Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Hyper K/AKI (acute kidney injuly) - Coggle Diagram
Hyper K/AKI (acute kidney injuly)
ข้อมูลผู้ป่วย
ชื่อผู้ป่วย นายเฉลิมศักดิ์ เกิดศิริ
อายุ 54 ปี
เตียงที่ 3 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
ปัญหาสุขภาพ
ปัญหาที่ 1 เสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลน้ำและอิเล็กโตรไลต์เนื่องจากไตเสียหน้าที่
ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอกับที่สูญเสียไปในแต่ละวันตามแผนการรักษา
ประเมินสภาวะน้ำในร่างกายโดยการตรวจวัดบันทึกจํานวนที่เข้าออกในร่างกายและจํานวนปัสสาวะที่ออกมาอย่างละเอียด
ตรวจบันทึกสัญญาณชีพและประเมินภาวะน้ำเกินโดยดูจากการบวมของส่วนต่างๆของร่างกาย
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของ BUN, Cr, Electrolyte
ปัญหาที่ 2 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากความดันโลหิตสูง (Hypertension)
ติดตามประเมินความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
ประเมินอาการที่แสดงถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงเช่นอาการปวดศีรษะตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อนคลื่นไส้อาเจียนปากเบี้ยวพูดไม่ชัดแขนขาชาอ่อนแรง
แนะนำผู้ป่วยให้ระมัดระวังการเปลี่ยนท่าอาจทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงและเกิดอุบัติเหตุได้
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักในการดูแลตนเองและควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติรวมทั้งให้มารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ความดันโลหิตสูงเช่นภาวะอ้วนภาวะไขมันในเลือดสูงภาวะเครียดการดื่มเหล้าสูบบุหรี่
แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 30 นาทีเพื่อป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว
ปัญหาที่ 3 เสี่ยงต่อภาวะการหมดสติเนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia)
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตรงตามเวลาในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
สังเกตอาการ Hypoglycemia
สอนให้ผู้ป่วยทราบเกี่ยวกับอาการของ Hypoglycemia ถ้าผู้ป่วยเริ่มมีอาการจะได้ดูแลตนเองในเบื้องต้นได้โดยการรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมเร็วเช่นน้ำหวานลูกอมน้ำตาลน้ำผลไม้ที่มีรสหวานเป็นต้น
ตรวจวัด Vital signs ทุก 4 ชั่วโมงถ้าผิดปกติรายงานแพทย์ทราบทันทีเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไปอาจต้องเจาะเลือดผู้ป่วยเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดและเตรียมกลูโคสเพื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำถ้ามีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมาก
ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ค่อยได้หรือไม่ยอมรับประทานอาหารไม่ควรฉีดยาอินสุลินหรือให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดเพราะจะทำให้เกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่าย
ติดตามผลการตรวจ Blood sugar อย่างใกล้ชิด
ปัญหาที่ 4 เสี่ยงต่อภาวะการหมดสติเนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง(Hypoglycemia)
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตรงตามเวลาในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
สังเกตอาการของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาลดระดับระดับน้ำตาลในเลือดและฉีดยาอินสุลินตามแผนการรักษา
ติดตามผลเลือดเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด (Blood sugar) ถ้ามีค่าสูงมากต้องรีบรายงานแพทย์ทราบเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยตระหนักถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงนาน ๆ โดยไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในระดับปกติได้
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีและย้ำให้ผู้ป่วยและญาติตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้ถูกต้องและการออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อป้องกันอันตรายจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ประวัติการเจ็บป่วย
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
Refer จาก รพ. ท่าช้าง เหงื่อออก ตัวเย็น อ่อนเพลีย 1 วัน มาตามนัด
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
1 วันก่อนมามีอาการเหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น หน้ามืด ไม่ได้ไปรักษาที่ใด นั่งพักแล้วอาการดีขึ้น วันที่มาตรวจตามนัด เจาะ LAB พบค่า K = 7.6 Cr = 8.3
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
1 เดือนก่อนมา Admitted ตัดนิ้วเท้าด้านซ้าย
เป็นโรคเบาหวาน 10 ปี
เป็นโรคความดันโลหิตสูง 10 ปี
CKD ( Chronic kidney disease ) 5 ปี
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
ปฏิเสธการเจ็บป่วยในครอบครัว
อาการและอาการแสดง (ของผู้ป่วย)
เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น หน้ามืด อ่อนเพลีย
ภาวะแทรกซ้อน (ของผู้ป่วย)
ค่าโพแทสเซียมในเลือดสูง (hyperkalemia)
ความดันโลหิตสูง (hypertension)
พยาธิสภาพ
AKI Acute kidney injuly
ระยะเริ่มแรก (initial phase) เป็นระยะที่ร่างกายได้รับภยันตรายหรือสัมผัสกับสารพิษที่มีผลต่อไตแล้วมีการปรับตัวโดยระบบประสาทซิมพาเธติคและมีการหลั่งสารที่ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายหดตัวซึ่งมีผลต่อการปรับระดับการไหลเวียนของเลือดความดันโลหิตเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะสำคัญทำให้เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง (ischemia) ระยะนี้อาจจะอยู่ประมาณ 2-3 ชม. ถึง 2 วันถ้าแก้ไขได้ทันท่วงทีก็จะหยุดการดำเนินโรคระยะนี้ได้
ระยะที่มีการทำลายของเนื้อไต (maintainance) เป็นระยะที่เกิดขึ้นภายใน 2 – 3 ชม. และอาจนานเป็น 2 สัปดาห์บางรายอาจนานถึง 2 เดือนก็ได้ระยะนี้พบว่าเนื้อไตมีการอุดตันที่หลอดฝอยไตและมีเนื้อไตวายเกิดจากขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานานไตเสียหน้าที่ในการขับของเสียและรักษาสมดุลน้ำอิเลคโตรลัยท์ความเป็นกรดด่างตรวจพบอัตราการกรองของไตลดลงเหลือ 5 – 10 มล. / นาทีปัสสาวะจะออกน้อยมาก (Oliguria) หรือน้อยกว่า 400 มล. ต่อวันค่า BUN, creatinin สูงกว่าปกติผลแทรกซ้อนของระยะนี้คือภาวะของเสียคั่งในเลือด (uremia)
ระยะที่มีปัสสาวะออกมาก (diuretic phase) เป็นระยะที่ไตเริ่มฟื้นตัวจะมีปัสสาวะออกมากกว่า 400 มิลลิลิตรจนถึง 4-5 ลิตรต่อวันไตยังไม่สามารถทำหน้าที่ดูดซึมกลับของสารโดยเฉพาะ Na, K ทำให้ขับออกมากับปัสสาวะและยังไม่สามารถทำให้ปัสสาวะเข้มข้นได้
ระยะที่ไตเริ่มฟื้นตัว (recovery phase) มีการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อไตปัสสาวะจะเริ่มออกมากขึ้นระดับยูเรียเริ่มลดลงและค่า BUN, creatinin จะค่อย ๆ ลดลงสู่ระดับปกติ (baseline) ระยะนี้กินเวลา 5 – 10 วันบางรายอาจมีปัสสาวะมากถึงวันละ 5 ลิตรระยะนี้ได้ยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์กล่าวคือยังไม่สามารถทำหน้าที่ดูดซึมกลับของสารอิเลคโตรลัยท์โดยเฉพาะโซเดียมโปตัสเซียมได้ทำให้มีการขับปัสสาวะเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังไม่สามารถทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นได้ซึ่งต้องใช้เวลา 3 – 12 เดือน สมรรถภาพของการทำงานของไตค่อยๆดีขึ้นจนเข้าสู่ปกติ
Hyper K (Hyperkalemia)
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงจะเกิดขึ้นเมื่อไตไม่สามารถขับถ่ายโพแทสเซียมได้หรือไม่สามารถขับเคลื่อนโพแทสเซียมจากกระแสเลือดไปยังเซลล์ร่างกายได้อย่างเหมาะสมหรือเมื่อภาวะทั้งสองเกิดขึ้นพร้อมกันซึ่งมักเกิดจากความผิดปกติของไตดังนี้ ภาวะไตวายเฉียบพลัน Acute kidney injuly
การรักษา
1.Hydralazine 25 g 2 tab oral q tid pc
2.Ceftazidime 2 g v OD.
3.Methyldopac250 g 1 tab oral tid pc
4.CaCO3 600 g 2 tab oral dc meal
5.Paracetamol 500 mg prn