Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลอดเลือดที่หลอดอาหารโป่งพอง (Esophageal varices : EV) - Coggle Diagram
หลอดเลือดที่หลอดอาหารโป่งพอง (Esophageal varices : EV)
พยาธิสภาพของโรค
จากภาวะตับแข็งซึ่งทำให้เกิดความต้านทานในหลอดเลือดสูงขึ้น สาเหตุส่นใหญ่เกิดจากการมีพังผืดในตับอีกร้อยละ 20 ถึง 30 เกิดจากการหลัง nitric oxide มากขึ้น ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เมื่อภาวะความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดระบบพอร์ทัลสูงจนถึง 10 ถึง 12 มม.ปรอท จะมีผลทำให้หลอดเลือดดำที่ต่อกับหลอดเลือดระบบพอร์ทัลโป่งพอง (portosystemic collaterals)
ซึ่งรวมไปถึงหลอดเลือดดำในหลอดอาหาร และหากภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดระบบพอร์ทัล (portal hypertension) สูงเกิน 12 มิลลิเมตรปรอทจะนำไปสู่ภาวะเลือดออกเฉียบพลันจากหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพองแตก (acute esophageal) ซึ่งมักพบบริเวณหลอดอาหารส่วนปลายที่ตำแหน่ง 2 ซม. จากรอยต่อของหลอดอาหารและกะเพราะอาหารขึ้นมา
อาการ และอาการแสดง
อาการแสดง
มือเท้าเย็นเป็นตะคริว
หน้ามืดจะเป็นลม
ปวดศรีษะ
เหงื่อออก
ซีดอ่อนเพลียอย่างรวดเร็ว
อาการแสดงของ portal hypertension ที่พบบ่อย
ได้แก่อาเจียนเป็นเลือด ซึ่งเกิดจากการรั่วหรือแตกของเส้นเลือดดำในหลอดอาหารซึ่งมีการโป่งพอง การมีเลือดออกเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่โป่งพองอย่างช้า ๆ อาจทำให้เกิดภาวะซีดหรือถ่ายดำ
อาการ
มีเลือดออกในทางเดินอาหาร
ความดันโลหิตต่ำ ใจสั่น หายใจเร็ว ซึ่งเป็นอาการจากภาวะช็อคจากการเสียเลือด
หน้าท้องแข็งเกร็ง เป็นตะคิว
ตรวจพบเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าเกณฑ์
การวินิจฉัย
3) ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC -การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง
Coagulogram -ประเมินหน้าที่ของตับ
LFT -การตรวจการทำงานของตับ
4) การตรวจพิเศษ
Gastroscope: การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
Gastroscope: การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
Esophagoscope: การตรวจหลอดอาหารด้วยกล้อง
2) ตรวจสุขภาพ พบอาการแสดงของโรคตับร่วมกับอาการของเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน
1) การซักประวัติ มีประวัติเป็นโรคตับเรื้อรัง ดื่มสุราเป็นเวลานาน
การพยาบาลที่สำคัญ
วัดความดันหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central venous pressure : CVP) ทุก 1 ชม. เพื่อประเมินภาวะน้ำในร่างกาย
NPO สังเกตลักษณะอาเจียน การขับถ่าย สวนและตวงปัสสาวะทุกชม. และบันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออก
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ตรวจวัดสัญญาณชีพทุกๆ 15-30 นาที เจาะ Hct ทุก 4-6 ชม. เพื่อป้องกันภาวะ Hypovolemic Shock
ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ ได้แก่ งดดื่มสุรา หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เพิ่มความดันในช่องท้อง กินอาหารอ่อนและสังเกตอาการผิดปกติ
การรักษา
การรักษาทางอายุรกรรม
การให้ยา
ออกฤทธิ์ลดภาวะ portal hypertension
calcium channel blockers
beta blockers
serotonin antagonists
prostaglandin synthetase inhibitors
angiotensin inhibitors
digoxin
nitrates
theophyllin
alpha blockers
ออกฤทธิ์หยุดเลือดเฉียบพลัน
Terlipressin
Somatostatin
Vasopressin
Somatostatin analogs
การใส่สายสวนสามทาง
Sengstaken-Blakemore tube (SB-tube)
เพื่อให้บอลลูนช่วยกดหยุดเลือด และถ่วยดึงไว้ด้วย
ตุ้มน้ำหนักขนาด 1/2 กิโลกรัม จนกว่าเลือดจะหยุด
การรักษาทางศัลยกรรม
การส่องกล้อง
Sclerotherapy และ Ligation
ในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกเฉียบพลัน
การผ่าตัดรักษา
Transjugular intrahepatic portosystemic shunt (TIPS) การใส่สายเข้าในหลอดเลือดที่คอไปต่อกับหลอดเลือดที่ขั้วตับ เพื่อลดความดันหลอดเลือดในขั้วตับ