Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:rain_cloud:กรรมวิธีการทำฝนเทียม :rain_cloud:, :, 600px-O.rain,…
:rain_cloud:
กรรมวิธีการทำฝนเทียม
:rain_cloud:
:fireworks:
ขั้นที่ 1 ก่อกวน
:fireworks:
ปัญหา
สภาพอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ไม่อำนวยต่อการเกิดฝน
ท้องฟ้าโปร่งโล่ง
สภาพอากาศมีความแห้งแล้ง อุณหภูมิสูง
ฝนไม่ตกเนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการเกิดเมฆ
สมมติฐาน
อาจจะเกิดจากการที่ปริมาณความชื้นหรือในก้อนเมฆโมเลกุลของน้ำไม่รวมตัวได้หนักพอจนก่อเกิดเป็นหยดน้ำปริมาณมากพอที่จะเกิดฝนตกได้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.เกิดเหตุการณ์ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลและเกิดความแห้งแล้ง
2.ทำการตรวจสอบพื้นที่ พบว่ามีเมฆแต่ไม่เกิดฝน หรือมีความชื้นที่มากพอจะเกิดฝนแต่กลับไม่ก่อตัวเป็นเมฆ
3.ตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเกิดมาจากการที่โมเลกุลชองน้ำในเมฆไม่รวมตัวกันเป็นหยดน้ำที่หนักพอจะตกลงมาได้
4.เริ่มปฏิบัติการทำฝนเทียม(ฝนหลวง) เริ่มจากต้องทำการทำให้โมเลกุลของน้ำในเมฆรวมตัวกันจนเกิดเป็นหยดน้ำ โดยได้โดยจะต้องเป็นพื้นที่ฟ้าโปร่ง มีได้บ้าง มีความชื้นสัมพัทธ์ ไม่ต่ำกว่า 60 % เพื่อที่จะมีความชื้นมากพอที่สามารถใช้สารเคมีเพื่อทำให้หยดน้ำรวมตัวกันเป็นเมฆ
โดยจะเริ่มจากการใช้เครื่องบินบินขึ้นไปสูงราว 7000 ฟุต เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นบริเวณที่เมฆที่สามารถก่อตัวเป็นเมฆฝนก่อตัวขึ้น โดยจะโปรยผงเกลือแกง (NaCl) ลงมาโดยจะโปรยให้ตรงกับทิศทางของต้นลมเนื่องจากเกลือแกงมีคุณสมบัติที่จะดูดซับความชื้นและไอน้ำซึ่งจะทำให้โมเลกุลของน้ำก่อตัวหนาขึ้นจนก่อเป็นเมฆขึ้นมาหรือทำให้เมฆใหญ่ขึ้นได้
5.เริ่มปฏิบัติการต่อไป ทำให้เมฆที่ก่อตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น : เลี้ยงให้อ้วน
:hamburger:
ขั้นที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน
:hamburger:
ปัญหา
จากวิธีการ “ก่อกวน” เมฆสามารถก่อตัวขึ้นมาได้ แต่ขนาดยังไม่ใหญ่มากพอ ซึ่งจะต้องมีการทำให้เมฆฝนมีขนาดใหญ่ขึ้น
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.เมฆที่เพิ่งปรากฏตัวจาก “ก่อกวน” ยังไม่สามารถตกลงเป็นฝนได้
2.พบว่าเมฆยังมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะทำให้เกิดเป็นเมฆพายุฝนได้
3.น่าจะเกิดจากการเป็นเมฆพึ่งก่อตัว ยังขนาดใหญ่ไม่มากพอจนจะเกิดเป็นฝนลงมาได้ ซึ่งน่าจะเพิ่มน้ำหนักให้เมฆใหญ่ขึ้นได้โดยใช้สารเคมีที่เพิ่มความร้อนเพื่อเร่งการกลั่นตัวของหยดน้ำเพิ่มขนาดและปริมาณของเมฆฝน
4.เริ่มปฏิบัติการโดยหลังจากการ “ก่อกวน” ทำให้เกิดเมฆได้แล้วให้ทำการเป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำให้กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากขึ้น ใช้สารเคมีผงแคลซียมคลอไรด์โปรยเข้าไปที่กลุ่มเมฆที่มีความสูงประมาณ 8,000 ฟุต หรือสูงกว่าฐานเมฆประมาณ 1,000 ฟุต ขั้นตอนนี้สามารถเร่งกิจกรรมการกลั่นตัวของไอน้ำได้เร็วกว่าที่จะปล่อยให้เจริญขึ้นเองตามธรรมชาติ เมฆใหญ่อาจจะก่อยอดขึ้นถึงระดับ 15,000 ฟุต ซึ่งทางวิทยาศาสตร์ถือว่าเป็นส่วนของเมฆอุ่น แต่ในบางครั้งยอดเมฆอาจจะสูงถึง 20,000 ฟุต ซึ่งถือว่าเป็นส่วนของเมฆเย็น (เริ่มตั้งแต่ประมาณ 18,000 ฟุต)
โดยที่ใช้สารเคมีผงแคลซียมคลอไรด์ เพราะเป็นสารที่เมื่อดูดซับความชื้นแล้วจะให้ความร้อน และกลายเป็นแกนกลั่นตัวที่เป็นสารละลายเข้มข้น ที่มีความไวในการดูดซับความชื้นที่ผิวสูง ซึ่งอาจจะใช้เป็นแคลเซียมคาร์ไบด์ หรือแคลเซียมออกไซด์ก็ได้
5.เริ่มปฏิบัติการสุดท้าย บังคับฝนตก : โจมตี
สมมติฐาน
เมฆยังไม่สามารถตกลงมาเป็นฝนได้ ซึ่งน่าจะเกิดจากการเป็นเมฆพึ่งก่อตัว ยังขนาดใหญ่ไม่มากพอจนจะเกิดเป็นฝนลงมาได้
:bomb:
ขั้นที่ 3 โจมตี
:bomb:
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.เมฆอาจลอยไปตกเป็นฝนที่อื่นได้
2.เมฆมีขนาดใหญ่พอที่จะกลายเป็นฝน แต่อาจเกิดปัญหาลมพัดทำให้เมื่อฝนตกมาช้าจะกลายเป็นฝนไปตกในพื้นที่อื่น
3.น่าจะต้องใช้สารเคมีเพื่อลดอุณหภูมิทำให้ปริมาตรและน้ำหนักของน้ำฝนหนักจนตกลงมา
4.เริ่มปฏิบัติการ “โจมตี”
เป็นการเร่งหรือบังคับให้เกิดฝน ขณะที่เมฆเจริญเติบโตขึ้นจนเริ่มแก่ตัวจัดจนฐานเมฆลดระดับต่ำลงประมาณ 1,000 ฟุต และเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายจึงปฏิบัติการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานขั้นตอนการโจมตีไว้ ดังนี้
4.1) แบบ Sanwich เป็นเทคนิคปฏิบัติการที่ความสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต (เมฆอุ่น) ใช้ผงโซเดียมคลอไรด์โปรยทับยอดเมฆด้านเหนือลม เพราะผงยูเรียโปรยที่ระดับฐานเมฆด้านใต้ลมในเวลาเดียวกัน โดยให้แนวโปรยทั้ง 2 ทำมุมเยื้องกัน 45 องศา ด้วยปฏิบัติการนี้เมฆจะทวีความหนาแน่นของเม็ดน้ำขนาดใหญ่ขึ้นและปริมาณมากขึ้นจนตกลงมารวมตัวกันที่ฐานเมฆทำให้ใกล้จะเกิดฝน วิธีการนี้จะต้องเสริมการโจมตีด้วยการโปรยสารเคมีสูตรเย็นจัดคือ น้ำแข็งแห้งที่ใต้ฐานเมฆ 1,000 ฟุต เพื่อเร่งให้กลุ่มฝนกตลงเร็วขึ้น
4.2) แบบเมฆเย็น เป็นกรณีที่ยอดเมฆสูงมาจนถึงระดับเมฆเย็นหรือประมาณ 20,000 ฟุต ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วิธีการคือ ใช้สารซิลเวอร์ไอโอไดด์ยิงจากเครื่องบินที่ระดับความสูงประมาณ 21,500 ฟุต ทำให้ไอน้ำระเหยจากเม็ดน้ำเย็นยิ่งยวดมาเกาะตัวรอบแกนของสารเคมีที่ยิง กลายเป็นผลึกน้ำแข็งจนกระทั่งตกลงมา และละลายเป็นเม็ดน้ำเมื่อเข้าสู่ระดับเมฆอุ่น ทำให้ไอน้ำและเม็ดน้ำในเมฆอุ่นเข้ามาเกาะรวมตัวเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทะลุฐานเมฆเป็นฝนตกลงสู่พื้นดิน
4.3) แบบ Super Sandwich เป็นเทคนิคใหม่ที่ทรงคิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2542 ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยพสกนิกร และพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ในช่วงสถานการณ์ภัยแล้งอย่างกว้างขวางสืบเนื่องยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จากปรากฏการณ์ “เอล นิโน” ปฏิบัติการนี้ใช้วิธีการแบบ Sandwich และแบบเมฆเย็นควบคู่กันในเวลาเดียวกัน จะทำให้ฝนตกหนักและต่อเนื่องยาวนาน ให้ปริมาณน้ำฝนสูงยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นประสานประสิทธิภาพของการโจมตีเมฆอุ่นและเมฆเย็นในเวลาเดียวกัน
5.สรุปผลที่ได้โดยดูจากปริมาณของฝนที่ตกลงมา
สมมติฐาน
เพื่อป้องกันไม่ให้เมฆลอยไปกลายเป็นฝนตกในที่อื่น จึงน่าจะต้องเร่งการเกิดฝนโดยใช้สารเคมีชนิดลดอุณหภูมิ เพื่อให้ฝนตกลงมาได้
ปัญหา
เมฆที่ก่อตัวอาจลอยไปตกในบริเวณอื่นได้ จึงต้องบังคับให้ฝนตกลงมาบริเวณที่ต้องการ
: