Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 - Coggle Diagram
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560
ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๖ ปี บริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวม บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและความเข้ำใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
วิสัยทัศน์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง
ได้รับการจัดประสบกำรณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุข และเหมาะสมตามวัย มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และสำนึกความเป็นไทย โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัวชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
2.พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
3.มีความสุขและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย
3.พัฒนาการด้านสังคม
4.รับรู้และสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
5.ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
1.พัฒนาการด้านร่างกาย
1.ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขภาพดี
2.ใช้อวัยวะของร่างกำยได้ประสานสัมพันธ์กัน
4.พัฒนาการด้านสติปัญญา
6.สื่อความหมายและใช้ภาษาได้เหมาะสมกับวัย
7.สนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว
การอบรมเลี้ยงดูและการพัฒนาเด็ก
แบ่งการอบรมเลี้ยงดูออกเป็น 2 ช่วงอายุ
ช่วงอายุแรกเกิด - 2 ปี
เน้นการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวัน ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านโดยมีแนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวัน ดังนี้
5.การส่งเสริมทักษะทางสังคม
6.การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
4.การส่งเสริมด้านอารมณ์ จิตใจ
7.การส่งเสริมการสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว
3.การฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือ - ตา
8.การส่งเสริมทักษะทางภาษา
2.การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
9.การส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
1.การฝึกสุขนิสัยและลักษณะนิสัยที่ดี
ช่วงอายุ 2-3 ปี
เน้นการจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นตามธรรมชาติที่เหมาะสมกับวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาโดยจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการความสนใจและความสามารถตามวัยของเด็ก
สาระการเรียนรู้
เป็นสื่อกลางในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน สาระการเรียนรู้ประกอบไปด้วย ๒ ส่วน คือประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
3.ธรรมชาติรอบตัว
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
4.สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
จุดหมาย
2.สุขภาพจิตดีและมีความสุข
3.มีทักษะชีวิตและสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
1.ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขภาพดี
4.มีทักษะการใช้ภาษาสื่อสารและสนใจเรียนรู้สิ่งต่งๆ
การอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์
แนวทางการอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี
3.จัดประสบการณ์ตรงให้เด็กได้เลือก ลงมือกระทำและเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้าและการเคลื่อนไหวผ่านการเล่น
4.จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่แวดล้อมและสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็กอย่างหลากหลาย
2.สร้างบรรยากาศของความรักความอบอุ่น ความไว้วางใจและ
ความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับเด็กในวิถีชีวิตประจำวัน
5.จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้และของเล่นที่สะอาด หลากหลาย ปลอดภัย และเหมาะสมกับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กรอบด้านรวมถึงมีพื้นที่ในการเล่นน้ำ เล่นทราย
1.ดูแลสุขภาพอนามัยและตอบสนองความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล
6.จัดหาสื่อการเรียนรู้ที่เป็นสื่อธรรมชาติ เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก สื่อที่เอื้อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นพี่เลี้ยงเด็ก
7.จัดรวบรวมข้อมูลและติดตามการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
8.จัดกระบวนการเรียนรู้โดยให้พ่อแม่ ครอบครัว สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และชุมชน มีส่วนร่วมทั้งการวางแผนการสนับสนุนสื่อ การเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินพัฒนาการเด็ก
การประเมินพัฒนาการ
2.ประเมินอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
3.ประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลาย
1.ประเมินพัฒนาการครบทุกด้าน
บันทึกพัฒนาการลงในสมุดบันทึกแม่และเด็ก
5.นำผลที่ได้ไปจัดกิจกรรม
การใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
การใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู
2.ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อใช้เป็นแนวทำงการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมกับวัย
3.ติดตามประเมินพัฒนาการทุกด้านของเด็ก โดยการสังเกตและบันทึกการเจริญเติบโต
4.ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการเร็วช้าต่างกัน
1.ศึกษาปรัชญาการศึกษา หลักการ จุดหมาย เพื่อทำความเข้าใจกับแนวทางการพัฒนาเด็ก
การใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยวางแผนหรือกำหนดแนวทางการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตรงตามปรัชญาการศึกษาและหลักการของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
การเชื่อมต่อการพัฒนาการเด็กปฐมวัย
บทบาทพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู
เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิต ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข (เก่ง ดี มีสุข)
บทบาทบุคลากรในสถานพัฒนาเด็ก
ช่วยเหลือการปรับตัวของเด็ก จัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความคุ้นเคย ปฏิบัติต่อเด็กอย่างอ่อนโยน
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี
จุดหมาย
2.สุขภาพจิตดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่ดีงาม
3.มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัยและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
1.ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดี
4.มีทักษะการคิด การใช้ภาษาสื่อสาร และการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 12 มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 29 ตัวบ่งชี้
พัฒนาการด้านร่างกาย
มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
มาตรฐานที่ ๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว
พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
มาตรฐานที่ ๓ มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
พัฒนาการด้านสังคม
มาตรฐานที่ ๗ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
มาตรฐานที่ ๘ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรฐานที่ ๖ มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พัฒนาการด้านสติปัญญา
มาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
มาตรฐานที่ ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ ๙ ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
มาตรฐานที่ ๑๒ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
การจัดเวลาเรียน
ไม่น้อยกว่า 180 วันต่อ 1 ปีการศึกษา แต่ละวันไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
สาระที่ควรเรียนรู้
2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3.ธรรมชาติรอบตัว
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
การจัดประสบการณ์
จัดกิจกรรมในลักษณะบูรณาการผ่านการเล่น การลงมือทำจากประสบการณ์ตรงอย่างหลากหลาย
หลักการจัดประสบการณ์
3.จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
4.จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
2.เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่
5.ให้พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
1.จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างสมดุลและต่อเนื่อง
การประเมินพัฒนาการ
3.ประเมินอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
4.ประเมินตามสภาพจริง
ไม่ควรใช้แบบทดสอบ
2.ประเมินพัฒนาการครบทุกด้าน
5.สรุปผลการประเมินที่เหมาะสม
1.วางแผนการประเมิน
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
2.จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3.ประเมินหลักสูตรของสถานศึกษาปฐมวัย
1.ศึกษา ทำความเข้าใจหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย รวมทั้งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กและครอบครัว
การสร้างรอยเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ผู้สอนระดับปฐมวัย
ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการเรียนการสอน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และสร้างความเข้าใจให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่นๆ รวมทั้งช่วยเหลือเด็กในการปรับตัวก่อนเลื่อนขึ้นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ผู้สอนระดับประถมศึกษา
มีความรู้ ความเข้าใจในพัฒนาการเด็กปฐมวัย และมีเจตคติที่ดีต่อการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเพื่อนำมาเป็นข้อมูลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ผู้บริหารสถานศึกษา
ศึกษาหลักสูตรทั้งสองระดับ เพื่อทำความเข้าใจและจัดระบบการบริหารงานด้านวิชาการที่จะเอื้อต่อการสร้างรอยเชื่อมต่อการศึกษา
พ่อแม่ ผู้ปกครอง
มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับบุตรหลาน ให้ควำมรัก ความเอาใจใส่ ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ร่วมมือกับผู้สอนและสถานศึกษาในการช่วยเตรียมตัวบุตรหลาน