพูดและใช้ภาษาได้ สามารถรับรู้และแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ ได้ เป็นช่วงที่มีปฏิกิริยาสะท้อน เช่น การจับ กํา การดูด
ขั้นความคิดก่อนเกิดปฏิบัติการ (Preoperational Stage)อยู่ในช่วงอายุ2–7ปี
เริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายท่าทางที่สื่อความหมาย เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น แต่ยังอาศัย การรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถคิดหาเหตุผลและยกเหตุผลข้ึนอ้างอิงได้ เด็กจะเริ่มเข้าใจสัญลักษณ์และใช้ ภาษาแทนความหมายของเหตุการณ์และสิ่งต่าง ๆ
ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อยู่ในช่วงอายุ 7 – 11 ปี
เด็กสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่แลเห็นได้ เช่น การจัดแบ่งกลุ่ม แบ่งพวก ฯลฯ และ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ในขั้นนี้เด็กสามารถคิดตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลกับส่ิงที่เป็น รูปธรรม คิดได้ว่าการกระทําใดบ้างจะเป็นไปได้และผลจะออกมาอย่างไรโดยไม่ต้องลองผิดลองถูก
ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม(FormalOperationalStage)อยู่ในช่วงอายุ 11 – 15 ปีขึ้นไป
เป็นช่วงที่เด็กรู้จักคิดหาเหตุผลและเรียนรู้เกี่ยวกับนามธรรมได้ดีขึ้น สามารถตั้งสมมติฐานและ แก้ปัญหาได้ การคิดหาเหตุผลแบบตรรกศาสตร์ (Logical Thinking) พัฒนาอย่างสมบูรณ์ เป็นข้ันที่เกิด โครงการทางสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ เด็กในวัยนี้จะมีความคิดเท่าผู้ใหญ่ อาจจะแตกต่างกันที่คุณภาพเท่านั้น เนื่องจากประสบการณ์แตกต่างกัน
ทฤษฎีจิตสังคมของอีริกสัน Psychosocial
development
(มัณฑรา ธรรมบุศย์)
Erik H. Erikson อธิบายถึง ลักษณะของการศึกษาไปข้างหน้า โดยเน้นถึงสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของคนซึ่งในแต่ละขั้นของพัฒนาการนั้นจะมีวิกฤติการณ์ทางสังคม (social crisis) เกิดขึ้นการที่ไม่สามารถเอาชนะหรือผ่านวิกฤติการณ์ทางสังคมในขั้นหนึ่งๆ จะเป็นปัญหาในการเอาชนะวิกฤติการณ์ทางสังคมในขั้นต่อมา ทำให้เกิดความบกพร่องทางสังคม (social inadequacy) และเป็นปัญหาทางจิตใจตามมาภายหลัง ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพตามแนวคิดของ Erikson
พัฒนาการด้านจิตสังคมของบุคคลเป็น 8 ขั้น
ขั้นที่ 1 ระยะทารก (Infancy period) อายุ 0-2 ปี : ขั้นไว้วางใจและไม่ไว้วางใจผู้อื่น (Trust vs Mistrust)
ในระยะขวบปีแรกทารกจะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นในการดูแลเอาใจใส่ทุกด้าน ตลอดจนความรัก และสอนให้ทารกพบกับสิ่งเร้าใหม่ๆ กอดรัดสัมผัสพูดคุยเล่นด้วยตลอดเวลา โดยเฉพาะในวัยนี้ทารกจะมีความรู้สึกไวมากที่บริเวณปาก เมื่อได้ดูดนม ได้อาหาร ได้รับสัมผัสอันอ่อนโยน อบอุ่น ได้รับความรักความพอใจทั้งทางร่างกายและอารมณ์แล้ว ทารกก็เรียนรู้ที่จะไว้วางใจในสิ่งแวดล้อมอันได้แก่แม่ของตนเองเป็น คนแรกในทางตรงข้ามถ้าหากความต้องการไม่ได้รับการตอบสนองแล้วทารกจะมีอาการหวั่นกลัว ไม่ไว้วางใจผู้ใดหรือสิ่งของใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้รวมทั้งไม่ไว้วางใจตนเองด้วย
ขั้นที่ 2 วัยเริ่มต้น (Toddler period) อายุ 2-3 ปี : ขั้นที่มีความเป็นอิสระกับความละอายและสงสัย (Autonomy vs Shame and doubt)
ขั้นนี้เด็กเริ่มเรียนรู้ที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง หากได้รับการสนับสนุนและกระตุ้นให้เด็กได้กระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองตามสมควร เด็กจะมีการพัฒนาตัวเองไปในลักษณะที่มีโอกาสเลือกลอง และอยู่ในระเบียบวินัยไปในตัว ในทางตรงข้ามถ้าพ่อแม่เคร่งครัดเจ้าระเบียบให้เด็กอยู่ในระเบียบตลอดเวลาหรือเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป (over protective) ไม่ยอมรับสิ่งที่เด็กทำขึ้นมาด้วยตนเอง เด็กจะพัฒนาตัวเองไปในรูปแบบที่ไม่แน่ใจในตนเองหรือไม่กล้าที่จะทำอะไรด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา
ขั้นที่ 3 ระยะก่อนไปโรงเรียน (Preschool period) อายุ 3-6 ปี ขั้นมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt)
เป็นระยะที่เด็กมีการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง มีความสัมพันธ์กับเพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบลองอะไรใหม่ๆ ชอบเล่นก่อสร้างอะไรขึ้นมาตามความคิดของตน และในขั้นนี้เด็กจะย่างเข้าสู่ความรู้สึกไวในบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ฉะนั้น เด็กจะติดอยู่ที่ปมออดิปุส ถ้าเด็กได้รับความรักความเข้าใจและได้รับการสนับสนุนในการทำกิจกรรมต่างๆ จากทั้งพ่อและแม่ เด็กย่อมมีความมั่นใจในตนเอง กล้าซักถาม มีความคิดริเริ่ม แสดงความแยบคายในการแก้ปัญหาและพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งต่างๆ ตรงกันข้าม ถ้าพ่อแม่เข้มงวดควบคุมความประพฤติตลอดเวลา เด็กจะเกิดความรู้สึกว่าตนเองทำผิดเมื่อพยายามทำอะไรด้วยตัวของตัวเอง
ขั้นที่ 4 ระยะเข้าโรงเรียน (School period) อายุ 6-12 ปี : ขั้นเอาการเอางานกับความมีปมด้อย (Industry vs Inferiority)
ระยะนี้เด็กเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์ มีความคิดและพยายามทำกิจกรรมด้วยตัวเอง หากได้รับการสนับสนุนก็ย่อมทำให้เด็กมีการพัฒนาบุคลิกภาพและมีความมานะเพียรพยายามที่จะแสวงหาสิ่งที่ท้าทายความสามารถ สติปัญญา แต่หากเหตุการณ์เป็นไปในทางตรงกันข้าม จะทำให้เด็กมีความรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่า อาจต้องถอยกลับไปสู่วัยทารกอีกเพื่อหลีกเลี่ยงภาระอันต้องรับผิดชอบ
ขั้นที่ 5 ระยะวัยรุ่น (Adolescent period) อายุ 12-20 ปี : ขั้นการเข้าใจอัตลักษณะของตนเองกับไม่เข้าใจตนเอง (Identity vs role confusion)
เป็นระยะที่เริ่มสนใจเรื่องเพศ เข้าไปผูกพันกับสังคมและต้องการตำแหน่งทางสังคม ความรู้สึกเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง เข้าใจอัตลักษณะของตัวเอง รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร มีความเชื่ออย่างไร และตนเองเป็นใคร หากไม่สามารถรวบรวมประสบการณ์ในอดีตได้ ก็จะไม่สามารถเข้าใจตัวเอง เกิดความสับสน และความขัดแย้ง
ขั้นที่ 6 ระยะต้นของวัยผู้ใหญ่ (Early adult period) อายุ 20-40 ปี : ขั้นความใกล้ชิดสนิทสนมกับความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว (Intimacy vs Isolation)
ระยะนี้เริ่มมีการนัดหมาย การแต่งงาน และชีวิตครอบครัว หรือทำงานกับผู้อื่นได้ หากสามารถบรรลุอัตลักษณ์ของตนเอง ก็จะสามารถสร้างและแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์อย่างสนิทสนมกับบุคคลอื่น หากไม่สามารถประสบความสำเร็จในการแสวงหาแนวทางแห่งตนก็จะไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ได้ มักจะรู้สึกเหงา เปล่าเปลี่ยว ไม่รู้จะพึ่งพาใคร
ขั้นที่ 7 ระยะผู้ใหญ่ (Adult period) อายุ 40-60 ปี : ขั้นการอนุเคราะห์เกื้อกูลกับการพะว้าพะวงแต่ตัวเอง (Generativity vs Self-Absorption)
เป็นระยะที่บุคคลหันมาสนใจกับโลกภายนอก ริเริ่มสร้างสรรค์งานต่างๆ เพื่อสังคม คิดถึงผู้อื่น ไม่โลภหรือเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว บุคคลที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้จะมีความรู้สึกคิดถึง หมกมุ่นอยู่กับตนเอง เป็นคนที่เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง มีชีวิตอย่างไร้ความสุข
ขั้นที่ 8 ระยะวัยสูงอายุ (Aging period) อายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป : ขั้นความมั่นคงทางจิตใจกับความสิ้นหวัง (Integrity vs Despair)
วัยนี้เป็นวัยสุขุม รอบคอบ ฉลาด บุคคลจะยอมรับความเป็นจริงของชีวิต ระลึกถึงความทรงจำในอดีต หากประสบความสำเร็จในอดีตก็จะรู้สึกไว้วางใจผู้อื่นและตนเอง มีความมั่นคงทางจิตใจ ภูมิใจต่อการบอกเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ในชีวิตให้บุตรหลานฟัง ตรงกันข้ามหากบุคคลต้องประสบกับความล้มเหลวและความผิดหวังในอดีต จะเกิดความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง รู้สึกคับข้องใจ และไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
นางสาวธารทิพย์ แสงแดง เลขที่ 30 ปี 3/2