Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่, ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง,…
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่
ละครสังคีต
ละครสังคีต หมายถึง ละครที่มีทั้งบทพูดและบทร้องเป็นส่วนสำคัญเสมอ ละครสังคีตเป็นละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๖) ทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการจากละครพูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูด และบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆ กัน จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกมิได้เพราะจะทำให้เสียเรื่อง
-
-
-
-
-
-
-
-
ละครร้องกำเนิดขึ้นในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวละครร้องได้ปรับปรุงขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากละครต่างประเทศละครร้องนั้นต้นกำเนิดมาจากจากแสดงของชาวมลายูเรียกว่า“ บังสาวัน” (Malay Opera) ได้เคยเล่นถวายรัชกาลที่ 5 ทอดพระเนตรครั้งแรกที่เมืองไทรบุรีและต่อมาละครบังสาวันได้เข้ามาแสดงในกรุงเทพฯพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงแก้ไขปรับปรุงเป็นละครร้องเล่นที่โรงละครปรีดาลัยละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์นี่ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนเรียกชื่อว่า“ ละครหลวงนฤมิตร” บางครั้งคนยังเรียกว่า“ ละครปรีดาลัย "ต่อมาเกิดคณะละครร้องแบบปรีดาลัยขึ้นมากมายเช่นคณะปราโมทัยปราโมทย์เมืองประเทืองไทยวิไลกรุงไฉวเวียงเสรีสำเริงบันเทิงไทยและนาครบันเทิงเป็นต้นละครนี้ได้นิยมกันมาจนถึงสมัยราชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 นอกจากนี้ได้เกิดละครร้องขึ้นอีกแบบหนึ่งโดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมารทรงดัดแปลงละครของชาวตะวันตกจากละครอุปรากรที่เรียกว่า“ โอเปอเรติกลิเบรตโต” (Operatic Libretto) มาเป็นละครในภาษาไทยและได้รับความนิยมอีกแบบหนึ่งละครร้องจึงแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือละครร้องสลับพูดและละครร้องล้วนๆ
-
-
-
-
-
มุ่งไปที่ความไพเราะของเพลง ตัวละครจะต้องร้องเองคล้ายกับละครร้อง ละครสังคีตมุ่งบทร้องและบทพูดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงหมู่ที่งดงาม ในการแสดงแต่ละเรื่องจะต้องมีบทของตัวตลกประกอบเสมอ และมุ่งไปในทางสนุกสนาน
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ละครพูดล้วน ๆดำเนินเรื่องด้วยวิธีการพูด ที่ใช้ท่าทางแบบสามัญชนประกอบ มีการพูดที่เป็นธรรมชาติ มีลักษณะพิเศษคือในขณะที่ตัวละครคิดอะไรอยู่ในใจ มักใช้วิธีป้องปากบอกกับคนดู ส่วนละครพูดสลับลำ ยึดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่อง มีบทร้องเป็นเพียงบทแทรกเพื่อเสริมความ ถ้าตัดบทร้องออกก็ไม่ทำให้เนื้อเรื่องขาดความสมบูรณ์แต่อย่างใด คำว่า “ลำ” มาจากคำ “ลำนำ” หมายถึง บทร้องหรือเพลง
ละครพูดล้วน ๆ ไม่มีเพลงร้อง ผู้แสดงดำเนินเรื่องโดยการพูด ส่วนละครพูดสลับลำ มีเพลงร้องเป็นบางส่วน โดยทำนองเพลงขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ที่จะแต่งเสริมเข้ามาในเรื่อง
ละครพูดล้วน ๆบรรเลงโดยวงดนตรีสากลหรือปี่พาทย์ไม้นวมแต่จะบรรเลงประกอบเฉพาะเวลาปิดฉากเท่านั้น ส่วนละครพูดสลับลำ บรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วน ๆ แต่บางครั้งในช่วงดำเนินเรื่องถ้ามีบทร้อง ดนตรีก็จะบรรเลงร่วมด้วย
คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร เป็นพระบิดาแห่งการละครร้อง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาเขียน เป็นกวีและนักประพันธ์ ทรงดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นราชสกุลวรวรรณ
-
-
ละครร้องสลับพูด บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวมหรืออาจใช้วงมโหรีประกอบ ในกรณีที่ใช้แสดงเรื่องเกี่ยวกับชนชาติอื่น ๆ
ละครร้องล้วน ๆ บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวม
-
ละครร้องสลับพูด เรื่องที่เเสดง คือ ตุ๊กตายอดรัก ขวดแก้วเจียระไน เครือณรงค์ กากี
ละครร้องล้วน ๆ เรื่องที่แสดง คือ เรื่องสาวิตรี
ละครร้องสลับพูด มีทั้งบทร้อง และบทพูด ยึดถือการร้องเป็นส่วนสำคัญ
แม้ตัดบทพูดออกทั้งหมดเหลือแต่บทร้องก็ยังได้เนื้อเรื่องสมบูรณ์ มีลูกคู่คอยร้องรับอยู่ในฉาก ยกเว้นแต่ตอนที่เป็นการเกริ่นเรื่องหรือดำเนินเรื่อง ลูกคู่จะเป็นผู้ร้องทั้งหมด ตัวละครจะทำท่าประกอบตามธรรมชาติมากที่สุดทรงเรียกว่า “ละครกำแบ”
ละครร้องล้วน ๆ ตัวละครขับร้องโต้ตอบกัน และเล่าเรื่องเป็นทำนองแทนการพูดดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงล้วน ๆ ไม่มีบทพูดแทรก มีเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาบถของตัวละคร จัดฉากตามท้องเรื่อง ใช้เทคนิคอุปกรณ์แสงสีเสียงเพื่อสร้างบรรยากาศให้สมจริง
ละครพูดล้วน ๆ หรือละครพูดแบบร้อยแก้ว ในสมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วน ต่อมานิยมผู้แสดง 'ชายจริงหญิงแท้'
ละครพูดสลับลำ ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง
ละครพูดล้วน ๆ หรือละครพูดแบบร้อยแก้ว แต่งกายตามสมัยนิยม ส่วนละครพูดสลับลำ การแต่งกายเหมือนละครพูดล้วน ๆ
ละครพูดล้วน ๆเรื่องที่แสดง เรื่องแรกคือ เรื่องโพงพาง และเจ้าข้า สารวัต! ส่วนละครพูดสลับลำ เรื่องที่แสดงคือ เรื่องชิงนาง และปล่อยแก่
-
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งละครพูดเริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงละครพูดสมัครเล่นเป็นครั้งแรก เนื้อเรื่องละครพูดที่แสดงในสมัยนี้ ดัดแปลงมาจากบทละครรำที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคทองของละครพูด ประชาชนให้ความสนใจต่อละครประเภทนี้มาก เพราะเห็นว่าเป็นของแปลกและแสดงได้ง่าย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนละครพูดอย่างดียิ่ง ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดที่ดีเด่นเป็นจำนวนมาก และทรงร่วมในการแสดงด้วยหลายครั้ง ละครพูดล้วนๆ เรื่องที่แสดงเรื่องแรก คือ เรือง”โพงพาง” เมื่อ พ.ศ. 2463 เรื่องต่อมาคือ “เจ้าข้าสารวัด” ทั้งสองเรื่อง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
-
คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ละครสังคีตเป็นละครอีกแบบหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการมาจากละครพูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูด และบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆกัน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่ 4 เรื่อง คือ หนามยอกเอาหนามบ่ง วิวาหพระสมุท มิกาโด วั่งตี่
-
นิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่ ๔ เรื่อง คือ หนามยอกเอาหนามบ่ง วิวาห์พระสมุทร มิกาโด วั่งตี่ มีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ ทรงใช้ชื่อเรียกละครทั้ง ๔ นี้แตกต่างกัน กล่าวคือ ในเรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ทรงเรียกว่า "ละครสลับลำ" เรื่องวิวาห์พระสมุทร ทรงเรียก "ละครพูดสลับลำ" เรื่องมิกาโด และวั่งตี่ ทรงเรียก "ละครสังคีต" การที่ทรงเรียกชื่อบทละครทั้ง ๔ เรื่องแตกต่างกันนั้น นายมนตรี ตราโมท และนายประจวบ บุรานนท์ ข้าราชสำนักใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีโอกาสร่วมในการแสดงละครของพระองค์ท่านให้ความเห็นตรงกันว่า เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง เรื่องวิวาห์พระสมุทร น่าจะเป็นเรื่องที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นก่อน ซึ่งขณะนั้นคงจะยังไม่ได้คิดเรียกชื่อละครประเภทนี้ว่า"ละครสังคีต" ต่อมาในระยะหลัง เมื่อทรงพระราชนิพนธ์เรื่องมิกาโด และเรื่องวั่งตี่ ทรงใช้คำว่า "ละครสังคีต" สำหรับเรียกชื่อละครประเภทหนึ่ง
-
ละครร้องสลับพูด ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง 2 ชั้น ในขณะที่ตัวละครร้องใช้ซออู้คลอตามเบา ๆ เรียกว่า “ร้องคลอ”
ละครร้องล้วน ๆ ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง 2 ชั้น ที่มีลำนำทำนองไพเราะ
-
-
ละครพูดเริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงละครพูดสมัครเล่นเป็นครั้งแรก เนื้อเรื่องละครพูดที่แสดงในสมัยนี้ ดัดแปลงมาจากบทละครรำที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพ.ศ. 2422 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ลิลิตนิทราชาคริต จบบริบูรณ์แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมาคม "แมจิกัลโซไซเอตี" โดยมีสมเด็จฯ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ เป็นนายกสมาคมจัดการแสดงละครเรื่องนี้ขึ้น ทรงเป็นผู้กำหนดตัวละครเอง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ เป็นอาบูหะซัน พระองค์เจ้าจิตรเจริญ คือ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เป็นตัวนางนอซาตอล
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคทองของละครพูด ประชาชนให้ความสนใจต่อละครประเภทนี้มาก เพราะเห็นว่าเป็นของแปลกและแสดงได้ง่าย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนละครพูดอย่างดียิ่ง ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดที่ดีเด่นเป็นจำนวนมาก และทรงร่วมในการแสดงด้วยหลายครั้ง ละครพูดเเบ่งได้ 2 ประเภท คือ ละครพูดล้วนๆเเละละครพูดสลับรำ
-
ละครร้องสลับพูด ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน ยกเว้นตัวตลกหรือจำอวดที่เรียกว่า “ตลกตามพระ” ซึ่งใช้ผู้ชายแสดง
ละครร้องล้วน ๆ ใช้ผู้ชาย และผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง
-
-
-
-
-
-
-