Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้รับบริการ เพศหญิง อายุ 13 ปี ท่าทางอ่อนเพลีย สีหน้าเรียบเฉย
CC…
ผู้รับบริการ เพศหญิง อายุ 13 ปี ท่าทางอ่อนเพลีย สีหน้าเรียบเฉย
CC:ปวดศีรษะ เลือดกำเดาไหล ก่อนมา 1 วัน
PI: 2 วันก่อนมา มีอาการปวดศีรษะ เหนื่อย ใจสั่น ร่วมกับแขนขาอ่อนแรงซีกซ้าย และมีอาการปวดท้อง ปวดแบบ จี๊ดๆ บริเวณใต้สะดือ รับประทานยา paracetamol 500 mg 1 tab และรับยาธาตุน้ำขาว หลังรับประทานยาอาการไม่ทุเลา 1 วันก่อนมา มีอาการปวดศีรษะมากขึ้น ร่วมกับมีเลือดกำเดาไหล และมีอาการปวดท้องแบบจี๊ดๆ บริเวณใต้สะดือ จึงได้มาพบแพทย์
ระบบประสาท
Tension headache
สาเหตุ : เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและใบหน้า สันนิษฐานว่าเกิดจากการกระตุ้นของสิ่งเร้าที่กล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณรอบกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทเกิดขึ้นตรงประสาทส่วนกลาง แล้วส่งผลกลับมาที่เนื้อเยื่อรอบกะโหลกศีรษะ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว หรือมีการเปลี่ยนแปลงของสารส่งผ่านประสาท ในเนื้อเยื่อดังกล่าว ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ส่วนใหญ่มักพบว่ามีสาเหตุกระตุ้น ได้แก่ ความเครียด หิว อดนอน ตาล้าหรือเพลีย นอกจากนี้ยังอาจพบร่วมกับโรคไมเกรน โรควิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์หรือการปรับตัว
-
สรุป : ผู้รับบริการไม่ใช่โรคนี้ เนื่องจากผู้รับบริการมีอาการปวดศีรษะแบบจี๊ดๆ ปวดตลอดเวลา และจากการตรวจร่างกายไม่พบ การกดเจ็บบริเวณรอบๆศีรษะ ท้ายทอย หลังคอ หรือไหล่
Migraine
สาเหตุ : เกิดอาการมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของสมอง ทั้งในส่วนเปลือกสมอง และก้านสมอง ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ได้แก่ ซีโรโทนิน โดพามีน และสารเคมีกลุ่มอื่นๆ ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเส้นใยประสาทสมองเส้นที่ 5
อาการ : ปวดศีรษะ ลักษณะปวดแบบตุบๆ เข้ากับจังหวะการเต้นของหัวใจ ปวดที่ขมับช้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจปวดทั้ง 2 ข้าง บางรายอาจร้าวมาที่กระบอกตา มีอาการเห็นแสงวูบวาบเตือนก่อน (migraine with aura) ถ้ามีอาการติดต่อกันนานกว่า 72 ชั่วโมง เรียกว่า status migraine
สรุป : ผู้รับบริการไม่ใช่โรคนี้ เนื่องจากผู้รับบริการมีอาการปวดศีรษะ ลักษณะปวดแบบตุบๆ แต่ไม่เข้ากับจังหวะการเต้นของหัวใจ ตรวจร่างกายคลำไม่ได้หลอดเลือดที่บริเวณขมับโป่งพอง และไม่มีอาการเห็นภาพซ้อน
Brain tumor
สาเหตุ : ยังไม่ทราบสาเหตุว่า เกิดจากอะไร เชื่อว่าอาจเกี่ยวกับปัจจัยทางกรรมพันธุ์แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน
อาการ : อาการปวดศีรษะเรื้อรัง โดยมีลักษณะเฉพาะ คือ ปวดมากเวลาตื่นนอนตอนเช้า หรืออาจปวดมากเวลาล้มตัวลงนอน หรือเวลาไอจาม หรือเบ่งอุจจาระอาการปวดศีรษะรุนแรงขึ้นทุกวัน จะมีอาการอาเจียนร่วมกับอาการปวดศีรษะ ซึ่งอาจมีลักษณะอาเจียนพุ่งรุนแรง โดยไม่มีอาการคลื่นไส้นำมาก่อน ตรวจร่างกายอาจพบอาการเดินเซ ตากระตุก แขนขาอ่อนแรงหรือชัก
สรุป : ผู้รับบริการไม่ใช่โรคนี้เนื่องจากผู้รับบริการไม่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง หรือคลื่นไส้อาเจียน และจากการตรวจร่างกาย ไม่พบอาการเดินเซ ตากระตุก ชัก หรือแขนขาอ่อนแรง Motor power grad 5
Brain abscess
สาเหตุ : มักเกิดขึ้นเนื่องจากมีการลุกลามของเชื้อแบคทีเรียจากอวัยวะใกล้เคียงที่มีการอักเสบอยู่ก่อน เช่น หูชั้นกลางอักเสบ โพรงมาสตอยด์อักเสบ ไซนัสอักเสบ รากฟันเป็นหนอง เป็นต้น
อาการ : อาการไข้สูง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และมีอาการทางสมอง เช่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาเจียนรุนแรง ซึม เพ้อ คลั่ง ชัก แขนขาอ่อนแรง เดินเซ เห็นภาพซ้อน หรือตาพร่ามัวลงเรื่อยๆ ตรวจพบไข้สูง แขนขาอ่อนแรง เดินเซ ชัก อาจตรวจพบอาการคอแข็ง รูม่านตา 2 ข้างไม่เท่ากัน
สรุป : ผู้รับบริการไม่ใช่โรคนี้ เนื่องจากผู้รับบริการไม่มีไข้สูง T =36.8 องศา ไม่มีอาการอาเจียนรุนแรง เดินเซ หรือเห็นภาพซ้อน และจากการตรวจร่างกาย Motor power grad 5, Pupil 2 mm. reaction to light both eye.
ระบบทางเดินอาหาร
Gastritis
สาเหตุ : มักมีสาเหตุจากยา โดยเฉพาะแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ การดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ความเครียด
อาการ : ปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร บางรายอาจมีท้องเดินร่วมด้วย มักมีอาการปวดหลังรับประทานอาหารประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงมักปวดตรงบริเวณใต้ลิ้น มักมีประวัติดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือได้รับยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ บางรายอาจมีประวัติถ่ายดำ
การตรวจร่างกาย: กดเจ็บเล็กน้อยบริเวณใต้ลิ้นปี
สรุป : ผู้รับบริการไม่ใช่โรคนี้ เนื่องจากผู้รับบริการปวดจี๊ดๆบริเวณใต้สะดือ ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน จากการตรวจร่างกายมีการกดเจ็บใต้สะดือ
Diarrhea
สาเหตุ : สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรีย สารพิษจากเชื้อโรค โดยการกินพิษของเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในอาหาร สารเคมี เป็นต้น
-
-
Dyspepsia
สาเหตุ : สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ก็คือ อาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผล อาจเกิดจากมีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมาก หรืออาจสัมพันธ์กับฮอร์โมน
ความเครียดทางจิตใจ หรืออาหาร หรืออาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ เป็นต้น
อาการ : ปวดหรือไม่สบายท้อง ตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี ลักษณะจุกเสียด ท้องอึด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง เรอเปรี้ยว คลื่นไส้หรืออาเจียนเล็กน้อย เกิดขึ้นระหว่างกินข้าวหรือหลังกินข้าว
สรุป :ผู้รับบริการไม่ใช่โรคนี้ เนื่องจากผู้รับบริการมีการปวดท้องบริเวณใต้สะดือ ไม่มีการท้องอืด เรอบ่อย หรือแสบท้อง
ระบบทางเดินหายใจ
Sinusitis
สาเหตุ : มักเป็นโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้น
และหวัดภูมิแพ้ เชื้อที่ทำให้ไซนัสอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัส
เชื้อแบคทีเรียส่วนน้อยอาจเกิดจากเชื้อรา
อาการ : มีอาการคัดแน่นจมูก พูดเสียงขึ้นจมูกมีน้ำมูกเป็นหนอง ปวดศีรษะ มีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ปวดหู ไอ หายใจมีกลิ่นเหม็น
สรุป :ผู้รับบริการไม่ใช่โรคนี้ Sinusitis เนื่องจากไม่มีอาการคัดแน่นจมูก และไม่มีอาการหายใจมีกลิ่นเหม็น
Laryngitis
สาเหตุ : มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยมากจะเกิดร่วมกับไข้หวัด เจ็บคอ หรือหลอดลมอักเสบ ส่วนน้อยที่เกิด
จากการติดเชื้อแบคทีเรีย การสูบบุรี่
ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้เสียงมาก หรือเกิดจากการระคายเคือง จากน้ำย่อยในผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน
อาการ : เสียงแหบแห้ง บางรายอาจเป็นมากจนไม่มีเสียง อาจรู้สึกเจ็บคอเวลาพูดบางรายอาจมีอาการไข้ เป็นหวัด เจ็บคอ หรือไอร่วมด้วย
สรุป : ผู้รับบริการไม่ใช่โรคนี้ เนื่องจากผู้รับบริการไม่มีอาการเสียงแหบแห้ง หรือมีไข้ เป็นหวัดและเจ็บคอ และไม่มีประวัติใช้เสียงมาก จึงไม่ไม่สัมพันธ์กับโรคนี้
Epistaxis
สาเหตุ : เกิดจากไข้หวัด หวัดภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ หลอดเลือดฝอยเปราะเนื่องจากอากาศแห้ง การแค่ะจมูกแรงๆ เป็นต้น บางรายอาจเกิดจากได้รับบาดเจ็บเช่น การกระแทกที่ดั้งจมูก ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง บางครั้งก็อาจพบร่วมกับโรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ มาลาเรีย ไทฟอยด์ ไข้เลือดออก คอตีบ เป็นต้น ส่วนน้อยอาจมีสาเหตุร้ายแรง เช่น โรคเลือด ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ เป็นต้น
-
สรุปซ ผจากประวัติของผู้ีับบริการสัมพันธ์กับอาการของโรค Epistaxis เนื่องจากผู้รับบริการมีเลือดกำเดาไหลออกทางรูจมูก