Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นางสาวบุศรา สินภักดี ปี 3 ห้อง 1 กลุ่ม 1 เลขที่ 41, Nutritional Status…
นางสาวบุศรา สินภักดี
ปี 3 ห้อง 1 กลุ่ม 1 เลขที่ 41
Nutritional Status among a Sample of Saudi College Students
หลักการและเหตุผล
กล่าวถึงเรื่องอาหาร ข้อดีของอาหาร และกล่าวถึงปัจจัยการเลือกบริโภคอาหาร
กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของพติกรรมการบริโภคอาหารที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดโรค NCDs
กล่าวถึงกลุ่มนักศึกษาที่ต้องการศึกษา และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม
จึงสนใจทำวิจัยนี้
เพื่อวางแผนในการส่งเสริมสุขภาพ
เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา
เสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีตามศักยภาพ
อ้างอิงสถิติโรค NCDs ปี 2557
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาระดับความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม
เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรม การบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
การบริโภคอาหาร
การบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ
เครื่องมือ
แบบสอบถามเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของนิสิต ประกอบด้วย เพศ อายุ สาขาวิชาที่เรียน ชั้นปีการศึกษา รายได้ ที่พักอาศัย ค่าเฉลี่ย BMI แหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ การบริโภคอาหารเสริม โดยเลือก คําตอบจากตัวเลือก (Check List)
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ จํานวน 10 ข้อ
เกณฑ์การให้คะแนน
ตอบถูก = 1 คะแนน
ตอบผิด = 0 คะแนน
การแปลความหมายแบบวัดความรู้ด้านโภชนาการจะมี 3 ระดับ ตามเกณฑ์การประเมิน โดยอ้างอิงจากการประเมินแบบอิงเกณฑ์ของ Bloom, (1971) ระดับความรู้ ร้อยละ (ของคะแนนเต็ม)
ระดับความรู้สูง >80
ระดับความรู้ปานกลาง 60-79
ระดับความรู้ต่ํา <60
ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเจตคติต่อการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ โดยแบ่งการให้คะแนนเป็น 5 ระดับ ได้แก่ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เกณฑ์การให้คะแนนแบบวัดเจตคติ ต่อการบริโภคอาหาร ได้กําหนดเป็น 5 ระดับ
เกณฑ์การให้คะแนน
เห็นด้วยอย่างยิ่ง = 5 เห็นด้วย = 4
ไม่แน่ใจ = 3
ไม่เห็นด้วย = 2 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง = 1
การแปลความหมายแบบวัดเจตคติในการบริโภคอาหาร มี 3 ระดับ ดังต่อไปนี้ (Best, 1977)
คะแนน 3.67–5.00 หมายถึง เจตคติดี
คะแนน 2.34–3.66 หมายถึง เจตคติปานกลาง
คะแนน 1.00–2.33 หมายถึง เจตคติต่ำ
ส่วนที่ 4 แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ ลักษณะของแบบสอบถาม
เป็นมาตราส่วน ประมาณค่า มี 3 ระดับ
ปฏิบัติเป็นประจํา = 3 ,ปฏิบัติเป็นบางครั้ง = 2, ไม่เคยปฏิบัติเลย = 1
การแปลความหมายคะแนนโดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
คะแนน 2.34–3.00 หมายถึง มีพฤติกรรมบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี
คะแนน 1.67–2.33 หมายถึง มีพฤติกรรมบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง
คะแนน 1.00–1.66 หมายถึง มีพฤติกรรมบริโภคอาหารอยู่ในระดับควรปรับปรุง
ข้อเสนอแนะ : ไม่มี
การวิเคราะห์ข้อมูล
t-test การวิเคราะห์
สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
การวิเคราะห์
ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
กลุ่มตัวอย่าง
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จํานวน290 คน
การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง
โดยใช้การคํานวณ ขนาดตัวอย่างจากสูตร Taro Yamane, (1973) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ
(Stratified Sampling) โดยมีเกณฑ์คัดเข้า คือ เป็นนักศึกษาที่กําลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1–4 และยินยอมเข้าร่วม
โครงการวิจัยด้วยความสมัครใจ
กรอบแนวคิด
ตัวแปรตาม
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ตัวแปรต้น
ปัจจัยส่วนบุคคล
1.เพศ
อายุ
สาขาวิชาที่เรียน
รายได้
ลักษณะที่พักอาศัย
ค่าเฉลี่ย BMI
แหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ
การบริโภคอาหารเสริม
ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร
เจตคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร
สรุปผลวิจัย
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงทั้งหมด 242 คน (ร้อยละ 83.4) และเพศชาย 48 คน (ร้อยละ16.6) นักศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในสาขาวิชาแพทย์แผนไทยประยุกต์ จํานวน 100 คน (ร้อยละ 34.48) รองลงมาคือ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ จํานวน 103 คน (ร้อยละ 35.5) และโดยส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท/เดือน จํานวน 186 คน (ร้อยละ 64.1) รองลงมามีรายได้ต่ํากว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท/เดือน จํานวน 103 คน (ร้อยละ 35.5) ลักษณะที่พักอาศัยในระหว่างที่กําลังศึกษา ส่วนใหญ่เช่าหอพักในมหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ88.6 ค่าดัชนีมวลกายส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกาย อยู่ในช่วง 18.50–22.90 คิดเป็นร้อยละ 55.2 การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหาร ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการจากอินเตอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 51.0 การรับประทานอาหารเสริม ส่วนใหญ่ไม่รับประทานอาหารเสริม คิดเป็นร้อยละ 84.5
ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารของของนักศึกษา พบว่า โดยรวมนักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับสูง มีความรู้อยู่ในระดับสูงมากที่สุด (ร้อยละ 87.2) รองลงมาคือ มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 11.8) และมีความรู้ระดับต่ํา (ร้อยละ 1.0)
เจตคติเกี่ยวการการบริโภคอาหารเจตคติเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา ในภาพรวมระดับเจตคติอยู่ในระดับปานกลาง (X=3.20, S.D.=0.118)
ระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X=2.18, S.D.=0.54)
การเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาพบว่า เพศ สาขาวิชาที่เรียน รายได้ ที่พักอาศัย ดัชนีมวลกาย ที่แตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่แตกต่างกัน ส่วนแหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหารแลโภชนาการ การรับประทานอาหารเสริมที่แตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05