Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นวัตกรรมทางการพยาบาลสาธารณสุข, นางสาวเกียรติสุดา จีนจิ้ว 610105 -…
นวัตกรรมทางการพยาบาลสาธารณสุข
แนวคิดการสร้างนวัตกรรมสาธารณสุข
นวัตกรรมสาธารณสุข ให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ เรียนรู้มีประสบการณ์ทำงานในชุมชน เข้าใจสภาพของชุมชนมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาสาธารณสุขด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นอย่างหลากหลาย มีแนวทางการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขอย่างมีพลวัต (Dynamic) ไม่ยึดติดกิจกรรมเก่า ๆ อย่างตายตัว
ความหมายของนวัตกรรมสาธารณสุข
แนวคิด กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์บนฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เป็นผลงานที่นำไปสู่การแก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ ช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ หรือส่งเสริมให้คนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุข
เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการพยาบาล
เพื่อสร้างความรู้ใหม่ในการให้บริการพยาบา
เพื่อประสานความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางด้านสุขภาพในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
เพื่อลดค่าใช้จ่ายหรือลดการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อแก้ปัญหางบประมาณกำลังคนภารงาน
เพื่อช่วยจัดการความเสี่ยงและสนับสนุนการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้บริการ
เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจและการมีคุณค่าของพยาบาลวิชาชีพในการให้บริการ
เพื่อเป็นการธำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของวิชาชีพและสานต่อองค์ความรู้ของวิชาชีพ
เพื่อเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการพัฒนานโยบายให้มี
การพัฒนาอย่างรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงการวางแผนงานด้านการบริการการจัดอัตรากำลังในการให้บริการพยาบาลการพัฒนา
นวัตกรรมสาธารณสุขไทยสู่สุขภาพดีถ้วนหน้า
ลักษณะของความเป็นนวัตกรรมสาธารณสุข
4) บริการที่แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ในการให้บริการ
1) การให้บริการแบบใหม่หรือมีการคิดค้นวิธีการให้บริการใหม่เป็นสิ่งใหม่ที่ใช้การได้ใช้งานได้จริงคุ้มค่าคุ้ม
ทุนก่อให้เกิดการเรียนรู้และมีผลลัพธ์ที่ดี
2) เป็นบริการที่นำวิธีการจัดการระบบมาใช้ในการประเมินกระบวนการและผลลัพธ์ก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลง
3) บริการที่ใช้การประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยให้การให้บริการ
5) บริการเดิมหรืออุปกรณ์เดิมที่มีอยู่มาปรับเปลี่ยนปรับปรุงคัดแปลงต่อยอดจากของเดิม
ประโยชน์จากการพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุขต่อระบบสุขภาพหรือระบบบริการพยาบาล
1) แนวคิดในการสร้างนวัตกรรมสาธารณสุขคืออะไร
2) การนำนวัตกรรมสาธารณสุขมาใช้มีเป้าหมายอย่างไร
3) นวัตกรรมสาธารณสุขเกิดประโยชน์ต่อองค์กรพยาบาลหรือต่อสถานที่ทำงานหรือไม่อย่างไร
4) การมีนวัตกรรมสาธารณสุขก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการอย่างไร
5) ต้นทุนในการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุขมีอะไรบ้าง
6) มีความเสี่ยงอะไรบ้างที่เกิดขึ้นจากการนำนวัตกรรมสาธารณสุขมาใช้
7) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการพยาบาลสามารถยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในการนำนวัตกรรมการบริการมาใช้หรือไม่อย่างไร
8) การใช้นวัตกรรมสาธารณสุขมีโอกาสพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการหรือไม่อย่างไร
9) การลงมือนำนวัตกรรมสาธารณสุขมาปฏิบัติจะทำได้อย่างไร
10) นวัตกรรมสาธารณสุขสามารถขยายแนวคิดการนำไปใช้ได้อย่างไร
ประเภทของนวัตกรรมสาธารณสุข
การสร้างนวัตกรรมสาธารณสุขใหม่และเป็นนวัตกรรมที่ค้นพบโดยเน้นการค้นหาความคิดใหม่ที่เริ่มจากความรู้ใหม่การใช้ประโยชน์จากความคิดของพยาบาลหรือผู้ใช้บริการเรียนรู้จากกลุ่มผู้ใช้บริการที่มีหัวก้าวหน้ามีการออกแบบที่เข้าใจธรรมชาติของผู้รับบริการมีการตรวจสอบและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอมีการศึกษาจากมุมมองวิชาชีพให้ข้อคิดเห็นเพื่อนำมาสร้างนวัตกรรมการบริการพยาบาลแบบใหม่
ตามลักษณะการใช้นวัตกรรมจนเกิดผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการบริการพยาบาลชุมชนซึ่งผู้ใช้บริการจะเป็นผู้ที่บอกสิ่งที่ต้องการหรือถอดบทเรียนหรือเล่าประสบการณ์ที่ได้รับจากการให้บริการแล้วไม่ประทับใจประสบปัญหาในการได้รับบริการหรือประทับใจการให้บริการจากนั้นนำความคิดมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ประกอบการให้บริการ
เป็นกระบวนการบริการพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแนวคิดใหม่ ๆ (Idea generation)ที่ได้รับโอกาสให้พิจารณา (Opportunity recognition) ที่กระบวนการบริการมากกว่าการปฏิบัติการพยาบาลและต้องมีการประเมินความเป็นไปได้ของทุกความคิด (Idea evaluation) ทั้งนี้กระบวนการใหม่ที่เกิดขึ้นต้องได้รับการ
พัฒนา (development) มาจากระบบบริการเดิมหรือเป็นระบบบริการที่คิดค้นขึ้นมาใหม่จนสามารถนำมาพัฒนาเป็นระบบในเชิงพาณิชย์ได้ (Commercialization)
วิวัฒนาการของการสาธารณสุขไทย
พ .ศ. 2505 กองมาลาเรีย ได้ดำเนินการโครงการอาสาสมัครมาลาเรีย
พ.ศ. 2507-2509 การดำเนินโครงการสารภี โดยมีผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)และกระทรวงสาธารณสุข ได้นำรูปแบบนี้ไป
ทดลองต่อที่จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. 2520-2524 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มดำเนินแผนงานสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นหนักการอบรม ผสส. /อสม. สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์มูลค่า 500 บาท ให้ อสม. ได้ใช้หมุนเวียนรักษาพยาบาลในหมู่บ้านซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนา 3 ก.(กำลังคน กองทุน และการบริหารจัดการ)
พ.ศ. 2523 ประเทศไทยลงนามในกฎบัตรเพื่อการพัฒนาสาธารณสุข โดยสนับสนุนการสาธารณสุขมูล
ฐาน (Primary Health Care = PHC) ให้เป็นกลวิธีที่จะบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า ในปี พ.ศ.2543
พ.ศ. 2525 โครงการหมู่บ้านพึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐาน ทดลองใน 12 หมู่บ้านใน 9 เขต ทั่วประเทศ
พ.ศ. 2525-2529 กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายการอบรม ผสส. /อสม. ให้ครอบคลุมหมู่บ้านในชนบททั้งหมด ให้มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้านและส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสาธารณสุขเฉพาะกิจ โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน และสนับสนุนให้มีกำลงพัฒนาโดยชาวบ้านด้วยกันเอง
พ.ศ. 2526 โครงการกองทุนบัตรสุขภาพ ได้ทำการทดลองใน 7 จังหวัด 8 ตำบล 1 หมู่บ้านโครงการพัฒนาสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เริ่มทดลองใช้ ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นกระบวนการและเครื่องชีวัดถึงการบรรลุ คุณภาพชีวิตในปี พ.ศ. 2544 ที่จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. 2527 รัฐบาลประกาศเป็นปีรณรงค์สาธารณสุขมูลฐานแห่งชาติ เน้นการพัฒนากิจกรรมสาธารณสุข
มูลฐาน องค์ประกอบหลัก การพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง ตำบลละ 1 หมู่บ้าน
พ.ศ. 2529 รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาชนบท โดยสนับสนุนเงินสมทบกองทุนพัฒนาชนบท
พ.ศ. 2527-2530 ขยายพื้นที่ดำเนินงานกองทุนบัตรสุขภาพ โดยกำหนดเป้าหมายตลอดปี 2527
1ตำบลต่อ1 จังหวัด ปี 2528
พ.ศ. 2528 1ตำบลต่อ1 อำเภอ จนถึงปี 2530 ครบทุกตำบลในทุกอำเภอ ขยายพื้นที่ดำเนินงานหมู่บ้าน
พึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐานทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 หมู่บ้าน
พ.ศ. 2528 กระทรวงสาธารณสุขได้เลือก 14 จังหวัดให้เป็นจังหวัดเร่งรัดพัฒนาคุณภาพชีวิต (MiniThailand) และขยายอำเภอเร่งรัดพัฒนาคุณภาพชีวิต (Mini Province) จังหวัดละ 1 อำเภอทั่วประเทศ
พ.ศ. 2528 เพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข (Basic Health Services = BHS หรือ Health
Infrastructure = HIS) ให้เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน และรองรับบริการสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการพัฒนาระบบส่งต่อ (Referral System) จัดตั้ง โรงพยาบาลสาขา (Extended OPD.) และจัดตั้งโครงการพัฒนาระบบบริการของสถานีบริการและหน่วยงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค (พบส.)
พ.ศ. 2528-2530 รัฐบาลประกาศเป็นปีรณรงค์คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ (ปรช.)
พ.ศ. 2529 ชมรมแพทย์ชนบท และชมรมสาธารณสุขอำเภอ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) อันเป็นการเสริมงาน พบส. ให้เข้มแข็งขึ้น
พ.ศ. 2530-2534
พัฒนาปรับเปลี่ยน รูปแบบ หลักเกณฑ์ กองทุนบัตรสุขภาพ
เพิ่มพื้นที่การดำเนินงาน จังหวัดเร่งรัดพัฒนาคุณภาพชีวิต
การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ. 2535-2539 – ดำเนินการ โครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย (ทสอ.) อย่างต่อเนื่องจากปลายปี 2534-2543- เพื่อเร่งรัด กระตุ้นให้บรรลุเป้าหมาย สุขภาพดีถ้วนหน้า ทุกพื้นที่จึงเกิดโครงการเร่งรัดพัฒนาสาธารณสุขโดยกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าของกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ
2536-2537
ปรับเปลี่ยนโครงการบัตรสุขภาพ เป็น โครงการบัตรประกันสุขภาพโดยสมัครใจ กระทรวงสาธารณสุข
สนับสนุนการสาธารณสุขมูลฐานทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท โดยจัดตั้ง ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานในชุมชน (ศสมช.)
โครงการปรับโฉมสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ โดยหลัก 3 ส. (3 S = Smile, Smell &Surrounding)
ส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน
พ.ศ. 2540-2544
ดำเนินการ โครงการ Health For All ต่อเนื่อง โดยกำหนดให้ปี 2543 เป็นปีที่ต้องบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า
กำหนดให้ปี 2544 เป็นปี แห่งการบรรลุคุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ
เป้าหมายการประกันด้านสุขภาพ 100%
เน้นการดำเนินการสาธารณสุขเชิงรุก
โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
โครงการเมืองน่าอยู่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
แนวคิดหรือทฤษฎี
นำกรอบแนวคิดของ Lean Government นั้นมาใช้ในการพัฒนาโดยจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3
ส่วน
1.1 ประชาชนได้รับประโยชน์สุข
1.2 กระบวนการมีการลดความสูญเสียในการทำงาน
1.3 ผู้ปฏิบัติงานไม่เป็นการสร้างภาระให้กับผู้ปฏิบัติงาน
หลักการของ GECC เนื่องจากศูนย์บริการสาธารณสุข 25 ห้วยขวางได้ผ่านการประเมินมาตรฐานศูนย์
ราชการสะดวกในปี 2561
แนวทางการพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุข
1) กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุข
2) คิดรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุข
รูปแบบที่ 1 ใช้ความรู้เดิมวิธีการเดิมขยันทำให้มากขึ้นผลงานพัฒนาขึ้นใหม่
รูปแบบที่ 2 ใช้ความรู้เดิมวิธีการใหม่ (เก่าจากที่อื่น) ผลงานพัฒนาขึ้นใหม่
รูปแบบที่ 3 ใช้ความรู้เดิมวิธีการใหม่ (ใหม่จากที่อื่น) ผลงานพัฒนาขึ้น
รูปแบบที่ 4 ใช้ความรู้ใหม่วิธีการเดิมผลงานพัฒนาขึ้นใหม่
รูปแบบที่ 5 ใช้ความรู้ใหม่วิธีการใหม่ผลงานพัฒนาขึ้นใหม่
3) ดำเนินการตามวิธีคิดรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุข
บทบาทของพยาบาลกับนวัตกรรมสาธารณสุข
ด้านคิดค้นนวัตกรรม หรือวางแผนใช้นวัตกรรม
ด้านเป็นผู้ใช้นวัตกรรม
ด้านการประเมินผล
นางสาวเกียรติสุดา จีนจิ้ว 610105