Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หัวข้อที่ 15 แนวทางการจัดการศึกษาระดับชั้นเรียน - Coggle Diagram
หัวข้อที่ 15 แนวทางการจัดการศึกษาระดับชั้นเรียน
1. แนวทางการจัดการศึกษาระดับชั้นเรียน ตาม พรบ. การศึกษา 2542
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 กล่าวถึงแนวการจัดการศึกษาระดับชั้นเรียนต้อง ยึดหลักว่า
ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (อ้างอิง หมวด 4 จาก มาตรา 22)
มาตรา 23 ต้องเน้นความสำคัญ ในด้านความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ บูรณาการตามความเหมาะสมในเรื่อง
ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม
ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆต้องมีลักษณะที่หลากหลาย โดย
สาระของหลักสูตรทั้งวิชาการและวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาให้มีความสมดุลในด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม
สำหรับหลักสูตรระดับอุดมศึกษายังมีเป้าหมายที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพขั้นสูงและค้นคว้า วิจัย พัฒนาสังคม
2. แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับชั้นเรียน
ระดับผู้เรียน
มีการทดสอบความสามารถและทางการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติ เช่น การสอบ NT การสอบ O-NET
ในการจัดการเรียนรู้จะจัดกลุ่มตามศักยภาพของผู้เรียน เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนได้อย่างเหมาะสม
ระดับผู้สอน
จัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตราฐานหลักสูตร
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์และตามแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละรายวิชาเพื่อพัฒนาตัวผู้เรียน
ผลิตและพัฒนา/สื่อนวัตกรรม ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ฝึกทักษะ การอ่าน(อ่านออก) การเขียน(เขียนได้) การคิดเลข(คิดได้) ความสามารถด้านภาษา/คำนวณ/เหตุผล อย่างต่อเนื่อง
สร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลในระดับชั้นเรียนอย่างหลากหลาย เช่น แบบทดสอบชนิดต่างๆ แบบสังเกต แบบสอบถาม เป็นต้น
3. มาตรฐานการศึกษา ระดับชั้นเรียน
มาตรฐานการศึกษา คือข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม กำกับดูแล ตรวจสอบประเมินผล และ การประกันคุณภาพการศึกษา
4. การประกันคุณภาพการศึกษา ระดับชั้นเรียน
มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (Internal Quality Assurance System)
โดยให้สถานศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการส่งเสริม สนับสนุนและกำกับ ดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด ประกอบด้วย
1) การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
ด้วยการทำจัดโครงสร้างการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการดำเนินงาน ทุกคนมีส่วนร่วมและมีการประชาสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2) การพัฒนามาตรฐานการศึกษา
โดยมุ่งเน้นมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานช่วงชั้นที่หลักสูตรกำหนด
6) การประเมินคุณภาพการศึกษา
โดยมุ่งเน้นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
7) การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
เป็นการนำข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพ การตรวจสอบและทบทวนภายในและภายนอกซึ่งจะนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพต่อไป
8) การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
เป็นกลไกส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการส่งเสริม พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ
3) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สมบูรณ์ คลอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษาและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย
4) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
โดยการกำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องให้บรรลุเป้าหมายตจามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่กำหนดไว้
5) การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา
จะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวนภายในโดยบุคลากรในสถานศึกษาดำเนินการและการตรวจสอบและทบทวนจากหน่วยงานต้นสังกัด