Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำแผนที่ในงานอนามัยชุมชน, นางสาวเกียรติสุดา จีนจิ้ว 610105 - Coggle…
การทำแผนที่ในงานอนามัยชุมชน
แผนที่ คือ แผนภาพจำลองแสดงเนื้อที่โดยย่อของภูมิประเทศจริงในแนวราบซึ่งจัดทำด้วยเครื่องหมายต่าง ๆในลักษณะเส้น สี สัญลักษณ์ เพื่อใช้แทนของจริงที่อยู่บนพื้นผิวโลกต้องอาศัยมาตราส่วนเพื่อให้มีความถูกต้องทั้งระยะทาง ทิศทางและความสูง
ชนิดของแผนที่
แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) ได้แก่ แผนที่แสดงรายละเอียดทั่วไปรวมทั้งลักษณะสูงต่ำของภูมิประเทศซึ่งอาจเป็นแผนที่ที่มีมาตราส่วนใหญ่และปานกลาง
แผนที่ภาพถ่าย (Photo map) เป็นแผนที่ที่ทำจากภาพถ่ายทางอากาศซึ่งอาจเป็นสีหรือภาพขาวดำซึ่งมีโครงสร้างพิกัดศัพท์ทางภูมิศาสตร์มีความยากในการอ่าน แต่จัดทำได้อย่างรวดเร็ว
องค์ประกอบของแผนที่ชุมชน
องค์ประกอบภายนอกขอบระวางแผนที่
1.1 ชื่อแผนที่ เพื่อบ่งบอกว่าเป็นแผนที่ชนิดใด แสดงอะไรของชุมชนไหนซึ่งนิยมเขียนไว้ด้านบน
ของแผนที่ ซึ่งจะต้องระบุสถานที่ตั้ง
1.2 มาตราส่วนแผนที่ ( Map Scale )
1.2.1 มาตราส่วนที่นิยมใช้เป็นเลขเศษส่วนโดยเลขเศษจะเป็น 1 เสมอ
1.2.2 มาตราส่วนเปรียบเทียบโดยตรง
1.2.3 มาตราส่วนเส้นบรรทัด ( Graphic scale ) ใช้ความยาวของมาตราส่วนที่เขียนไว้
เป็นเส้นบรรทัด บอกหน่วยชัดเจน
1.3 คำอธิบายสัญลักษณ์ ( Legend )
จะบอกความหมายของสิ่งหรือตัวแทนที่ใช้ในแผนที่
1.4 วัน เดือน ปี ควรเขียนวันเดือนปีที่ทำแผนที่กำกับไว้บนแผนที่ด้านล่างเพราะระยะเวลาที่ผ่าน
ไปสิ่งต่าง ๆ ในชุมชนอาจมีการเปลี่ยนแปลง
1.5 ชื่อผู้เขียน หรือ สถาบันที่ทำแผนที่ ควรเขียนชื่อกำกับไว้ด้านล่างของแผนที่ หากผู้ใช้หรือผู้อ่านแผนที่สงสัยและต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมจะสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลจากผู้ทำแผนที่ได้
องค์ประกอบภายในขอบระวางแผนที่
2.1 สัญลักษณ์ ( Symbol )
คือ เครื่องหมายที่แสดงในแผนที่เพื่อแทนรายละเอียดที่ปรากฏบนภูมิประเทศ
1) สัญลักษณ์ที่ใช้ทั่วไปในการทำแผนที่
1.1) สิ่งที่เกิดขึ้นโดยการทำของมนุษย์
1.2) สิ่งที่เป็นน้ำ
1.3) สิ่งที่สูงกว่าระดับปกติ
1.4) สิ่งที่เป็นพืชพันธุ์
2) ตัวอักษรที่เขียนบนแผนที่
2.1) ชื่อแผนที่ข้อความบางอย่างบนแผนที่นิยมเขียนให้ตัวอักษรหันไปทางทิศเหนือหรือด้านหัวกระดาษ
2.2 ) อักษรกำกับภาพเล็ก
การหาระยะทางในการทำแผนที่
ระยะทาง = ความยาวของ 1 ก้าวเฉลี่ย x จำนวนก้าวเฉลี่ย
ความยาว 1 ก้าวเฉลี่ย หาจากการก้าวเดินอย่างน้อย 2 ครั้ง แล้วนำมาเฉลี่ยจำนวนก้าวเฉลี่ย หาจากการเดินนับก้าวในระยะทางที่กำหนดอย่างน้อย 2 ครั้งแล้วนำมาเฉลี่ย
ระยะทางในภูมิประเทศจริงระยะทาง
ระยะทางตามแนวนอน ได้แก่ ระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่วัดตามแนวระดับราบ
ระยะทางตามแนวยืน ได้แก่ ระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่วัดตามแนวดิ่ง
ระยะทางลาด ได้แก่ ระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่วัดตามทางลาดระยะทาง
ขั้นตอนในการทำแผนที่สังเขป
การสำรวจก่อนการจัดทำแผนที่ควรสำรวจพื้นที่ทั่วไปของชุมชนโดยสำรวจภูมิประเทศในภาพรวม เพื่อให้เห็นลักษณะของชุมชนและรู้ขอบเขตอย่างคร่าว ๆ จากนั้นให้วาดโครงร่างอย่างหยาบๆ
การหาทิศเหนือหาทิศเหนือก่อนเพื่อเป็นหลักในการหาทิศอื่นต่อไป
การหาระยะทางการคาดคะเนระยะทางสามารถทำได้โดยก้าวเดินในแนวตรง 10 ก้าวเท่า ๆกันแล้ววัดระยะเพื่อมาเฉลี่ยหาความยาวใน 1 ก้าวตัวเลขที่ได้จะนำมาคำนวณระยะทางในการจัดทำแผ่นที่
สังเกตสิ่งแวดล้อมในขณะเดินผ่านจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง ให้สังเกตสิ่งแวดล้อมและสถานที่สำคัญ
การคัดลอกและย่อส่วนตามมาตราส่วนโดยเริ่มจากคัดเลือกวัสดุการจัดทำแผนที่ให้เหมาะสมจากนั้นวางทิศเหนือไว้ด้านบนของแผนที่และเริ่มวางโครงร่างจุดหลัก
การอ่านและการใช้แผนที่
การวางให้ถูกทิศทางสิ่งแรกของการอ่านแผนที่คือ จะต้องวางแผนที่ให้ถูกทิศทางเสียก่อนโดยเมื่อวางแผนที่
ลงในแนวราบ ทิศเหนือของแผนที่จะต้องชี้ไปทางทิศเหนือของภูมิประเทศเสมอ
การกำหนดตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้ลงในแผนที่ผู้ใช้แผนที่จะต้องทราบว่าตนเองยืนอยู่ ณ จุดใดของแผนที่ วิธีการหาจุดหรือตำแหน่งในแผนที่สามารถกระทำได้ โดยการตรวจสอบกับภูมิประเทศใกล้เคียงเปรียบเทียบกับรายละเอียดในแผนที่ ณ จุดที่ยืนอยู่
การศึกษาหารายละเอียดของแผนที่ผู้อ่านแผนที่ จะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของข้อมูลภายนอกและภายในขอบระวางแผนที่
ประโยชน์ของแผนที่
แผนที่ทั่วไป
1) ทำให้ทราบลักษณะภูมิประเทศว่าเป็นภูเขาที่ลุ่มหรือชายฝั่งทะเล
2) ทำให้ทราบระยะทางจากหมู่บ้านหนึ่งไปหมู่บ้านหนึ่งหรือจากหมู่บ้านไปสถานบริการสุขภาพ ระยะทางอาจวัดเป็นกิโลเมตรก็ได้
3) ทำให้ทราบอาณาเขตของชุมชนในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยที่จะต้องให้บริการสุขภาพนิเทศงานและประเมินผลงาน
4) ทำให้ทราบสถานที่ราชการและแหล่งประโยชน์ต่าง ๆ
5) ทำให้ทราบข้อมูลด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำใช้น้ำดื่มบ่อน้ำและจำนวนส้วมตลอดจนลักษณะชุมชนเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม
6) สามารถนำมาใช้ในการวางแผนการนิเทศงาน การประเมินผลงาน และจัดลำดับการให้บริการในชุมชนตลอดจนเลือกการเดินทางเพื่อให้เกิดความสะดวกและประหยัดเวลา
7) เพื่อใช้ประกอบในการจัดทำโครงการการรายงานผลและติดตามผลเป็นระยะ ๆ
แผนที่พิเศษ
เป็นแผนที่ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความเฉพาะของบริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ทั้งนี้เพื่อกิจการหนึ่งโดยเฉพาะ ภายในแผนที่มีรายละเอียดที่ต้องการแสดงเท่านั้น
1) เป็นข้อมูลในการสำรวจสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยการใช้หมุดสีต่าง ๆระบุครอบครัวที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัย หรือครอบครัวที่ควรให้การดูแลเป็นพิเศษ
นางสาวเกียรติสุดา จีนจิ้ว 610105