Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดการพยาบาลชุมชน (Community Health Nursing), นางสาวเกียรติสุดา …
แนวคิดการพยาบาลชุมชน
(Community Health Nursing)
การพยาบาลชุมชน เป็นการดูแลสุขภาพของบุคคลครอบครัวและชุมชนในเขตที่รับผิดชอบ ดูแลทั้งผู้ที่มีสุขภาพดี ผู้ที่ไม่เจ็บป่วย ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงโรคและผู้ที่อยู่ในภาวะเจ็บป่วย ทั้งเรื้อรังและ เฉียบพลันโดยผสมผสานบริการครบถ้วนทั้ง 4 มิติ คือ ด้านการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การรักษา โรค และการฟื้นฟูสภาพ ขจัดสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุของโรค และปัญหาสุขภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชน เพิ่มศักยภาพและความสามารถดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพดี ลดการป่วย การตาย ความพิการจากโรคหรือปัญหาสุขภาพที่มีวิธีป้องกันได้
การพยาบาลชุมชน (Community Health Nursing)
คือ การพยาบาลที่ให้บริการดูแลสุขภาพ แก่ผู้ใช้บริการ (Client) ทุกระดับตั้งแต่บุคคล ครอบครัว กลุ่มคนและชุมชน โดยบริการที่จัดให้แก่ ผู้ใช้บริการจะเป็นบริการสุขภาพแบบองค์รวมและต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ พึ่งพิงตนเองได้ มีความสมดุลของกายและใจกับสิ่งแวดล้อม สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างผาสุกการพยาบาลชุมชนเป็นการพยาบาลที่ผสมผสานแนวคิดการพยาบาลสาธารณสุข
เข้าด้วยกัน
เป้าหมายของการพยาบาลชุมชน
• การดูแลสุขภาพและสุขภาวะของประชาชนให้แข็งแรง
• คำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม
• การดูแลเป็นความต้องการจำเป็นของมนุษย์
• ส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเอง
พยาบาลชุมชนให้บริการโดยคํานึงถึงสิทธิผู้ป่วย ดังนี้
ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐาน
ผู้ป่วยมีสิทธิทีจะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพโดยไม่เลือกปฏิบัติ
ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะรับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอชัดเจน
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วน
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อนามสกุลและประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตนและมีสิทธิขอเปลี่ยนผู้ให้บริการ และสถานบริการได้
หลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติการในระดับชุมชน
ต้องเก็บรักษาเรื่องส่วนตัวของผู้ป่วยไว้เป็น
ความลับเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบไม่ได้ นอกจากผู้ป่วยยินยอมหรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมายเพราะเรื่องส่วนตัวของผู้ป่วยเป็นสิทธิของบุคคล
จริยธรรมแห่งวิชาชีพ” หรือ “จรรยาบรรณ
วิชาชีพ” คือ ระเบียบข้อบังคับที่สมาชิกทุกคนในวิชาชีพต้องนําไปปฏิบัติ
บทบาทหน้าที่พยาบาลชุมชนในระบบสุขภาพใหม่
การพัฒนาบริการสุขภาพชุมชนจากเดิมมีบทบาทหน้าที่ให้บริการเชิงรุก
บริการด้านการป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสภาพ มีการให้บริการตามบ้าน บริการในชุมชน
การพัฒนาบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ
คุณภาพและมาตรฐานการพยาบาลชุมชน
นําแนวคิด ทฤษฎีทางการพยาบาลมาประยุกต์ใช้
ในการปฏิบัติงาน
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับบริการอย่างมีระบบ
ครบถ้วน ถูกต้อง ใช้ได้สะดวก
ด้านการวินิจฉัยทางการพยาบาลต้องได้จากการ
วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมไว้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพของชุมชน ครอบครัวและบุคคล
ด้านการวางแผนการป้องกันทุกระดับ ส่งเสริมสุข
ภาพ ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพ
กําหนดเป้าหมายและประเมินผลร่วมกันระหว่าง
ผู้รับบริการและพยาบาลเกี่ยวกับความก้าวหน้า
พัฒนาคุณภาพบุคลากรและบริการเพื่อบริการ
พยาบาลได้มาตรฐานคุณภาพด้านการร่วมงานในระหว่างทีมสุขภาพและบุคลากร
อื่นๆใกระบวนการบริการเพื่อสุขภาพชุมชน
ด้านการวิจัย พยาบาลอนามัยชุมชนต้องทําการ
ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ในการบริการ
สมรรถะการพยาบาลชุมชนประกอบด้วย
สมรรถนะในการปฏิบัติงาน 6 ด้าน ดังนี้
สมรรถนะด้านการดำเนินงานพัฒนา
สุขภาพชุมชน
สมรรถนะด้านการบริหารจัดการ
สมรรถนะด้านการทำงานร่วมกับชุมชน
สมรรถนะด้านภาวะผู้นำ
สมรรถนะด้านวิชาการและการวิจัย
สมรรถนะด้านกฎหมาย และจริยธรรม
แนวคิดสุขภาพองค์รวมในงานพยาบาลชุมชน
หมายถึง การดูแลสุขภาพเพื่อให้เกิดความสมดุลกลมกลืนเชื่อมโยงกันระหวางรางกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนมีดังนี้
เป็นผู้บริการด้านสุขภาพ (Health
care provider)
เป็นผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพ
(Health educator)
เป็นผู้พิทักษ์ผลประโยชน์
(Advocator)
เป็นผู้บริหารจัดการ (Manager)
เป็นผู้ให้คำปรึกษา (Counselor)
เป็นผู้วิจัย (Researcher)
เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
(Change agent)
เป็นผู้นำ(Leader)
เป็นผู้ประสานงาน (Coordinator)
เป็นผู้ให้ความร่วมมือ
(Collaborator)
วิวัฒนาการการพยาบาลชุมชนในประเทศไทยเชื่อมโยงการพยาบาลทั่วไป มี 3 ระยะ ดังนี้
ระยะแรก (พ.ศ. 2400-2484) เริ่มการสาธารณสุขและการแพทย์แผนปัจจุบันเมื่อพ.ศ. 2400 เนื่องจากมีโรคระบาดเป็นสาเหตุการตายมากโรคร้ายแรง 3 โรค คือ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ กาฬโรค
ระยะที่สอง (พ.ศ. 2485-2499) พ.ศ.2485 การสาธารณสุขไทยพัฒนาขึ้นเปลี่ยนกรมสาธารณสุข สังกัดกระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงสาธารณสุข
ระยะที่สาม (พ.ศ. 2500-ปัจจุบัน) การสาธารณสุขได้มุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนมากขึ้น การยอมรับความสำคัญของชุมชนต่อปัญหาสุขภาพอนามัย
นางสาวเกียรติสุดา จีนจิ้ว 610105