Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติและการคุ้มครองผู้บริโภค - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติและการคุ้มครองผู้บริโภค
ลักษณะและวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
2.รวดเร็ว โดยเมื่อศาลรับคำฟ้อง ศาลต้องนัดพิจารณาคดีไม่เกิน 30 วันเพื่อไกล่เกลี่ยคดีและในวันเดียวกัน ทั้งนี้ ให้ศาลส่งสำเนาคำฟ้องหรือสำเนาบันทึกคำฟ้องให้จำเลยและสั่งให้โจทก์มาศาลในวันพิจารณาคดี โดยจำเลยจะยื่นคำให้เป็นหนังสือก่อนวันนัดพิจารณาก็ได้ (มาตรา 24)
1.สะดวก โดยผู้เสียหายหรือโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ
ในกรณีที่ฟ้องด้วยวาจาให้เจ้าพนักงานคดีบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้อง และให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญทั้งนี้คำฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีและคำขอบังคับชัดเจน
3.ประหยัด โดยคู่ความจะเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเล็กน้อยจึงช่วยให้ประหยัด
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
กฎหมายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เกิดจากแนวคิดการปฏิรูปสุขภาพของชาวไทย ความคิดในการยกร่างกฎหมายนี้มาตั้งแต่ พ.ศ.2543 "ได้ประกาศใช้ 19 มีนาคม พ.ศ. 2550"
เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์ รวมทั้งมีองค์ดรและกลไก
คำศัพท์เกี่ยวกับสุขภาพตามมาตรา 3
ระบบสุขภาพ หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวกับสุขภาพ
บริการสาธารณสุข คือ การบริการต่างๆที่เกี่ยวกับการเสริมสร้าง การป้องกัน การควบคุม การบำบัดวินิจฉัย รวมถึงการฟื้นฟูร่างกายของบุคคลอย่างเป็นระบบ
สุขภาพ หมายถึง ภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย จิตใจ ปัญญาและสังคมของบุคคล โดยมีการเชื่อมโยงอย่างเป็นองค์รวมและมีความสมดุล
สุขภาพเชิงรุกที่สามารถแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ.2551
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ขาดความรู้ ทำให้ได้รับผลกระทบจากการซื้อ เมื่อเกิดข้อพิพาทกระบวนการเรียกค่าเสียายต้องใช้เวลานาน
บางครั้งต้องใช้วิธีการรุนแรง
กฎหมายฉบับนี้จึงเอื้อต่อสิทธิเรียกร้องของผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขด้วยความรวดเร็ว เป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
การปฏิบัติการพยาบาลอาจเกิดความพลาดพลั้งต่อผู้ใช้บริการโดยประมาทส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องคดีทางการแพทย์ ซึ่งผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
กฎหมายสุขภาพแห่งชาติบัญญัติให้ประชาชนชาวไทยมีสิทธิหน้าที่ด้านสุขภาพ
2.สตรีต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองสุขภาพทางเพศและระบบเจริญพันธุ์ที่มีความจำเพาะซับซ้อนตลอดช่วงชีวิจอย่างเหมาะสม (มาตรา 6(1))
3.สุขภาพเด็ก คนพิการ คนสูงอายุ คนด้อยโอกาสในสังคมและกลุ่มคนต่างๆต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างเหมาะสม (มาตรา6(2))
4.ผู้ใดนำข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลอื่นไปเปิดเผยอันทำให้บุคคลนั้นเสียหายย่อมมีความผิด ทั้งนี้รวมไปถึงไม่สามารถใช้อำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่น (มาตรา 7 ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 49))
5.บุคคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการอย่างเพียงพอเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการ (มาตรา 8(1))
6.ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์จะให้ผู้ใช้บริการเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า และต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ใช้บริการก่อนจึงจะดำเนินการได้ ความยินยอมดังกล่าว ผู้ใช้บริการสามารถยกเลิกได้ทุกเมื่อ (มาตรา 9)
ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 49)
7.เมื่อเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวต้องเปิดเผยข้อมูล และวิธีป้องกันให้แก่ประชาชน (มาตรา 10(1))
โดยต้องไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (มาตรา 10(2))
8.บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องเรียนให้มีการประเมินและร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ (มาตรา 11(1))
9.บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขเพื่อยืดการตายในระยะสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย (มาตรา 12(1))
1.บุคคลมีสิทธิและหน้าที่ในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (มาตรา 5)
อายุความ
เมื่อเกิดความเสียหายต่อชีวิตร่างกายสุขภาพหรืออนามัย โดยผลของสารที่อยู่ในร่างกายผู้บริโภคหรือต้องใช้เวลาในการแสดงอาการหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค
ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้กระทำผิด ต้องไม่เกิน 10 ปีนับตั้งแต่วันที่รู้ (มาตรา 13)
ถ้ามีการเจรจาค่าเสียหายเพื่อปรานีประนอมจะทำให้อายุความหยุดลง (มาตรา 14)
วิชาชีพพยาบาลและผดุงครรภ์เป็นวิชาชีพที่มีความรับผิดชอบที่กว้างขวาง เช่นการป้องกันโรค ทำให้อาจต้องล่วงเข้าไปในวิชาชีพอื่น เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับการดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยปกป้องสิทธิต่างๆที่ประชาชนควรได้รับ
การสืบพยานและการพิพากษา
การวินิจฉัยผู้บริโภคต้องพิจารณาทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฏหมาย ตามประเด็นคำฟ้องและคำให้การ รวมถึงพยานหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวกับปัญหาข้อเท็จจริง เพื่อนำไปกำหนดประเด็นข้อพิพาท การพิสูจน์ และการสืบพยาน โดยศาลแจ้งประเด็นข้อพิพาทให้คู่ความทราบ และกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานสืบก่อนหลัง (มาตรา 32) โดยสืบพยานตามมาตรา 29-38 ดังนี้
9.คำพิพากษาและคำสั่งซื้อชี้ขาดตัดสินคดี ต้องแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็น พร้อมเหตุผล (มาตรา 38) โดยคำพิพากษาระบุตามมาตรา 39-44 ได้แก่
9.1เกินกว่าที่ปรากฏในคำบังคับของโจทก์ หากศาลเห็นว่าจำนวนค่าเสียหายที่โจทเรียกร้องไม่ถูกต้อง (มาตรา 39)
9.2 สงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในเวลาที่ศาลกำหนด ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่ศ่ลมีคำพิพากษา เนื่องจากความเสียหายทีเกิดขึ้นแก่ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยในเวลาพิพากษาคดี (มาตรา 40)
9.3 ให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้าใหม่ให้แก่ผู้บริโภคแทนการแก้ไขซ่อมแซมสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง (มาตรา 41)
9.4ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภคในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม (มาตรา 42)
9.5 รับหรือเรียกสินค้า เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้บริโภค
9.6 ให้บุคคลร่วมรับผิดชอบในหนี้ที่นิติบุคคงมีต่อผู้บริโภค (มาตรา 44)
1.ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการออกแบบการผลิต หรือส่วนผสมของสินค้าการให้บริการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ให้บริการเป็นผู้ที่มีภาระพิสูจน์ (มาตรา 29)
2.การกำหนดหน้าที่นำพยานหลักฐานสืบโดยศาลพิจารณาจากคำฟ้องและคำให้การ ลำดับการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ คำนึงถึงความสียเปรียบทางคดีด้วย
3.กฏหมายจึงบัญญัติหลักเกณฑ์ว่า ถ้าทั้งสองคดีเป็นคดีผู้บริโภค จำเลยเป็นรายเดียวกันมีข้อเเท็จจริงที่พิพาทแบบเดียวกันคดีก่อนได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและพิพากษาถึงที่สุด ศาลในคดีหลังอาจมีคำสั่งให้ถือว่าข้อเท็จจริงในประเด็นนั้นยุติเช่นเดียวกับคดีก่อนโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐาน ยกเว้น ศาลเห็นว่าข้อเทผ้จจริงในคดีก่อนไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือเพื่อให้โอกาสแก่คู่ความที่เสียเปรียบต่อสู้คดี (มาตรา 30)
4.การอ้างอิพยานหลักฐาน ก่อนการสืบพยานคู่ความต้องแจ้งความจำนงว่าจะสืบพยานหลักฐานใดแล้วจดบันทึกไว้ หรือศาลอาจสั่งให้คู่ความทำบัญชีพยานยื่นต่อศาลภายในเวากำหนด (มาตรา 31)
5.การแสวงหาข้อเท็จจริงโดยศาล ให้ศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้พยานหลักฐานที่ได้มาต้องให้คู่ความทุกฝ่ายทราบและไม่ตัดสิทธิคู่ความในการโต้แย้งพยานหลักฐาน (มาตรา 33)
6.การถามพยาน ในการสืบพยานให้ศาลเป็นผู้ซักถามพยาน เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับคดี ทั้งนี้คู่ความหรือทนายความสามารถซักถามพยานได้เมื่อศาลอนุญาต (มาตรา 34)
7.การเลื่อนการนั่งพิจารณาคดีสืบพยาน ทำให้คดีล่าช้า ดังนั้นจึงกำหนดให้ศาลนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันโดยไม่เลื่อนคดี จนกว่าการพิจารณาเสร็จสิ้น ยกเว้นเหตุจำเป็น ได้ครั้งละไม่เกิน 15 วัน (มาตรา 35)
8.การสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติม ก่อนมีคำพิพากษาศาลอาจสืบเพิ่มได้ (มาตรา 37)
ความหมายคดีผู้บริโภค (มาตรา 3)
1.คดีแพ่ง ระหว่างผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ได้แก่ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคมหรือมูลนิธิ ตาม (มาตรา 19)
2.คดีแพ่ง ตามกฎหมายเกี่ยวกับความผิดรับชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า
3.คดีแพ่ง ที่เกี่ยวพันกับคดีตามข้อ 1 หรือ 2
4.คดีแพ่ง ที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิจารณญานตามพระราชบัญญัตินี้
คดีผู้บริโภคเป็นคดีแพ่งที่เสนอต่อศาให้คุ้มครองสิทธิบุคคลตามกฎหมายแพ่ง โดยคดีแพ่งที่กฏหมายบัญญัติให้ใช้พิจารณาคดีผู้บริโภค สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนดให้ศาลรายงานคดีผู้บริโภคทั้งสิ้น 19 รายการ โดยการบริการสาธารณสุขและความงามเป็นหนึ่งในคดีดังกล่าว
รวมถึงการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ก็จัดเป็นการบริการ ตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการพยาบาลวิชาชีพที่กระทำผิดอาจถูกฟ้องตามคดีผู้บริโภคได้
บรรณานุกรม
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข.2562.กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข.(สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564).จาก
https://www.senate.go.th/view/
แสงทอง ธีระทองคำ,ไสว นรสาร.(2560).กฎหมายสำหรับพยาบาล.(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ:คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
แสงทอง ธีระทองคำ,ไสว นรสาร.(2560).กฏหมายสำหรับพยาบาล.(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ : คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.