Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1 Stretococcus pneumonia meningitis - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 1 Stretococcus pneumonia meningitis
Meningitis
ความหมาย
: การติดเชื้อและเกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองบริเวณส่วนที่เป็นเมมเบรนห่อหุ้มเนื้อสมองและไขสันหลังเป็นโรคที่มีอันตรายและความพิการทางสมองสูง แม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยาอย่างเหมาะสมแล้ว พบบ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี
สาเหตุ :
การติดเชื้อไวรัส (Viralmeningitis) เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยได้แก่ เชื้อคางทูม ECHO, coxsackie, polio virus และ varicella zoster
การติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterialmeningitis) เป็นสาเหตุที่พบได้น้อยกว่าเชื้อไวรัสแต่ทําให้เกิดอาการของโรครุนแรงมากกว่า เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยแตกต่างกันตามช่วงวัย ดังนี้
วัยทารกแรกเกิด เชื้อที่พบมากคือ กลุ่ม Gram negative bacilli ได้แก่ Pseudomonas aeruginosa, Klebsiella pneumoniae และ E. coli ส่วนกลุ่ม Gram positive cocci ได้แก่ Streptococcus gr. B
เด็กอายุ 1 เดือน -12 เดือน เชื้อที่พบมากคือ Haemophilus influenza type B (HIB), Streptococcus pneumonia, E. coli และ Salmonella spp.
เด็กอายุ 1-5 ปี เชื้อที่พบมากคือ S. pneumonia, H. influenza
เด็กอายุมากกว่า 5 ปี เชื้อที่พบมากเช่น S. pneumonia, Neisseria meningitides, Salmonella spp. เป็นต้น
สําหรับเชื้อ HIB และ S. pneumonia ในปัจจุบันพบน้อยลงเนื่องจากมีการให้วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อ เหล่านี้ได้
การติดเชื้อพยาธิ (Eosinophilicmeningitis) เช่น พยาธิตัวจี๊ด(Gnathostomiasis)
การติดเชื้อรา (Fungal meningitis) เช่น Candida albicants, cryptococcus neoformans
ปฏิกิริยาที่ไม่ใช่การติดเชื้อ(Non-infectiondisease) เช่น เนื้องอกการได้รับบาดเจ็บกระทบกระเทือนทางสมอง และการได้รับสารพิษ
เชื้อที่ทําให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก คือ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อวัณโรค
อาการและอาการแสดง
อาการแสดงว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นในร่างกายซึ่งไม่จําเพาะเช่นไข้สูงอ่อนเพลียเบื่ออาหารอาเจียน ท้องเสีย กระสับกระส่ายหรือซึม
อาการแสดงว่ามีการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมองร่วมกับความผิดปก ติในการทํางานของสมอง จะมีอาการ ปวดศีรษะมากโดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหวศีรษะ อาการปวดศีรษะปวดคล้ายจะระเบิด มีอาการปวดที่บริเวณคอ คอแข็งตึง (Stiffness of neck) การตรวจ Kernigs’s sign และ Burdzinski’s sign ให้ผลบวก เด็กอาจปวดบริเวณกล้ามเนื้อขา มีอาการซึม ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการแย่ลงเรื่อยๆ คือมีการ เปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวและการทํางานของระบบประสาท บางรายอาจเป็นอัมพาต
ข้อมูลที่ต้อง Assessment เพิ่มเติม
การซักประวัติ
ซักประวัติเกี่ยวกับระบบประสาท Neuro sign และ Glasgow Coma score
การซักประวัติเกี่ยวกับช่องทางการติดเชื้อเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง โดยซักจากผู้ดูแล
การติดเชื้อผ่านกระแสเลือด เช่น มีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจมาก่อนหรือไม่
มีการติดเชื้อจากอวัยะข้างเคียง เช่น การติดเชื้อที่ช่องหูชั้นกลาง ติดเชื้อบริเวณใบหน้าจมูก เป็นต้น
การได้รับอุบัติเหตุรุนแรงทำให้กะโหลกศีรษะแตกหรือกระดูกแตกบริเวณฐานของกะโหลกศีรษะ ซึ่งบ่งบอกถึงการได้รับเชื้อโดยตรงจากการปนเปื้อน
เด็กมีอาการสำลักระหว่างกินนมหรือไม่
มีอาการปวดบริเวณคอหรือมีคอแข็งตึงไหม จากการสังเกตจากการเคลื่อนไหวของเด็ก
ซักประวัติบุคคลในครอบครัว มีใครชักจากไข้สูงหรือไม่
ซักประวัติการได้รับกระทบกระเทือนสมอง
การได้รับวัคซีนเสริม เช่น วัคซีนเสริมป้องกัน pneumococcus ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย pneumococcus ซึ่งก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเป็นสาเหตุของโรค
มีประวัติปอดอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงหรือไม่
โรคประจำตัวของมารดา
การตรวจร่างกาย
Brudzinski’s sign positive
นิยมตรวจในเด็กเล็กเนื่องจากอาการสองอย่างแรกตรวจได้ยากโดยให้ผู้ป่วยนอน หงายแล้วยกศีรษะขึ้น ถ้าผู้ป่วยงอขาทั้งสองข้างขึ้นแสดงว่าให้ผลบวก ควรตรวจซ้ำหลายๆครั้ง เพราะบางครั้งเด็กเล็กจะยกขาขึ้นเองโดยบังเอิญ
stiffness of neck
ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายไม่หนุนหมอนใช้มือข้างหนึ่งช้อนที่ ท้ายทอยและมืออีกข้างจับที่ใต้คาง บอกให้ผู้ป่วยอย่าเกร็งคอ แล้วยกศีรษะข้ึนให้คางมาชิดอก ถ้าผู้ป่วยมี แรงต้านโดยไม่ได้ตั้งใจและรู้สึกปวดตึงต้นคอ แสดงว่ามีอาการคอแข็ง แสดงถึงอาการระคายเคืองเยื่อหุ้ม สมอง
Kernigs' sign
ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายยกเท้าข้างใดข้างหนึ่งขึ้นให้ข้อสะโพกงอ90องศาเข่างอ 90 องศา แล้วค่อยๆเหยียดเข่าออก ถ้ารู้สึกปวดตึงที่กล้ามเนื้อ hamstring และไม่สามารถเหยียดขาออก ได้ หรือเหยียดออกได้ไม่เกิน 135 องศา แสดงว่าให้ผลบวก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC : WBC 11,500 cell/mm3 (N 88%, L 8%, Mono 1 %, Band 2 %)
UA : Clear, amber, sp.gr. 1.020, WBC 0-1 /HPF
BUN 8 mg/dl, Cr 0.2 mg/dl, Na 133 mEq/L , K 4.0, mEq/L Cl 104 mEq/L, HCO3 20 mEq/L, Ca 8 mEq/L , Mg 2.42 mEq/L, PO4 3.0 mEq/L
การตรวจพิเศษ
Lumbar punctures
วิธีการเจาะน้ำไขสันหลัง ที่กระหม่อมหน้าปิดแล้ว เป็น หัตถการที่ใช้เข็มเจาะเข้าไปใน Subarachnoid space ของ spinal column L3 หรือ L4 หรือช่องระหว่างกระดูก สันหลังระดับ L4 และ L5 ในแนวกลางตัว
พบ Numerous penicillin resistant streptococcus pneumonia
CT brain
subdural effusion หนา 3 mm ที่บริเวณ frontal lobe ทั้งสองข้าง
รักษาโดยการทำ subdural tapping
ผลการย้อมสีแกรมพบ gram positive diplococcic, lancet-shaped
เข้าได้กับภาวะ subdural empyema
รักษาโดย subdural irrigation
การเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture)
การเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) สําหรับเด็กอายุตั้งแต่ 18 เดือนขึ้นไป ที่กระหม่อมหน้าปิดแล้ว เป็น หัตถการที่ใช้เข็มเจาะเข้าไปใน Subarachnoid space ของ spinal column L3 หรือ L4 หรือช่องระหว่างกระดูก สันหลังระดับ L4 และ L5 ในแนวกลางตัว เพื่อช่วยการวินิจฉัยการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง วัดความดัน ในน้ําไขสันหลัง และเพื่อการให้ยาทางน้ําไขสันหลัง ข้อห้าม ทําในเด็กป่วยที่มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง มี ภาวะเลือดออกง่าย มีความผิดปกติหรือบาดแผลบริเวณกระดูกสันหลัง
การพยาบาลเด็กที่ได้รับการเจาะหลัง
• ดูแลเด็กขณะการเจาะหลัง
จัดท่านอนตะแคงซ้ายชิดขอบเตียง หันหลังให้แพทย์ พร้อมงอเข่าสองข้างชิดหน้าอกให้มากที่สุดและก้มศีรษะ
ปลอบโยนเด็กป่วยหรืออนุญาตให้บิดามารดา อยู่ด้วย ในเด็กโตให้ผ่อนคลาย หายใจเข้าออกลึกๆ หรือจินตนาการ เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลหรือความกลัว
สังเกตการหายใจ ระดับความรู้สึกตัว
• ดูแลเด็กหลังการเจาะหลัง
จัดให้นอนราบไม่หนุนหมอนประมาณ 6-8 ชั่วโมง
วัดและประเมินสัญญาณชีพจนกว่าจะอยู่ในช่วงปกติ
สังเกตผ้าก๊อชที่ปิดบริเวณที่เจาะว่ามีเลือดหรือน้ำไขสันหลังซึมหรือไม่ พร้อมทั้งสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิด เช่น การติดเชื้อ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดหลัง หากพบสิ่งผิดปกติรายงานแพทย์
• การเตรียมเด็กป่วยก่อนการเจาะหลัง
ตรวจสอบชื่อนามสกุลของเด็กให้ถูกต้อง อธิบายให้ผู้ปกครองและเด็กโตเข้าใจ ถึงความจําเป็นและข้อบ่งชี้ในการเจาะหลัง และขอความยินยอมจากผู้ปกครองและให้ลงลายมือชื่อในเอกสารยินยอมการเจาะหลัง
เปิดเส้นให้สารน้ําทางหลอดเลือดดําตามแผนการรักษา
ตรวจประเมินสัญญาณชีพ
แนวทางการวินิจฉัยโรคและแผนการรักษา วิเคราะห์การให้ยาที่ได้รับ แต่ละชนิดเป็นยาอะไร กลุ่มใด และออกฤทธิ์
Vancomycin ( 60 mg/kg/day )
กลุ่มยา : Antibiotic glycopeptide
กลไกการออกฤทธิ์ : มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียทำให้ไม่เกิด cross-linkingของ peptidoglycan
ผลข้างเคียง : อาการแพ้ยา เช่น ผื่น คัน ลมพิษ ใบหน้าบวม คอบวม ลิ้นบวม ริมฝีปากบวม และหายใจลำบาก ท้องเสีย เวียนศีรษะ สูญเสียการได้ยิน หรือมีเสียงดังในหู บวม น้ำหนักเพิ่ม
ข้อควรระวัง :
ระวังการเกิด tissue necrosis บริเวณที่ฉีดยา ติดตามอาการผื่นแดง บริเวณหน้า ลำคอ หาก รุนแรงอาจเกิด shock หรือ cardiac arrest ได้ระมัดระวังการใช้ยาในผู้ ป่วยที่การทำงานของไตบกพร่อง
Diazepam 3 mg rectal suppository
กลไกการออกฤฑธิ์ : ออกฤทธิ์ต่อสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลกัน ทำงานโดยการเพิ่ม ประสิทธิภาพของ GABA ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยลดการเคลื่อนไหวของสัญญาณประสาทในสมอง
อาการข้างเคียง : ง่วงซึม อ่อนเพลีย หลงลืม ก้าวร้าว วุ่นวาย และ เฝ้าระวังอาการง่วงนอนที่ยาวนาน ภาวะสับสน และหยุดหายใจ
การพยาบาลที่สำคัญ : เฝ้าระวังอาการง่วงนอนที่ยาวนาน ภาวะสับสน และหยุดหายใจ
Cefotaxime ( 300 mg/kg/day )
กลุ่มยา : cephalosporins
กลไกการออกฤทธิ์ : โดยฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ใช้รักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียในร่างกาย เช่น การติด เชื้อที่กระดูกและข้อต่อ ติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง ติดเชื้อที่ระบบทางเดินปีสสาวะ เป็นต้น
ผลข้างเคียง :
อาการแพ้ยาอย่างรุนแรง เช่น ผื่นคัน หายใจลำบาก แน่นหน้าอก มีอาการบวมที่ ใบหน้า ปาก ริมฝีปาก ลิ้น เป็นต้นหนาวสั่น มีไข้ หรือเจ็บคอ อาการชัก มีปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด เบื่ออาหาร ปวดท้องข้างขวา ตาและผิวมีสีเหลือง
การพยาบาล :
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ถึงเม้อาการจะดีขึ้นแล้ว เพื่อให้การติดเชื้อหายขาด หากใช้ยาไม่ครบตามกำหนดอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและยาดต่อการรักษาในการติดเชื้อครั้งต่อๆไป ดูแลให้ได้รับยาโดยไม่ควรใช้ยาร่วมกับผู้อื่น และปกติจะทำในสถานพยาบาล โดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น เพื่อสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา เช่น อาการชัก ผืนค้น หายใจ ลำบาก มีไข้ หนาวสั่น เป็นต้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยที่ 1. เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อเซลล์สมองจากภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากการชักเกร็งกระตุก
ข้อมูลสนับสนุน
มีอาการไข้สูง ดูดนมได้น้อยลง
เกร็งกระตุกเเขนขาทั้ง 2 ข้าง
ซึม ไม่รู้สึกตัว นาน 1-2 นาที
Hb = 9.7 g/dL
Hct=29.7 เปอร์เซนต์
เป้าหมายการพยาบาล :
ป้องกันอันตรายต่อเซลล์สมองจากภาวะพร่องออกซิเจน
ไม่มีอาการชักกระตุก
เกณฑ์ในการประเมินผล :
ไม่มีไข้
อุณหภูมิอยู่ที่ 36.8 - 37.2
ไม่มีอาการเกร็งกระตุกของเเขนขาทั้ง 2 ข้าง
ไม่มีอาการซึม รู้สึกตัวดี
Hct อยู่ในระดับปกติ 43.4-56.1%
6.Hb อยู่ในระดับปกติ 14.7-18.6 g/dl
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยจัดให้เด็กนอน ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง และดูดเสมหะหรือน้ำลาย ออกจากปากและจมูก เพื่อป้องกันการสำลักน้ำลายเข้าทางเดินหายใจ และลิ้นไปปิดกั้นทางเดินหายใจ
ประเมินและบันทึกสัญญาชีพอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง โดยดู RR,PR, Oxygen saturation เพื่อประเมินความผิดปกติและรายงานแพทย์เพื่อที่จะสามารถรักษาได้อย่างทันที
. ดูแลให้ได้รับยากันชัก diazepam 3 mg rectal suppository เพื่อให้เด็กหยุดชัก และป้องกันเซลล์สมองถูกทำลายจากการชักนาน
สังเกตริมฝีปาก ปลายมือปลายเท้า ลักษณะการหายใจ วัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) เพื่อประเมินภาวะพร่องออกซิเจนจากการหยุดหายใจขณะชัก
จัดท่านอนศึรษะสูงประมาณ 15-30 อาศา เพื่อเพิ่มการไหลกลับของเลือดดำจากสมองสู่หัวใจได้ดีขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียง เพราะการพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการทำกิจกรรม ทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
ติดตามผล lab Hb, Hct เพราะเป็นค่าที่แสดงถึงความเข้มข้นของเลือดเเละออกซิเจนในเลือดของร่างกายและติดตามผล CT เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการรักษา
ดูแลลดไข้ โดยการเช็ดตัวลดไข้และให้ยาลดไข้ ตามแผนการรักษา
ข้อวินิจฉัยที่ 2. ผู้ป่วยมีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงเนื่องจากมีการคั่งของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะ
ข้อมูลสนับสนุน
ซึมลง มีอาการเกร็งกระตุกของขาทั้ง 2 ข้าง
มีไข้สูง - ไม่รู้สึกตัวนาน 1-2 นาที
กระหม่อมหน้าโป่งตึง CT brain พบ subdural effusion
มีภาวะ subdural empyema
เป้าหมายทางการพยาบาล
: - ไม่มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
ไม่มีน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ
เกณฑ์ในการประเมินผล
ไม่มีไข้สูง สามารถดูดนมได้
ไม่มีอาการซึม หรือ เกร็งกระตุก
รู้สึกตัวดี ไม่ร้องคลาง
ไม่มีภาวะ subdural effusion เเละsubdural empyema
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการเเละอาการเเสดงของภาวะ IICP เช่น งอแง หงุดหงิด ซึมลง ( RR และ HR ช้าลง BP และ Puse pressure กว้างขึ้น
ให้ยาปฎิชีวนะ Cefotaxine 300 mg/kg/day , Vancomycin 60 mg/kg/day เพื่อป้องกันการติดเชื้อเเละสังเกตอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
ดูเเลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเกี่ยวกับทางสมอง
3.1 การเตรียมด้านร่างกาย ได้แก่ ดูแลความสะอาดร่างกาย งดนํ้าและอาหารทุกชนิด โกนศีรษะ และ ใส่สายสวนปัสสาวะ เตรียมผลการตรวจทางห้องปฎิบํตการ ได้แก่ การตรวจเลือด การชองเลือดและ ส่วนประกอบของเลือด เตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และเอกสาร ได้แก่ ใบยินยอมการผ่าตัด ฟิล์มเอกซเรย์ ยาและเวชภัณฑ์ตามแผนการรักษา การบันทึกสัญญาณชีพ และอาการทางระบบประสาท
3.2 การเตรียมด้านจิตใจ อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงวิธีการและขั้นตอนการผ่าตัด สภาพหลัง ผ่าตัด เช่น การมีแผลผ่าตัดที่ศีรษะ การให้สารนั้าทางหลอดเลือดดำ การคาสายสวนปัสสาวะ การใส่สาย ระบายกระเพาะอาหาร การใส่ท่อช่วยหายใจ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบํติดัวก่อนและหลังผ่าตัด เพื่อ ป่องกันโรคแทรกซ้อน และเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย เพื่อให้คลายความวิตกกังวล
ดูเเลผู้ป่วยหลังผ่าตัดบันทึกสัญญาณชีพและอาการทางระบบประสาท
4.1 จัดให้นอนศีรษะสูง 30 องศา เพื่อให้เลือดผ่าน jugular vein กลับเข้าสู่หัวใจได้สะดวกเป็นการช่วยลดความดันในกระโหลกศีรษะ
4.2 ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดูดเสมหะในท่อหลอดลมคอ
4.3 พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง เเละประเมินแผลผ่าดัดและดูแลท่อระบาย ให้ทำงานอย่างสม่ำเสมอและเป็นระบบปิด
4.4 บันทึกจำนวนสารนํ้าที่เข้าและออกจากร่างกายที่ผู้ป่วยได้รับในแต่ละวัน ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา พร้อมทั้ง สังเกตอาการข้างเคียงของยา
4.5 ติดตามผลตรวจทางห้องปฎิบํดิการ ได้แก่ Electrolyte, BUN, Creatinine, CBC
4.6 ดูแลสุขภาพอนามัยทั้วไป ของร่างกาย การดูแลเรื่องการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ การดูแลด้านความเจ็บปวดหลังผ่าตัด และป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ข้อวินิจฉัยที่ 3. เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อเซลล์สมองเนื่องจากมีการติดเชื้อที่ระบบประสาท
ข้อมูลสนับสนุน
ผลการย้อมสีกรัม พบ gram positive diplococcic, lancet-shaped
ไข้สูง ซึม
ผลการเพาะเชื้อจากน้ำไขสันหลังซึ่งพบเชื้อ Numerous penicillin resistant streptococcus pneumonia
ผลเพาะเชื้อในเลือดพบ penicillin resistant streptococcus pneumonia
ผลการย้อมสีเเกรมพบ gram positive diplococcin,lancet-shaped เข้าได้กับ subdural empyema
WBC = 11500 cell/mm3
เป้าหมายทางการพยาบาล
เซลล์สมองของผู้ป่วยไม่ได้รับอันตรายและไม่มีการติดเชื้อ
เกณฑ์ในการประเมินผล
ไม่มีไข้
ไม่มีอาการชักเกร็ง
รู้สึกตัวดี
ตรวจไม่พบอาการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง เช่น Brudzinski
ผลการเพาะเชื้อไม่พบเชื้อ
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา Cefotaxine 300 mg/kg/day และ Vancomycin 60 mg/kg/day และสังเกตอาการข้างเคียงจากยา
วัดและประเมินสัญญาณชีพอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินความผิดปกติ
ประเมินและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท เช่น ระดับความรู้สึกตัวลดลง และสังเกตอาการชักเกร็ง อาการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติใดๆ ให้รายงานแพทย์ทราบ เพื่อให้การพยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยทันที
จัดให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง อากาศถ่ายเทสะดวก จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ไม่รบกวนผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนเต็มที่
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติ เช่น WBC ผลการเพาะเชื้อเพื่อประเมินภาวะโรค การรักษา รวมทั้งวางแผนการรักษาและการพยาบาลต่อไป
ข้อวินิจฉัยที่ 5. บิดามารดาหรือผู้ดูแลมีความวิตกกังวลและขาดความรู้ในการดูแลเด็กที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ข้อมูลสนับสนุน
: บิดามารดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคที่ทารกเป็น
เป้าหมายการพยาบาล
:
เพื่อให้บิดามารดาหรือผู้ดูแลคลายความวิตกกังวลและมีความรู้ในการดูแลเด็กที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เกณฑ์การประเมินผล
บิดามารดาหรือผู้ดูแลมีสีหน้าวิตกกังวลหรือยิ้มแย้มมากขึ้น
บิดามารดาหรือผู้ดูแลบอกวิธีการดูแลเมื่อเด็กมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธถามกับบิดามารดาหรือผู้ดูแลให้เกิดความไว้วางใจ
เปิดโอกาสให้บิดามารดาหรือผู้ดูแลได้ระบายความรู้สึกรวมทั้งได้ซักถามเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของเด็ก
อธิบายเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของเด็กแนวทางการรักษาและการพยาบาลที่เด็กได้รับ
ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กเมื่อมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบเเละกระตุ้นให้ผู้ดูเเลได้มีส่วนร่วมในการดูเเลผู้ป่วย ให้กำลังใจ ชมเชยผู้เเลอย่างสม่ำเสมอ
บอกความก้าวหน้าของโรคให้ผู้ดูเเลทราบทุกระยะเพื่อลดความวิตกกังวลลง
6.ก่อนให้พยาบาลผู้ป่วยทุกครั้งจะต้องบอกผู้ดูเเลก่อนทุกครั้ง เเละให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล
ข้อวินิจฉัยที่ 4. เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารเเละน้ำไม่เพียงพอเนื่องจากอาการเเละพยาธิสภาพทางสมองเเละการได้รับยาขับน้ำ
ข้อมูลสนับสนุน
:
ดูดนมได้น้อย ซึมลง ไม่รู้สึกตัว นาน 1-2 นาที มีอาการเกร็งกระตุกบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง
เป้าหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
เกณฑ์ในการประเมินผล
ไม่มีอาการเกร็งกระตุก สามารถดูดนมได้มากขึ้น ไม่มีอาการซึม รู้สึกตัวดี ไม่มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น อ่อนเพลีย ร้องกวน ชัก
กิจกรรมการพยาบาล
ทำการประเมินอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น อาการซึม อ่อนเพลีย ชัก กระสับกระส่าย เเละ ประเมินดูน้ำหนักตัวของผู้ป่วย
ประเมินเเละทำการบันทึก I/o เพื่อดูสมดุลปริมาณสารน้ำเข้า ออกภายในร่างกาย
ทำการติดตามผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการที่เกี่ยวข้องได้เเก่ CBC เเละอิเล็กโทรลัยต์เพื่อประเมินภาวะขาดสารน้ำของผู้ป่วย
ดูเเลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำเเละสารอาหารที่เหมาะสม ได้เเก่ การให้สารน้ำทางIV, กระตุ้นให้ผู้ป่วยดูดนม