Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีของอีริกสัน Erikson's Epigenetic theory - Coggle Diagram
ทฤษฎีของอีริกสัน
Erikson's Epigenetic theory
ลําดับขั้นการ พัฒนาการชีวิตของอีรักสัน
ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจ
กับความไม่ไว้วางใจ
(Trust vs. Mistrust)
เกิดขึ้นในช่วงแรกจนถึงขวบปีแรก มีความพึงพอใจบริเวณปาก และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการกลืน ในช่วงปีแรกทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจะได้รับการตอบสนองที่ดี ที่ทําให้รู็สึกพึงพอใจ ปลอดภัยมั่นคง ต่อมาเมื่อคลอดจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง
หากมารดาให้การดูแลอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ทารกพัฒนาความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจขั้นพื้นฐาน ไม่มีความวิตกมากเกินไป ถือเป็นจุดพื้นฐานของการพัฒนาอัตลักษณ์
สำหรับทารกที่มีความรู้สึก
ไม่ไว้วางใจจะแสดงพฤติกรรมเรียกร้องอย่างไม่มีเหตุผล และไม่เหมาะ
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเอง กับ ความละอายและสงสัย (Autonomy vs. Shame and Doubt)
เกิดขึ้นระหว่างขวบปีที่ 2 – 3 ของชีวิต พัฒนาการในขั้นนี้เด็กจะมีพัฒนาการทาง
ร่างกาย และเริ่มที่จะเรียนรู้ ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง (Sense of Autonomy) และการควบคุมตนเอง (Self Control) จะเกิดขึ้น
ถ้าผู้ปกครองให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม ให้โอกาสเด็กได้ทำสิ่งต่างๆตามความปรารถนาของตนเองโดยอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง จะทำให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจในความสำเร็จของตนเอง มีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและกล้าที่จะตัดสินใจมากขึ้น รวมทั้งมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการทำกิจกรรมต่างๆ
หากผู้ปกครองปล่อยปละละเลย ดุว่า หรือเข้มงวดกับเด็กมากเกินไป เด็กจะรู้สึกละอาย สงสัยในความสามารถของตนเอง ไม่มั่นใจในการแสดงความคิดเห็น ไม่มั่นใจว่าจะควบคุมชีวิตตนเองได้ ผลกระทบหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นคือทําให้เด็กมีบุคลิกภาพ
ไม่เหมาะสม ขาดความเชื่อมั่น วิตกกังวล หวาดระแวงสงสัย หรือมีพฤติกรรมย้ําทํา
ขั้นที่ 8 ความมั่นคงสมบูรณ์ในชีวิตกับความสิ้นหวัง (Integrity vs. Despair)
ขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 60 -80 ปี นั่นคือ เข้าสู่วัยชรา พัฒนาการขั้นสุดท้ายมีพื้นฐานมาจากการปรับตัวในช่วงต้นของชีวิต มักแสวงหาความมั่นคงภายในจิตใจ เกิดเมื่อบุคคลผ่านพัฒนาการขั้นต่างๆ
เป็นวัยของการยอมรับความจริง เป็นช่วงของการรำลึกถึงความทรงจำในอดีต ถ้าในอดีตมีความสุข จะมีทัศนะคติที่ดี มีความมั่นคงทางจิตใจ
แต่ในทางตรงข้ามถ้ามีความทรงจำที่ผิดหวัง จะมีความรู้สึกท้อแท้และผิดหวัง เหนื่อยหน่ายกับชีวิต
ขั้นที่ 7 การสืบทอดกับการคำนึงถึงแต่ตนเอง
(Generativity vs. Self absorption/ Stagnation)
อยู่ในช่วงอายุ 36 – 59 ปี เป็นระยะที่บุคคลมีครอบครัว มีบุตร และเลี้ยงดูบุตรด้วยความเอาใจใส่ นอกจากนี้ในช่วงวัยนี้ยังเป็นวัยที่สนใจและต้องการสร้าง
ประโยชน์ให้แก่สังคม โดยความรู้สึกต่อสังคมนั้นจะเข้ามารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชีวิตส่วนตัว รู้จักแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง ปัญหาครอบครัว และเลี้ยงดูบุตรด้วยความเอาใจใส่
ระยะนี้เป็นระยะที่บุคคลตั้งใจทํางานเพื่อให้สิ่งต่างๆดีขึ้น รวมทั้งพัฒนาการทางจริยธรรมก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วย
เช่นกัน
บุคคลที่ไม่สามารถพัฒนามาถึงขั้นนี้ย่อมเกิดความรู้สึกท้อถอยและเหนื่อยหน่ายในชีวิต คิดถึงแต่ตนเอง เริ่มมีความเจ็บป่วยเรื้อรัง และปฏิเสธความรับผิดชอบต่อสังคม
ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด(Initiative vs. Guilt)
พัฒนาการนี้จะอยู่ในช่วงอายุ 3-5 ปี มีความสามารถและช่วยตัวเองได้ แต่ยังอยู่ในวงจำกัด ระยะนี้เป็นระยะที่เด็กเริ่มเรียนรู้บทบาททางเพศ มาตรฐานศีลธรรมและการควบคุมอารมณ์ ครอบครัวจะเป็นแหล่งชี้แนะถึงสิ่งต่างๆในสังคม ให้แก่เด็กๆ
การอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่จะช่วยให้เด็กได้ซึมซับ เป็นการรู้ผิดชอบชั่วดีในความคิด และแสดงออกในพฤติกรรมของเด็ก โดนเด็กจะได้รับจากตัวแบบ(Role model) เพื่อเรียนรู้ว่าสิ่งใดผิดถูก รวมถึงแนวคิดค่านิยมของสังคม การได้ทำกิจกรรม หรือมีปฏิสังพันธ์ในสังคมจะช่วยถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ให้แก่เด็ก
ด็กวัยนี้ควรได้รับการทำกิจกรรมตามความสามารถอย่างอิสระและความได้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา หากเด็กในวัยนี้ได้รับการจำกัดในการทำกิจกรรมหรือถูกตำหนิจะทำให้เด็กขาด ความมั่นใจ
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดสนิทสนมกับ
ความโดดเดี่ยวอ้างว้าง (Intimacy vs. Isolation)
บุคคลช่วงนี้อยู่ช่วงอายุประมาณ 21-35 ปี เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งสามารถหาอัตลักษณ์ของตนเองได้แล้ว จะรู้จักตัวเอง และรู้ว่าต้องการอะไร จะเกิดความรู้สึกต้องการคนที่แบ่งปันความรู้สึก ความสุข และความต้องการได้ เช่นคู่สมรส เพื่อนสนิท จึงมีการพัฒนาความรู้สึกผูกพันธ์กับผู้อื่น
บุคคลในช่วงนี้มีความเป็นอิสระในสังคมมากกว่าวัยอื่นๆ ความสมบูรณ์ของจิตใจในช่วงนี้ คือการได้รับการยอมรับ มีความก้าวหน้า มีหน้าที่การงานเหมาะสม การเลือกคู่ครอง รวมถึงการเข้ากันได้ดีกับเพื่อนร่วมงาน
หากไม่สามารถสร้าง
ความรู้สึกใกล้ชิดกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกโดดเดี่ยว
ขั้นที่ 5 ความเป็นอัตลักษณ์กับความสับสนในบทบาท
(Identity vs. Role Confusion)
อยู่ในช่วงอายุ 13 – 20 ปี เป็นช่วงที่มีการแสวงหาอัตลักษณ์ของบุคคล และการเสริมสร้างความรับผิดชอบ ซึ่งความรับผิดชอบดังกล่าวมีรากฐานมาจากการอบรมของพ่อแม่ และความรู้สึกไว้วางใจและความมั่นใจในตนเอง
องค์ประกอบสำคัญของการสร้างความรู้สึกเป็น อัตลักษณ์ และผ่านพ้นความรู้สึกสับสนในตนเอง ได้แก่ ความเข้าใจในอัตลักษณ์และการ
แสวงหาสถานภาพทางสังคม ความเข้าใจในอัตลักษณ์ช่วยให้เด็กวัยรุ่นเกิดความเข้าใจในปัญหาต่างๆ และช่วยในการตัดสินใจ วางแผนเรื่องเกี่ยวกับอนาคต
หากไม่สามารถรวบรวม ประสบการณ์ในอดีตได้ ก็จะไม่สามารถเข้าใจตัวเอง เกิดความสับสน และความขัดแย้ง
ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียรกับ
ความรู้สึกต่ำต้อย (Industry vs. Inferiority)
อยู่ในช่วงอายุ 6-12ปี เป็นระยะที่เด็กมีความเจริญเติบโตและความอยากรู้อยากเห็นใน
สิ่งแวดรอบต่าง ๆ มากขึ้น การแสะแสวงหาสิ่งต่าง ๆ ทําให้เด็กมีประสบการณ์กับสิ่งใหม่ ๆ รอบตัวเขามากขึ้น
คำอธิบายทฤษฎี
การเจริญเติบโตทางร่างกาย และสิ่งแวดล้อมจะมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางจิตใจ และบุคลิกภาพ เข้ามามีอิทธิพลกับพัฒนาการของชีวิตมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนชรา
ทำให้บุคคลสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ สิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพ (Physical) ทางสังคม (Social) ทางวัฒนธรรม (Cultural) และทางความคิด (Ideational)
ซึ่งส่งผลต่อความคิดริเริ่ม ความสามารถในการปรับตัว บุคลิกภาพและพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งอีรักสันมองพัฒนาการของบุคคลไว้ 8 ขั้น
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ อีรักสัน
ทฤษฎีนี้ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพ โดยบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลเป็นผลของการเลี้ยงดู และการส่งเสริมแต่ละช่วงวัย
ในการจัดการเรียน
การสอนครูควรให้จัดให้มีกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกทั้งในด้านของความคิด ด้านสติปัญญาด้านความสามารถ ให้อิสระทางความคิดต่อเด็ก ให้เด็กได้สร้างผลงานต่างๆ ด้วยตนเอง ให้เด็กเกิดความภูมิใจในตัวเองครูต้องให้ความเชื่อใจและไว้วางใจในตัวเด็ก เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง มีความเชื่อว่าตัวเองสามารถทําสิ่งต่างๆ ได้
โดยการได้ทดลองได้เรียนรู้จะทําให้เด็กได้รู้จักตนเองว่าตนมีความชอบหรือมีความสนใจในด้านไหน และครูควรคอยส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาในสิ่งที่ตนชอบ ในการอยู่ร่วมกันในสังคมครูควรมีการจัดให้เด็กใช้กิจกรรมกลุ่มโดยให้เด็กแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง เพื่อให้เด็กรู้สึกมีส่วนร่วมในสังคมในตัวเอง มีความเชื่อว่าตัวเองสามารถทําสิ่งต่างๆ ได้
ความขัดแย้งทางสังคมและจิตใจ
(paychosocial crises)