Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหอบหืด (Asthma) - Coggle Diagram
โรคหอบหืด (Asthma)
อาการและอาการแสดง
-
-
-
-
ภาวะวิกฤติที่พบในโรคหืด เรียกว่า Status asthmaticus หรือ asthmatic attack คืออาการจับหืดที่รุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาขยายหลอดลม ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลว จะต้องให้การดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ
ประวัติ อาการไอ หอบ หายใจมี เสียงวี๊ด ซึ่งจะเป็นๆ หาย ๆ ผู้ป่วยบางคนสามารถบอกถึงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการได้ชัดเจน เช่น มีอาการหลังจากเจอฝุ่นละออง ประวัติโรคภูมิแพ้ ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
การตรวจร่างกาย
ในขณะที่ผู้ป่วยไม่มีการกำเริบของโรค หรือไม่มีอาการหอบ อาจตรวจร่างกายปกติ ฟังปอดได้ยินเสียง wheeze ที่มีลักษณะสำคัญ คือได้ยินเสียง expiratory wheezing ทั้งสองข้าง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ได้แก่ การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่อง spirometer เพื่อวินิจฉัยโรค โดยการทดสอบการตอบสนองต่อยาขยายหลอดลม (reversibility test)
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
- Extrinsic asthma (Allergic asthma)
เกิดจากการสารก่อภูมิแพ้ (allergen) แบ่งเป็นกลุ่ม สารก่อภูมิแพ้ในอาคาร เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ สัตว์เลี้ยง สปอร์เชื้อรา และกลุ่มสารก่อภูมิแพ้นอกอาคาร เช่น เกสรหญ้า วัชพืช สปอร์เชื้อรา
- Intrinsic asthma (non-allergic asthma)
2.1 การติดเชื้อทางเตินหายใจส่วนบน เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบว่าการติดเชื้อไวรัสสามารถทำให้หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นเพิ่มขึ้นได้นานถึง 6 สัปดาห์
2.2 การออกกำลังกาย
2.3 สารระคายเคือง เช่น น้ำหอม กลิ่นสี ทินเน่อร์ น้ำยาหรือสารเคมี
2.4 ยาที่สำคัญที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยหอบ ได้แก่ ยากลุ่ม NSAID aspirin และ B-blocker
2.5 อารมณ์เครียด ความกลัว โกรธ ตื่นเต้นทำให้เกิดการหายใจเร็ว
2.6 การเปลี่ยนแปลงของอากาศ
2.7 โรคที่พบร่วมได้บ่อยและทำให้ควบคุมอาการหืดได้ไม่ดี หรือมีอาการ กำเริบบ่อย ๆ
การรักษา
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
แนะนำวิธีหลีกเลี่ยงหรือขจัดสิ่งต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น การจัดระบบถ่ายเทอากาศที่ดี จัดให้มีแสงแดดส่องอย่างทั่วถึง หลีกเลี่ยงการใช้พรม นุ่น หรือมีสัตว์เลี้ยงในห้อง การใช้เครื่องปรับอากาศและเครื่องกรอง อากาศให้บริสุทธิ์ อาจช่วยลดมลพิษ และปริมาณสารภูมิแพ้ในอากาศลงได้
การรักษาด้วยยา
-
ยาบรรเทาอาการ (reliever)
ใช้เพื่อบรรเทาอาการหอบ จะใช้ยากลุ่มนี้เฉพาะเมื่อมีอาการ ได้แก่ ยาพ่นขยายหลอดลมชนิดเบต้า 2 (Beta2-agonists) มีผลให้กล้ามเนื้อเรียบในหลอดลมคลายตัว
พยาธิสภาพ
การที่ทางเดินหายใจไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ เมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้จากภายนอก (airway hyperresponsiveness) ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมและการอักเสบ
การพยาบาล
- ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดลม อย่างครบถ้วน ตรงเวลา พร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยา
- จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนพัก ลดกิจกรรม และจัดท่านอนศีรษะสูงเพื่อให้สามารถหายใจได้อย่างสะดวก
- สร้างสัมพันธภาพที่ดี แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ เรื่องโรค เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับตนเองเพื่อควบคุมอาการของโรคได้
- จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยสามารถพักได้ ปลอบโยนให้กำลังใจ ให้คลายวิตกกังวล จัดกิจกรรมการพยาบาลที่ไม่รบกวนผู้ป่วยมากเกินไป ลดสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นผู้ป่วย
- ช่วยเหลือการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือไม่พูดคุยในสิ่งที่ไม่จำ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยออกแรงและเหนื่อยเกินไป
- ประเมินอัตราเร็ว ลักษณะของการหายใจ ชีพจร ฟังสียงปอด วัดสัญญาณชีพอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- สังเกตอาการและอาการแสดงของการขาดออกซิเจน หรือ การหายใจไม่เพียงพอขณะที่
หอบ สอนให้ผู้ป่วยหายใจออกโดยเป่าลมออกทางปากช้า ๆ
- ป้องกันไม่ผู้ป่วยร้อนหรือหนาวเกินไป เพราะจะกระตุ้นให้มีอาการหายใจเหนื่อยหอบ
- ให้ความรู้เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้ สอนการใช้ยาที่ถูกวิธี หลีกเลี่ยงการสัมผัสการกระตุ้นที่ทำให้เกิดภูมิแพ้
- สอนญาติหรือผู้ป่วยให้สามารถจัดการกับอาการกำเริบ การดูแลเบื้องต้น คือ ให้ยาบรรเทาอาการชนิดสูดพ่นที่ออกฤทธิ์เร็วทุก 20 -30นาที หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบมาพบแพทย์ ไม่ต้องรอตามแพทย์นัด
เกิดจากเพิ่มการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ โดยการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหลั่งมูกมาก และเมื่อเยื่อบุหลอดลมบวม หายใจออกลำบากกว่าหายใจเข้า ทำให้ขณะหายใจออกต้องใช้แรงมากขึ้น