Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชน - Coggle Diagram
กระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชน
การประเมินสภาวะอนามัยชุมชน ( Assessment )
การดำเนินงานแก้ไขปัญหาและความต้องการในชุมชนต้องทำเป็นขั้นตอนและมีความต่อเนื่องเป็นแบบพลวัตร (Dynamic)
เก็บข้อมูลได้ถูกต้องและครบถ้วน
การรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน
1) ข้อมูลประชากรศาสตร์
แฟ้มประวัติครอบครัว
บ้านเลขที่ ที่อยู่ รายชื่อ คนในทะเบียนบ้าน ความสัมพันธ์วันเดือนปีเกิด เพศ อายุศาสนาสถานภาพสมรส จำนวนประชากร การ เจ็บป่วยในรอบปีข้อมูลผู้ย้ายเข้า/ย้ายออก ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม และความเชื่อต่างๆ
2) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม
อาชีพ รายได้ระดับการศึกษา
ลักษณะการทำงานและปัจจัยเสี่ยงของผู้ประกอบอาชีพในชุมชน
ลักษณะของงานที่ทำ ระยะเวลาที่ทำงาน และสถานที่ทำงานในแต่ละกิจกรรม ปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน ด้านกายภาพ (แสง เสียง ความร้อน การสั่นสะเทือน) ด้านชีวภาพ (เชื้อโรคใน สัตว์ต่าง ๆ) ด้านสารเคมี (ฝุ่นละออง หมอก ควัน) ด้านการยศาสตร์และจิตสังคม (ลักษณะท่าทางการ ทำงานที่ไม่เหมาะสม การทำงานซ้ำ ๆ การใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม ความเครียด) การได้รับอุบัติเหตุจาก การทำงาน
วิถีชีวิตการดำเนินกิจกรรมของชุมชน
องค์กรต่าง ๆ ในชุมชน และผู้นำชุมชน
การคมนาคม
3) ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ (Life style)
อนามัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับสถานบริการสาธารณสุข
พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรค ประวัติการแพ้ยา(ระบุอาการ)
การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง การดื่มเหล้า การออกกำลังกาย
ถ้ากรณีมีโรคประจำตัว ควรถามเรื่องอาหารที่ควรรับประทาน/หลีกเลี่ยง การใช้ยา (ระบุชื่อยา)
การคัดกรอง
สตรีที่มีอายุ35 ปีขึ้นไป
คัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก
4) ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติชีพและอนามัย
แบบสำรวจข้อมูลชุมชม (ถามผู้นำชุมชน)
เด็กเกิดมีชีวิตเด็กตายคลอดเด็กที่มีอายุต่ำกว่า1 ปีเสียชีวิต/สาเหตุหรือมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่เด็กเสียชีวิตจากสาเหตุ
การเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ
ความผู้พิการหรือทุพพลภาพ
ตรวจการมีบัตรผู้พิการ
การคุมกำเนิด
หญิงวัยเจริญพันธ์ (อายุ15-44 ปี) ที่มีสถานภาพคู่และหญิง
ตั้งครรภ
การได้รับภูมิคุ้มกัน
แบบบันทึกสุขภาพเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
(เล่มสีชมพู)
หลักประกันทางด้านสุขภาพ
สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
สิทธิประกันสังคม
สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือสิทธิบัตรทอง
สถานบริการสาธารณสุขทั้งของรัฐ และเอกชนที่มีอยู่ในชุมชน
หรือใกล้เคียง
เจตคติของประชาชนต่อบริการสาธารณสุข
ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน (ถามคนในบ้าน)
น้ำที่ใช้อุปโภค
ส้วมใช้ถูกหลักสุขาภิบาลหรือไม
สัตว์เลี้ยงบริเวณบ้าน และใต้ถุน หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นสัตว์ชนิดใด
จำนวน/ตัว ฉีดวัคซีน/ตัว
ที่รองรับขยะประจำบ้าน วิธีการกำจัดขยะ
ที่อยู่อาศัยคงทน การจัดบริเวณบ้านและภายในบ้าน มีอากาศถ่ายเท
มีแสงสว่าง สะอาดเป็นระเบียบ
การกำจัดน้ำเสีย
พาหะนำโรค (หนู, แมลงสาบ, แมลงวัน)
ภาชนะทุกชนิดที่บรรจุน้ำพบ/ไม่พบ ลูกน้ำ
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพชุมชน
เครื่องมือทางระบาดวิทยา (Epidermiology)
อัตรา (Rate) เปรียบเทียบความถี่ของการเจ็บป่วย
สัดส่วน (Proportion) เปรียบเทียบระหว่างตัวตั้งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตัวหารสถิติและดัชนีทางวิทยาการระบาด
Incidence Rate, Prevalence Rate, Blobidity Rate,
Mortality Rate, Crude Birth Rate
อัตราส่วน (Ratio) เปรียบเทียบค่าของตัวเลขจํานวนหนึ่งกับอีกจํานวนหนึ่ง
เครื่องมือประเมินชุมชนโดยใช้ครอบครัวเป็นฐาน
แฟ้มสุขภาพครอบครัว (Family folder)
ลักษณะเป็นข้อมูลทุติยภูมิ
(แผนที่, ผังเครือญาติ, ชีวประวัติและข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม)
แบบสํารวจความจําเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
มาตรฐานขั้นต่ำที่คนในครัวเรือนจําเป็นต้องมีเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับที่ยอมรับได้
เครื่องมือการวัดพฤติกรรมสุขภาพ (KAP Survey)
แบบสํารวจทางการปฏิบัติ
แบบสํารวจทัศนคติ
แบบสอบถามความรู้ทาง
สุขภาพ
เครื่องมือการสํารวจแบบเร่งด่วน (Rapid Survey)
การสำรวจปัญหาในพื้นที่เป้าหมายที่
เร่งด่วน
เครื่องมือทางมนุษยวิทยา เครื่องมือ 7 ชิ้นในการเรียนรู้ชุมชน
แผนที่ในงานอนามัยชุมชน
าเพื่อประเมินชุมชนจำเป็นจะต้องมีการสำรวจพื้นที่โดยรอบการทำแผนที่ชุมชนเป็น วิธีการหนึ่งที่ทำให้ภาพการตั้งของที่อยู่อาศัยการกระจายของบ้านเรือนแหล่งน้ำแหล่งทรัพยากรเส้นทาง คมนาคมสถานที่สำคัญและแหล่งประโยชน์ในชุมชนเช่นสถานศึกษาสถานบริการสุขภาพหน่วยงานต่าง ๆ
ผังเครือญาติ(Genogram)
ทําให้เข้าใจเรื่องราวในหมู่เครือญาติ ะความสัมพันธ์ของคนในชุมชน
สามารถบอกโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบได้ในชุมชน
ควรทําอย่างน้อย 3 รุ่น (Generations) และครอบคลุมจํานวนสมาชิก บทบาทและสัมพันธภาพในครอบครัว
ระบบสุขภาพชุมชน
ระบบแพทย์ชุมชน
สิ่งศักดิสิทธิ์ผียาสมุนไพร
เป่าน้ำมนต์ นวดประคบน้ำมัน
ระบบแพทย์พื้นบ้าน (Folk sector)
คลินิกรพ.สต. โรงพยาบาลชุมชน
โรงพยาบาลจังหวัดร้านขายยา
ระบบแพทย์สมัยใหม่ (Professional sector)
อาหารยาสามัญประจำบ้าน ยาพื้นบ้าน
ยาสมุนไพรยาชุด
ปฏิทินชุมชน
ตารางกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนในแต่ละช่วงเวลา
ประวัติศาสตร์ชุมชน
เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาของชุมชนในช่วงเวลาหนึ่ง บอกเล่าจากความทรงจำ จากมุมมอง ของชุมชนเอง
ตำนาน สถานที่บันทึก ขนบธรรมเนียม พิธีกรรม แบบแผน พฤติกรรม แบบแผนการปฏิบัติต่าง ๆ ของชุมชน
ประวัติชีวิต
แง่มุมต่าง ๆ ของชีวิต ที่ถ่ายทอดผ่านเรื่องเล่า
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ( Population) หมายถึง ประชากรคนทุกหน่วยที่อาศัย อยู่ในบริเวณเดียวกัน วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่คล้ายกัน มีความสัมพันธ์กันในวิถีชีวิตประจำวัน ใช้แหล่งบริการสาธารณประโยชน์ร่วมกัน
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง ส่วนหนึ่งของประชากรที่ผู้วินิจฉัยชุมชนเลือกขึ้นมาเป็นตัวแทนในการศึกษา
มีขนาดพอเหมาะ
มีลักษณะตรงกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย
มีลักษณะเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร
ได้จากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการที่เหมาะสม
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบสอบถาม
แบบสอบถามปลายเปิด (Open ended questions)
แบบสอบถามปลายปิด (Closed end or Alternative question)
แบบทดสอบ
เป็นเครื่องมือที่วัดสมรรถภาพทางสมอง
แบบสอบปากเปล่า (Oral test)
แบบลงมือปฏิบัติ(Performance test)
แบบเขียนตอบ (Paper-pencil test)
แบบทดสอบเจตคติ
เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล
การสัมภาษณ์ (Interview)
การสังเกต (Observation)
การศึกษารายกรณี(Case study)
การแปลผลการวิเคราะห์(Interpretation)
การวินิจฉัยชุมชน
ดัชนีอนามัยเกี่ยวกับการเจ็บป่วย
อุบัติการณ์ของโรค (Incidence)
อัตราอุบัติการณ์ของโรค (Incidence rate)
(จํานวนผู้ป่วยใหม่ที่เกิดขึ้นในระหว่างปีx 1,000) / ประชากรที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือประชากรกลางปี
ค่า K คือ ค่าคงที่ของหน่วยประชากร อาจเป็น 100, 1000, 10,000
ความชุกของโรค (Prevalence)
จํานวนผู้ป่วยทั้งหมดที่มีอยู่ทั้งเก่าและใหม่ในประชากรที่จุดเวลา
ที่กําหนด หรือช่วงระยะเวลาที่กําหนด
อัตราความชุกของโรคที่จุดเวลาที่กําหนด (Point prevalence rate)
จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่มีอยู่ในช่วงระยะเวลาที่กําหนด x 1000 (ค่าคงที่) / จํานวนประชากรเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาที่กําหนด
อัตราความชุกของโรคในช่วงระยะเวลาที่กําหนด (Period prevalence rate)
จํานวนผู้ป่วยทั้งหมดที่มีอยู่ที่จุดเวลาที่กําหนด x 1000 / จํานวนประชากรทั้งหมดที่จุดเวลานั้น
หากมีการให้บริการดีจํานวนผู้ป่วยทั้งเก่าและใหม่ก็จะลดน้อยลง
ค่าอัตราความชุกของโรคก็มีค่าน้อย
อัตราป่วย (Morbidity rate)
อัตราป่วยระลอกแรก (Primary attack rate)
จํานวนผู้ป่วยระลอกแรก X100 หรือ 1,000 / จํานวนประชากรที่มีภูมิไวรับ
อัตราป่วยระลอกสอง (Secondary attack rate)
จํานวนผู้ป่วยใหม่ทั้งหมด-จํานวนผู้ป่วยระลอกแรก x 100 หรือ1,000 / จํานวนประชากรที่มีภูมิไวรับ- จํานวนผู้ป่วยระลอกแรก
จํานวนผู้ป่วยระลอกสอง X 1000 / จํานวนประชากรที่มีภูมิไวรับ- จํานวนผู้ป่วยระลอกแรก
ดัชนีอนามัยเกี่ยวกับการตาย
อัตราป่วยตาย (Case fatality rate)
จํานวนผู้ป่วยตายด้วยโรคหนึ่งในช่วงเวลาที่กําหนด x 1,000 /
จํานวนผู้ป่วยด้วยโรคนั้นทั้งหมดในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
อัตราเด็กเกิดไร้ชีพ (Fetal death rate)
จํานวนเด็กเกิดไร้ชีพในระหว่างปีx 1,000 / จํานวนเด็กเกิดมีชีพและเด็กเกิดไร้ชีพในปีเดียวกัน
อัตราตายจําเพาะ (Specific death rate)
อัตราตายจําเพาะตามอายุ (age specific death rate)
จํานวนคนตายในกลุ่มอายุที่กำหนดในระหว่างปีx 1000 /
จำนวนประชากรกลางปีในกลุ่มอายุที่กำหนดในปีเดียวกัน
อัตราตายจําเพาะเหตุ (cause specific death rate)
จํานวนคนตายด้วยสาเหตุที่กำหนดในระหว่างปีx 1000 / จำนวนประชากรกลางปีในปีเดียวกัน
อัตราตายก่อนและหลังคลอด (Perinatal death rate)
((จํานวนเด็กเกิดไร้ชีพที่มีอายุครรภ์> 28 สัปดาห์)+ (จํานวนทารกตายก่อนอายุครบ 7 วัน x 1,000)) / จํานวนเด็กเกิดมีชีพและเด็กเกิดไร้ชีพที่มีอายุครรภ์> 28 สัปดาห์ของปีเดียวกัน
อัตราตายอย่างหยาบ (Crude death rate)
จํานวนคนตายทั้งหมดในระหว่างปีx 1,000 / จํานวนประชากรกลางปีในปีเดียวกัน
อัตราตายของทารก (Infant mortality rate)
จํานวนทารกตายในอายุต่ํากว่า 1 ปีx 1,000 / จํานวนเด็กเกิดมีชีพในปีเดียวกัน