Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Osteoarthritis โรคข้อเข่าเสื่อม, Screenshot 2021-11-16 233200 - Coggle…
Osteoarthritis
โรคข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเสื่อม หมายถึง การเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนข้อต่อ โดยเกี่ยวข้องกับอายุ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดในข้อ และการเปลี่ยนแปลงการรับน้ำหนักของร่างกายผ่านข้อเข่า
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
5.การผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาจาก อาการ อายุ การงาน อาชีพ และระยะเวลาการพักฟื้น เพื่อเลือกการผ่าตัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
สำหรับผู้ป่วยที่เข่าเสื่อมทั้งบน ล่าง ผิวข้อด้านหน้าและลูกสะบ้า (Tricompartmental osteoarthritis) สามารถรักษาด้วยการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม แบบเต็มข้อ (Total Knee Arthroplasty-TKA)
จากกรณีศึกษา ได้เข้ารับการผ่าตัด (Total Knee Arthroplasty-TKA)
ในกรณีผู้ป่วยอายุมาก มุมกระดูกผิดรูป แต่ยังไม่ถึงวัยที่ต้องเปลี่ยนข้อเข่า อาจใช้วิธีตัดแต่งมุมกระดูกใหม่ (High Tibial Osteotomy - HTO)
4.ฉีดน้ำไขข้อเทียม (Hyaluronic acid) ส่วนใหญ่ใช้รักษาควบคู่กับการฉีดเกล็ดเลือด เพื่อลดความฝืดของข้อเข่า
3.รักษาด้วย Platelet Rich Plasma (PRP) โดยการฉีดเกล็ดเลือดของผู้ป่วยที่ผ่านการปั่นแยกจนได้สารเลือดที่เหมาะกับการใช้รักษา เพื่อช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมให้ร่างกายรักษาความเสื่อมของข้อเข่า
2.ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ และไม่ให้ข้อสึกมากขึ้น
1.รักษาตามอาการ เช่น ดูดน้ำออกจากเข่า เพื่อลดอาการบวมและให้สามารถงอ เหยียดเข่าได้ ฉีดยาเพื่อลดการอักเสบของข้อที่มีอาการเจ็บ อาจใช้สเตียรอยด์ในกรณีอักเสบเรื้อรัง
กายวิภาคของข้อเข่า
ข้อเข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน คือ
กระดูกต้นขาส่วนปลาย (femur)
กระดูกหน้าแข้งส่วนต้น (tibia)
กระดูกสะบ้า (patella)
กระดูกทั้ง 3 ชิ้นนี้ มีผิวกระดูกอ่อนข้อต่อ คลุมอยู่ ทำให้การเคลื่อนไหว
ของข้อเข่าเป็นไปอย่างเรียบลื่น มีเยื่อหุ้มข้อ มีเอ็นยึดรอบข้อเอ็นไขว้ยึดภายในข้อ
มีหมอนรองกระดูก และน้ำหล่อลื่น โดยเยื่อหุ้มข้อมีหน้าที่ในการผลิตน้ำเพื่อช่วยในการหล่อลื่น และลดแรงเสียดทาน
พยาธิสภาพ
การเปลี่ยนแปลงในระยะแรกจะเป็นกับกระดูกอ่อนผิวข้อเพียงบาง ส่วนโดยเฉพาะส่วนที่รับน้ำหนักโดยกระดูกอ่อน ผิวข้อจะนิ่มลงและมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น กระดูกอ่อนผิวข้อเปลี่ยนจากเรียบเป็นขรุขระ มีร่องจากการแตกของเส้นใยคอลลาเจน ต่อมาเมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายมากขึ้นจนถึงกระดูกบริเวณใต้กระดูกอ่อนผิวข้อ จะทำให้กระดูกเสียดสี และขัดเป็นมันขาดความหยืดหยุ่น อาจพบช่องหรือถุงที่ภายในบรรจุด้วยเนื้อเยื่อหรือสารเหลวคล้าย mucin ซึ่งอาจมีทางติดต่อกับช่องของข้อโดยตรง บริเวณขอบของข้อจะมีกระดูกยื่นออกซึ่งคลุมโดยกระดูกอ่อนบาง ๆ เยื่อหุ้มข้อจะหนาและแข็งขึ้น เมื่อมีการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อมากขึ้น ร่างกายจะพยายามซ่อมแชมเกิดเป็นพังผืด ถ้าการทำลายยังคงดำเนินต่อไปกระดูกผิวข้อจะถูกทำลายหมด ส่วนของกระดูกบริเวณใต้กระดูกอ่อนผิวข้อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีหลอดเลือดเจริญเข้ามา และมีการสร้างกระดูกมายืดเกาะข้อมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงที่กระดูกผิวข้อ ทำให้ตำแหน่งการรับน้ำหนักผิดปกติไป เกิดการเสียดสีจนเกิดการอักเสบ
อุบัติการณ์
อุบัติการณ์จะพบกับคนวัยกลางคน คนชรา อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปและพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย การเสื่อมของข้อ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1.การเสื่อมของข้อแบบปฐมภูมิ (Primary osteoarthritis) ส่วนใหญ่พบในคนซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสึกกร่อนหรือทรุดโทรมของร่างกาย
การเสื่อมของข้อแบบทุติยภูมิ (Secondary osteoarthritis) เป็นการเสื่อมของข้อที่มักเกิดขึ้นภายหลังได้รับบาดเจ็บ หรือมีการกเสบของข้ออยู่ก่อน เช่น ความผิดปกติข้อตะโพก หรือข้อตะโพกหลุด
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม
มักพบในเพศหญิง อายุ ตั้งแต่ อายุ 45 ปี ขึ้นไป
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
การใช้ข้อเข่าในท่าที่มีแรงกระทำกับข้อเข่ามาก เช่น การใช้งานยืน เดินเกินปกติ การเล่นกีฬา
การได้รับบาตเจ็บ เช่น กระดูกหักในข้อ เอ็นข้อเข่าฉีกยาด หรือติดเชื้อในข้อเข่า
โรคข้ออักเสบเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ เป็นต้น
จากกรณีศึกษา อายุ63ปี ทำงานเป็นช่างไฟและปีนขึ้นลงเสาไฟบ่อยและชอบกระโดดลง
อาการ และอาการแสดง
ระยะแรกมักจะมีอาการข้อเข่าฝืด ตึง โดยเฉพาะในช่วงที่ตื่นนอน หรือหลังจากพักการใช้งาน
ปวดเข่าโดยเฉพาะท่างอเข่า เวลานั่งกับพื้นจะลุกยาก นั่งยอง ๆ นั่งคุกเข่า หรือนั่งพับเพียบไม่ค่อยได้
เวลาขึ้น ลงบันได จะมีอาการเจ็บเสียวที่เข่า
เวลาขยับ หรือเคลื่อนไหว จะมีเสียงตังกรอบแกรบในข้อเข่า
ในรายที่เป็นมาก ข้อข่าจะผิดรูป เกิดการโค้งงอของข้อเข่า ส่วนใหญ่จะพบว่า มีเข่าโค้งออกนอกหรือเข่าห่างกัน แต่ในบางรายจะมีเข่าโค้งเข้าใน หรือเช่าชนกัน
เข่าบวม เนื่องจากมีของเหลวในข้อเข่ามากกว่าปกติ โดยเฉพาะถ้ามีการอักเสบ
เดินมีอาการเจ็บ ขัด ลงน้ำหนักได้ไม่เต็มที่
ท่าเดิน ถ้าเป็นที่เข่าข้างเดียวจะเดินคล้ายขาสั้นข้าง ยาวข้าง เนื่องจากเดินลงน้ำหนักได้ไม่เต็มที่หรือเอนตัวเดิน ถ้าเป็นทั้งสองข้างประกอบกับเข่าโก่ง จะเดินกะเผลกโยนตัวเอนไปมา เดินระยะทางไกล ๆ ไม่ไหว
จากกรณีศึกษา 1ปีก่อนมีเสียงกรอบแกรบบริเวณเข่า 3เดือนก่อน ข้อเข่าฝืดแข็ง ปวดเสียว 1สัปดาห์ก่อนปวดขามาก ขาข้าวขวาอ่อนแรง
มีขั้นตอนการวินิจฉัย
1.ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยเน้นทีการตรวจข้อเข่าซึ่งอาจจะพบลักษณะที่สำคัญคือ ข้อบวม หรือขนาดข้อใหญ่และมีการงอของข้อเข่า
2.การถ่ายภาพรังสี ก็จะพบว่าช่องว่างระหว่างกระดูกเข่าแคบลงซึ่งหมายถึงกระดูกอ่อนมีการสึกหรอ หากสึกมากก็ไม่พบช่องว่างดังกล่าว
3.การเจาะเลือด การเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยแยกโรคที่อาจจะเป็นสาเหตุของโรคปวดเข่าเรื้อรังเช่น โรคเกาต์ หรือโรครูมาตอยด์
4.การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงเข่า ในกรณีที่เข่าบวมแพทย์จะเยาะเอาน้ำหล่อเลี้ยงเข่าออกมาตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์
5.การตรวจความหนาแน่นของกระดูก เป็นการตรวจหาโรคกระดูกพรุน
ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ข้อเข่าเทียม
การติดเชื้อ
หลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน (deep vein thrombosis) จากการไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย
การหลุดหลวมของข้อเข่าเทียม เนื่องจากดูแลหลังผ่าตัดไม่ดี มีการใช้งานของข้อเทียมมากเกินไป หรือเกิดจากการเสื่อมของวัสดุที่ใช้ทำข้อเข่าเทียม
กระดูกหัวและข้อเคลื่อน มักพบการหักในตำแหน่งกระดูกเหนือข้อเข่า (supracondylar fracture) ในกรณีผ่าตัดซ้ำจากภาวะกระดูกพรุน ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือมีข้อติดแข็งหลังผ่าตัด
ข้อบ่งชี้ในการใส่ข้อเข่าเทียม (Total Knee arthroplasty: TKA)
1.ข้อเข่าข้างนั้นไม่สามารถตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีประคับประคอง
2.มีอาการปวดรุนแรง ข้อติดแข็ง และบวม ทำให้ข้อเข่าไม่สามารถงอและเหยียดได้
3.หลังผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมมาแล้วยังมีอาการปวด เคลื่อนไหวไม่สะดวก และข้อไม่มั่นคง
4.ความพิการ เช่น ข้อเข่าติดในท่างอ
5.ภาวะเสื่อมของข้อ เช่น Rheumatoid arthritis ทำให้สูญเสียการทรงตัว
ผิวข้อขรุขระมาก อาจเกิดจากกระดูกหักทิ่มแทงเข้าข้อ ผิวข้อขาดเลือดมาเลี้ยงทำให้มีการตายของช้ข้อเกิดขึ้น
การเคลื่อนของผิวข้อ ในช่วงที่เป็นโรค เช่น Osteomalacia, Paget's disease
เอ็นยึดข้อไม่มั่นคง อาจเป็นผลมาจากการรับน้ำหนักมากเกินไป หรือได้รับบาดเจ็บ
คนอ้วนมากและมีอายุ 60 ปีขึ้นไปมักจะมีการโก่งงอของข้อเข่า เป็นสาเหตุให้ข้อเสื่อม