Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 มลพิษทางอากาศ - Coggle Diagram
บทที่ 9 มลพิษทางอากาศ
9.2 จุดจัดเก็บตัวอย่างอากาศของปล่องไฟ
ตําแหน่งของจุดจัดเก็บตัวอย่างอากาศของปล่องไฟควรอยู่ที่ปล่องไฟแนวตั้ง และเป็น ตําแหน่งที่มีการปั่นป่วนของไอเสียน้อยที่สุด
จุดจัดเก็บตัวอย่างอากาศควรอยู่ที่ระยะห่างอย่างน้อย 8 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางปล่องไฟ หลังจากจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงการไหลของไอเสีย
จุดจัดเก็บตัวอย่างอากาศควรอยู่ที่ระยะห่างอย่างน้อย 2.5 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางปล่องไฟ ก่อนปลายปล่องไฟ
ถ้าไม่สามารถดําเนินการตามข้อ 2 และข้อ 3 ดังกล่าวได้ ให้ใช้ระยะ B และ A
ขนาดของช่องเก็บตัวอย่างอากาศ ต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 3.5" ยาวไม่เกิน 4” และมีฝาครอบที่มีช่องเปิดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1”
ช่องเก็บตัวอย่างไอเสียต้องมีจํานวน 2 ช่อง ทํามุมกัน 90 องศา แต่ถ้าปล่องไฟมีเส้นผ่าศูนย์กลางปล่องไฟขนาดใหญ่กว่า 1.5 เมตร จะต้องมีช่องเก็บตัวอย่างไอเสียจำนวน 4 ช่อง โดยต้องมี 2 ช่องอยู่ตรงข้ามกัน
ต้องมีแผงพื้นที่ทํางานที่มีราวกันตกตามแนวผนังปล่องไฟ ขนาดพื้นที่ทํางาน ต้องไม่น้อยกว่า 1.5 x 1.5 เมตร ที่ระดับต่ํากว่าจุดจัดเก็บตัวอย่างอากาศ 1.2 เมตร
ต้องมีไฟฟ้า 220 V ระยะห่างไม่เกิน 5 เมตร จากจุดจัดเก็บตัวอย่างอากาศ
9.3 สารมลพิษในไอเสียที่ปล่อยออกจากปล่องไฟ
9.3.1 ฝุ่นละออง เขม่า ควันไฟ
วิธีการลดปัญหาเขม่าควันไฟ
เลือกใช้เชื้อเพลิงที่เผาไหม้แล้วเกิดเขม่าควันไฟน้อย เช่น เชื้อเพลิงก๊าซ
เลือกใช้ระบบการเผาไหม้ที่ดีหรือใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ
ปรับปรุงระบบการเผาไหม้เดิม เช่น เพิ่มอุณหภูมิของเชื้อเพลิงเหลว เพิ่มอุณหภูมิของอากาศ สําหรับเผาไหม้ เพิ่มหรือลดความดันเชื้อเพลิง
หม้อไอน้ําบางชนิดออกแบบลักษณะการไหลของก๊าซร้อนไม่ดี ทําให้เกิดเขม่าควันไฟมาก ควรหลีกเลี่ยง ไม่นํามาใช้งาน
ถ้าไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของการเกิดเขม่าควันไฟได้ ให้ใช้อุปกรณ์กําจัดเขม่าควันไฟ ที่ออกจากหม้อไอน้ํา เช่น มัลติไซโคลน
9.3.2 ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2, รวมทั้ง SO3, ซึ่งมีปริมาณน้อย)
วิธีการลดปัญหาก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
เลือกใช้เชื้อเพลิงชนิดเดียวกัน แต่มีสารกํามะถันต่ํากว่าเดิม หรือเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงชนิด ที่มีกํามะถันต่ํากว่าเดิม
เติมหรือฉีดหินปูน (CaCO3) ปูนขาว หรือน้ําด่างเข้าไปในห้องเผาไหม้ เพื่อทําปฏิกิริยากับ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในหม้อไอน้ําที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง
9.3.3 ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx)
เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีธาตุไนโตรเจน หรือไม่มีธาตุไนโตรเจนใน เชื้อเพลิงก็ได้ แต่ถ้าการเผาไหม้มีอุณหภูมิสูงมากหรือใช้เวลาในการเผาไหม้นาน ก๊าซไนโตรเจนก็จะ เกิดปฏิกิริยาออกซิไดซ์กับก๊าซออกซิเจน (O3) ในอากาศเกิดเป็นก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเป็น ก๊าซพิษ
9.3.4 การคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของธาตุคาร์บอนในเชื้อเพลิงคล้ายการ เกิดเขม่าควันไฟ
:explode:วิธีการลดปัญหาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
เลือกใช้ระบบการเผาไหม้ที่ดี มีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์
ปรับปรุงระบบการเผาไหม้เดิม เช่น เพิ่มอุณหภูมิของเชื้อเพลิงเหลว
หม้อไอน้ําบางชนิดออกแบบลักษณะการไหลของก๊าซร้อนไม่ดี ทําให้เกิดก๊าซคาร์บอน มอนอกไซด์มาก
9.3.5 ไอเชื้อเพลิง (volatile organic compound, VOC)
เป็นสารระเหยของเชื้อเพลิงที่ไม่เผาไหม้ในหม้อไอน้ํา ไอเชื้อเพลิงมีผลต่อชั้นโอโซน ระบบการหายใจของมนุษย์ ทําให้เกิดมะเร็ง เกิดการระคายเคืองตา มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และ ทําให้เกิดหมอกในอากาศ
:explode:วิธีการลดปัญหาไอเชื้อเพลิงของหม้อไอน้ํา
จัดเก็บเชื้อเพลิงที่มีการระเหยง่ายให้มิดชิด
ใช้หัวพ่นไฟที่มีประสิทธิภาพสูงที่ทําให้เผาไหม้ได้หมด
9.1 การปรับค่ามลภาวะที่วัดได้ให้เป็นมาตรฐาน O2 = 7%
มาตรฐานค่าสารมลพิษในไอเสียที่ปล่อยออกจากปล่องไฟตามกฎหมายประเทศไทย ปี พ.ศ. 2549 กําหนดให้เทียบค่าที่ปริมาณ O, ในไอเสีย 7%