Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการมีกิจกรรมร่วมกัน (Activity theory) - Coggle Diagram
ทฤษฎีการมีกิจกรรมร่วมกัน (Activity theory)
หลักการของทฤษฎี
ทฤษฎีนี้เชื่อว่า กิจกรรมทางสังคมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข เน้นความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมกับอัตมโนทัศน์(self concept) ของผู้สูงอายุ (wallace, 2008)
แนวคิดของทฤษฏกิจกรรมจะตรงข้ามกับแนวคิดของทฤษฎีถดถอยที่ผู้สูงอายุควรหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง โดยทฤษฎีกิจกรรมส่งเสริมการทำกิจกรรมต่อไปไม่ยอมรับการเป็นผู้สูงอายุเช่นเดียวกับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง รวมทั้งไม่คาดหวังให้ผู้ที่เข้าสู่วัยสูงอายุลดกิจกรรมที่เคยทำอยู่ เมื่อผู้สูงอายุเกิดการสูญเสียบทบาทที่เคยทำอยู่ บทบาทใหม่หรือบทบาทที่แตกต่างออกไป รวมทั้งความสนใจใหม่ๆ ควรเข้ามาแทนที่ เช่น ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ออกแรงมากๆได้ ก็ควรเปลี่ยนมาทำกิจกรรมที่ใช้ความคิด โดยพยายามเอาชนะปัญหาสุขภาพ และมีความสนุกกับชีวิต ถูกต้องตามหลักการที่ว่าการมีกิจกรรมช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตและความเป็นสุขในสังคม
กิจกรรมทางสังคมมีผลต่ออัตมโนทัศน์ของผู้สูงอายุและทำให้มีความสุข ผู้สูงอายุจึงไม่ควรหยุดทำกิจกรรมเมื่ออายุมากขึ้นแต่เลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
โรคหรือปัญหาสุขภาพ
ด้านสังคม
เรื่องความนับหน้าถือตาที่ผู้สูงอายุเคยได้รับการยกย่องและนับถือเมื่อตอนที่ยังทำงานอยู่ เมื่อออกจากงานมาแล้วสิ่งที่เคยได้รับก็หายไปด้วยทั้ง อำนาจ ชื่อเสียง ความนับหน้าถือตา การยกย่อง ทำให้รู้สึกเหมือนว่าตนเองไม่มีความสำคัญอีกต่อไป
• จัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น
กิจกรรมนันทนาการ ให้พบปะพูดคุยกับเพื่อนในวัยใกล้เคียงกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน เกิดการสร้างสัมพันธภาพร่วมกัน
ด้านร่างกาย
โรคสมองเสื่อมที่ทำให้เกิดอาการหลงลืม การที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีได้นั้นต้องอาศัยการปรับวิถีชีวิต พฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้องและเข้าใจในธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ
โรคสมองเสื่อม
• รับประทานให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
• ฝึกสมอง หางานอดิเรกทำ เช่น การอ่านหนังสือ หรือเล่นเกมเสริมทักษะความรู้ต่าง ๆ
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ด้านจิตใจ
ผู้สูงอายุจะรู้สึกว้าเหว่และมีความวิตกกังวลกลัวถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการดูแลความอบอุ่นจากลูกหลานและคนในครอบครัวทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ขี้น้อยใจ โมโหง่ายและเอาแต่ใจตัวเอง เนื่องจากสถานะที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยทำงานมีรายได้มีสถานะเป็นผู้นำของครอบครัวให้คนอื่นพึ่งพิงได้ต้องกลับมาเป็นผู้ที่ต้องรับความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว
การพูดคุยหรือการให้กำลังใจกับผู้สูงอายุ การเป็นผู้รับฟังที่ดี การกินข้าวพร้อมกัน ส่งผลให้ผู้สูงอายุรู้สึกตนเองมีคุณค่าและฟื้นฟูจิตใจมากยิ่งขึ้น
การประยุกต์ใช้ทฤษฎี
สนับสนุนให้ผู้สูงอายุใช้ความสามารถที่มีอยู่ปฏิบัติกิจกรรมประจำวันด้วยตนเองให้นานที่สุด
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเลือกกิจกรรมใหม่ที่เหมาะสมกับข้อจำกัดของร่างกาย
อ้างอิง
วิไลวรรณ ทองเจริญ.(2558).ศาสตร์ และ ศิลป์
การพยาบาลผู้สูงอายุ.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์หจก. เอ็นพีเพรส
ศิริรัตน์ ปานอุทัย.(2560).การพยาบาลผู้สูงอายุ . พิมพ์ครั้งที่1.เชียงใหม่:สำนักพิมพ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Sochowski, R. William,. (2013). Applying Activity Theory: Instructor Design and Development Experiences with Online Distance Learning in the Electrical Apprenticeship Trades Programs. (Doctor of Education), University of Calgary.