Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การหายใจ (ภาวะการหายใจล้มเหลว) :<3:, นางสาวนันทภัค กัลศักดิ์ปภา …
การหายใจ (ภาวะการหายใจล้มเหลว) :<3:
พยาธิการหายใจ :red_flag:
กระบวนการนำออกซิเจนเข้าสู่ปอด ซึมผ่านไปยังเลือดที่ไหลเวียนอยู่ในหลอดเลือดขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วปอดและนำไปสู่เซลล์ทั่วร่างกาย เพื่อแลกเปลี่ยนกับคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นของเสียจาก cellular metabolism
กลไกการหายใจ
การระบายอากาศ (Ventilation)
การแลกเปลี่ยนก๊าซ (Diffusion)
การไหลเวียนเลือดที่ปอด (Perfusion)
การบริโภคออกซิเจน (Oxygen consumption)
พยาธิภาวะการหายใจล้มเหลว : :red_flag:
ภาวะที่ระบบหายใจไม่สามารถทำหน้าที่ระบายอากาศ และ/ หรือแลกเปลี่ยนก๊าซให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จนเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด หรือไม่สามารถป้องกันการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดได้แม้อยู่ในขณะพัก
ชนิดการหายใจล้มเหลว :red_flag:
Respiratoty failure type I
การหายใจล้มเหลวที่เกิดจากความผิดปกติของการแลกเปลี่ยนก๊าซ (Lung failure) ทำให้ออกซิเจนในเลือดแดงลดลง (Hypoxemia)
โดยค่า SpO2 < 90
% ในขณะที่หายใจในอากาศปกติ (breathing room air )
PaO2 < 60 mmHg PaCO2 < 45 mmHg
สาเหตุ
การระบายอากาศไม่ได้สัดส่วนกับเลือดที่ผ่านถุงลม
ทำให้การระบายอากาศบกพร่อง
การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่อง
เกิดเลือดไหลลัดทางจากขวาไปซ้ายไป โดยไม่ผ่านถุงลม
เลือดจึงไม่ได้รับออกซิเจน หรือหลอดลมส่วนปลายปิดเร็วเกินไป
Respiratoty failure type 2
การหายใจล้มเหลวที่เกิดจากการระบายอากาศล้มเหลว
(Ventilatory failure)
พบค่า SpO2 < 90 % ในขณะที่หายใจในอากาศปกติ (breathing room air ) มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด (Hypercapnia) พบค่า PaCO2 > 45 mmHg PaO2 < 60mmHg
สาเหตุ
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ และประสาท
โรคของระบบประสาทส่วนกลาง มีผลกดศูนย์หายใจ
ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ระดับคอระดับที่ 3-4 มีผลต่อเส้นประสาทกะบังลมและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อโปลิโอ
ประสาทส่วนปลายอักเสบ
รอยต่อประสาทกับกล้ามเนื้อผิดปกติ
กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจผิดปกติ
ปัญหาของผนังทรวงอกผิดปกติ
ได้รับบาดเจ็บที่ทรวงอกเกิด Flail chest หรือกระดูกซี่โครงหัก
ได้รับการผ่าตัดช่องทรวงอก
กระดูกสันหลังผิดปกติ
มีลมหรือน้ำเบียดช่องเยื่อหุ้มปอดหรือ ช่องท้อง
คนที่อ้วนมาก ๆ
การพยาบาล :red_flag:
ให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอและ
มีการระบายอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
การป้องกันภาวะความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำ
ลดการใช้ออกซิเจนของผู้ป่วยโดยให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
ทำกิจกรรมที่จำเป็นและพร้อมกันในคราวเดียวกันถ้าไม่มีข้อห้าม ช่วยเพิ่มออกซิเจน
ให้ยา sedation เพื่อ
ควบคุมความวิตกกังวล ควบคุมอาการไข้ monitor desaturation ด้วย pulse oximeter
เพื่อสังเกตอาการเตือนก่อนที่จะมีdesaturation
Desaturation ภาวะความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำ โดย SpO2 < 90% เป็นระยะเวลานาน ≥ 3 นาที
ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
การดูแลให้ร่างกายได้รับสารน้ำอย่างอย่างเพียงพอ การให้ความชื้นในออกซิเจน
การกระตุ้นให้ไอและดูดเสมหะ
การจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ
การจัดท่า
จัดท่านอนให้ปอด
ด้านที่ดีอยู่ด้านล่าง (healthy lung down)
ให้เลือดเพื่อเพิ่ม O2
carrying capacity
การให้สารน้ำและยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจเพื่อเพิ่มcardiac output
ดูแลให้ได้รับความสุขสบายด้านร่างกายและอารมณ์
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว
หาสาเหตุและ ประวัติ ถ้าการหายใจช้า และมีประวัติได้รับยากด ประสาท ประวัติการเกิดอุบัติเหตุหรือโรคที่ทำให้สมองบวม กดศูนย์ หายใจ หรือมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ และแก้ไขตามสาเหตุ
อาการเเละอาการเเสดง :red_flag:
ภาวะ hypoxemia
อาการมักเกิดขึ้นเมื่อ PaO2
<40-50 mmHg
อวัยวะที่ไวต่อภาวะ hypoxemia
สมอง หัวใจ และปอดจึงตอบสนองออกมาให้
เห็นอาการระบบประสาทเปลี่ยนแปลง
กระสับกระส่าย กระวนกระวายการรับรู้ต่อสถานที่เวลาและบุคคลเปลี่ยนไป สับสน คิดตัดสินใจผิด เพ้อจนถึงไม่รู้สึกตัว
หัวใจตอบสนองต่อภาวะ hypoxemia ในระยะแรก
ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิต
เพิ่มขึ้น cardiac output เพิ่มขึ้น และเมื่อภาวะ hypoxemia ยังมีอยู่นาน ชีพจรจะเต้นช้าลงและทำให้หัว
ใจเต้นผิดปกติตามมา
การหายใจ
โดยการหายใจเร็วขึ้น และหายใจเหนื่อย
หอบมากขึ้น และระยะท้ายจะหายใจช้าลง แต่ในผู้ป่วยที่ hypoxemia จากศูนย์ควบคุมการหายใจถูกกด
ภาวะ hypercapnia
มีภาวะการหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลันที่เกิดจากการระบายอากาศไม่พียงพอ หรือมีความไม่สมดุลของการระบายอากาศและการไหลเวียน ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง
ระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ
เนื่องจากคาร์บอนได
ออกไซด์ที่สูงขึ้นจะไปกดประสาทส่วนกลางทำให้ผู้ป่วยซึมลง
ยังทำให้หลอด
เลือดที่สมองขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนเลือดที่สมองและความดันในสมองเพิ่มขึ้น
ปวดศีรษะ มึนงง นอนหลับมาก กล้ามเนื้ อสั่นผิดปกติ เหงื่อออก ตรวจจอตาพบ Papilledema ซึมมากขึ้น จนถึงไม่รู้สึกตัว
ยังทำให้ pH ของเลือดลดลงเกิดกรดจากการหายใจ
(Respiratory acidosis) อย่างเฉียบพลัน
ไตไม่สามารถชดเชยโดยการดูดกลับไบคาร์บอเนต ไว้ทัน pHไม่สามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
จึงมีภาวะกรดจากการหายใจรุนแรง
นอกจากนี้ยังทำให้หลอดเลือดขยายตัวทำให้ มีผิวกายแดง ร้อนวูบวาบ
นางสาวนันทภัค กัลศักดิ์ปภา
เลขที่ 36 ห้อง 3A
รหัสนักศึกษา 62123301064