Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
6.1การบำบัดด้วยยาทางจิตเวชอย่างสมเหตุสมผล, 6.2 การบำบัดรักษาทางจิตเวช, 6.3…
6.1การบำบัดด้วยยาทางจิตเวชอย่างสมเหตุสมผล
ข้อบ่งใช้ยากลุ่ม Antipsychotic drugs
ใช้ในผู้ป่วยท่ีมีอาการสับสน วุ่นวาย เอะอะ อาละวาด หรือพฤติกรรมรุนแรง Antipsychotic drugs
ใช้ร่วมกับยารักษาอารมณ์เศร้า ในผู้ป่วยโรคจิตอารมณ์แปรปรวน
ใช้ควบคุมอาการทางจิตที่สาคัญ
ใช้รักษาอาการบางอย่างในผู้ป่วย
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่ม Antipsychotic drugs
เป็นโรคซึมเศร้า
กดไขกระดูก
แพ้ยา
ภาวะโลหิตจาง
เกิดความผิดปกติที่สมอง
ต้องใช้อย่างระมัดระวังและดูแลอย่างใกล้ชิดในผู้ป่วยที่มีประวัติ การทำงานที่ผิดปกติของตับ,โรคหัวใจและหลอดเลือด,ความดันโลหิตสูง,ต้อหิน,เบาหวาน,พาร์กินสัน,โรคแผลในทางเดินอาหาร,โรคลมชัก,ตั้งครรภ์และผู้สูงอายุ
การรักษาด้วยยาทางจิตเวช (PsychopharmacologicalTherapy)
ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic drugs)
Neuroleptics or typical antipsychotics (haldol, mellaril, thorazine, prolixin, trilafon) กลไกการออกฤทธิ์: block D2 receptor เป็นหลักยับยั้งการหลั่ง Dopamine
Atypical antipsychotics (clozaril, risperdal, zyprexa, seroquel) กลไกการออกฤทธิ์: block 5-HT2 and D2 receptor เป็นหลัก
การปฏิบัติการพยาบาลเมื่อผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม Antipsychotic drugs
ควรเตรียมยาให้ถูกต้องตามหลักการของบริหารยาและคุณสมบัติของยาแต่ละชนิด
พยาบาลควรสังเกตอาการข้างเคียงจากการใช้ยา และให้การพยาบาลต่างๆเพื่อลดอาการข้างเคียง
การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับแผนการรักษาด้วยยา ระยะเวลา ผลการรักษาอาการข้างเคียงบางประการที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และข้อควรปฏิบัติอื่นในระหว่างการรักษาด้วยยา ได้แก่
4.1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ สุราหรือเครื่องดื่ม Alcohol และยานอนหลับ
4.2. ควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรงเป็นระยะเวลานาน
4.3. ไม่ควรเพิ่มลดหรือหยุดการรับประทานยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน
4.4 การให้ยาร่วมกับยาลดกรด (antacids) จะลดการดูดซึมยาในระบบทางเดินอาหาร ทําให้ฤทธิ์ของยาไม่สมบูรณ์
ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจการทํางานของตับ ตรวจดูปริมาณของเม็ดเลือด
อาการข้างเคียงของยากลุ่ม Antipsychotic drugs
อาการทั่วไป
ตามัว ท้องผูก ง่วง ปากแห้ง เกิดความผิดปกติที่ระบบทางเดินอาหาร น้ำตาลในเลือดสูง-ต่ำความดันโลหิตต่ำ นอนไม่หลับ ความผิดปกติทางเพศ อัตราการเต้นของหัวใจเร็วเกินไป ปัสสาวะไม่ออก น้ำหนักเพิ่มขึ้น
อาการทางระบบประสาท
มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงในบริเวณคอ หลอดลม ลิ้น ปาก และลูกตา ทำให้คอบิด ลูกนัยน์ตาเหลือกขึ้นข้างบน ลิ้นแลบออกมานอกปากอาการมักเกิดในช่วง 1-5 วันแรกของการใช้ยา
Parkinsonism
มีอาการเหมือนผู้ป่วยที่เป็นโรค Parkinson คือ มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วไป ทําให้มีการเคลื่อนไหวช้า เดินตัวแข็ง ชา มีอาการมือขาสั่น พูดไม่คล่องเพราะมีลิ้นแข็ง ขากรรไกรเกร็ง มีน้ำลายไหล กล้ามเนื้อหน้าเกร็ง เฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์ Akathisia
มีอาการกระสับกระส่าย นั่งไม่ติดหรืออยู่นิ่งไม่ได้ มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ
อาการกลุ่มนี้มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ใช้ยานานเกิน 1 ปี โดยมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ (buccolingual movement) เช่น ปากขมุบขมิบเหมือนเคี้ยวปากหรือดูดปาก และลิ้นเคลื่อนไหวอย่างไม่ตั้งใจร่วมกับการเคลื่อนไหวของแขน-ขาในลักษณะที่ไม่สัมพันธ์กัน
เป็นอาการที่ไม่พบบ่อย โดยมีอาการสำคัญ คือ การเกร็งกล้ามเนื้อทั่วไปอย่างรุนแรง มีไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตไม่คงที่ ปัสสาวะน้อย
การพยาบาล
1.แนะนำผู้ป่วยให้เปลี่ยนอริยาบถช้าๆ เพราะอาจหน้ามืดได้
Check V/S เพื่อประเมินสัญญาณชีพ
ยาอาจทําให้มีปัสสาวะคั่ง ควรประเมินการขับถ่ายปัสสาวะ
ติดตาม WBC count เพราะยาอาจทําให้เม็ดเลือดผิดปกติ
ระวังอาการชักในผู้ป่วยโรคลมชัก
แนะนำให้กินอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ยาอาจทําให้แพ้แสง เช่น CPZ ให้ผู้ป่วยระวังในการโดนแดดจ้า
ไม่ใช้ร่วมกับยาลดความดันโลหิต ยานอนหลับ
ยารักษาอาการวิตกกังวล (Antianxiety drugs)
ข้อบ่งใช้ยากลุ่ม Antianxiety drugs
ใช้เพื่อรักษาอาการวิตกกังวลและความวิตกกงัวลผิดปกติต่างๆ
ใช้เพื่อรักษาอาการที่เกิดจากการขาดสุราหรือการขาดสารเสพติดต่างๆ(Withdrawal symptoms)
และทดแทนการขาดยากลุ่ม sedative hypnotics
ใช้เพื่อแก้อาการชักและช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ใช้เป็นยานอนหลับ โดยควรใช้ยาในระยะเวลาสั้นๆ
ข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่ม Antianxiety drugs
-การใช้ยาในผู้ป่วยที่มีปัญหาของระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอด หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคไต โรคตับ
ไม่ควรใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วง3เดือนแรก เพราะจะทำให้ทารกมีความผิดปกติได้
ไม่ควรให้ยานี้กับหญิงให้นมบุตร
อาการข้างเคียงของยากลุ่ม Antianxiety drugs
Central nervous system effects โดยยาจะออกฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางทำให้มีอาการง่วงซึม ลดความสามารถทางสติปัญญา ความสามารถในการคิด ความจำบกพร่อง และการควบคุมแขนขาไม่สัมพันธ์กัน
Physical dependence ถ้าผู้ป่วยใช้ยากลุ่มนี้ปริมาณสูงและเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการติดยาได้และถ้าผู้ป่วยหยุดยากระทันหันจะเกิดอาการขาดยา
Hematological effects โดยยาบางตัวจะมีผลต่อระบบเม็ดเลือดแดง เช่น anemia หรือ agranulocytosis
Overdose การใช้ยากลุ่มนี้เกินขนาดไม่มีผลทำให้เสียชีวิตยกเว้นให้ยานี้ร่วมกับยาตัวอื่นที่มีฤทธิ์เสริมกัน
Adverse effects การใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีสมองถูกทำลาย หรือผู้ป่วยที่มีภาวะปัญญาอ่อน อาจพบอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ก้าวร้าว ไม่เป็นมิตร วุ่นวาย กระสับกระส่ายและอารมณ์ผิดปกติ
การปฏิบัติการพยาบาลเมื่อผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม Antianxiety drugs
1.ต้องมีการประเมินว่าผู้ป่วยไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างการให้นมบุตร
2.พิจารณาความจำเป็นของการให้ยา
3.ควรสังเกตและติดตามผลการรักษา
4.ประเมินและสังเกตอาการข้างเคียงของยา
5.ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับแผนการรักษาด้วยยาระยะเวลาผลการรักษาอาการข้างเคียงบางประการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและข้อควรปฏิบัติอื่นๆในระหว่างการรักษาด้วยยากลุ่มนี้
ยารักษาอาการซึมเศร้าา (Antidepressant drugs)
ข้อบ่งใช้ยากลุ่ม Antidepressant drugs
-ใช้รักษาผู้ป่วยอารมซึมเศร้า ได้แก่ นอนไม่หลับ เบื่ออาหารจนน้ำหนักลด อ่อนเพลีย ความสนใจทางเพศลดลง ขาดสมาธิและขาดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม
-ให้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เกิดจากการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือผู้ป่วยจิตเวชอื่น
ใช้ในผู้ป่วย Bipolar disorders ที่แสดงอาการซึมเศร้า
-ใช้ในผู้ป่วยอื่นๆ เช่น Chronic pain หรือ Eating disorder เป็นต้น
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่ม Antidepressant drugs
1.Narrow angle glaucoma เนื่องจากฤทธิ์ Anticholinergic ของยาทําให้ม่านตาขยาย ส่งผลให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างเฉียบพลันได้
Recent myocardial infarction มี Conduction abnormality โดยเฉพาะ AV-block grade III, Bundle branch block หรือ Prolong QT interval
Delirium เนื่องจากฤทธิ์ Anticholinergic ของยาทําให้อาการ Delirium มากขึ้น
Benign prostate hypertrophyฤทธิÍ Anticholinergic ของยาทําให้ปัสสาวะลําบาก
5.ผู้ป่วยตั้งครรภ์และให้นมบุตรเนื่องจากยาผ่านรกและน้ำนม
อาการข้างเคียงของยากลุ่ม Antidepressant drugs
1.Anticholinergic effects เช่น ปากแห้ง ตาพร่า ท้องผูกแต่ถ้าอาการมากขึ้น อาจมีปัสสาวะ ลําบาก หรือลําไส้ไม่ทํางาน
Central nervous system effects ได้แก่ มือสั่น (fine tremor) หงุดหงิด กระสับกระส่าย นั่งไม่ติด หรือแสดงอาการทางจิต
Cardiovascular effects อาการสําคัญ คือ Postural hypotension และมีความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจ
4.Sexual side effects ได้แก่ Impotence, ejaculatory dysfunction และ decreased libido
Antihistaminic effects ได้แก่ อาการง่วงนอนและน้ำหนักเพิ่ม
Overdose การได้ยาเกินขนาด 10-20 เท่าของปริมาณปกติทําให้เกิดอาการเป็นพิษต่อสมอง มีอาการชักเกร็งกระตุก สับสน ไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิต
การปฏิบัติการพยาบาลเมื่อผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม Antidepressant drugs
1.ประเมินข้อมูลเกี่ยวกับระดับของอารมณ์ซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตายของผู้ป่วย
2.ควรสังเกตและติดตามผลของการรักษา
3.ประเมินและสังเกตอาการข้างเคียงของยา
4.การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับแผนการรักษาด้วยยาระยะเวลาผลการรักษาอาการข้างเคียงบางประการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและข้อขวัญปฏิบัติอื่นในระหว่างการรักษาด้วยยา
การพยาบาล
1.ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ในช่วงแรกเพราะยาจะออกฤทธิ์เต็มที่เมื่อใช้ยาแล้วสามถึงหกสัปดาห์
เฝ้าระวังอาการซึมเศร้าป้องกันการฆ่าตัวตาย
2.เช็ค V/S เพื่อประเมินสัญญาณชีพ
3.ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้กินอาหารทีละน้อยบ่อยบ่อยครั้ง
4.ดูแลไม่ให้ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
ยาควบคุมอารมณ์
(Antimanic or mood stabilizing drugs)
ข้อบ่งใช้ยากลุ่ม Antimanic or mood stabilizing drugs
ใช้ในผู้ป่วยที่แสดงอาการ Acute [mania]
ใช้รักษาผู้ป่วย Bipolar mood disorders
ใช้รักษาผู้ป่วยโรคจิตเภท ที่แสดงอาการผิดปกติทางอารมณ์
ใช้รักษาอาการก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเภทหรือปัญญาอ่อน
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่ม Antimanic or mood stabilizing drugs
Acute renal failure หรือมี impaired renal function
Acute or recent myocardial infarction
Congestive heart failure
First-trimester of pregnancy ทารกอาจมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ Tricuspid/ แบบ Ebstein’s anomaly ได้
สมองถูกทำลาย
อยู่ในภาวะขาดน้ำรุนแรง
อาการข้างเคียงของยากลุ่ม Antimanic or mood stabilizing drugs
ระยะแรกมาพบอาการ ปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลียหรือบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ยิ่งเพิ่มยาเร็วยิ่งพบอาการเหล่านี้บ่อยขึ้นผลข้างเคียงในระยะยาวที่สำคัญ ได้แก่ Interstitial nephritis, Goiter และ Hypothyroidism แต่พบได้น้อย
อาการเป็นพิษจากยา (Toxicity)
1.ระดับลิเทียมในภาวะปกติ คือ 0.8-1.5 mEq/ลิตร
2.ระดับลิเทียมเกิน 1.5 mEq/ลิตร ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียน ท้องเสีย เดินเซ มือสั่นมาก
3.ระดับลิเทียม 2.0-2.5 mEq/ลิตร ผู้ป่วยจะมีอาการตาพร่ามัว กล้ามเนื้อกระตุก ชัก
4.ระดับลิเทียมมากกว่า 2.5 mEq/ลิตร ผู้ป่วยจะไตวาย เสียชีวิตได้
การปฏิบัติการพยาบาลเมื่อผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม Antimanic or mood stabilizing drugs
1.ควรให้ผู้ป่วยรับประทานยาระหว่างอาหารหรือหลังอาหารทันทีเพราะยาทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
2.ในระยะแรกควรตรวจหาระดับ Serum lithium level สัปดาห์ละ2ครั้งจนกระทั่งมีระดับคงที่หรือควบคุมmaniaได้
3.ติดตามประเมินผลการรักษาจากอาการผู้ป่วย
4.สังเกตและประเมินอาการข้างเคียงของยา
5.ระวังการใช้ยาอื่นที่เสริม Lithium
6.การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับข้อมูลปฏิบัติในระหว่างการรักษา
ยากันชัก (Anticonvulsant drugs)
ข้อบ่งใช้ยากลุ่ม Anticonvulsant drugs
ใช้รักษา seizure disorders
ใช้เพื่อควบคุมอาการชัก
ในผู้ที่มี acute substance abuse withdrawal
อาจใช้ร่วมกับยาอื่นๆ ในการรักษาอาการ โรคอารมณ์สองขั้ว, กระวนกระวาย, ก้าวร้าว, วิตกกังวล, ปวด และเสพติด
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่ม Anticonvulsant drugs
ซึมเศร้า
ตับหรือไตวาย
โรคตับ
การกดไขกระดูก
การตั้งครรภ์
ผลข้างเคียง:อาการมึนเวียนศีรษะ,ตามัว,เดินเซ
ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องดื่ม Alcohol
การปฏิบัติการพยาบาลเมื่อผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม Anticonvulsant drugs
1.ต้องมีการประเมินว่าผู้ป่วยมีโรคทางกายและการใช้ยาอื่นๆหรือไม่ รวมถึงการตั้งครรภ์และการให้นมบุตร
2.ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์เพื่อการรักษา
3.ควรให้ผู้ป่วยรับประทานยาระหว่างอาหารหรือหลังอาหารทันที
4.ติดตามประเมินผลการรักษา
5.สังเกตและประเมินอาการข้างเคียงของยา
6.ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจ River function,complete blood count รวมทั้งเกล็ดเลือดและ serum drug levels
7.การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติในระหว่างการรักษา
ยาลดอาการข้างเคียงของยารักษาโรคจิต
(Anticholinergic or antiparkinson drugs)
ข้อบ่งใช้ยากลุ่ม Anticholinergic or antiparkinson drugs
ใช้ยังได้รับยารักษาโรคและมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น
ป้องกันการเกิดอาการข้างเคียงในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดAcute dystonia
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่ม Anticholinergic or antiparkinson drugs
โรคต้อหิน
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคต่อมลูกหมากโต
อาการข้างเคียงของยากลุ่ม Anticholinergic or antiparkinson drugs
ตาพร่ามัว ปากแห้ง ท้องผูกและอาจมีปัสสาวะลำบากในผู้สูงอายุ
คลื่นไส้และปั่นป่วนในท้อง
การปฏิบัติการพยาบาลเมื่อผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม Anticholinergic or antiparkinson drugs
1.รับประทานยาพร้อม/หลังอาหารทันทีเพราะป้องกันการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
2.ติดตามประเมินผลการรักษาของยาว่าการข้างเคียงจากยารักษาโรคจิตดีขึ้นหรือไม่
3.สังเกตและประเมินอาการข้างเคียงของยา
4.การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวที่เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติในระหว่างการรักษา
บทบาทของพยาบาลต่อการรักษาด้วยยาทางจิตเวช
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาครบตามจำนวนและถูกวิธี
สังเกตอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาและการให้ช่วยเหลือ
บันทึกการให้ยาอย่างถูกต้องรวมทั้งอาการของผู้ป่วยก่อนให้ขณะให้และหลังให้
เอาใจใส่ ใช้เทคนิคในการพูดคุยให้กับผู้ป่วยยอมรับประทานยารวมทั้งให้ความรู้ในเรื่องฤทธิ์ของฤทธิ์ข้างเคียงของยาแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
เก็บและรักษายาอย่างถูกต้อง
ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลหาความรู้และวิจัยเกี่ยวกับการรักษาด้วยยาชนิดต่างๆ
6.2 การบำบัดรักษาทางจิตเวช
จิตบำบัด (Psychotherapy)
จิตบําบัดแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
1.จิตวิเคราะห์แบบดั้งเดิม เช่น การปลดปล่อยความรู้สึก
2.จิตวิเคราะห์แบบใหม่ ไม่เน้นการแปลความหมายแต่เน้นการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยลดแรงต่อต้านลง
จิตบําบัดโดยทฤษฎีมนุษยนิยม
แบบการให้ความจริง (Reality Therapy) เน้นให้ผู้มีปัญหา สามารถสนองตอบความต้องการพื้นฐานของชีวิตและเผชิญปัญหาได้อย่างเหมาะสม
2.แบบการให้เหตุให้ผล(Rational Emotion Therapy) มุ่งเน้นแก้ไขความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล
จิตบําบัดโดยทฤษฎีปัญญานิยม
1.การบำบัดเน้นผู้รับบริการเป็นสำคัญ (Client Centered Therapy)
การบําบัดแบบเกสตัลท์(Gestalt Therapy) เน้นเรื่องปัจจุบันไม่สนใจอดีต
การบําบัดแบบเอกซีสเทนเชียล(Existential Therapy) เน้นการค้นหาความหมายของชีวิต
ชนิดของจิตบําบัด (Psychotherapy)
1.จิตบําบัดระดับลึก (Genetic-dynamic Therapy / Deep psycho-therapy) เน้นการเปลี่ยนบุคลิกภาพระยะยาวในผู้ป่วยโดยการสืบปัญหาความคับข้องใจ ความวิตกกังวลในจิตใต้สํานึก
2.จิตบำบัดแบบ Distributive-Synthesis เน้นวิธีการให้ผู้ป่วยเล่าประสบการณ์ในอดีต และผู้รักษาวิเคราะห์สถานการณ์และสาเหตุและร่วมกันหาทางแก้ไขต่อไป
แนวทางการทําจิตบําบัดประคับประคอง
1) สร้างความเชื่อมั่น (Reassurance)
2) การระบายความรู้สึก (Ventilation)
3) การแยกแยะปัญหาให้แจ่มแจ้ง (Clarification)
4) การแนะแนว/การแนะนํา (Guidance/ Advice)
5) การสนับสนุน ให้กำลังใจ (Encouraging)
6) การชักชวนและจูงใจ (Suggestion/Persuation)
7) การเผชิญหน้า (Confrontation)
กระบวนการในการทำจิตบำบัดรายบุคคล
ระยะแรก เน้นการสร้างสัมพันธภาพการรับฟังปัญหาการแสดงความเห็นใจและรับความรู้สึก
ระยะที่2 เป็นระยะการถ่ายโอนความรู้สึกสู่ผู้รักษา พัฒนาการตระหนักรู้ในปัญหา การสนับสนุนประคับประคอง การตีความ การสอน การให้กำลังใจ การจัดการกับสิ่งแวดล้อม
ระยะสิ้นสุด เป็นการเตรียมสิ้นสุดสัมพันธภาพ
จิตบำบัดกลุ่ม (Group Psychotherapy)
ประเภทของจิตบําบัดกลุ่ม
1.Didactic group การกระทำกลุ่มลักษณะนี้ต้องอาศัยความรู้เป็นหลัก การบำบัดแบบนี้จำเป็นต้องอาศัยเชาว์ปัญญาของผู้ป่วย
2.Therapeutic social group วิธีการแบบนี้ทำได้โดยที่ผู้ป่วยเลือกผู้แทนของตนขึ้นมาแล้วผู้แทนเหล่านี้มีส่วนช่วยในการที่จะบริหารกิจกรรมต่างๆ
3.Repreessive interaction group การพบปะสันทนาการและทำกิจกรรมร่วมในสิ่งที่มีประโยชน์
4.Free-interaction group การพูดคุยแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
5.Psychodrama (ละครจิตบําบัด) ให้ผู้ป่วยแสดงละคร
6.มุ่งเน้นช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วย
การทำหน้าที่ครอบครัว
การแก้ปัญหาครอบครัว (Problem solving)
การสื่อสารในครอบครัว (Communication)
บทบาทของสมาชิกกในครอบครัว (Role)
การตอบสนองทางอารมณ์ (Affective responsiveness)
การผูกพันทางอารมณ์ (Affective involvement)
การควบคุมพฤติกรรม (Behavior control)
สิ่งที่ต้องจัดเตรียมก่อนเริ่มทําจิตบําบัดกลุ่ม
ห้องต้องมีขนาดพอเหมาะ อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อน/เย็นเกินไป
ระยะห่างระหว่างบุคคล การจัดโต๊ะ
กฎระเบียบต่างๆ
ระยะของการทำจิตบำบัด
ระยะแรกเริ่ม (Beginning Phase) สมาชิกอึดอัด วิตกกังวลสูง ต้องแนะนำตัวและทำความเข้าใจวัตถุประสงค์กลุ่มร่วมกัน
ระยะกลาง (Middle Phase) มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ระยะสุดท้าย(Terminating Phase): รู้สึกสูญเสีย อาลัยอาวรณ์
บทบาทของพยาบาลในการทำจิตบำบัด
1.พิจารณาตัดสินใจวางโครงสร้างกลุ่ม กำหนดรูปแบบ
2.ช่วยนำให้สมาชิกกลุ่มดำเนินกิจกรรมกลุ่มไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
3.สร้างเสริมบรรยากาศภายในกลุ่ม
4.เป็นแบบอย่างที่ดี
พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy)
การบำบัดความคิดและพฤติกรรม
1.ประเมินพฤติกรรมความคิด
2.ปฏิบัติการบำบัดความคิดและพฤติกรรม
ขั้นตอนที่1 ค้นหาความทุกข์โดยการทำความรู้จักกับความคิดอัตโนมัติ
ขั้นตอนที่2 พิสูจน์และประเมินความคิดอัตโนมัติที่ก่อให้เกิดทุกข์
ขั้นตอนที่3 ปรับเปลี่ยนความคิดอัตโนมัติ
ประโยชน์การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy)
1.เปลี่ยนแปลงความคิด อารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้
2.ปัญหาได้อย่างมีเป้าหมาย
3.บำบัดได้ด้วยตนเอง
4.จัดการกับปัญหาหรืออยู่กับปัญหานั้นได้
5.สามารถใช้ในการบำบัดทั้งแบบ Individual an Group
กลุ่มกิจกรรมบำบัด (Activity group)
องประกอบ คือ ผู้นำกลุ่ม,ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม,สมาชิกกลุ่ม,ผู้สังเกตการณ์และผู้บันทึก
6.3 การดูแลในภาวะวิกฤติและฉุกเฉินทางสุขภาพจิตและจิตเวช
การปฐมพยาบาลทางจิตใจโดยใช้หลัก EASE
Engagement คือ การที่ผู้ให้ความช่วยเหลือเข้าถึงประสบภาวะวิกฤติจนได้รับความไว้วางใจ
Assessment คือ การประเมินผู้ประสบภาวะวิกฤตอย่างครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณเพื่อให้การช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการที่แท้จริง
Skill คือ การช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤตเพื่อลดความแปรปรวนทางอารมณ์และสร้างศักยภาพในการจัดการกับปัญหา
Education คือ การให้สุขภาพจิตศึกษาและข้อมูลที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตสามารถดำรงชีวิตอย่างปกติโดยเร็ว
การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤติในแต่ละภาวะ
1.ภาวะช็อคและปฏิเสธ ให้อยู่ที่สงบ รู้สึกปลอดภัย ให้ระบายความรู้สึก Active listening/ Touching/ Breathing ซักถามและตอบสนองความต้องการ
2.ภาวะโกรธ อยู่ในที่ที่ปลอดภัย ดูแลใกล้ชิดภายใต้ระยะห่างที่เหมาะสม สงบนิ่ง ยอมรับพฤติกรรม ให้ระบายความรู้สึก Active listening/ Touching/ Breathing ซักถามและตอบสนองความต้องการ
3.ภาวะต่อรอง Active listening อดทน รับฟัง ไม่แสดงความเบื่อหน่าย ตอบสนองความต้องการ ให้ข้อมูลที่เป็นจริง
4.ภาวะเสียใจ ตอบสนองความต้องการ Touching/ Breathing / Active listening ให้กำลังใจ
การดูแลช่วยเหลือทางสังคม
เช่น ต้องการพบญาติ=ช่วยติดต่อ
ต้องการเงิน=ช่วยประสานงานที่เกี่ยวข้อง
ต้องการที่พักพิง=ประสานผู้นำชุมชนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6.4 การสร้างความเข็มแข็งทางจิตใจในภาวะวิกฤติ
ความเข้มแข็งทางใจ(Resilience)
ความสามารถในการปรับตัวของบุคคลเมื่อต้องประสบกับสถานการณ์วิกฤติเป็นพลังที่ช่วยให้บุคคลสามารถจัดการกับปัญหาผ่านพ้นภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ได้ร้ายไปได้ รวมถึงสามารถฟื้นฟูสภาพอารมณ์และจิตใจให้กลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว
องค์ประกอบการสร้างความเข้มแข็งทางใจ
รู้สึกดีกับตัวเอง
จัดการชีวิตได้
มีความเพียรพยายาม
มีสายสัมพันธ์เกื้อหนุน
มีเป้าหมายในชีวิต
มีความคิดทางบวก