Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นบ้านอาเซียนในโชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, นายสิรวิชญ์ คงทอง ม.4/8…
การแสดงพื้นบ้านอาเซียนในโชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลาว
ลำลาว(Lam Lao)หรือหมอลำ
หมอลำเป็นการแสดงดนตรีพื้นบ้านของลาว มีนักร้องหรือผู้เล่าเรื่องและแคนเป็นองค์ประกอบ เป็นการโต้ตอบกันผ่านโคลงกลอน หรือการร้องที่มีสัมผัสคล้องจองระหว่างนักร้องชายและหญิง การแสดงดำเนินไปด้วยท่ารำที่หลากหลาย มุกตลกต่างๆ อันเกิดจากปฏิภาณไหวพริบของผู้ร้อง และการหยอกเย้ากันระหว่างผู้แสดงและผู้ชม การแสดงแบบเดียวกันนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรียกหมอลำ แต่ในลาว คำว่าหมอลำจะเน้นที่ตัวผู้ขับร้อง
ลำตังหวาย (Lum tung wai)
เริ่มต้นจากการขับลำประกอบดนตรี ภายหลังมีการฟ้อนรำประกอบ ทำนองการลำตังหวาย เป็นที่นิยมนำมาขับลำเพื่อความบันเทิงของทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง และมีการนำมาสร้างสรรค์การขับลำ และประกอบการแสดงอยู่เสมอ
"การแสดงประจำชาติของอาเซียน." [ออนไลน์]. (2558). เข้าถึงได้จาก :
https://asiandancestep123.blogspot.com/2015/01/blog-post.html?fbclid=IwAR3YzNcbgPffTm812vVeEDIDNxkvT6GI5iN4rZXs4jU8vuEEDXzN7IQyQ6A
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564]
ดาวเวียง บุตรนาโค(ลาว)
เป็นนักเขียน กวี และนักแต่งเพลงลูกทุ่งลาวอันโด่งดัง และยังเป็นศิลปินแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกด้วย เขาเกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ที่เมืองโขง แขวงจำปาศักดิ์ เป็นบุตรของนายเหงี่ยม แสงราตรี และนางคำปั้น ศรีอักษร มีพี่น้องร่วมกัน 11 คน
บรูไน
อาลุส ญูวา ดินดัง (Alus Jua Dendang)
คือการแสดงฟ้อนรำของชาวบรูไน เป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาจากสมัยโบราณ มักมีแสดงในงานแต่งงาน มีนักเต้นทั้งผู้ชายและผู้หญิง ทำการฟ้อนรำและร้องเพลงประกอบ
อาได อาได (Adai –Adai)
คือการเต้นรำแบบดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์มลายูบรูไน เต้นรำอะไดอะไดมักจะเต้นโดยคู่ชายสี่คนและผู้หญิงสี่คนพร้อมกับรำมะนาและแกมบัสและร้องเพลงด้วยจังหวะที่เกือบจะคล้ายกับจังหวะการเต้นซาปิน มักจัดขึ้นในช่วงฝูงชนของชาวมาเลย์บรูไนหรือเพื่อต้อนรับการมาถึงของผู้มีตำแหน่งสูง นักเต้นยังสวมชุดพิเศษสีสันสดใสการเต้นรำนี้จะขึ้นอยู่กับชีวิตของชาวประมง ระบำนี้บอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มชาวประมงที่ไปตกปลาในทะเลขณะที่ผู้หญิงรอการกลับมาที่ชายหาดเพื่อช่วยรวบรวมปลาที่จับได้บางครั้งไม่มีการใช้เครื่องดนตรีใด ๆ แทนเสียงที่มาพร้อมกับการร้องเพลงคือการตีของนักพายเรือ
"การแสดงประจำชาติของประเทศในสมาชิกอาเซียน." [ออนไลน์]. (2558). เข้าถึงได้จาก :
http://asiandancestep123.blogspot.com/2015/01/blog-post.html
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564]
ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์(บรูไน)
เวียดนาม
แจ่ว
เป็นรูปแบบของละครเพลงเสียดสีสังคม โดยทั่วไปการเต้นรำแจ่วนี้ยังคงอนุรักษ์รูปแบบดั้งเดิมไว้ จากการระบำของชาวบ้านในภาคเหนือของเวียดนามที่สืบทอดมาอย่างยาวนานตั้งแต่ศตวรรษที่ 16
การแสดง มักแสดงกลางแจ้ง หรือลานอเนกประสงค์ของหมู่บ้าน ในอดีตไม่มีฉาก ไม่มีการตกแต่งเสื้อผ้าหรือแต่งหน้าใดๆ วงดนตรีเป้นวงดนตรีแบบดั้งเดิมที่ประกอบไปด้วย ซอ ขลุ่ย และกลอง ปัจจุบันนิยมจัดแสดงในร่มมากขึ้น และแสดงโดยนักแสดงมืออาชีพ
"การแสดงประจำชาติของอาเซียน." [ออนไลน์]. (2558). เข้าถึงได้จาก :
https://asiandancestep123.blogspot.com/
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564]
ระบำหมวก
ระบำหมวก เวียดนาม หมวกรูปทรงกรวยที่เรียกว่า“นอนล้า” และชุดแต่งกายที่เรียกว่า“อาวหยาย” (áo dài)เป็นสิ่งของและการแต่งกายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การแสดงระบำหมวกจึงแสดงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวเวียดนามอย่างชัดเจน
"ระบำหมาก." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://artandcom.wordpress.com/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1-vietnam/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%81/
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564]
วาน เลิง ง็อก Van Le Ngoc(เวียดนาม)
เป็นบัลเล่ต์ เต้นและนักออกแบบท่าเต้น เกิดในฮานอย , เวียดนามเขาย้ายไปอยู่อาศัยและการศึกษาในประเทศฝรั่งเศสในปี 1996 จาก 1996-1998 เขาตามการศึกษาของเขาจะกลายเป็นนักเต้นบัลเลต์แห่งชาติสุพีเรีย วิทยาลัยดนตรีและการเต้นรำในลียง (CNSM) ในเดือนกันยายนปี 1998 Van ลงนามในสัญญาครั้งแรกของเขากับบัลเลต์แห่งชาติเดอมาร์เซย์ภายใต้ทิศทางของมารีโคลดพีตรากาลลา, Etoile ของParis Opera บัลเล่ต์ ห้าปีต่อมาในปี 2546 เขาออกจาก Ballet National de Marseille เพื่อเข้าร่วมEnglish National Ballet ในลอนดอน
พม่า
โย่วเต
หุ่นชักพม่าเป็นศิลปะที่นิยมในราชสำนักพม่า เป็นการแสดงที่สื่อถึงนัยยะสำคัญทางการเมือง เรื่องราวต่างๆ ในราชสำนักที่ไม่สามารถพูดถึงอย่างตรงไปตรงมาได้ ในอดีตผู้ชักหุ่นต้องเป็นชายเท่านั้น นักเล่นหุ่นชักหลายคนได้รับการยกย่องให้เป็นถึงขุนนาง เช่น อูปุ๊ ผู้มีสิทธิกินส่วยจาก 12 หัวเมือง เป็นต้น แต่ต่อมาในภายหลังเริ่มมีการถ่ายทอดความรู้หุ่นชักพม่าให้แก่ผู้หญิง อาทิเช่น คณะแสดงหุ่นมัณฑะเลย์ อาจารย์ผู้ควบคุมคณะได้ถ่ายทอดวิชาให้แก่ลูกและหลานที่เป็นผู้หญิง เพื่อสืบทอดวิธีการชักหุ่นพม่าตามรูปแบบที่มีมาแต่โบราณ นอกจากผู้ชักหุ่นแล้วยังมีนักร้องและนักดนตรีวงปี่พาทย์ เสียงและคารมของนักร้องนับเป็นจุดเด่นและปัจจัยวัดความสำเร็จของคณะหุ่นชัก การแสดงหุ่นชักได้แพร่กระจายจากราชสำนักในช่วงปลายสมัยราชวงศ์คองบองไปสู่พม่าตอนล่าง หลังจากที่อังกฤษยึดครอง โดยนิยมเล่นกันในเมืองย่างกุ้ง
"ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้." [ออนไลน์]. (2559). เข้าถึงได้จาก :
https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?sj_id=56
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564]
เจ้าดารารัศมี พระราชชายา
ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา เป็นกระบวนฟ้อนที่เกิดขึ้นจากพระดำริของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีที่ทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นการฟ้อนที่แปลกไปจากการฟ้อนที่เคยมีอยู่ ดังนั้นจึงรับสั่งให้หาตัวระบำของพม่ามารำถวาย โดยทรงคิดว่า ถ้าท่ารำของพม่าสวยงามเหมาะสมก็จะดัดแปลงและนำมาผสมกับท่ารำของไทย เป็นรำพม่าแปลง
กัมพูชา
ระบำอัปสรา
เป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่โดดเด่นของกัมพูชา ซึ่งถอดแบบการ แต่งกายและท่าร่ายรำมาจากภาพจำหลักรูปนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด ใครได้เป็นตัวเอกในระบำอัปสรานั้นเชื่อได้ว่าเป็นตัวนางชั้นยอดแห่งยุคสมัยนครวัด เป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา ทั้งนี้การแสดงระบำอัปสรายังถือเป็นการแสดงที่มีคุณูปการต่อการเรียกร้องเอกราชของชาวกัมพูชาจากฝรั่งเศส
"ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้." [ออนไลน์]. (2559). เข้าถึงได้จาก :
https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?c_id=2&sj_id=36
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564]
โซฟีลีน เจียม ชาร์ปิโร
โซฟีลีน เจียม ชาร์ปิโร เกิดเมื่อปี
พ.ศ. 2510 ปัจจุบันอายุ 54 ปี
ถือเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนนาฏศิลป์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระยะเวลา 30 ปี ให้หลังนี้
เธอคือหนึ่งในผู้ที่รอดชีวิตจากการสังหารหมู่นักดนตรี นักเต้น นักเขียน จิตรกร ฯลฯ โดยเขมรแดง หลักเขมรแดงสิ้นอำนาจเธอได้กลับมาฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมของกัมพูชาให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง
มาเลเซีย
โยเก็ต
ศิลปะการร่ายรำแบบดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของมาเลเซีย มีจังหวะที่สนุกสนาน นักแสดงหลายคู่ เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว สวยงาม เน้นอารมณ์ขัน ต้นกำเนิดมาจากการเต้นรำของชาวโปรตุเกส แพร่หลายในมะละกา ยุคที่มีการค้าเครื่องเทศ โดยปกตินิยมแสดงในช่วงเทศกาลต่าง ๆ งานประเพณี งานแต่งงาน งานพิธีทางสังคมต่าง ๆ แสดงโดยคู่นักเต้นระบำชาย-หญิง จังหวะของดนตรีโยเก็ตจะค่อนข้างเร็วในระหว่างที่คู่เต้นหยอกล้อเล่นกัน ขับร้องด้วยสำเนียงมาเลเซียตะวันออกเฉียงเหนือ
"นาฏศิลป์ของชาวมาเลเซีย." [ออนไลน์]. (2560). เข้าถึงได้จาก :
https://strikernzero.blogspot.com/2017/06/blog-post.html
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564]
ซาปิน
ได้รับความนิยมในรัฐยะโฮร์ กล่าวได้ว่าเป็นการร่ายรำดั้งเดิมของมาเลเซียที่สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้เด่นชัดที่สุด เข้ามาในประเทศมาเลเซียเมื่อมิสชันนารีมุสลิมจากตะวันออกกลางเข้ามาเผยแผ่ศาสนา จุดประสงค์คือการสวดมนต์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอารธรรมอิสลามการแสดงระบำซาปินมีผู้แสดง 12 คน แบ่งเป็นหญิงชายจำนวนเท่ากัน ฝ่ายละ 6 จับคู่เต้นกันเป็นกลุ่ม ใช้การยกเท้ายกขาพร้อมกันเป็นจังหวะ เครื่องแต่งกายเป็นแบบเรียบๆ ชายใส่หมวกอิสลามหรือหมวกแขก ใสเสื้อกั๊ก นุ่งโสร่ง หญิงนุ่งกระโปรง เสื้อรัดรูป มีผ้าแพรคลุมศีรษะ เต้นรำตามจังหวะดนตรี ซึ่งบรรเลงจากช้าไปหาเร็ว
"นาฏศิลป์ของชาวมาเลเซีย." [ออนไลน์]. (2560). เข้าถึงได้จาก :
https://strikernzero.blogspot.com/2017/06/blog-post.html
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564]
อินโดนีเซีย
ระบำบาร็อง (Barong Dance)
เป็นการแสดงที่รู้จักกันในหมู่นักท่องเที่ยว เรื่องราวเกี่ยวกับการต่อสู้ระหว่างฝ่ายธรรมะกับอธรรม บาร็องคือตัวแทนฝ่ายดี เป็นคนครึ่งสัตว์ ส่วนรังดาเป็นพ่อมดหมอผีฝ่ายอธรรม ซึ่งจะต่อสู้กันจนฝ่ายธรรมะได้รับชัยชนะในที่สุด
เลกอง (Legong)
เป็นการแสดงของชาวบาหลีมีลักษณะการร่ายรำงดงาม เชื่องช้าเนิบนาบ โดยใช้เด็กหญิงหน้าตาสวยงามที่ผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี 3 คนเป็นตัวแสดง ในสมัยที่ยังไม่มีประจำเดือนเท่านี้
ระบำคะชักหรือระบำลิง (Kecak)
เป็นการแสดงของชาวบาหลี ตัดตอนมาจากรามเกียรติ์ เล่าเรื่องราวของพระรามกับเหล่าพลวานนรที่ตามไปช่วยนางสีดาจากทศกัณฐ์ ผู้ที่แสดงเป็นลิงจะนุ่งผ้าตาหมากรุก เปลือยท่อนบน ทัดดอกชบาแดงข้างหู นั่งล้อมวงกัน 4 – 5 ชั้น โบกมือขึ้นลงพร้อมทั้งโยกตัวไปมาและร้องว่า “คะชัก คะชัก” เป็นเสียงสูงต่ำคล้ายทำนองดนตรี โดยตัวเอกต่างๆ จะเดินร่ายรำไปมาตรงกลางวง
"สาธารณรัฐอินโดนีเซีย." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://sites.google.com/site/indoniseiy1987/kar-saedng
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564]
Didik Nini Thowok(อินโดนีเซีย)
เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ บนเวทีของเขา Didik Nini Thowok เป็นนักเต้น ชาวชวา ที่มักแอบอ้างเป็นผู้หญิงในระหว่างการแสดง การเต้นรำแบบชวา และ การเต้นรำแบบบาหลี การเต้นรำที่มีชื่อเสียงที่สุดของ Didik Nini Thowok คือ Dwimuka (สอง face) เต้นรำโดยเขาสวมหน้ากากหนึ่งอันสวมที่ด้านหลังศีรษะและโดยปกติอีกอันจะอยู่ด้านหน้า เขาเต้นรำโดยหันหลังให้ผู้ชมทำให้พวกเขาเชื่อว่านั่นคือด้านหน้าของเขา การเต้นรำนี้ทำให้เกิดความตกใจและเสียงหัวเราะเสมอเมื่อผู้ชมค้นพบความจริง
ฟิลิปปินส์
คาริโนซา (Carinosa)
เป็นระบำพื้นเมืองที่ได้อิทธิพลมาจากสเปน คาริโนซา แปลว่า คู่รัก หรือที่รัก เวลาเต้นจะจับคู่หญิง – ชาย ผู้หญิงจะใส่ชุด Maria Clara และถือพัด หรือผ้าเช็ดหน้า ร่ายรำแสดงท่าทางเขินอาย บทเพลงมรเนื้อหาชมความงามของหญิงสาว
ตินิกลิง (Tinikling)
ระบำประจำชาติของฟิลิปปินส์ เป็นระบำของชนเผ่าพื้นเมืองที่ใช้ไม่ไผ่สองลำตี – แตะกระทบกัน ผู้เต้นจะก้าวขาเต้นเป็นจังหวะระหว่างไม่ไผ่สองลำนั้น ตินิกลิงเป็นระบำที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและการฝึกฝน ผู้เต้นต้องมีความรวดเร็วและความคล่องตัว เป็นการแสดงพื้นบ้านของเมืองเลย์เต (Leyte) และเมืองอื่นๆ ในหมู่เกาะวีซายัส
"สาธารณรัฐฟิลิปปินส์." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://sites.google.com/site/filippins5170/wathnthrrm-pra-phe
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564]
ไทย
โขน
เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทย มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงการเล่นโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทางเข้ากับเสียงซอและเครื่องดนตรีอื่นๆ ผู้เต้นสวมหน้ากากและ ถืออาวุธ
หนังใหญ่
คือมหรสพที่แพร่หลายของคนไทยอีกอย่างหนึ่ง ตัวหนังจะใช้แผ่นหนังวัวฉลุเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ และมีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้าง เพื่อให้ตัวหนังตั้งตรงไม่งอ และทำให้มีคันยื่นลงมาใต้ตัวหนังเป็นสองข้างสำหรับจับถือและยกได้ถนัด สถานที่เล่นจะปลูกโรงผ้า ใช้ผ้าขาวคาดเป็นจอ ส่วนด้านหลังจอจะจุดไต้และก่อไฟไว้ เพื่อให้มีแสง ทำให้เห็นเงาตัวหนัง ซึ่งมีลวดลายวิจิตรมาติดอยู่ที่จอผ้าขาว และการเชิดนั้นคนเชิดต้องเต้นไปตามจังหวะดนตรีและบทพากย์บทเจรจาด้วย การแสดงโขนก็ประกอบไปด้วยการพากย์ เจรจา ขับร้อง และการเต้นทำท่าตามบทพากย์ จึงกล่าวได้ว่าโขนนำเอาการพากย์ เจรจา และท่าทางการเต้นการแสดงมาจากหนังใหญ่
"การแสดงประจำชาติของอาเซียน." [ออนไลน์]. (2558). เข้าถึงได้จาก :
https://asiandancestep123.blogspot.com/2015/01/blog-post.html?fbclid=IwAR3YzNcbgPffTm812vVeEDIDNxkvT6GI5iN4rZXs4jU8vuEEDXzN7IQyQ6A
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564]
ครูประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว(ไทย)
เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 เป็นศิลปินที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในการแสดงโขนลิงเป็นอย่างมาก จึงได้รับให้แสดงตั้งแต่ เขนลุง สิบแปดมงกุฎ สุครีพ พาลี องคต หนุมาน แสดงเป็นหนุมานแทบทุกตอน อาทิ ตอนหนุมานอาสา ตอนหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา รวมทั้งได้แสดงละครและรำเบ็ดเตล็ด อาทิ รำกราวอาสาในละครเรื่องมโนห์รา รำซัดชาตรี รำสี่ภาค รำเหย่อย รำโคม แสดงละครเรื่องอานุภาพแห่งความรัก อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง เป็นต้น
นอกจากงานด้านการแสดงโขนแล้ว ท่านยังได้สร้างสรรค์ผลงานมากมาย อาทิ ประดิษฐ์ท่ารำฉุยฉายพาลี รำกราวทหารนเรศวร รำเพลงปลุกใจ ประดิษฐ์ท่าเต้นโขนลิงประกอบการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ของกรมศิลปากร ชุดโขนวานรพงศ์
สิงคโปร์
เชิดสิงโต (Lion Dance)
“การเชิดสิงโต” (Lion Dance) เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองในเทศกาลตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั่วโลก ในประเทศสิงคโปร์ส่วนใหญ่มีเชื้อสายจากชมชนชาวจีนมณฑลทางภาคใต้ของประเทศจีน จึงทำให้แบบอย่างการเชิดสิงโตและการผลิตหัวสิงโตเป็นแบบสิงโตทางภาคใต้ (South Lion) มีการใช้โครงไม้ไผ่ประกอบเข้ากับวัสดุท้องถิ่น เช่น กระดาษ ผ้าไหม โลหะ แผ่นเงิน และเกล็ดทอง ฯลฯ เย็บประกอบและจัดสร้างตามแบบหัวสิงโตท้องถิ่นในฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว และกวางตุ้ง (ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล, 2558, หน้า 378-379)
งิ้วหุ่นกระบอก
เดิมหุ่นกระบอกที่ทำจากไม้นี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบพิธีกรรมในงานศพและพิธีขจัดกาฬโรคในสมัยโบราณ ต่อมาในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นได้ถูกนำมาแสดงในงานมงคลด้วย แต่การใช้หุ่นกระบอกแสดงในงานศพก็ยังคงมีต่อมาจนถึงราชวงศ์หมิง ในสมัยราชวงศ์หมิง มีหุ่นกระบอกชนิดใหม่เกิดขึ้นเรียกว่า หุ่นกระบอกถุงมือ หรือเรียกว่า ปู้ไต้ซี่ หรือจ่าจงซี่ การละเล่นชนิดนี้เริ่มเจริญขึ้นที่มณฑลฮกเกี้ยน เมืองเฉวียนโจว และการแสดงชนิดนี้เป็นที่นิยมกันมากที่ไต้หวันโดยเฉพาะในชาวจีนฮกเกี้ยน ปัจจุบันพิธีกรรมดังกล่าวก็ยังมีให้เห็นอยู่ในประเทศสิงคโปร์ เช่น พิธีกงเต๊กที่วัดจีนผู่เจวี๋ยซื่อ
"ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้." [ออนไลน์]. (2559). เข้าถึงได้จาก :
https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?sj_id=71
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564]
นายสิรวิชญ์ คงทอง ม.4/8 เลขที่ 16 (สมาชิกในกลุ่ม)
นายสิรวิชญ์ คงทอง ม.4/8 เลขที่ 16 (สมาชิกในกลุ่ม)
นายณัฐวรรธน์ สนิทมัจโร ม.4/8 เลขที่ 12 (เลขานุการ)
นางสาวฟ้าใส หอมบุตร ม.4/8 เลขที่ 27 (สมาชิกในกลุ่ม)
นางสาวฟ้าใส หอมบุตร ม.4/8 เลขที่ 27 (สมาชิกในกลุ่ม)
นายอธิชล เรืองหิรัญ ม.4/8 เลขที่ 5 (หัวหน้ากลุ่ม)
นายอธิชล เรืองหิรัญ ม.4/8 เลขที่ 5 (หัวหน้ากลุ่ม)
นางสาวเมษยา ชัยเวทย์ ม.4/8 เลขที่ 28 (สมาชิกในกลุ่ม)
นายณฐนนท์ อร่ามเรือง ม.4/8 เลขที่ 11 (รองหัวหน้ากลุ่ม)
นายณฐนนท์ อร่ามเรือง ม.4/8 เลขที่ 11 (รองหัวหน้ากลุ่ม)