Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การกำเนิดและวิวัฒนาการของกาแล็กซี, shutterstock_140731432 - Coggle Diagram
การกำเนิดและวิวัฒนาการของกาแล็กซี
องค์ประกอบของกาแล็กซี
กระจุกดาว
กระจุกดาว คือกลุ่มดาวตั้งแต่สิบดวงไปจนถึงหลายสิบล้านดวงในกาแล็กซีทางช้างเผือกจะพบกระจุกดาวรอบ ๆ ศูนย์กลางกาแล็กซี เช่น กระจุกดาวลูกไก่ ถ้ามองด้วยตาเปล่าจะมองเห็นดาวฤกษ์ประมาณ 7 ดวง
เนบิวลา
เนบิวลา กลุ่มเมฆหมอกของแก๊สและฝุ่นธุลีของสสารในอากาศ ที่อยู่ระหว่างดวงดาวในกาแล็กซี มี 3 ชนิด
เนบิวลาสว่าง เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีที่สะท้อนแสงสว่างที่ส่องมาจากดาวฤกษ์
เนบิวลาเรืองแสง เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีระหว่างดวงดาวที่เปล่งแสงออกมาจากตัวเอง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของอนุภาคโปรตอนนิวตรอนเป็นอะตอม โฮโดรเจน
เนบิวลามืด เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีจำนวนมากและหนาทึบ ซึ่งดูดกลืนแสงของดาวฤกษ์ที่ส่องมา
สสารระหว่างดาว
ดาวฤกษ์แต่ละดวงอยู่ห่างไกลกันมาก ระหว่างดวงดาวจึงมีสสารระหว่างดาว ซึ่งประกอบด้วยแก๊ส ( ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน ) ฝุ่นธุลีชิ้นส่วนของสะเก็ดดาวแทรกคั่นอยู่
กำเนิดกาแล็กซี
กาแล็กซี ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากมาย นับเป็นแสนล้านกาแล็กซี ในจักรวาล ประกอบด้วย ดาวฤกษ์ ก๊าซ และฝุ่นผงอวกาศเป็นส่วนใหญ่ สำหรับคำเรียก กาแล็กซี จาก Galaxy นี้ มีวงการดาราศาสตร์ไทยคือ ดาราจักร กาแล็กซีมีกำเนิดมาอย่างไร ตั้งแต่จุดกำเนิดของจักรวาลที่เกิดบิกแบง จนกระทั่งวิวัฒนาการต่อๆ มา เป็นกาแล็กซี
จุดแรกเริ่มที่จะทำให้เกิดมีการรวมตัวของส่วนประกอบพื้นฐานในจักรวาลหลังบิกแบง เพื่อเกิดเป็นวัตถุเฉพาะตน เช่น ดวงดาว มีกำเนิดจากบิกแบง และหลัง บิกแบง ถ้ามีการกระเด็น กระจายของสรรพสิ่งเป็นก๊าซ และฝุ่นผงไปโดยรอบจุดกำเนิดอย่างสม่ำเสมอทุกหนแห่ง แล้วจะมีการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ เพื่อเกิดเป็นดาวฤกษ์ แล้วจึงเกิดเป็นกาแล็กซีได้อย่างไร แนวคิดที่มีการเสนอกันมา ซึ่งได้รับความสนใจอย่างยิ่ง ก็คือ มีจุดหรือเมล็ดพันธุ์แห่งดวงดาว หรือกาแล็กซี ที่เป็นเสมือนหนึ่งคลื่นเล็กๆ ท่ามกลางทะเลอนุภาคแห่งจักรวาล ก่อกำเนิดขึ้นหลังบิกแบง ทำให้เกิดการเสียสมดุลของแรงดึงดูดโน้มถ่วงในจักรวาล
ต่อมา จึงเป็นการรวมตัวกันมากขึ้นของก๊าซและฝุ่นผง รอบเมล็ดพันธุ์แห่งดวงดาว หรือกาแล็กซี จนกระทั่งเกิดเป็นกลุ่มดวงดาว และก๊าซ ฝุ่นผง ที่เป็นตัวตนชัดเจน คือ กาแล็กซี วิวัฒนาการที่แท้จริงของกาแล็กซี คือ หลังกำเนิดบิกแบงไปแล้วประมาณสามแสนปี ต่อมาอีก กาแล็กซีจึงเปลี่ยนแปลง เกิดเป็นดาวฤกษ์เต็มตัว และส่วนประกอบอื่นๆ ในจักรวาลเป็นกาแล็กซีเต็มตัว เป็นไปได้ว่า กาแล็กซีในจักรวาล เริ่มต้นปรากฏอย่างเต็มตัวเมื่อประมาณ 200 ล้านปีหลังบิกแบง แต่ตัวเลข 200 ล้านปีนี้ ยังสามารถคลาดเคลื่อนได้อีกมาก และเป็นที่แน่นอนว่า ข้อมูลความรู้ใหม่ๆ จะช่วยกำหนดเวลากำเนิดของกาแล็กซีที่แน่ชัดขึ้นได้อีกมาก จากการค้นพบใหม่ๆ โดยเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศและจักรวาล ที่กำลังเกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
ชนิดของกาแล็กซี่
กาแล็กซีแบบทรงรีจะไม่มีลักษณะของจานหรือกังหันปรากฏให้เห็นโดยรอบส่วนโป่ง กาแล็กซีแบบทรงรีมีสีออกแดง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าดาวส่วนใหญ่ในกาแล็กซีเป็นดาวที่มีอายุมาก และนอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังสังเกตพบการแผ่รังสีเอ็กซ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากาแล็กซีแบบทรงรีมีสสารระหว่างดวงดาวที่ร้อนและเบาบางกว่ากาแล็กซีแบบกังหัน แทบไม่มีดาวเกิดใหม่ในกาแล็กซีแบบทรงรีเลย ซึ่งต่างจากกาแล็กซีแบบกังหันที่ยังมีวิวัฒนาการของดาวฤกษ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กาแล็กซีแบบทรงรีหรือรูปไข่
(Ellipical Galaxy)
กาแล็กซีแบบทรงรี แบ่งออกได้เป็น 7 ลักษณะย่อยตามความรีของกาแล็กซี โดยจะเรียกกาแล็กซีแบบทรงรีที่มีความรีน้อยมากว่า “ Eo ” และมีความรีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึง “ E7 ” ซึ่งเป็นกาแล็กซีแบบทรงรีที่มีความรีมากที่สุด
เป็นกาแล็กซีที่มีดาวฤกษ์และฝุ่นแก๊สกระจุกตัวกันเป็นรูปร่างจานแบน อยู่โดยรอบและโคจรรอบส่วนป่องตรงกลางที่มีดาวฤกษ์ที่แก่กว่าจำนวนมาก ทั้งส่วนจานและส่วนป่องของกาแล็กซีทรงกังหันถูกล้อมรอบด้วยบริเวณที่เรียกว่า “เฮโล” (Halo) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีกระจุกดาวทรงกลมหลายแห่งกาแล็กซีที่เรารู้จักประมาณครึ่งหนึ่งเป็นกาแล็กซีทรงกังหัน
กาแล็กซีทรงกังหัน
(Spiral galaxy)
..กาแล็กซี่ไร้รูปรูปทรง
(Irregular Galaxy)
กาแล็กซีไร้รูปร่างมักจะมีลักษณะปรากฏที่ไม่เป็นระเบียบ ไม่แสดงโครงสร้างอย่างแขนกาแล็กซีทรงกังหัน หรือส่วนป่องตรงกลางกาแล็กซี ซึ่งความไร้ระเบียบของรูปร่างกาแล็กซีประเภทนี้มักมาจากการรวมตัวกันของกาแล็กซีที่เพิ่งเกิดขึ้น หรืออันตรกิริยากับกาแล็กซีที่อยู่ใกล้เคียง
กาแล็กซีประเภทนี้ยังมีอีกชื่อว่า “กาแล็กซีประหลาด” (Peculiar galaxy) ซึ่งกาแล็กซีแปลกๆเหล่านี้มีมากถึงประมาณ 1/4 ของกาแล็กซีที่เรารู้จัก กาแล็กซีไร้รูปร่างโดยทั่วไปแล้วจะมีฝุ่นแก๊สอยู่มาก จึงมีการก่อตัวของดาวฤกษ์จำนวนมากตามไปด้วย
กาแล็กซีที่อยู่ใกล้กาแล็กซีทางช้างเผือกมากที่สุดคือ “กาแล็กซีแคระหมาใหญ่” (Canis Major Dwarf) ซึ่งเป็นกาแล็กซีไร้รูปร่างขนาดเล็กที่มีดาวฤกษ์ราว 1 พันล้านดวง กาแล็กซีแห่งนี้กำลังอยู่ในกระบวนการที่ถูกกาแล็กซีทางช้างเผือกกลืน
กาแล็กซี่ทางช้างเผือก
(The Milky Way Galaxy)
การสังเกตทางช้างเผือก
การสังเกตทางช้างเผือก จะสังเกตได้จะมี
ดาวฤกษ์บริเวณทางช้างเผือกและใกล้เคียง
ด้ายซ้ายมือจะสังเกตเห็นกลุ่มดาวนายพราน
ขวามือบนของกลุ่มดาวนายพราน คือ กลุ่มดาว
วัว ซึ่งมีดาวลูกไก่อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ด้านซ้ายมือ
จะเห็นกาแล็กซีแอนโรเมดา เหนือกาแล็กซีแอน
โดรเมดา คือ กลุ่มดาวค้างคาว
ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก โดยระบบ
สุริยะอยู่ที่แขนของกาแล็กซีด้านกลุ่มดาวนายพราน อยู่ห่างจาก
ศูนย์กลางกาแล็กซีประมาณ 30,000 ปีแสง ดังนั้น กาแล็กซี
ทางช้างเผือกจึงมีขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายกังหัน มีบริเวณ
กลางสว่าง มีแขนโค้งรอบนอกหลายแขน ระยะขอบหนึ่งผ่าน
จุดศูนย์กลางไปยังขอบหนึ่งยาว 100,000 ปีแสง ถ้ามองจาก
ด้านบน จะเห็นเหมือนกังหัน แต่ดูจากด้านข้างจะคล้ายเลนส์นูน
หรือจากข้าวประกบกัน
โลกของเราอยู่ในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก เมื่อมองจากโลกจะมีลักษณะเป็นดาวคล้ายเมฆบางๆ อยู่โดยรอบท้องฟ้า (คือ ดวงดาว ประมาณแสนดวง) กาแล็กซี่ทางช้างเผือก เป็นกาแล็กซี่แบบกังหันเนื่องจาก มองด้านบนและด้านล่างจะเห็นว่ามีโครงสร้างเป็นรูปจาน หรือจักร หรือขดหอย (Spiral Structure) โดยจุดศูนย์กลางจะเป็นรูปวงรี (Ellipsoid) มีความยาวถึง 100,000 ปีแสงดวงอาทิตย์ของเราอยู่ทางด้านขวาห่างใจกลางของกาแลกซีประมาณ 30,000 ปีแสง