Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
case study ปวดบวมเข่าซ้าย, ข้อห้าม - Coggle Diagram
case study
ปวดบวมเข่าซ้าย
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยเพศ หญิง อายุ 69 ปี สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ
อาชีพ ปัจจุบันไม่ได้ประกอบอาชีพก่อนหน้ามีประกอบอาชีพเกษตกร
อาการสำคัญ (Chief complaint)
ปวดบวมเข่าซ้าย 3 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน(Present illness)
3 วันก่อนมาให้ประวัติมาขณะเอื้อมเก็บใบพลู ได้ยินเสียงกระดูกหัวเข่าซ้ายดังกรุบ ไม่ล้ม ปฎิเสธการเกิดอุบัติเหตุ ต่อมามีอาการปวดบวม ปวดตื้อๆไม่ร้าวไปที่อื่น ทานยาพาราวันละ 1 เม็ด บีบนวด อาการทุเลา จึงไม่ได้รับการรักษาที่ใด
3 ชม.ก่อนมา ปวดบวมเข่าซ้ายมากขึ้น นั่งยองๆไม่ได้ pain score 5 คะแนน กินยาพาราอาการไม่ทุเลา จึงตัดสินใจมาโรงพยาบาลตากฟ้า
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต(Past history)
ประวัติการผ่าตัด : ไม่เคยผ่าตัด
โรคประจำตัว : asthma เริ่มเป็นเมื่อ พ.ศ.2562
อาการแพ้/แพ้อาหาร : ปฏิเสธการแพ้ยา/แพ้อาหาร
ยาที่ใช้ประจำ : budesonide inhaler 200 mcg
Physical examination
Vital signs
BP 112/60 mmHg, PR 72/min, RR 20/min, Temp 36.5 C BW 45 Kg. Height 140 cms. ฺBMI 22.96 kg/m2
General appearance
Thai female, 69 years old, Elderly age, looked well, normal growth and body build, short black hair, good consciousness.
Skin
Not pale, No surgical scar or keloid, Normal hair and nail, No edema, No cyanosis, and Jaundice
Extremities
redness Lt.knee join swelling and felling crepitus, knee pain score 5,no deformity, no ecchymosis , no lesion , movement limited range of motion right leg.
Neurological
Alert ,well cooperated, motor power grade V/V all extremities, no sensory impairment.
Differential
Knee Osteoarthritis
อาการและอาการแสดง
ข้อบวมและผิดรูป (swelling and deformity) อาจพบข้อโก่ง (bowlegs) หรือข้อเข่าฉิ่ง (knock knee)
อาการปวด มีลักษณะปวดตื้อๆทั่วไปบริเวณข้อ
crepitus ในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว
stiffness ในช่วงเช้าและหลังการพักข้อนานๆแต่มักไม่เกิน 30 นาที
ตรวจร่างกาย
กดเจ็บ การหนาตัวของเยื่อบุข้อ
Range of motion
การคลำพบ crepitus จุดกดเจ็บ การหนาตัวของเยื่อบุข้อ
ปัจจัยเสี่ยง
อายุ ประสิทธิภาพการซ่อมแซมกระดูกข้อต่อที่สึกหรอ และการส่งเลือดไปเลี้ยงข้ออาจลดลงตามอายุ
โรคอ้วน ข้อต่ออาจรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายมากขึ้น
เพศ ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็น Osteoarthritis มากกว่าผู้ชาย
ผู้ที่ใช้งานข้อต่อหนักเกินไป
การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฎิบัติการ
joint fluid analysis <3-5 มิลลิเมตร
film left knee พบหินปูนเกาะบริเวณกระดูก
ร่วมกบัการที่ช่องว่างระหว่างกระดูกแคบลง
การรักษา
ยาบรรเทาปวด
พิจารณาให้ Paracetamon(500mg)2 tab prn q 3-4 hr. เป็นอันดับแรก
ยากลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen (400mg.) 1 tab tid.pc. จะให้เมื่อไม่ตอบสนองต่อยา Paracetamol
ยา Tramadol ลดอาการปวด ในรายที่ไม่ตอบต่อยา Paracetamol และยากลุ่ม NSAIDs หรือที่มีข้อห้าม
การผ่าตัด
ส่วนใหญ่ผ่าตัดในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปี
การฉีดสเตียรอยด์เข้า ข้อ (intraarticular steroids)
เหมาะสําหรับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมที่มีการอักเสบหรือน้ําในไขข้อ
ในรายที่มีข้อห้ามต่อการใช้ยา NSAIDs
ไม่ควรให้มากกว่า 3 ครั้ง/ปี
เกณฑ์ในการวินิจฉัยตาม American college of Rheumatology
ภาพรังสีแสดง osteophyte
มีข้อสนับสนุน 1 ข้อดังต่อไปนี้
อายุ>50 ปี
ข้อฝืดตอนเช้า 30 นาที
มีเสียง cepitus ขณะเคลื่อนไหว
มีอาการปวดเข่า
พยาธิสภาพ
จากการที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของ น้ำ หล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของเข่าก็จะเกิดการเสียดสีและเกิดการสึกหรอของกระดูก อ่อนผิวของกระดูกอ่อนจะแข็งผิวไม่เรียบ เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าก็จะเกิดเสียงดังในข้อเกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่าที่เสื่อมมีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดอาการบวม ตึงและปวดของข้อเข่า เมื่อมีการเสื่อมของข้อเข่ามากขึ้นข้อเข่าก็จะมีอาการโก่งงอ ทำให้เกิดอาการ ปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของข้อเข่าก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้เท่าช่วยเดินหรือบางคนจะเดินน้อยลงทำให้กล้ามเนื้อต้นขาลีบลงข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะเหยียดขาได้ไม่สุด
Tendinitis of Lt.knee
สาเหตุ
การอักเสบของเส้นเอ็นมีสาเหตุจากการได้รับบาดเจ็บหรือทำงานหนัก
อาการ
ปวดหลังจากไปทำกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อเข่ามาก
อาการมักจะเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นเดือน ๆ
มีอาการเจ็บปวดตรงเส็นเอ็นโดยเฉพาะอย่างยื่งเวลาเคลื่อนไหว
ซักประวัติ
การทำกิจกรรมทางกาย หรือการเล่นกีฬา
การบาดเจ็บล่าสุด ในบริเวณที่ปวด
การตรวจร่างกาย
ตรวจพบตำแหน่งกดเจ็บบริเวณเส้นเอ็นลูกสะบ้า (patellar tendon)
การรักษา
ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 wks.ควรแนะนำไป รพ. อาจจะตรงได้ฉีดสเตีนรอยด์ ไม่ควรเกิน 2-3 ครั้ง/ปี
ทาด้วยขี้ผึ้ง น้ำมันระกำ ยาหม่อง
ให้ NSAID
Muscle Strain Lt.knee
คือ ภาวะที่เส้นใยกล้ามเนื้อบาดเจ็บหรือฉีกขาด จากการถูกใช้งาน อย่างหนัก หรือถูกยืดมากเกินไป
สาเหตุ
เกิดอุบัติเหตุที่กล้ามเนื้อ เช่น ถูกชน หรือถูกกระแทกอย่างแรงใช้งาน กล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น ยกของหนักเกินกำลัง ใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณนั้นซ้ำ ๆ เช่น ผู้ทำงานแบกหาม
อาการ
อาจปวดมากจนถึงขั้นเคลื่อนไหวไม่ได้
มีการบวม และมีสีคล้ำ หรือเกิดรอยฟกซ้ำ
ตรวจร่างกาย
พบว่ามีจุดกด ุ
เจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ (point of tenderness)
พิสัยการเคลื่อนไหวจะลดลง
อาจจะตรวจพบว่ามีรอยห้อเลือด (ecchymosis)
การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
film left knee อาจจะพบเนื้อ
เยื้ออ่อนบวมได้
MRI จะใช้ในกรณีที่สงสัยว่ามีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อทั้งมัด
การรักษา
พักการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บเสียหายมากขึ้น และให้เส้นใย กล้ามเนื้อได้ฟื้นคืนสภาพ
ใช้ผ้ายืด (Elastic Bandage) พันรอบมัดกล้ามเนื้อ จะช่วยลดอาการบวม อักเสบ และห้อเลือด
Goute arthritis
อาการ
ข้อบวมเจ็บซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใดและหายภายใน 1-2 สัปดาห์
ลักษณะการปวดตื้้อๆจะปวดมากขึ้นเมื่อนั่งหรือยืนนานๆ และปวดเวลานอนตอนกลางคืน
อาการปวด บวมแดง ร้อนบริเวณข้ออย่างฉับพลันเริ่มจากข้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า
ซักประวัติ
ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ กรรมพันธุ์การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและเพียวรีนสูง
มีประวัติดื่มเหล้าและเบียร์จัด เป็นโรคไตเสื่อม
ประวัติ ครอบครัวเป็นโรคส่วนในเพศหญิงพบในวัยหลังหมดประจําเดือน
ตรวจร่างกาย
พบก้อนโทฟัส (tophus)
ระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่า 7 mg./dl. ในผู้ชายและมากกว่า 6 mg./dl. ในผู้หญิง
Rheumatoid arthritis
อาการ
ต่อมาจึงมีอาการอักเสบของข้อปรากฏให้เห็น ข้อที่เริ่มมีอาการอักเสบก่อน
เริ่มด้วยอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามกล้ามเนื้อและกระดูกนำมาก่อนนานนับเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน
อาการปวดข้อและข้อแข็งมักจะเป็นมากในช่วงตื่นนอนหรือตอนเช้า พอสาย ๆ หรือหลังมีการเคลื่อนไหวของร่างกายจะทุเลา บางรายอาจมีการปวดข้อตอนกลางคืน จนนอนไม่หลับ
บางรายอาจมีอาการอักเสบของข้อเพียง 1 ข้อหรือไม่กี่ข้อ
ซักประวัติ
พบช่วงอายุ 20-50 ปี
มีอาการเริ่มด้วยอ่อนเพลียเบื่ออาหารปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูก
ตรวจร่างกาย
พบปุ่มรูมาตอยด์บริเวณใกล้ข้อ bony prominence หรือ extensor surface ของแขนขา
อาการข้ออักเสบแบบสมมาตร (symmetrical polyarthritis)
มีอาการข้ออักเสบของข้อขนาดใหญ่2-10 ข้อหรือข้อขนาดเล็กตั้งแต่1- 3 ข้อขึ้นไป
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ของ The American Rheumatism Association ปี 1998
มีอาการข้ออักเสบแบบสมมาตร (symmetrical arthritis)
ตรวจพบปุ่มข้อรูมาตอยดบริเวณใกล้ข้อbony prominence หรือ extensor surface
. มีอาการข้อนิ้วมือ หรือข้อมืออักเสบอย่างน้อย 1 ข้อ
rheumatoid factor
มีอาการข้ออักเสบจากการตรวจร่างกาย ตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป
การเปลี่ยนแปลงของกระดูกในข้อบริเวณมือ จากภาพถ่ายรังสีการตรวจหาการสึกกร่อนของกระดูกที่อยู่ในข้อ
ข้อฝืดตึงตอนเช้า นานกว่า 1 ชั่วโมง
Plan for treatment
Tramadol 50 mg 1 amp IV
Tramadol 50 mg 1* prn. q 6-8 hr.
ยาแก้ปวดในกลุ่มยาระงับปวด Analgesic
Omeprazole 20 mg1*1 ac
Tolperisone 50 mg 1*3 pc
Diclofenac 25 mg 1* prn. q 6-8 hr.
paracetamol 500 mg 1* prn.
Plan for patient education
หลีกเลี่ยงการนั่งคุกเข่า การขัดสมาธิ การนั่งพับเพียบ เพราะการนั่งในท่าที่งอเข่ามากๆ จะทำ ให้เพิ่มแรงดันภายในข้อเข่า จะทำ ให้มีอาการปวดมากขึ้น ควรนั่งบนเก้าอี้แทนนั่งขัดสมาธิ
หลีกเลี่ยงการเดินขึ้น - ลง บันได เนื่องจากการขึ้น - ลงบันได ทำ ให้เกิดแรงกดต่อข้อเข่าหากจำ เป็นควรเดินเกาะราวบันได
รับประทานยา Tramadol ที่แพทย์ให้รับประทานเมื่อมีอาการปวด อธิบายถึงผลข้างเคียงของยา อาจทำให้อาเจียนได้หลังรับประทานและยา Diclofenac ไม่ควรทานตอนท้องว่างเพราะยามีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเนื้อเยื่อกระเพาะทำให้น้ำย่อยสามารถกัดกร่อนกระเพาะอาหารจนเกิดเป็นแผลได้
ควรหลีกเลี่ยงอากาศที่เย็น ในที่มีอากาศเย็นควรสวมใส่เสื้อเพื่อความอบอุ่นแก่ร่างกาย เพราะถ้าอากาศเย็นมากจะทำให้มีอาการปวดข้อเข่ามากยิ่งขึ้น
การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน
ถ้าจำเป็นต้องขึ้นลงบันไดควรมีราวจับทั้ง 2 ด้านของบันได
.ส้วมควรเป็นแบบชักโครก
บริเวณบ้านควรจัดให้โล่ง สว่าง ไม่มีสิ่งกีดขวางบนทางเดิน เพื่อกันการสะดุดล้มลง
แนะนำการออกกำลังกาย
นั่งชิดเก้าอี้ เหยียดเข่าตรง เกร็งค้างนับ 1-10 หรือเท่าที่ทำได้ แล้วเอาลงนับเป็น 1 ครั้ง ทำสลับข้าง
ถ้าทำได้เก่งขึ้น ให้นั่งไขว้ขา โดยขาบนกดลง และขาล่างเหยียดขึ้น เกร็งนับ 1-10 ทำสลับข้างเช่นกัน
นอนหงาย เอาหมอนเล็ก ๆ วางใต้เข่า เกร็งสะบ้า เหยียดเข่าตึง นับ 1-10 เช่นกัน
แนะนำสังเกตอาการถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 3-4 สัปดาห์ หรือบวมตามข้อ หรือมีอาการปวดร้าวหรือชาตามแขน หรือขา ควรแนะนำไปโรงพยาบาล
ข้อห้าม
.
ใช้ยาบางอย่างร่วมด้วย เช่น สเตียรอยด์ และยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
อายุ > 65 ปี
มีประวัติเป็นโรคกระเพาะ เลือดออกทางเดินอาหาร