Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis), โรคงูสวัด (Herpes zoster) - Coggle Diagram
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
อาการที่พบบ่อย
ผิวหนังอักเสบกลายเป็นผื่นแดงขนาดใหญ่และมีขุยสีขาวคล้ายสีเงินอยู่บนผิวของปื้นแดง
ตำแหน่งที่พบผื่นผิวหนังส่วนใหญ่เป็นบริเวณผิวหนังที่มีการเสียดสี เช่น แขน ขา เข่า ศีรษะ ศอก
บางรายที่มีอาการรุนแรงมากจะมีผื่นแดงเกิดขึ้นทั่วทั้งตัว
บางรายเกิดเป็นตุ่มหนองกระจายทั่วตัว
นอกจากมีอาการผิดปกติที่ผิวหนังแล้ว ยังพบอาการผิดปกติที่อวัยวะอื่นๆ เช่น อาการข้ออักเสบ อาการผิดปกติของเล็บมือ เล็บเท้า ทำให้เล็บเป็นหลุม เล็บขรุขระ เล็บแยกตัวออกจากผิวหนัง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
ปัจจัยกระตุ้นจากภายนอก ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัสเอชไอวี
จากการเสียดสี กด แกะเกา บริเวณผิวหนังอาจกระตุ้นให้ผื่นเกิดขึ้นและลุกลาม
พันธุกรรม มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
ปัจจัยทางด้านร่างกายของผู้ป่วย เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โรคที่เกิดกับอวัยวะภายในต่างๆ
เช่น โรคตับ โรคไต สามารถกระตุ้นให้เกิดโรค
การรักษา
ใช้ยาทาประเภทคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น Betamethasone , Triamcinolone ทาเฉพาะรอยโรควันละ 2 ครั้ง เมื่อผื่นยุบก็หยุดยาได้
ยาแอนทราซิน (Anthralin) ช่วยลดการแบ่งตัวของเซลล์ ทำให้รอยโรคที่เป็นปื้นหนาลดลงซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ใช้ทาในระยะสั้น 10-30 นาทีแล้วล้างออก
โรคสะเก็ดเงินที่ไม่รุนแรง รักษาโดยแสงแดดธรรมชาติ หรือการฉายแสงอัลตราไวโอเลต
การใช้ยารับประทานและยาฉีด เช่น และยาเมทโทรเทรกเซท (Methotrexate) เป็น antimetabolite จะได้ผลดี ช่วยในการหยุดการกระตุ้นทีเซลล์
ซึ่งทีเซลล์เป็นตัวกระตุ้นให้มีการเติบโตของเซลล์ผิวหนังเร็วกว่าปกติ แต่ต้องระวังอาการแทรกซ้อนของยา ซึ่งมีพิษต่อไต ตับ และการสร้างเม็ดเลือด
การพยาบาล
ให้ข้อมูลการรักษาต่อเนื่องตามแผนการรักษา
การล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
แนะนำผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี เช่น ผงซักฟอก หลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บ และไม่ให้สัตว์เลี้ยงขีดข่วน
ปลอบใจ ให้กำลังใจ ถ้าผู้ป่วยกังวลเกี่ยวกับโรคและภาพลักษณ์
โรคงูสวัด (Herpes zoster)
เกิดจาก
มักพบในผู้ป่วยที่เคยเป็นอีสุกอีใส ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยที่รับประทานยาสเตียรอยด์เป็นประจำ หรือผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (varicella Zoster virus)
อาการและอาการแสดง
รู้สึกปวดแสบปวดร้อนมากที่ผิวหนัง ไม่มีไข้ อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ หลังจากนั้นประมาณ 2-3 วัน
จะมีผื่นขึ้นบริเวณที่ปวด และเป็นตุ่มน้ำใสประมาณ 5 วัน ต่อมาจะตกสะเก็ดแห้ง บางครั้งตุ่มใสจะกลายเป็นตุ่มหนอง ผื่นจะตกสะเก็ดและหายไปใน 2-3 สัปดาห์
คันที่ผิวหนัง ต่อมาอีก 1-5 วันจะมีผื่นแดงอยู่เป็นกลุ่ม เป็นตุ่มน้ำใส มักจะขึ้นอยู่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ตามเส้นประสาทที่เป็นโรค
ตุ่มน้ำใสจะคงอยู่ประมาณ 5 วัน หลังจากนั้นผื่นจะตกสะเก็ดและหายไปใน 2-3 สัปดาห์
การรักษาและการปฏิบัติตัว
รีบไปพบแพทย์เพื่อรับยาต้านเชื้อไวรัส เช่น อะไซโคลเวีย (Acyclovir : Zovirax) ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ
ยาจะช่วยลดอาการปวด อาการรุนแรง ภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้อาการทุเลาเร็วขึ้น ควรรับประทานยาต่อเนื่อง 5-7 วัน
รับประทานยาลดปวด เช่น paracetamal
ตัดเล็บให้สั้น ไม่แกะหรือเกา
ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรพ่นหรือพอกบริเวณตุ่มน้ำ เพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรีย
ตำแหน่งที่เป็นผื่นโรคงูสวัดที่พบได้บ่อย
ตามแนวเส้นประสาทไขสันหลัง ระหว่างรากประสาททรวงอกเส้นที่3ถึงระดับเอวข้อที่ 3 (spinal root ระหว่าง T3 and L3)
ตามแนวเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 อาจจะทำให้ตาสู้แสงจ้าไม่ได้ อาจเกิดตาบอดเรียก Zoster ophthalmicus
ตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำให้มีอาการปากเบี้ยวครึ่งซีกเรียก Ramsay Hunt syndrome