Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์, สมาชิกในกลุ่ม - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์
แนวทางการประเมินสภาพและ
การวินิจฉัย และการรักษา
แนวทางการวินิจฉัย
เกณฑ์ที่นิยมใช้มากที่สุดในการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม คือ Diagnosis and Statistical Manual of Mental Disordes-5 (DSM-5)
ความผิดปกติของการรู้คิดที่มีผลกับการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน (Independence) ต้องมีผู้อื่นช่วยเหลือในการดูแลตนเองในชีวิตประจำวันแบบใช้อุปกรณ์ (Instrument Activities of daily living : IADLs) หมายถึง กิจกรรมที่มีการใช้อุปกรณ์หรือเครื่อง และเกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้โทรศัพท์ ช้อน ตะเกียบ การจัดเตรียมอาหาร การซื้อของ การเดินทางออกนอกบ้าน เป็นต้น
ความผิดปกติของการรู้คิดนั้นไม่ได้เกิดจากภาวะซึมเศร้า สับสนเฉียบพลัน (Delirium)
มีความผิดปกติของสมรรถภาพสมอง(Cognitive function) เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างน้อย 1 ด้าน
การใช้ภาษา(Language) : มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น เรียกชื่อสิ่งของไม่ได้
การรับรู้ (Perceptual) : การรับรู้ต่อวเลา บุคคลและสถานที่ผิดไป
ความจำและการเรียนรู้(Memory and Leaning) : ความจำระยะสั้นไม่ดี พูดซ้ำ ถามซ้ำ
ความสามารถในการเข้าสังคม (Social cognition)
การบริหารจัดการ(Executive function) : การตัดสินใจบกพร่อง ไม่สามารถคิดวางแผนในกิจกรรมที่วับซ้อนได้
การมีสมาธิจดจ่อ(Complex attention) : ขาดสมาธิ เบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย
ความผิดปกติของการรู้คิดนั้นไม่ได้เกิดจากโรคทางจิตเวช เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า เป็นต้น
การรักษา
การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-Pharmacological Management)
การให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้ป่วย
เนื่องจากผู้ป่วยจะเข้าสู่สภาวะที่ต้องพึ่งพา ผู้ดูแลเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่ต้องเข้าใจการดำเนินของโรค และความรู้เกี่ยวการดูแลผู้ป่วยในแต่ละระยะของโรค รวมไปถึงสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วย
การฟื้นฟูผู้ป่วยสมองเสื่อมด้านกายภาพ
เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมทำให้มีขีดความสามารถในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ลดลง การปรับอุปกรณ์ให้ง่ายต่อการใช้งานหรือปรับกิจกรรมให้เรียบง่ายและปลอดภัย รวมไปถึงการฝึกการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสโดยการบีบ จัด นวด การกระตุ้นกิจกรรมการเคลื่อนไหวจะทำให้ผู้ป่วยได้ฝึกสมรรถภาพทางกายภาพได้ดียิ่งขึ้น
การดูแลปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการแย่ลง เช่น เสียงรบกวน และปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยง่ายต่อการใช้งาน เช่น ให้พื้นเรียบ ไม่มีของเกะกะทางเดินและแสงสว่างเพียงพอ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
การดูแลด้านพฤติกรรมและจิตบำบัด
เนื่องจากปัญหาเรื่องพฤติกรรมและอารมณ์เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย อาจต้องใช้การรักษาควบคู่ทั้งการรักษาด้วยยาและพฤติกรรมและจิตบำบัด โดยการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเพื่อให้เข้าใจผู้ป่วยและมีวิธีการดูแลได้อย่างเหมาะสม เช่น การเบี่ยงเบนความสนในผู้ป่วยออกจากเรื่องที่กำลังหงุดหงิดหรือโมโห การเสริมสร้างด้านอารมณ์ด้วยดนตรีบำบัด เป็นต้น
การดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันและการฝึกทักษะการเข้าสังคม
ให้ผู้ป่วยได้ร่วมดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของตนเองโดยมีผู้ดูแลคอยสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือตามขีดความสามารถของผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยได้ร่วมดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของตนเองโดยมีผู้ดูแลคอยสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือตามขีดความสามารถของผู้ป่วย
การรักษาด้วยยา (Pharmacological Management)
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่ามียาที่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ แต่ใช้รักษาบรรเทาอาการและชะลอการเสื่อมของเซลล์สมอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก
ยาที่ใช้รักษาตามอาการด้านการรู้คิด
ยากลุ่ม Cholinesterase inhibitors(ChEIs) มีฤทธิ์ยับยั้งสารที่ทำลายสารสื่อประสาทในสมอง (acetylcholine esterase inhibitor) ทำให้มีสารสื่อประสาทเพิ่มขึ้น เช่น ยา donepezil, galantamine, rivastigmine
ยากลุ่ม Non-competitive inhibitors เช่น memantine ทำให้ glutamate ไม่สามารถจับกับ receptor ได้ทำให้ลดการเกิดพิษต่อเซลล์ประสาท ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง
ยาที่ใช้รักษาปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และความผิดปกติทางจิต
อาจต้องใช้ยาตามอาการทางจิตร่วมรักษา เช่น ยาต้านเศร้า ยาลดอาการหลงผิดประสาทหลอนและอาการกระวนกระวาย ยาคลายกังวลหรือยานอนหลับ โดยแพทย์อาจจะปรับยาตามอาการเพื่อให้สมดุลโดยพิจารณาถึงประโยชน์และผลข้างเคียงของการใช้ยา
แนวทางการประเมินสภาพ
การตรวจทางจิตประสาทเบื้องต้น
ใช้แบบทดสอบในการประเมิน
Addenbrooke’s Cognitive Examination (ACE)
Rowland Universal Dementia Assessment Scale (RUDAS)
Abbreviated Mental Test (AMT)
Brief Community Screening Instrument for Dementia (CSI ‘D’)
นิยมใช้ในประเทศไทย
Clock Drawing Test (CDT)
The Montreal Cognitive Assessment (MoCA)
Mimi-Mental State Examination (MMSE) : TMSE, MMSE-Thai 2002
Mini-Cog
7-minute Screen (7MS)
Chula Mental test
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
เพื่อแยกโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ ที่อาจรักษาได้ ยืนยันการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม และทำให้ทราบถึงภาวะพื้นฐานและโรคร่วมก่อนการรักษาภาวะสมองเสื่อม โดยรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
BUN/Cr
ตรวจหาความผิดปกติในไต
Liver function test
ตรวจหาความผิดปกติของการทำงานในตับ
Calcium
ตรวจหาระดับแคลเซียมในเลือดที่สูง
Thyroid Function (T3, Free T4, TSH)
ตรวจหาภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
Electrolyte
ตรวจหาระดับเกลือแร่ในเลือดที่ผิดปกติ
Vitamin B12 / Folate
ตรวจหาภาวะทุพโภชนาการ เช่น ภาวะพร่องวิตามิน B12
Fasting Blood Sugar
ตรวจหาภาวะน้ำตาลผิดปกติ
VDRL
ตรวจหาโรคซิฟิลิส
CBC
ตรวจหา hypersegmented neutrophils และmegaloblasts ซึ่งพบในนผู้ป่วยที่มีภาวะขาดวิตามินบี 12 และความผิดปกติอื่นของเลือด
การตรวจร่างกาย
ตรวจหาโรคร่วม ภาวะสุขภาพโดยรวม การมองเห็นและการได้ยินของผู้ป่วย
การตรวจภาพถ่ายรังสีสมอง(Computerized Tomography : CT scan หรือ Magnetic Resonance Imaging : MRI)
เพื่อใช้ยืนยันการวินิจฉัยและแยกภาวะสมองเสื่อม ติดตามการรักษาและหาสาเหตุอื่นๆ
การซักประวัติ
ซักประวัติจากญาติ ครอบครัว หรือผู้ดูแลใกล้ชิดที่พักอาศัยร่วมกับผู้ป่วย โดยแยกจากการซักประวัติจากผู้ป่วยโดยตรง ซักถามถึงความจำ พฤติกรรมและอารมณ์ ความสามารถในการทำงานและการช่วยเหลือตนเองที่เปลี่ยนไปจากระดับเดิม เกิดขึ้นอย่างช้าๆหรือเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
แยกความแตกต่างอาการและ
การแสดงของอัลไซเมอร์กับภาวะสับสน
ผู้ป่วยโรคภาวะสับสน
มีการแยกตัวจากผู้อื่น
มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
อาการเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันและมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างวัน กล่าวคือ อาการนั้นเปลี่ยนแปลงสลับไปมา ระหว่างสภาวะการรับรู้ที่เป็นปกติและสับสน
ความผิดปกติของวงจรการหลับ-ตื่น
ง่วงและหลับมากในช่วงกลางวัน แต่จะตื่นและสับสน อยู่ไม่สุขจนถึงก้าวร้าวในช่วงค่ำ
อาการขาดสมาธิ
ไม่สนใจสิ้่งที่กระตุ้นหรือสภาวะแวดล้อมขณะนั้น
สูญเสียกระบวนการคิดแบบเป็นระบบ
พูดวกไปวนมา หรือ พูดซ้ำๆ
พูดเนื้อหาไม่ตรงกับหัวข้อที่สนทนา
ไม่สามารถตอบคำถามง่ายๆได้
อ่านหนังสือแล้วไม่เข้าใจเนื้อหา
สูญเสียการรับทราบสภาวะแวดล้อม
เห็นภาพลวงตา
ไม่รับรู้เกี่ยวกับสถานที่ ที่ตนเผชิญอยู่
หลงเวลา
สูญเสียการรับรู้เวลา สถานที่ บุคคลและความจำระยะสั้น :
สับสนกลางวันและกลางคืน
ไม่ทราบ วัน เดือน ปี ปัจจุบัน
ไม่ทราบว่าตอนนี้ตนเองอยู่ที่ไหน
จำชื่อบุคคลได้ตามปกติ
ความผิดปกติด้านความคิดความจำ
อื่นๆ
ไม่สามารถจดจำวัตถุสิ่งของได้ :
เขียนหนังสือไม่ได้
วาดรูปไม่ได้
ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
มีปัญหาเรื่องความจำ หลงลืมบ่อยๆ
วางทรัพย์สินไว้แล้วลืมจำไม่ได้ว่าวางไว้ที่ไหน
ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้
มีความจำถดถอย
ใส่เสื้อผ้าซ้ำ
ติดกระดุมไม่ถูก
รู้สึกยากลำบากในการทำงานที่ซับซ้อนที่เคยทำอยู่ประจำ
ขายของไม่ได้ ทอนเงินผิด
มีปัญหาเรื่องทิศทางและความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
เดินออกจากบ้านไปขายของหายไป2ครั้ง
จำห้องนอนและห้องน้ำไม่ได้
ลูกสาวเคยรับผู้ป่วยมาอยู่ด้วยที่กรุงเทพฯ แต่ผู้ป่วยสับสน หงุดหงิด
บุคคลิกและอารมณ์เปลี่ยนไปจากเดิม
ทะเลอะกับลูกค้า
จะไปตลาด ก็จะทุบประตูเมื่อไม่ได้ไป
นอนไม่หลับ
วุ่นวายไม่นอนตอนกลางคืน
ไม่สามารถทำกิจวัตประจำวันได้
บุตรและญาติต้องดูแลเกือบตลอด 24 ชั่วโมง
ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันต้องมีผู้อื่นคอยช่วยเหลือ
มีปัญหาในเรื่องของการสื่อสาร
อาการจะเป็นหนักมากขึ้นเรื่อยๆ
อาการและอาการแสดง
ระยะเริ่มต้น: มักพบอาการหลงลืม เช่น ลืมบทสนทนาหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น, ลืมหรือนึกชื่อสถานที่ สิ่งของไม่ออก, ทำอะไรซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ เช่น ถามซ้ำคำถามเดิมหลายครั้ง ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้น้อยลง มีความลังเลที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น
ระยะกลาง: ผู้ป่วยยิ่งมีปัญหาด้านความทรงจำ เช่น การจำชื่อของคนรู้จักกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้นทุกที พยายามนึกชื่อเพื่อนและครอบครัวแต่นึกไม่ออก, เกิดภาวะสับสนและสูญเสียการรับรู้ด้านสถานที่ เวลา และบุคคล เช่น หลงทาง หรือเดินไปเรื่อยเปื่อยโดยไม่รู้วันเวลา, ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีปัญหาในการรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
ระยะปลาย: ระยะที่อาการของโรครุนแรงขึ้นอย่างมาก ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการดูแลและให้ความช่วยเหลือตลอด เช่น ผู้ป่วยอาจอาละวาด เรียกร้องความสนใจ และไม่ไว้วางใจผู้คนรอบข้าง , กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่, ค่อย ๆ สูญเสียความสามารถในการพูดลงไปทีละน้อยจนไม่สามารถสื่อสารได้
สาเหตุ/ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรค
สาเหตุ
เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานของสมองซึ่งเป็น
ผลจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมอง ความผิดปกติของ
โครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมอง ความผิดปกติดังกล่าวเกิดจาก
การสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติ
โปรตีนสำคัญที่ผิดปกติในโรคนี้ คือ เบต้า-อะไมลอยด์
(Beta-amyloid) และทาว (Tau)
เมื่อเกิดการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติเหล่านี้ ส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมฝ่อและเสียการทำงาน กระทบกับการทำงานของสมองส่วนนั้น ทำให้เกิดกลุ่มอาการสมองเสื่อม และแสดงอาการต่างๆออกมา เช่น หลงลืม ถามซ้ำๆ ฯลฯ
จากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ทำให้
สามารถตรวจวินิฉัยโรคอัลโซเมอร์ได้ถูกต้องแม่นยำขี้น และสามารถตรวจโรคนี้ได้ แม้ผู้ป่วยยังไม่มีอาการชัดเจน
ปัจจัยส่งเสริม
ตามสถานการณ์ตัวอย่างผู้ป่วยมีอายุ 65 ปี อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญที่สุด
โดยพบว่าหลังอายุ 65 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการ
เกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุกๆ 5 ปีที่อายุมากขึ้น
อย่างไรก็ตามยังมีผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีด้วยเช่นกัน
ตามสถานการณ์ตัวอย่างผู้ป่วยมีโรคประจำตัว คือ
โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยส่งเสริม
โรคหลอดเลือดในสมอง พบว่าโรคอัลไซเมอร์มีส่วนที่เกิดจากโรคของหลอดเลือด รวมถึงพบร่วมกับโรคหลอดเลือดในสมองได้บ่อย
ดังนั้นปัจจัยส่งเสริมต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจึงอาจเป็น
ปัจจัยส่งเสริมของโรคอัลไซเมอร์ด้วย
พยาธิสภาพ
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานของสมองซึ่งเป็นผลจากความ ผิดปกติของของโครงสร้างของเนื้อเยื่อสมอง ความผิดปกติดังกล่าวเกิดจากการสะสมของโปรตีน เบต้า-อะไมลอยด์ (Beta-amyloid) และทาว (Tau) ที่ผิดปกติ ส่งผลให้เซลล์สมองถูกทำลายประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อยๆ ลดลง ทำให้เกิดกลุ่มอาการสมองเสื่อม
1) ระยะก่อนมีอาการ (Preclinical stage) ในระยะนี้จะเกิดความผิดปกติของเนื้อสมอง
แต่ยังไม่มีอาการแสดงที่ผิดปกติ
2) ระยะที่มีอาการเพียงเล็กน้อย (Mild Cognitive Impairment) ในระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการต่าง ๆ ของกลุ่มอาการสมองเสื่อมดังกล่าวข้างต้น แต่ยังไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต
3) ระยะที่มีภาวะสมองเสื่อมชัดเจน (Dementia) ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีกลุ่มอาการสมองเสื่อมอย่างชัดเจน และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต
สมาชิกในกลุ่ม
6310410001 นางสาวกนกวรรณ ชูปาน
6310410004 นายกฤตนน ศรีสุธาสินี
6310410005 นายกฤษฎา แสงสุรินทร์
6310410006 นางสาวกวินทรา เจิมประยงค์
6310410007 นางสาวกษมน สินฉิม
6310410008 นางสาวกัญญารัตน์ ดำขุน
6310410009 นางสาวกันตนัทธ์ สถิรวณิชย์
6310410010 นางสาวกัลยากร โชติ