Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความเป็นมาของวรรณคดีชาดก จัดทำโดย นายเอกพจน์ อี้มัย 6115882024 ปี 4…
ความเป็นมาของวรรณคดีชาดก
จัดทำโดย
นายเอกพจน์ อี้มัย
6115882024 ปี 4 หมู่ 2
1. ความหมายของชาดก
1.1 ชาดกในความหมายทางพระพุทธศาสนา
"ผู้เกิด" / "ผู้เกิดแล้ว"
- คำว่า ชาดก อ่านออกเสียงตามบาลีสันสกฤตว่า
"ชา-ตะ-กะ (Ja-ta-ka)"
ส่วนในภาษาไทยอ่านออกเสียงว่า
ชา-ดก
ชาดกในพระไตรปิฎก
(เป็นคัมภีร์หนึ่งใน 15 คัมภีร์ขุททกนิกาย ได้แก่)
ขุททกปาฐะ
(บทสวดสั้น ๆ)
ธรรมบท
(ธรรมภาษิตสั้น ๆ)
อุทาน
(ธรรมภาษิตมีเนื้อเรื่องประกอบ)
อิติวุตตกะ
(อ้างอิงว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสข้อความนี้ไว้)
สุตตนิบาต
(เป็นพระสูตรคำฉันท์ล้วน)
วิมานวัตถุ
(แสดงถึงเหตุที่ทำให้ได้วิมาน)
เปตวัตถุ
(เป็นเรื่องของเปรต)
เถรคาถา
(ภาษิตทางธรรมสอนพระเถระ [ชาย] 264 รูป)
เถรีคาถา
(ภาษิตทางธรรมสอนพระเถรี [หญิง] 73 รูป)
ชาตกะ
(เรื่องชาดกในพระไตรปิฎก)
นิทเทส
(คำอธิบายพุทธภาษิต)
ปฏิสัมภิทามรรค
(เป็นภาษิตของพระสารีบุตร)
อปทาน
(ประวัติการบำเพ็ยความดีของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวก)
พุทธวงศ์
(เรื่องวงศ์แห่งพระพุทธเจ้า)
จริยาปิฎก
(ความประพฤติในอดีตของพระพุทธเจ้า)
ชาดกเป็นหนึ่งในคำสอนพระศาสดามีองค์ 9 เรียกว่า
นวังคสัตถุศาสน์
สูตร
(พระวินัย คัมภีร์ พระสูตร)
เคยยะ
(ความร้อยแก้วผสมร้อยกรอง)
ไวยากรณ์
(ความร้อยแก้วล้วน)
คาถา
(ความร้อยกรองล้วน)
อุทาน
(พุทธอุทาน)
อิติวุตตกะ
(พระสูตร 110)
ชาตก
(ชาดก 550 เรื่อง)
อัพภูตธรรม
(เรื่องอัศจรรย์)
เวทัลละ
(พระสูตรแบบถามตอบ)
1.2 ชาดกในความหมายของนักวิชาการ
เรื่องราวในอดีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ 550 ชาติ ก่อนที่ชาติสุดท้ายจะได้เป็นพระพุทธเจ้า
คำสอนของพระพุทธเจ้าทางพุทธศาสนาอย่างหนึ่งใน 9 อย่าง เรียกว่า
นวังคสัตถุศาสน์
เป็นคัมภีร์หนึ่งใน 15 คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายชาดก ในพระไตรปิฎก 45 เล่ม ซึ่งชาดกแบ่งเป็นเล่มที่ 27 คือ ชาดกภาคที่ 1 และเล่มที่ 28 เป็นชาดกภาคที่ 2
2. ความเป็นมาของชาดกและอรรถกถาชาดก
2.1 ความเป็นมาของชาดก
[1] เป็นเรื่องเก่าแก่มีมาก่อนพุทธกาลประมาณ 3,000 ปี ลงมาถึง 100 ปี
[2] ปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎกและในพระวินัยปิฎก
[3] ในบาลีพระไตรปิฎก แบ่งชาดกออกเป็น 2 ภาค ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดกภาค 1 เป็นพระไตรปิฎกเล่มที่ 27
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดกภาค 2 เป็นพระไตรปิฎกเล่มที่ 28
[4] คาถาในชาดกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
เรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารสมัยก่อนพุทธกาล
เป็นนิทานพื้นบ้านในชมพูทวีปจนถึงแถบอาหรับเปอร์เซีย
เป็นนิทานเทียบสุภาษิต
2.2 ความเป็นมาของอรรถกถาชาดก
[1]
อรรถกถา
เป็นชื่อคัมภีร์หรือหนังสือที่แต่งอธิบายคำหรือข้อความที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น
[2] เป็นคัมภีร์ไขความพระไตรปิฎกเรียกว่า
คัมภีร์อรรถกถา ปกรณ์อรรถกถา
หรือ
อรรถกถา
2.3 แหล่งที่มาของนิทานชาดก
[1]
นิทานเก่าแก่ของอินเดีย
ซึ่งนิทานชาดกมีเนื้อเรื่องที่คล้ายกับนิทานในคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ เช่น
คัมภีร์มหาภารตะ
คัมภีร์รามายณะ
คัมภีร์ปุราณะ
คัมภีร์อุปนิษัท
คัมภีร์อิติหาสะ
คัมภีร์ปัญจตันตระ
คัมภีร์ตันตราขยายิก
[2]
นิทานอีสปของกรีก
ซึ่งนิทานชาดกกับนิทานอีสป มีความสัมพันธ์ 2 ประการ
ด้านโครงเรื่อง
มีความสั้น ยาว สลับซับซ้อนคล้ายกัน
ด้านความสัมพันธ์ทางแนวคิด
แนวความคิดตรงกัน
แนวความคิดต่างกัน เช่น จุดมุ่งหมายที่จะสอนต่างกัน
[3]
นิทานเก่าแก่ของเปอร์เซีย
นิทานชาดกบางเรื่องได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมเปอร์เซีย เนื่องจากเปอร์เซียกับอินเดียเป็นประเทศพื้นบ้านกัน เช่น
ชาดกเรื่อง
อาทิจจุปัฏฐานชาดก
ว่าด้วยเรื่องลิงไหว้พระอาทิตย์ ซึ่งชาวเปอร์เซียนับถือพระอาทิตย์
[4]
อิทธิพลของนิทานชาดกต่อวัฒนธรรมอื่น
เป็นที่มาของนิทานชาติต่าง ๆ
กรีก
เปอร์เซีย
เป็นนิทานที่ได้เข้ามามีอิทธิพลแพร่หลายไปในประเทศเปอร์เซียและอาหรับ