Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการเเละเทคนิคการพยาบาลดูเเลเเบบองค์รวม - Coggle Diagram
หลักการเเละเทคนิคการพยาบาลดูเเลเเบบองค์รวม
การดูเเลสุขวิทยาส่วนบุคคลทุกวัย (Personal Hygiene)
ความหมาย การที่บุคคลมีร่างกายสะอาด เเต่งกายเรียบร้อยเเละสามารถดูเเลรักษาความสะอาดของร่างกายได้ด้วยตนเอง ตลอดจนสภาพเเวดล้อมให้สะอาดปราศจากสิ่งที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย
การดูเเลความสะอาดผิวหนัง (Skin care)
การเช็ดตัวผู้รับบริการบนเตียง
หลักการอาบน้ำบนเตียง
1.ไม่เปิดเผยร่างกายผูู้ป่วย คลุมผ้าให้ผู้ป่วยขณะอาบน้ำเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น
2.พูดคุยกับผู้ป่วยขณะอาบน้ำเเละสังเกตความผิดปกติของผิวหนัง
3.เอาไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งเมื่อพยาบาลไม่อยู๋ที่เตียงผู้ป่วย
4.ผู้ป่วยอยู่ในท่าสบาย เเละถูกต้องตามหลักการทรงตัว
5.ถอดเสื้อผ้าด้านไกลตัวก่อนหรือเเขนด้านที่ไม่มีสารน้ำ/บาดเเผล เมื่อใส่ให้ใส่ด้านไกลตัวหรือด้านที่มีสารน้ำก่อน/บากเเผล
6.ควรใช้ผ้า 2 ผืน ผืนเเรกสำหรับรองใต้ส่วนต่างๆ ผืนที่ 2ใช้ซับน้ำให้เเห้ง
7.เเยกผ้าถูตัวที่ฟอกสบู่กับผูตัวที่ใช้เช็ดสบู่ออก
8.ซักผ้าถูตัวที่ใช้ฟอกสบู่ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำ
การเช็ดตัวบนเตียงสมบูรณ์ (Complete bed bath) ทำในกรณีที่ผู้รับบริการไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือเมื่อการรักษาของเเพทย์ต้องการให้ผู้ใช้บริการพักผ่อนบนเตียงอย่างสมบูรณ์ ใช้เวลาประมาณ 45 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ควรเช็ดตัวก่อนอาหาร ก่อนนอน ถ้าหลังอาหาร ควรห่างอย่างน้อย 20 นาที 2. การช่วยเหลือผู้รับบริการในการเช็ดตัวบางส่วนบนเตียง (Partial bed bath)
Mouth care
การดูเเลความสะอาดในช่องปากเเละฟัน ควรพบทันตเเพทย์ 3-6 เดือน
กรณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ทำได้บ่อยครั้งอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง
1.จัดท่านอนตะเเคง Oropharyngeal airway ช่วยอ้าปาก ทำความสะอาดปากเเละฟันให้สะอาด
2.สกปรกมากให้ใช้กระบอกฉีดยา ฉีดน้ำยาทำความสะอาด
3.หลังทำความสะอาดเสร็จจัดท่าให้ผู้ป่วยเเละทาริมฝีปากด้วยน้ำมันมะกอกหรือกลีเซอลีนบอเเรกซ์
Bed shampoo
หลักการสระผมบนเตียง
1.ระหว่างสระผมสังเกตอาการเเปลี่ยนเเปลง เช่น กระสับกระส่าย หายใจเหนื่อย ให้ล้างผมเเละหยุดทันที
2.หากใช้น้ำอุ่น ต้องทดสอบความเหมาะสมโดยใช้หลังมือ
3.ระมัดระวังน้ำเเละยาสระผมไหลเข้าหู เข้าตา
4.ดูเเลร่างกายให้อบอุ่น เช็ดผมให้เเห้ง
การดูเเลความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์
หลักการ
1.ไม่เปิดเผยผู้ป่วย จัดสถานที่ให้มิดชิด
2.เช็ดให้เเห้งจากบนลงล่าง ไม่ย้อนไปมา
3.สำลีที่เช็ดเเล้วไม่ทิ้งลงในหม้อนอน เพื่อป้องกันการอุดตันของชักโครก 4.ผู้หญิงมีกลักการเช็ดคื่อ
สำลีที่ 1 เช็ดจากหัวเหน่าด้านซ้ายไปขวา
สำลีที่ 2 เช็ดเเคมนอกด้านไกลตัวจากบนลงล่างถึงทวารหนัก
สำลีที่ 3 เช็ดเเคมนอกด้านใกล้ตัวจากบนลงล่างถึงทวารหนัก
สำลีที่ 4 เช็ดเเคมในด้านไกลตัวเช่นเดียวกับก้อนที่ 2
สำลีที่ 5 เช็ดเเคมในด้านใกล้ตัวเช่นเดียวกับก้อนที่ 3
สำลีที่ 6 เช็ดตรงกลางจากบนลงล่างถึงทวารหนัก
5.ผู้ชาย รูดหนังหุ้มปลายองคชาตลง เเละเช็ดเป็นวงกลมจาก urethral orifice ลงมา เเละรูดหนังหุ้มปลายขึ้นปิด เช็ด Scrotum จากด้านไกลตัว จากบนลงล่างถึงทวารหนัก
การทำเตียงเเละสิ่งเเวดล้อม (Unit care)
Open bed เตียงที่ยังมีผู้ป่วยครองเตียงอยู่่ เเต่ผู้ป่วยไม่ได้นอนอยู่ที่เตียง เช่น นั่งข้างๆเตียงๆ ไปห้องน้ำ เมื่อทำเสร็จไม่ต้องคลุมผ้า
Occupied bed เตียงที่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียง ไม่สามารถลุกออกจากเตียงได้ขณะทำเตียง
Ether bed เตียงสำหรับรอรับผู้ป่วยที่ดมยาสลบ ต้องเตรียมสิ่งของเพิ่มเติม ได้เเก่ ผ้าเช็ดตัว ผ้ายาง ผ้าขวางเตียง ชามรูปไต ไม้กดลิ้น เทอร์โมมิเตอร์ หูฟัง เป็นต้น
Closed bed or Anesthetic bed เตียงว่าง เป็นเตียงที่ไม่มีผู้ป่วยครองเตียงเป็นการทำเตียงภายหลังจากการที่ผูู้ป่วยกลับบ้าน ย้าย หรือถึงเเก่กรรม อาจคลุมด้วยผ้าคลุมเตียง เพื่อรักษาที่นอนให้สะอาด
การผูกยึด (Restraint)
ข้อบ่งชี้
ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะสับสน เพ้อ วุ่นวาย เอะอะ ต่อสู้ ทำร้าย เพื่อที่จะสามารถทำการวินิจฉัยเเละการรักษาได้ เพื่อป้องกันอันตรายเเก่ผู้ป่วยเเละคนรอบข้าง
เทคนิคการผูกยึด
1.ห้ามผู้ยึดเเขนขาที่มีเเผลเปิด กระดูกหัก หรือมีการติดเชื้อ
2.ระวังการเกิด ischemia ในผู้ป่่วย peripheral vascular disease
3.หลีกเลี่ยงการัดบริเวณหน้าอก ในผู้ป่วย pulmonary
4.อุปกรณ์ต้องไม่ก่อให้เกิดอันตราย นิ่ม สะดวกใช้งาน
5.ผูกยึกให้เเน่น เก็บสายให้เรียบร้อย ควรผูกปลายเตียง
6.ไม่ควรผูกเงื่อนที่ยิ่งดิ้นยิ่งเเน่น
การนวดหลัง (Back rub)
Stroking การลูบตามแนวยาว ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างวางบริเวณก้นกบ ค่อยๆลูบขึ้นตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงต้นคอ ลูบตามแนวยาวกล้ามเนื้อไหล่ ( Trapezius ) กล้ามเนื้อสีข้าง ( Latissimus dorsi ) ทั้งสองข้าง ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อและการหมุนเวียนโลหิตให้ดีขึ้น
Knead/Pettrissage การบีบนวดกล้ามเนื้อ
Clapping การใช้อุ้งมือตบเบาๆโดยห่อมือให้ปลายนิ้วชิดกันทั้งสองข้างให้เกิดช่องว่างง ตรงกลางฝ่ามือ ตบเบาๆสลับมือกันโดยกระดกข้อมือขึ้นลงให้ทั่วบริเวณหลัง ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง
Flicking การใช้หลังนิ้วกลาง นาง ก้อยทั้งสองมือเคาะบริเวณหลังเบาๆ โดยกระดกข้อมือทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง
Hacking การใช้สันมือสับเบาๆ ใช้สันมือด้านนิ้วก้อยสับสลับกันเร็วๆ โดยการกระดกข้อมือ สับขวางตามใยกล้ามเนื้อบริเวณตะโพก ก้น และขา ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง
Beating การกำมือหลวมๆทุบเบาๆ เร็วๆ สลับขึ้นลงบริเวณตะโพก ก้น และขา ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง
vibration การนวดเเบบสั่นสะเทือน ใช้นิ้วชี้เเละนิ้วกลางกดเเละสั่นมือเพื่อให้เกิดการสั่นสะเทือน
หลักการดูเเลด้านความปลอดภัย
องคฺ์การอนามัยโลก ได้ประกาศความปลอดภัย 9 ประเด็น ได้เเก่
1.การใช้ยาที่มีชื่อเเละลักษณะคล้ายกัน
2.การระบุตัวผู้ป่วย (Patient identification)
3.การสื่อสารระหว่างการส่งต่อการดูเเลผู้ป่วย
4.การปฏิบัติหัตถการที่มีความถูกต้องในตำเเหน่งที่ถูกต้อง
5.การควบคุมดูเเลการให้สารน้ำ
6.การดูเเลความเเม่นยำของการให้ยาในระยะเปลี่ยนผ่านการดูเเล
7.การดูเเลเฝ้าระวังผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจเเละใส่สายต่างๆ
8.การฉีดยา
9.การล้างมือเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เเพร่กระจายเชื้อ
การบำบัดด้วยความร้อนเเละความเย็น
ความร้อนสามารถนำมาใช้ในการรักษาได้ เช่น เมื่อมีความเจ็บปวดเกิดขึ้นที่ส่วนหนึ่งของร่างกาย เราก็มักใช้กระเป๋าน้ำร้อน ใส่น้ำร้อนที่ร้อนจัด พันทับด้วยผ้า เพื่อให้ความร้อนค่อยๆ คลายออกมา แล้ววางลงบนบริเวณที่เจ็บปวด หรืออาจประคบ โดยการใช้ผ้ามัดเป็นลูกประคบ จุ่มลงในน้ำร้อนที่ร้อนพอทนได้ ประคบลงบนบริเวณนั้น เมื่อความร้อนเข้าสู่ร่างกาย ไปยังบริเวณที่เจ็บปวด ความร้อนจะทำให้บริเวณนั้นร้อนขึ้น ความร้อนจะทำให้ความรู้สึกเจ็บปวดลดลง ขณะเดียวกัน ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เป็นผลให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ทำให้หายรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย ถ้าเกิดการฟกช้ำขึ้นใหม่ๆ ไม่ควรใช้ความร้อนในการรักษา เพราะจะทำให้เกิดการบวมและเจ็บปวดมากขึ้น ควรใช้ความเย็นประคบก่อน โดยใช้ลูกประคบจุ่มน้ำเย็นจัด หรือใช้ผ้าห่อก้อนน้ำแข็งประคบลงบนบริเวณฟกช้ำ
ความเย็นจะมีผลให้อาการเจ็บปวด ที่บริเวณนั้นลดลง หลอดเลือดจะหดตัว ทำให้อาการบวมยุบลงอย่างรวดเร็ว ถ้ามีตกเลือดในบริเวณที่ฟกช้ำ ก็จะทำให้เลือดหยุดได้ หลังจากการใช้ความเย็นรักษาแล้ว ๑ ถึง ๒ วัน จึงจะใช้ความร้อนในการรักษาต่อไป