Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หัวข้อที่ 14 แนวทางการจัดการศึกษาระดับสถานศึกษา - Coggle Diagram
หัวข้อที่ 14 แนวทางการจัดการศึกษาระดับสถานศึกษา
1. แนวทางการจัดการศึกษาระดับสถานศึกษา ตาม พรบ. การศึกษา 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542
มาตราที่ 22 การจัดการศึกษาต้องยึดว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียน มีความสำคัญที่สุด
มาตราที่ 23 การจัดการศึกษา มี 3 ระดับ คือ การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญ ความรู็ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู็และบูรณาการตามความเหมาะสมตามระดับ
2. แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น
ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสําคัญต่อความสําเร็จของการ บริหารจัดการศึกษา
เป้าประสงค์
ประชากรวัยการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนได้รับการ ประกันโอกาสเรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ เต็มตามศักยภาพ สามารถพัฒนาตนเองต่อเนื่องตลอดชีวิต
ประชากรวัยการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคุณภาพได้ มาตรฐานสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นใน การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนให้มีศักยภาพสูงมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ มีคุณภาพ ชีวิตที่ดี มีขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงาน
สถานศึกษาเป็นสถาบันหลักที่เข้มแข็งตามความคาดหวังของ สังคม เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีศักยภาพสูงและเป็นต้นแบบของสังคม แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นสังคมแห่งคุณธรรมและสันติสุข กล ยุทธ์และแนวทางการพัฒนาสถานศึกษา
3. มาตรฐานการศึกษา ระดับสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
ผลการเรียนรู้ที่เป็นคุณภาพของผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ ทางวิชาการ ประกอบด้วยความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร การมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่ออาชีพ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่เป็นค่านิยมที่ดี ตามที่สถานศึกษากำหนด ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความ แตกต่างและหลากหลาย รวมทั้งสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
เป็นการจัดระบบบริหารจัดการคุณภาพของ สถานศึกษา มีการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน สามารถดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้น คุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาในทุกกลุ่มเป้าหมาย จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมทางกายและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการ เรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ
เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ครูรู้จักผู้เรียน เป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้ง ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
4. การประกันคุณภาพการศึกษาระดับสถานศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา (QUALITY ASSURANCE)
หมายถึง การทำกิจกรรม หรือ การปฏิบัติภารกิจหลักอย่างมีระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการควบคุมคุณภาพ (QUALITY CONTROL) การตรวจสอบคุณภาพ (QUALITY AUDITING) และการประเมิน คุณภาพ (QUALITTY ASSESSMENT) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของดัชนี ชี้วัด ระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ ของการจัดการศึกษา ประกอบด้วยการ ประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก
การประกันคุณภาพภายใน
หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั่นเอง หรือโดย หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น (3ปีต่อครั้งหรือทุกปี)
การประกันคุณภาพภายนอก
หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา หรือบุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการ ประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระบบและกลไก หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆที่มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกัน อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฏเกณฑ์ มาตรการ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่างๆ เป็น กลไกให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย (ทุกๆ5ปี)