Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทยยุคแรก🎬🎪, นางสาวปุญญิศา ธรรมเจริญ…
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทยยุคแรก🎬🎪
พบหลักฐานการละครและฟ้อนรำ ปรากฏอยู่ในศิลาจาลึกของพ่อขุนรามคำแหง กล่าว่า “เมื่อจักเข้ามาเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลานด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ใครจักมักเหล้น เหล้นใครจักมักหัว หัวใครจักมักเลื้อน เลื้อน”
สมัยกรุงศรีอยุธยา📌
มีการแสดงละครชาตรี ละครนอก ละครใน แต่เดิมที่เล่นเป็นละครเราจะแสดงตามพื้นที่ว่างโดยไม่ต้องมีโรงละคร เรียกว่า ละครชาตรี ต่อมาได้มีการวิวัฒนาการ เป็นละครรำ เรียกว่า ละครใน ละครนอก โดยปรับปรุงรูปแบบให้มีการแต่งกายที่ประณีตงดงามมากขึ้น มีดนตรีและบทร้อง และมีการสร้างโรงแสดง
ละครชาตรี
นับเป็นละครที่มีมาแต่สมัยโบราณ และมีอายุเก่าแก่กว่าละครชนิดอื่นๆ มีลักษณะเป็นละครเร่คล้ายของอินเดียที่เรียกว่า "ยาตรี" หรือ "ยาตราซึ่งแปลว่าเดินทางท่องเที่ยว ละครยาตรานี้คือละครพื้นเมืองของชาวเบงคลีในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นละครเร่ นิยมเล่นเรื่อง "คีตโควินท์" เป็นเรื่องอวตารของพระวิษณุ ตัวละครมีเพียง ๓ ตัว คือ พระกฤษณะ นางราธะ และนางโคปี ละครยาตราเกิดขึ้นในอินเดียนานแล้ว ส่วนละครรำของไทยเพิ่งจะเริ่มเล่นในสมัยตอนต้นกรุงศรีอยุธยา
ละครใน
แสดงในพระราชวัง จะใช้ผู้หญิงล้วน ห้ามไม่ให้ชาวบ้านเล่น เรื่องที่นิยมมาแสดงมี 3 เรื่องคือ อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท
:
ละครนอก
ชาวบ้านจะแสดง ใช้ผู้ชายล้วนดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว
บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทยสมัยอยุธยา
“ตำรวจ ทหารมหาดเล็ก” ซึ่งแสดงโขนกลางสนามปรากฏอยู่ในตำราพระราชพิธีอินทราภิเษก รวมผู้เล่นโขนประมาณ 300 กว่าคน แต่ไม่มีการกล่าวถึงชื่อผู้แสดง ทางด้านการรำไทย มีกล่าวถึงตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยจากศิลาจารึกหลักที่ 8 แต่ไม่มีการอ้างถึงเป็นรายบุคคล
จึงทำให้รับวัฒนธรรมของอินเดีย ผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่ เพื่อนใช้เรียกศิลปะการแสดงของไทย ว่า โขน ละคร ฟ้อนรำ การแสดงสมัยสุโขทัยมีดังนี้
ระบำเทวีศรีสัชนาลัย เป็นระบำที่วิทยาลัยนาฏศิลปะสุโขทัยคิดประดิษฐ์ขึ้น โดยนำหลักฐานทั้งทางด้านท่ารำ เครื่องแต่งกายมาจากรูปปั้น รูปแกะสลักเทวดา นางฟ้าและลวดลายต่างๆ ที่ปรากฎอยู่บนโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ขุดค้นพบ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อำเภอศรีสัชนาลัย ท่วงทำนองแต่ง โดย อาจารย์บัณฑิต ศรีบัว อาจารย์ประจำหมวดวิชาเครื่องสายไทย ภาควิชาดุริยางค์ไทย วิทยาลัยนาฎศิลปสุโขทัย
ระบำเทววารีศรีเมืองบางขลัง ถือกำเนิดขึ้นภายใต้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการประดิษฐ์ท่ารำของ อ.มงคล อินมา ศิลปินพื้นบ้านดีเด่นด้านนาฏศิลปของจังหวัดสุโขทัย ลักษณะท่ารำได้จินตนาการมาจากเหล่าอัปสรเทวดานางฟ้าทั้ง 7 วัน (จึงใช้ผู้แสดง 7 คน) อิงแอบกับความสำคัญของลำน้ำฝากระดานเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนที่มาคอยปกปักรักษาโบราณสถานเอาไว้ แนวคิดของท่ารำเน้นถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีบทบาทต่อความรู้สึกนึกคิดในโลกของความจริง ที่ต้องการให้เทวดานางฟ้ามาปกป้อง คุ้มครองสิ่งอันเป็นที่บูชา ท่ารำต่างๆ
สมัยน่านเจ้า📌
ไทยมีนิยายเรื่องหนึ่งคือ "มโนห์รา" ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นหนังสือนิยายที่เขียนบรรยายถึงเรื่องของชาวจีนตอนใต้และเขียนถึงนิยายการละเล่นต่างๆ ของจีนตอนใต้ มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ชื่อเหมือนกับนิยายของไทยคือเรื่อง "นามาโนห์รา" และอธิบายไว้ด้วยว่าเป็นนิยายของพวกไต (พวกไตเป็นน่านเจ้าสมัยเดิม) คำว่า "นามา โนห์รา" เพี้ยนมาจากคำว่า "นางมโนห์รา" ของไทย ส่วนการละเล่นของไทยน่านเจ้านั้นมีพวกระบำอยู่แล้ว คือ ระบำหมวก และระบำนกยูง
ไม่มีข้อมูลเรื่องบุคคลสำคัญ
ระบำหมวก เป็นการแสดงที่มีลักษณะท่าทางการรำที่อ่อนช้อย สวยงาม จะใช้หมวกรูปทรงกรวยที่เรียกว่า"นอนล้า" และชุดแต่งกาย ที่เรียกว่า"อาวหยาย"เป็นสิ่งของและการแต่งกายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ระบำนกยูง ระบำประเภทนี้มีถิ่นกำเนิดในมณฑลยูนนาน มีความหมายสื่อถึง สวรรค์ ความสงบ ความสง่างาม และความโชคดี รูปแบบการเคลื่อนไหวจะเป็นการเลียนแบบนกยูง ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การตื่น การออกหาอาหาร การอาบน้ำในแม่น้ำ ในตอนท้ายที่สุดก็จะบินออกไป
ไม่มีข้อมูลเรื่องบุคคลสำคัญ
สมัยธนบุรี📌
สมัยธนบุรีช่วง พ.ศ. 2310-2325 ในสมัยนี้เป็นช่วงต่อเนื่องจากสงครามในสมัยอยุธยา ทำให้ศิลปินกระจายไปใน
ที่ต่าง ๆ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ปราบดาภิเษกกรุงธนบุรีจึงมีการฟื้นฟูละครใหม่และรวบรวมศิลปินต่าง ๆ ให้มาอยู่รวมกัน พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีก 5 ตอน มีดังนี้
3.ตอนทศกันฐ์ตั้งพิธีทรายกรด
4.ตอนพระลักษมณ์ถูกหอกกบิลพัท
2.ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ
5.ตอนปล่อนม้าอุปการ
1.ตอนอนุมานเกี้ยวนางวานริน
บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทยสมัยธนบุรี
พระยาจักรี หรือ เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ เป็นเจ้าพระยาจักรีคนแรกในแผ่นดินกรุงธนบุรี หลายคนมักเรียกว่า “เจ้าพระยาจักรีแขก” มีชื่อจริงว่า “หมุด” เป็นมุสลิมเชื้อสายสุลต่านสุลัยมาน
แต่งเพื่อใช้เล่นละครหลวง ซึ่งในพ.ศ.2313 นี้พระองค์ทรงยกกองทัพไปปราบเจ้านครศรีธรรมราชจึงโปรดให้หัดละครหลวงขึ้น และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์เพื่อใช้เล่นละครและใช้ในงานสมโภชต่างๆ
มหรสพในสมัยกรุงธนบุรี แม้จะหยุดเล่นไปในระยะเสียกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ฟื้นตัวได้ในระยะเวลาอันสั้น มหรสพที่ปรากฏในยุคนี้ก็มีลักษณะคล้ายคลึงและใกล้เคียงกับที่มีในสมัยอยุธยาคือ มีทั้งหุ่น โขน ละคร และละครชาตรี ซึ่งปราฎอยู่ในหลักฐานต่างๆ ทั้งในหนังสือของทางราชการและในวรรณคดี
นาฎศิลป เป็นศิลปะแห่งการฟ้อนรำ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ท่ารำ เครื่องแต่งกาย ดนตรี และการขับร้อง ซึ่งมีอยู่ทุกชาติทุกภาษา มีลักษณะการแสดงที่แตกต่างออกไปทางสภาพสังคม ขนบธรรมเนียม ค่านิยมเผ่าพันธุ์ และอิทธิพลจากนานาประเทศ จึงมีการปรับปรุงพัฒนา ให้มีแบบแผน วิจิตร งดงาม และมีเอกลักษ์เป็นของตัวเอง โดยอาศัยองค์ประกอบต่างๆ ทั้งฉาก การแต่งกาย ดนตรี อุปกรณ์การแสดง แสง สี เสียง
นางสาวปุญญิศา ธรรมเจริญ เลขที่ 26 (หาข้อมูลน่านเจ้า)
Stampnewblue. (2564).
วิวัฒนาการของการละครไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน.
สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564,/จาก/
https://sites.google.com/site/bluestampnew/bth-thi-1-kar-lakhr-thiy/1-1-wiwathnakar-khxng-kar-lakhr-thiy-tangtae-xdit-thung-paccuban
อ้างอิง
นายภควิทย์ สุวรรโณ เลขที่ 3 (หาข้อมูลธนบุรี)
อ้างอิง
มุสลิมไทยโพสต์. (2564).
เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ ขุนนางมุสลิมในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนฯ.
สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564,/จาก/
https://news.muslimthaipost.com/news/24689
Stampnewblue. (2564).
วิวัฒนาการของการละครไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน.
สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564,/จาก/
https://sites.google.com/site/bluestampnew/bth-thi-1-kar-lakhr-thiy/1-1-wiwathnakar-khxng-kar-lakhr-thiy-tangtae-xdit-thung-paccuban
นายเดชาธร กตัญญุกานต์ เลขที่ 13 (หาข้อมูลสุโขทัย)
อ้างอิง
Stampnewblue. (2564).
วิวัฒนาการของการละครไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน.
สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564,/จาก/
https://sites.google.com/site/bluestampnew/bth-thi-1-kar-lakhr-thiy/1-1-wiwathnakar-khxng-kar-lakhr-thiy-tangtae-xdit-thung-paccuban
Phumphor. (2564).
ระบำสุโขทัย.
สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564,/จาก/
https://www.phumphor.com/รายละเอียด/5e70abe9be29980012c52b28/ระบำสุโขทัย/5ea8f799ca717600196804fd
นายอาคิรา ไชยแพทย์ เลขที่ 15 (หาข้อมูลอยุธยา)
อ้างอิง
Stampnewblue. (2564).
วิวัฒนาการของการละครไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน.
สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564,/จาก/
https://sites.google.com/site/bluestampnew/bth-thi-1-kar-lakhr-thiy/1-1-wiwathnakar-khxng-kar-lakhr-thiy-tangtae-xdit-thung-paccuban
ทีมงานทรูปลูกปัญญา. (2564).
บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทยสมัยอยุธยา.
สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564,/จาก/
https://www.trueplookpanya.com/asktrueplookpanya/detail/8172
นายธนวัฒน์ บุกบุญ. (2564).
โขนกลางแปลง.
สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564,/จาก/
https://orawan30.wordpress.com/โขนกลางแปลง/
นางสาวชนิสรา เรืองนุ้ย เลขที่ 25 (จัดทำมายแมพ)
เกศสุริยง. (2564).
วัฒนธรรมและประเพณี.
สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564,/จาก/
https://sites.google.com/site/weiydnamkabxaseiyn/wathnthrrm-laea-prapheni
sittipanareerat. (2564).
วิวัฒนาการละครไทย.
สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564,/จาก/
https://sites.google.com/site/sittipanareerat422/bth-thi3-lakhr-thiy/k?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
Plookpedia. (2564).
ละครชาตรี.
สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564,/จาก/
https://www.trueplookpanya.com/blog/content/62366/-artper-art-cul-
วิวัฒน์ วนรังสิกุล. (2564).
มโนห์รา.
สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564,/จาก/
https://www.baanjomyut.com/library_2/manohra/index.html