Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นวัตกรรมทางการพยาบาลสาธารณสุข - Coggle Diagram
นวัตกรรมทางการพยาบาลสาธารณสุข
ความหมายของนวัตกรรมสาธารณสุข
นวัตกรรมสาธารณสุขจึงต้องมีแนวทางการพัฒนานวัตกรรม โดยเริ่มพัฒนาวิธีคิด การมองกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาคิดรูปแบบของการพัฒนาจากความรู้ใหม่ ความรู้เดิม วิธีการใหม่ วิธีการเดิม ปรับปรุงการทำงานเดิมและสร้างงานใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุขในที่สุด
ความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรม
เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการ
เพื่อสร้างความรู้ใหม่
เพื่อลดค่าใช้จ่ายหรือลดการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง
เพื่อประสานความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางด้านสุขภาพในการให้บริการ
เพื่อขจัดความเสี่ยงและสนับสนุนการลดปัจจัยเสี่ยง
เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจและการมีคุณค่าของพยาบาลวิชาชีพ
ประเภทของนวัตกรรม
สร้างนวัสาธารณสุขใหม่และเป็นนวัตกรรมที่ค้นพบโดยเน้นการค้นหาความคิดใหม่
ตามลักษณะการใช้นวัตกรรมจนเกิดผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการพยาบาลชุมชน
เป็นกระบวนการบริการพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแนวคิดใหม่ๆ (Idea generation)
วิวัฒนาการของสาธารณสุขไทย
พศ 2505 กองมาลาเรีย ได้ดำเนินโครงการอาสาสมัครมาลาเลีย
พศ 2507-2509 ดำเนินโครงการสารภี ผสส.,อสม.
พศ 2520-2524 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มดำเนินแผนงานสาธารณสุขมูลฐาน จุดเริ่มต้นพัฒนา 3 ก (กำลังคน กองทุน การบริหารจัดการ)
พศ 2523 ลงนามกฎบัตรเพื่อพัฒนาสาธารณสุข สนับสนุนการสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care =PHC) ให้บรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี พศ 2543
พศ 2525 โครงการหมู่บ้านพึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐาน
พศ 2525-2529 ขยายการอบรม ผสส/อสม ให้ครอบคลุมหมู่บ้านในชนบททั้งหมด
พศ 2526 โครงการกองทุนบัตรสุขภาพ ได้ทดลอง 7 จังหวัด 8 ตำบล 1 หมู่บ้าน โครงการพัฒนาสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เริ่มทดลองใช้ ความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ)
พศ 2527 รัฐประกาศเป็นปีรณรงค์สาธารณสุขมูลฐานแห่งชาติ เน้นการพัฒนากิจกรรมสาธารณสุขมูลฐาน องค์ประกอบหลัก การพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง การขยายกองทุนเฉพาะกิจ
พศ 2529 รัฐจัดตั้งกองทุนพัฒนาชนบท
พศ 2527-2530 ขยายพื้นที่ดำเนินกองทุนบัตรสุขภาพ
พศ 2528 1ตำบล1อำเภอจนถึงปี 2530 ครบทุกตำบลในทุกอำเภอ ขยายพื้นที่ดำเนินงานหมู่บ้านพึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐานทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 หมู่บ้าน ,กระทรวงสาธารณสุขเลือก 14 จังหวัดเร่งรัดพัฒนาคุณภาพชีวิต , พัฒนาระบบบริการสาธารณสุข(Basic Health Services=BHS หรือ Health Infrastructure=HIS)
พศ 2528-2530 รัฐบาลประกาศเป็นปีรณรงค์คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ (ปรช.)
พศ 2529 ชมรมแพทย์ชนบท และชมรมสาธารณสุขอำเภอ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้ง คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ(คปสอ) เป็นการเสริมงาน พบส.ให้เข้มแข็งขึ้น
พศ 2530-2534 - พัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบหลักเกณฑ์ กองทุนบัตรสุขภาพ
พศ 2535-2539 ดำเนินโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย(ทสอ) อย่างต่อเนื่องจากปลายปี 2534-2543 -เพื่อเร่งรัดกระตุ้นให้บรรลุเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าในทุกพื้นที่
ปีงบประมาณ 2536-2537 - ปรับเปลี่ยนโครงการบัตรสุขภาพ เป็น โครงการบัตรประกันสุขภาพโดยสมัครใจ - จัดตั้งศูนย์สาธารณสุขมูลฐานในชุมชน(ศสมช) - โครงการปรับโฉมสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ โดยหลัก 3 ส (3 S = Smile, Smell, Surrounding) -ส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน เน้นการใช้สมุนไพรการพึ่งตนเอง
พศ 2540-2544 -ดำเนินโครงการ Health For All ต่อเนื่องโดยกำหนดปี 2543 ต้องบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า -กำหนดปี 2544 เป็นปีแห่งการบรรลุคุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ - เน้นการดำเนินสาธารณสุขเชิงรุก โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โครงการเมืองน่าอยู่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ลักษณะนวัตกรรมสาธารณสุข
การให้บริการแบบใหม่หรือการคิดค้นการบริการแบบใหม่
เป็นบริการที่นำวิธีการจัดการระบบมาใช้ในการประเมินกระบวนการและผลลัพธ์ก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลง
บริการที่ใช้การประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยให้การให้บริการ
บริการที่แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์
บริการเดิมหรืออุปกรณ์เดิมที่มีอยู่มาปรับเปลี่ยนปรับปรุงดัดแปลงต่อยอดจากเดิม
รูปแบบการพัฒนานวัตกรรม
รูปแบบที่ 1 ใช้ความรู้เดิมวิธีการเดิมขยันทำให้ากขึ้นผลงานพัฒนาขึ้นใหม่
รูปแบบที่ 2 ใช้ความรู้เดิมวิธีการใหม่(เก่าจากที่อื่น) ผลงานพัฒนาขึ้นใหม่
รูปแบบที่ 3 ใช้ความร้เดิมวิธีการใหม่(ใหม่จากที่อื่น)ผลงานพัฒนาขึ้น
รูปแบบที่ 4 ใช้ความรู้ใหม่วิธีการเดิมผลงานพัฒนาขึ้นใหม่
รูปแบบที่ 5 ใช้ความรู้ใหม่วิธีการใหม่ผลงานพัฒนาขึ้นใหม่
บทบาทการคิดสร้างนวัตกรรม
ค้นหาข้อมูลสุขภาพชุมชน ศักยภาพชุมชน
จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณณ์
จัดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้อื่น
สร้างข้อตกลงในการพัฒนานวัตกรรม
สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายและการช่วยเหลือกัน
การปรับวิธีการทำงานในการหาข้อมูล
แผนพัฒนาเศรษบกิจแห่งชาติ
ฉบับที่ 1 (พศ 2503-2509) :-พศ 2503 เริ่มใช้กลวิธีการพัฒนาชุมชน -เน้นการขยายสถานบริการสาธารณสุข -มีการสร้างโรงพยาบาลใหม่ๆ ให้มีเครื่องมือที่ทันสมัย ปราบปรามและควบคุมโรคติดต่อ
ฉบับที่ 2 (พศ 2510-2514) : -เน้นการสร้างสาธารณูปโรค บริการสาธารณสุขในระดับอำเภอและตำบล -ขยายบริการสาธารณสุข เพิ่มจำนวนแพทย์ พยาบาล เตียงคนไข้ สถานีอนามัย
ฉบับที่ 3 (พศ 2515-2519) : -พศ 2515 ปรับปรุงส่วนราชการกระทรวงสาธารณสุขครั้งที่ 1 กรมอนามัย+กรมการแพทย์ -พศ 2517 ปรับปรุงส่วนราชการกระทรวงสาธารณสุขครั้งที่ 2 แยกกรมการแพทย์และกรมอนามัย ตั้งกรมควมคุมโรคติดต่อและคณะกรรมการอาหารและยา -เน้นการอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว
ฉบับที่ 4 (พศ 2520-2524) : -เน้นการขยายผลด้านการเกษตร มีการปรับปรุงบริการสาธารณสุขร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน -มีการพัฒนา 3 ก
ฉบับที่ 5 (พศ 2525-2529) : -เน้นแก้ปัญหาความยากจน พัฒนาชนบท -กองทุนบัตรสุขภาพ กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน -พบผู้ป่วย HIV/AIDS ครั้งแรก
ฉบับที่ 6 (พศ 2530-2534) : -รัฐให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม - จัดระบบส่งต่อเพื่อรองรับงานสาธรณสุขมูลฐาน
ฉบับที่ 7 (พศ 2535-2539) : -เน้นการเจริญด้านเศรษฐกิจและการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค ปัญหาสิ่งแวดล้อม -ดำเนินโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย ขยายหลักประกันสุขภาพจนสามารถครอบคลุมประชากร 2 ใน 3
ฉบับที่ 8 (พศ 2540-2544) : - เน้นการพัฒนาศักยภาพคนด้านสุขภาพและพลานามัย พัฒนาคนอย่างเป็นองค์รวมทั้งกาย ใจ และสติปัญญา -ส่งเสริมการกระจายอำนาจและการบริหารงานสาธารณสุข -เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
ฉบับที่ 9 (พศ 2545-2549) : -เน้นคนเป็นศูนย์กลางปรับปรุงให้เป็นแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ -รัฐประกาศนโยบายสุขภาพแห่งชาติ(30 บาทรักษาทุกโรค)
ฉบับที่ 10 (พศ 2550-2554) : -พัฒนาสุขภาพไทยไปสู่ระบบสุขภาพพอเพียงสอดคล้องกับปรัชญาเศรษกิจพอเพียง เคารพในคุณค่าความเป็นมนุษย์เสมอกัน
ฉบับที่ 11 (พศ 2555-2559) : -มีแนวคิดต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8-10 โดยยึด "ปรัชญาเศรษกิจพอเพียง"
ฉบับที่ 12 (พศ 2560-2564) : -มุ่งเน้นสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากการมีรายได้ปานกลางไปสู่รายได้สูง มีความมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืน สังคมอย่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ฉบับที่ 13 (พศ 2566-2570)(ฉบับร่าง) : มุ่งพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สังคแห่งโอกาสและความเสมอภาค วิถีชีวิตที่ยั่งยืน ปัจจัยสนับสนุนการพลิกโฉมประเทศ
บทบาทพยาบาลกับนวัตกรรมสาธารณสุข
ด้านการคิดค้นนวัตกรรม
ด้านเป็นผู้ใช้นวัตกรรม
ด้านการประเมินผล