Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case 1
ผู้ป่วยเด็กหญิงอายุ 14 ปี น้ําหนัก 40 กิโลกรัม ส่วนสูง 142…
Case 1
ผู้ป่วยเด็กหญิงอายุ 14 ปี น้ําหนัก 40 กิโลกรัม ส่วนสูง 142 เซนติเมตร เด็กได้รับการตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าเป็น Thalassemia ตั้งแต่อายุ 12 เดือน และมารักษาที่โรงพยาบาล มหาราช อย่างต่อเนื่อง
-
-
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
- มีภาวะ moderate anemia เนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย
ข้อมูลสนับสนุน
- Dx.Thalassemia
- Capillary refill > 2sec
- หน้าซีด ริมฝีปาก เยื่อบุตาซีด
- มีอาการอ่อนเพลีย
- Hb =9 g/dl
- พบ Serum ferritin 2300 มก./ดล
เป้าหมายการพยาบาล : มีอาการข้างเคียงจากภาวะซีดลดลง
เกณฑ์การประเมินผล :
- ไม่มีอาการแสดงของภาวะซีด ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตัวซีด
- Hb=14-18 g/dl
- HCT=37-47%
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมิน Vital sign ทุก 4 ชั่วโมงและประเมินค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด เพื่อประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา คือ
- Lasix 30mg v ก่อนให้เลือด เพื้อป้องกันภาวะน้ำเกิน
- CPM 1 tab oral ก่อนให้เลือด เพื่อป้องกันการแพ้เลือด
- ดูแลให้ได้รับเลือดตามแผนการรักษา คือ PRC v drip 600 ml in 4hr และประเมินอาการหลังให้เลือด
- ดูแลให้พักผ่อนและกำหนดกิจกรรมที่จำเป็นที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ เพื่อลดความต้องการในการใช้ออกซิเจนในร่างกาย
- ให้ได้รับ Folic acid 5 mg 1 tab oral ODตามแผนการรักษาเพื่อเพิ่มเม็ดเลือดแดง
- เฝ้าระวังอาการและอาการแสดงของภาวะซีด
- ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC เพื่อประเมินภาวะซีด
- มีภาวะเสี่ยงต่อเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนจากตัวนำออกซิเจนลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
- Dx.Thalassemia
- หน้าซีด ริมฝีปาก เยื่อบุตาซีดมีอาการอ่อนเพลีย
- Hct 26%
เป้าหมายการพยาบาล : เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนได้เพียงพอ
เกณฑ์การประเมินผล :
- ไม่มีอาการแสดงของภาวะซีด ได้แก่ อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย ตัวซีด
- Hb=14-18 g/dl
- HCT=37-47%
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว เพื่อประเมินอาการพร่องออกซิเจน
- จัดท่านอนศีรษะสูงเพราะทำให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลงปอดขยายตัวได้เต็มที่เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
- ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียง เพราะการพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการทำกิจกรรม ทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
- Vital sign ทุก 4 ชม เพราะการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
- ประเมิน O2 saturation ทุก 4 ชม เพราะเป็นการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
- ติดตามผล lab Hb, Hct เพราะเป็นค่าท่ีแสดงถึงความเข้มข้นของเลือดในร่างกาย
- มีภาวะเหล็กคั่งในร่างกาย เนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกง่ายและได้รับเลือดบ่อย
ข้อมูลสนับสนุน
- Serum fereritin 2300 มก./ดล.
- รับเลือดทุก 1-2 เดือน
เป้าหมายการพยาบาล : ภาวะเหล็กคั่งในร่างกายลดลง
เกณฑ์การประเมินผล
- Serum fereritin < 1000 มก./ดล.
- อาการและอาการแสดงภาวะเหล็กเกิน เช่น ปวดบริเวณข้อต่อ โดยเฉพาะข้อนิ้ว รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย อ่อนแรง ขนตามร่างกายหลุดร่วง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิวหนังมีสีคล้ำหรือสีเทา
กิจกรรมการพยาบาล
- ดูแลการให้ยาขับเหล็ก Desferal 1000 mg + 5% D/NSS/2 200 ml v drip in 24 hr x 7 days
- ติดตามผลแลปทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะค่า Serum fereritin
- ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชม .
- สังเกตอาการและอาการแสดงภาวะธาตุเหล็กในร่างกายสูง เช่น ปวดบริเวณข้อต่อ โดยเฉพาะข้อนิ้ว รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย อ่อนแรง ขนตามร่างกายหลุดร่วง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิวหนังมีสีคล้ำหรือสีเทา เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มี ธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เครื่องในสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากเลือด หอยชนิดต่าง ๆ เมล็ดฟักทอง งาดำ งาขาว ดาร์กช็อกโกแลต เพื่อป้องกันธาตุเหล็กในร่างกายสูง
- ไม่ควรซื้อยาหรืออาหารเสริมด้วยตนเองเนื่องจากยาบางชนิดมีธาตุเหล็กเป็นส่วนผสมผู้ป่วยอาจได้รับธาตุเหล็กเพิ่ม
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากระบบภูมิต้านทานลดลงหลังการผ่าตัดม้าม
ข้อมูลสนับสนุน
- S / P splenectomy เมื่ออายุ 7 ปี
- Hct 26%
- Hb =9 g/dl
เป้าหมายทางการพยาบาล: ไม่มีภาวะติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมิน
- V / S ไม่บ่งบอกถึงภาวะติดเชื้อ คือ
Bt 36.5-37.5 องศาเซลเซียส, PR 60-100 bpm, RR 12-20 bpm, BP 140 / 90 และ 90/60 mmHg
- ไม่มีอาการของภาวะติดเชื้อที่ระบบต่างๆเช่นระบบหายใจ เช่น ไอมีไข้ระบบปัสสาวะเช่นปัสสาวะแสบขัด
- ค่าแลปไม่บ่งบอกถึงภาวะติดเชื้อ
WBC 4.5-13.5 x 10 ^ 3 มม ^ 3
Neutrophils 54-62%
lympphocytes 25-33
Monocytes 3-7%
Basophil 0-0.75%
กิจกรรมการพยาบาล
- ดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อมและข้าวของเครื่องใช้ให้สะอาดเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
- แนะนำและสอนการล้างมือก่อนหลังการรับประทานอาหารและเข้าห้องน้ำเพื่อลดการนำเชื้อเข้าร่างกาย
- แนะนำการได้รับวัคซีนให้ครบโดยครั้งต่อไปที่จะได้รับอยู่ในช่วง 11-12 ปีคือ td และ HPV
- แนะนำการรับประทานอาหารที่สะอาดไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ
- แนะนำและสอนการทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังขับถ่ายจากหน้าไปหลังเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- แนะนำการใส่หน้ากากอนามัยและหลีกเลี่ยงพื้นที่แออัดเพื่อลดการติดเชื้อทางเดินหายใจ
- ประเมินสัญญาณชีพเพื่อประเมินภาวะติดเชื้อรวมทั้งให้คำแนะนำผู้ปกครองในการสังเกตอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นบ่งบอกภาวะติดเชื้อได้
- ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการติดเชื้อ เช่น WBC
- มีโอกาสเกิดภาวะเเทกซ้อนจากการได้รับเลือด
ข้อมูลสนับสนุน
- แพทย์มีแผนการรักษาให้ PRC V drip 600 ml in 4 hr
- ผู้ป่วยต้องมาตรวจตามนัดเพื่อรับเลือดทุก 1-2 เดือน
เป้าหมายทางการพยาบาล : ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมิน
- V/S อยู่ในเกณฑ์ ปกติ คือ BT 36.5-37.5 องศาเซลเซียส , PR 60-100 bpm , RR 12-20 bpm , BP 90/60- 140/90 mmHg
- ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับเลือด เช่น มีผื่นคัน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
- ไม่มีอาการแสดงของภาวะติดเชื้อที่ปนมากับเลือด เช่น ไข้ หนาวสั่น
กิจกรรมการพยาบาล
- ก่อนการขอ/จองเลือด
-ให้ตรวจสอบและทบทวน Order ร่วมกับแพทย์ขณะตาม Round อีกครั้งถึงชนิดและจํานวนที่ให้เพื่อจองเลือด ตรวจสอบความถูกต้องของถุงเลือดและใบคล้องเลือดให้ตรงกันทุกจุด รวมทั้งวันหมดอายุและลักษณะกับพยาบาล 2 คน
- นําเลือดนําผ้ามาห่อและวางไว้ให้อยู่ระดับอูณหภูมิห้อง ไม่เกิน 30 นาที
- คลื่นไส้อาเจียนแจ้งให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงการปฎิบัติตัว วัตถุประสงค์และอาการข้างเคียง - วัดสัญญาณชีพเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานไม่ควรเกิน 60 นาที - ดูแลให้ได้รับยา Cpm (chlorpheniramine maleate) 1 tab oral ก่อนให้เลือด 30 นาที
- ขั้นตอนการให้เลือด
- ตรวจสอบความถูกต้องของผู้ป่วย โดยระบุให้ตรงกัน โดยจะถามชื่อจากผู้ป่วยและคอนเฟิร์มกับญาติรวมถึงตรวจสอบ ป้ายข้อมือ ตรวจสอบชื่อสกุล HN ของผู้ป่วย
- สอบถามกลุ่มเลือดขอผู้ป่วย ปรับอัตราการไหล PCR v drip 600 ml in 4 hr อัตรการไหลอยู่ที่ 150 cc/hr ผ่านเครื่อง Infilltion pump
- ประเมินและติดตามสัญญาณชีพ ทันทีหลังให้ 15นาที x 4ครั้ง 30นาที x 2 ครั้ง 1 ชั่วโมงจนกว่าเลือดจะหมด ร่วมกับ ติดตามอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะผิดปกติ เช่น มีผื่น หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หากมีอาการผิดปกติหยุดการให้ เลือดและรายงานแพทย์ทันที
- หลังให้เลือด
- หลังจากให้เลือดประเมินสัญญาณชีพและติดตามอาการแสดง
- ติดตามระดับ HCT ซ้ำ
- มีโอกาสกระดูกหักง่าย เนื่องจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นทําให้กระดูกขยาย
ข้อมูลสนับสนุน
- S/P splenectomy เมื่ออายุ 7 ปี
- Dx. Thalassemia
เป้าหมายทางการพยาบาล : ผู้ป่วยไม่มีภาวะกระดูกหัก
เกณฑ์การประเมิน :
- ค่าความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitometry)
- ค่า T-score มากกว่า - 1
- ข้อมูลที่ต้องการทราบเพิ่มเติม : การตรวจ bone marrow ประวัติการได้รับอุบัติเหตุ หรือการได้รับแรงกระแทก
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินอาการและอาการแสดงของเด็ก การมีกระดูกไม่แข็งแรง การซักประวัติผู้เลี้ยงดูเกี่ยวกับการได้รับอุบัติเหตุ เพื่อประเมินอาการและความเสี่ยงของภาวะกระดูกหัก
- ให้ข้อมูล และแนะนําผู้เลี้ยงดูให้ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ให้เด็กออกกําลังกายที้หนัก ลดแรงกระแทกที่อาจทําให้เกิดกระดูกหักได้
- ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา และมาติดตามอาการตามแพทย์นัด เพื่อประเมินอาการและความผิดปกติของโรค และ ประเมินความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก
- แนะนําให้เด็กได้รับประทานอาหารทสนมีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ถั่วธัญพืช และอาหารที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม และ วิตามินดีสูง เพื่อป้องกันภาวะกระดูกหัก เช่น นม ใบตําลึง ผักกวางตุ้ง ส้มเขียวหวาน มะขาม
- วิตกกังวลเนื่องจากมีภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลง
ข้อมูลสนับสนุน
- Dx: Known case Thalassemia
เป้าหมายทางการพยาบาล :
เพื่อให้ผู้ป่วยและมารดาบิดายอมรับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปและมีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
- ผู้ป่วยและมารดาบิดาเข้าใจให้ความร่วมมือในการดูแลปรับเปลี่ยนทัศนคติและยอมรับการเปลี่ยนแปลง
กิจกรรมการพยาบาล
- พยาบาลเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง (Self-help group) ที่เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีประสบการณ์การเจ็บป่วยที่คล้ายคลึงกันทำให้รับรู้ถึงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันแลกเปลี่ยนวิธีการจัดการกับปัญหาเป็นการลดแรงตึงเครียดที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจถือเป็นการเสริมพลังอำนาจทางด้านอารมณ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งซึ่งนำไปสู่การปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างเป็นสุขตามศักยภา
- ผู้ปกครองเพื่อนและบุคลากรด้านสุขภาพจะต้องให้การยอมรับเข้าใจในศักยภาพการปฏิบัติตัวของโรคธาลัสซีเมียและครอบครัวรวมถึงเปิดโอกาสให้ได้มีส่วนร่วมในการรักษาอีกทั้งควรกล่าวยกย่องชมเชยเมื่อมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้เด็กที่เจ็บป่วยเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
- สนับสนุนข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่เด็กโรคธาลัสซีเมียทั้งข้อมูลทางด้านการดูแลสุขภาพและการเรียนการสอนเพื่อที่จะสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคและปรับตัวให้เข้ากับการทำกิจกรรมในโรงเรียนโดยใช้กลวิธีในการให้ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายเช่นการสอนด้วยตัวพยาบาลเองการใช้คู่มือวิดีทัศน์สื่อออนไลน์การสนทนากลุ่มหรือการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยช่องทางการสื่อสารเหล่านี้จะสามารถช่วยลดความวิตกกังวลของเด็กโรคธาลัสซีเมียและกล้าที่จะขอคำปรึกษาจากพยาบาล
- สนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวเพื่อนรวมถึงบุคลากรด้านสุขภาพจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการดูแลทำให้ผู้ดูแลรับรู้ภาระในการดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมียลดลงเนื่องจากการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่มีผลต่อความสามารถในการดูแลผู้ป่วยทำให้ผู้ดูแลเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการเผชิญกับปัญหาและให้การดูแลได้อย่างประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย
ข้อมูลสนับสนุน
- Dx.Thalassemia
เป้าหมายทางการพยาบาล : ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตัวเอง
เกณฑ์การประเมินผล
- ผู้ป่วยเข้าใจและปฏิบัติตัวดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ ดังนี้
- ด้านโภชนาการ
1.1 งดรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เลือด น้ำเต้าหู้เพราะผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียมีการดูดซึมธาตุเหล็กสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดม้าม
1.2 แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่นอาหารนม ปลากรอบ เนื่องจากผู้ป่วยธาลัสซีเมียมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้พร่องแคลเซียม
- ด้านการออกกำลังกาย แนะนำและส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้กำลังใจและสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมและกีฬาที่ตนเองสนใจและถนัดตามความเหมาะสมของร่างกาย
- ช่วยเหลือผู้ปกครองในการอธิบายกับทางโรงเรียนหรือขอใบรับรองแพทย์เพื่อให้ทางโรงเรียนทราบเมื่อทำกิจกรรมต่างๆควรให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมได้และหยุดพักถ้าเด็กรู้สึกเหนื่อย
- ให้คำแนะนำผู้ปกครองหากต้องพาผู้ป่วยไปรักษาทันตกรรม ควรปรึกษาทันตะแพทย์ เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมเนื่องจากผู้ป่วยธาลัสซีเมียอาจมีการขยายของกระดูกใบหน้าและขากรรไกร
- ให้กำลังใจผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถอยู่กับโรคนี้ได้ และดูแลรักษาตนเองให้ได้ผลดี มีการติดตามการรักษาสม่ำเสมอ
การรักษาด้วยยา
-
Lasix 30 mg v
กลุ่มยา : Diuretics (Lasixให้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน circular overload)
ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกลับของโซเดียมและคลอไรด์ที่บริเวณลูปออฟเฮนเล (Loop of Henle)
ผลข้างเคียง: ปวดศีรษะ ง่วงซึม เกร็งกล้ามเนื้อ ตะคริว ความดันโลหิตต่ำ ปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ อ่อนเพลีย ภาวะของเหลวในร่างกายต่ำ ภาวะขาดน้ำ
เหตุผล: เพื่อขับน้ำส่วนเกินจากการได้รับเลือด
CPM 1 tab oral
กลุ่มยา Antihitamine(เพื่อป้องกันการแพ้เลือด)
กลไกการออกฤทธิ์ของยาโดย ยับยั้ง Histamine H1 receptors ที่หลอดเลือดในระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร
ผลข้างเคียง อาจมีอาการปากแห้งคอแห้ง ไม่สบายท้อง ง่วงซึมปวดหัวใจสั่น วิงเวียน นอนไม่หลับ อ่อนล้า คลื่นไส้อาเจียน
เหตุผล: เพื่อป้องกันการแพ้เลือด
Deferiprone 500 mg 2x3 tid ac
ยา deferiprone
กลุ่มยา bidentate
กลไก จะจับกับธาตเดหล็กที่มีสารประกอบเป็นกลาง pHของร่างกายสารนี้จะขับเหล็กออกจากโปรตียที่เป็นแหล่งสะสมของเหล็ก ได้เเก่ferritin และ heamosiderin และtranferrin และlactoferrin
ผลข้างเคียง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
เหตุผลที่ให้ยา Deferiprone เมื่อผู้ป่วยมี Plan D/C หลังจากให้ยาครบ เพราะว่ายา Deferiprone เป็นยาชนิดรับประทาน และเป็นยาขับธาตุเหล็ก ทำให้เกิดความสะดวกต่อตัวป่วยเมื่อกลับไปอยู่บ้าน เนื่องจากขณะที่อยู่โรงพยาบาลผู้ป่วยจะได้รับเป็นยา Desferal 1000 mg + 5% D/NSS/2 200 ml v drip in 24 hr x 7 days ซึ่งเป็นยาที่ให้ทางหลอดเลือดดำ แพทย์จึงต้องเปลี่ยนให้แบบรับประทาน และผู้ป่วยที่เป็นธาลัสซีเมีย จำเป็นต้องได้รับเลือดทุก 3-6 สัปดาห์ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะธาตุเหล็กเกินได้ จึงต้องได้รับยาขับธาตุเหล็กอยู่เสมอ เมื่อมีระดับ serum ferritin ในเลือดสูงกว่า 1000 นาโนกรัม/มิลลิลิตร หรือหลังจากได้รับเลือดไปแล้วประมาณ 10-15 ครั้ง และเมื่อผู้ป่วยได้รับยา deferiprone แล้ว จะต้องติดตามตรวจเลือดเดือนละครั้งในระยะแรกที่เริ่มกินยา และทุก 3 เดือนในเวลาต่อมา เพื่อติดตามผลตรวจเลือดว่ายังมีภาวะธาตุเหล็กเกินอีกหรือไม่
Paracetamol 500 mg 1 tab per oral prn q 4-6 hr
กลุ่มยา analgesics
กลไกการออกฤทธิ์ ยั้บยั้ง กระบวนการสร้าง prostaglandin ในระบบประสาท ส่วนกลาง
ผลข้างเคียง อุจจาระเป็นเลือด หรือมีสีดำ มีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง มีผื่นคัน เจ็บคอ
Desferal 1000 mg + 5% D/NSS/2 200 ml v drip in 24 hr x 7 days
จับกับเหล็ก (iron chelating agent) โดยจับกับ free iron หรือเหล็กที่จับกับโปรตีนอย่างหลวมๆ ส่วนเหล็กที่เป็นส่วนประกอบอยู่ใน heme หรือ cytochrome จะไม่ถูกดึงออกมา deferoxamine จับกับเหล็กจะได้สารประกอบที่ละลายน้ำถูกขับออกทางไต ซึ่งจะทำให้ปัสสาวะเป็นสีชมพูอมส้ม
ผลข้างเคียงความดันโลหิตต่ำ ปวด บวม แดง ผื่นขึ้น หรือคัน บริเวณที่ ฉีด ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ บริเวณแขนหรือขา ปวดศีรษะ มีไข้ ทาให้เด็กมีการเจริญเติบโตช้า รบกวน การมองเห็นและการได้ยิน
เหตุผล : เพื่อขับเหล็ก จากภาวะเหล็กเกิน
การบริหารยา
ละลายผงยา 1 vial ด้วย sterile water 2 ml เท่านั้น แล้ววเขย่าให้ผงยาละลาย และนําไปเจือจางต่อใน D5W/NSS
-
-
Folic acid 5 mg 1 tab oral OD
เป็นวิตามินละลายน้ำ
กรดโฟลิกมีความจำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญพลังงานในระบบต่างๆของร่างกาย เช่น การสังเคราะห์สารต่างๆที่เป็นกระบวนการสำคัญของการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น เพียวรีน (Purine) และ ไพริมิดีน (Pyrimidine) และสนับสนุนการ สร้างเม็ดเลือดขาวและเกล็ด
เลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต
ผลข้างเคียง อาการโดยทั่วไปไม่ค่อยพบ แต่สามารถทำให้หลอดลมหดเกร็ง (Bronchospasm) ,ผื่นคัน
MTV 1 tab oral bid pc
วิตามินเสริมที่ประกอบด้วยวิตามินหลากหลายชนิดซึ่งพบได้ในอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน โดยจะนำมาใช้ในกรณีที่อาจได้รับวิตามินจากอาหารไม่เพียงพอ หรือเพื่อรักษาภาวะขาดวิตามินของร่างกายที่อาจเกิดจากอาการป่วยบางชนิด เช่น การขาดสารอาหาร โรคเกี่ยวกับการย่อยอาหาร และอื่น ๆ เป็นต้น
-
การผ่าตัด Splenetomy
splenectomy คือการผ่าตัดเอาม้ามออก มี2ประเภทคือ วิธีการเปิด แบบดั้งเดิมโดยใช้แผลขนาดเต็มและวิธีการ laparoscopic ซึ่งใช้ incisions ขนาดเล็กมากการผ่าตัดผ่านกล้องส่องผ่านจะทำให้เเผลหายเร็วเเละมีเเผลขนาดเร็วกว่า
การเปรียบระหว่าง Folic acid กับ Ferrous sulfate
- Ferrous sulfate : มีกลไกการออกฤทธิ์ โดยจะทำให้ฮีโมโกลบินที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง สามารถลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น และยังทำให้มัยาอโกลบิน (Myoglobin) สารธาตุเหล็กที่อยู่ในกล้ามเนื้อกักเก็บออกซิเจน เพื่อใช้เป็นพลังงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นรูปแบบของยาบำรุงโลหิตช่วยเสริมธาตุเหล็ก
- Folic acid : เป็นวิตามินละลายน้ำ
กรดโฟลิกมีความจำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญพลังงานในระบบต่างๆของร่างกาย เช่น การสังเคราะห์สารต่างๆที่เป็นกระบวนการสำคัญของการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น เพียวรีน (Purine) และ ไพริมิดีน (Pyrimidine) และสนับสนุนการ สร้างเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง
สาเหตุที่ไม่ให้ Ferrous sulfate เพราะเป็นยาเสริมธาตุเหล็ก ซึ่งไม่สามารถให้ในผู้ป่วยเคสนี้ได้ เนื่องจากผู้ป่วยมีการตรวจเลือดพบ serum ferritin ซึ่งบ่งบอกถึงภาวะธาตุเหล็กเกิน ถ้าหากให้ Ferrous sulfate ก็จะทำให้ผู้ป่วยยิ่งมีธาตุเหล็กในร่างกายเพิ่มมากขึ้น
ความรู้เพิ่มเติม
-
แนวทางการปฏิบัติตัว
รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เลือด ตับ เครื่องในสัตว์ งดยาและวิตามินที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ เช่น ferrous sulfate ,ferrous gluconate, ferrous fumalrate
-
การควบคุมโรค
การควบคุมโรคธาลัสซีเมียเป็นสิ่งสาคัญและจำเป็นต่อสถานการณ์โรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย เนื่องจาก จำนวนผู้ป่วยและผู้เป็นพาหะยังมีจำนวนมาก หลักการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย ดังนี้
- การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคให้แก่ผู้ป่วย ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป
- การให้คำแนะนาปรึกษาทางพันธุศาสตร์ ตรวจหายีนในผู้ที่มียีนแฝงอยู่ และการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์
-