Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case 2 เด็กชายไทยวัยทารก อายุ 4 วัน CC: หายใจเร็ว ซึมลง ขม่อมโป่งตึง 30…
Case 2
เด็กชายไทยวัยทารก อายุ 4 วัน
CC: หายใจเร็ว ซึมลง ขม่อมโป่งตึง 30 นาที หลังคลอด
ความหมายหรือความรู้เรื่องโรค พยาธิสรีรภาพและการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
Congenital hydrocephalus with IICP
Congenital hydrocephalus
ความหมาย
ภาวะนํ้าคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus) คือ ภาวะที่เกิดจากการความสมดุลของการสร้างและการดูดซึมของน้ำไขสันหลัง เกิดน้ำไขสันหลัง (cerebrospinal fluid: CSF) คั่งบริเวณ ventricle และ subarachnoid space ในกระโหลกศีรษะมากผิดปกติ
พยาธิสภาพ
นําไขสันหลังสร้างที่ Choroid plexuses บริเวณ Lateral ventricles ไหลเวียนผ่าน Ventricular system และดูดซึมบริเวณ Subarachnoid spaces ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติในการดูดซึมน้ำไขสันหลังเข้าสู่ระบบเลือด (Communicating hydrocephalus) การอุดกั้นของทางผ่านน้ำไขสันหลัง (Obstructive hydrocephalus or non-communication hydrocephalus) หรือการสร้างน้ำไขสันหลังมากผิดปกติจากเนื้องอกของ Choroid plexus
อาการและอาการแสดง
เด็กที่มีอาการไม่รุนแรงมักจะมีศีรษะโตเล็กน้อยเด็กป่วยที่มีศีรษะโตมากเมื่อเทียบกับตัวจะมีหน้าผากโปนเด่นกว่าปกติหนังศีรษะบางเป็นมันหลอดเลือดดำบริเวณหนังศีรษะมีขนาดใหญ่เห็นชัดเจนมี Sunset eyes กระหม่อมหน้ากว้างใหญ่กว่าปกติและตึงเมื่อเคาะดูจะมีเสียงเหมือนภาชนะร้าว (Cracked pot) ถ้าเป็นรุนแรงและไม่ได้รับการแก้ไขเป็นเวลานานจะมีขาเกร็งทั้ง 2 ข้างมี reflex ไวขึ้นมี Clonus ที่ข้อเท้าอาจมีอาเจียนซึมและเลี้ยงไม่โต
สาเหตุ
การอุดตันทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง อาจเกิดจากความพิการแต่กำเนิด การอักเสบหรือเนื้องอก ซึ่งตำแหน่งที่พบได้บ่อย ได้แก่ Aqueduct of sylvirus , foramen of Luschka
การสร้างหรือการผลิตน้ำไขสันหลังมากผิดปกติ (increase CSF secretion ) เช่น เนื้องอกของ Choroid plexus (Choroid plexus papillorma)
การดูดซึมผิดปกติ สาเหตุจากการอุดตันหลอดเลือดดำ (Venous sinus thrombosis) หรือการอักเสบ Arachnoiditis จากการติดเชื้อหรือเลือดออก ก่อให้เกิด communicating hydrocephalus
ชนิดของ Hydrocephalus
Non communicating hydrocephalus (Obstructive hydrocephalus) เป็นภาวะที่เกิดจากมีการอุดตันของทางเดินของน้ำไขสันหลังสาเหตุมีได้หลายอย่างเช่นเนื้องอกสมอง, การบาดเจ็บที่ศีรษะทำให้เลือดออกในโพรงสมองและเนื้อสมอง, ความพิการ แต่กำเนิด (Aqueductal stenosis), การติดเชื้อเช่นพยาธิตืดหมูในสมอง (Neurocysticcercosis) เป็นต้น
Communicating hydrocephalus เป็นภาวะที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การอุดตันของทางเดินของน้ำไขสันหลังเช่นการสร้างหรือการดูดซึมน้ำหล่อสมองและไขสันผิดปกติ
IICP
สาเหตุ
มีสิ่งกินที่เกิดขึ้นในสมอง (Space occupying lesion) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาตรเนื้อสมอง ได้แก่ ก้อนเลือด สมองช้ำ สมองบวม ฝี เนื้องอก เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้เลือดในสมองเพิ่มขึ้น ได้แก่ การมีเลือดคั่ง (Hypermia) มีคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง หรือขาดออกซิเจน (Hypercapnia or Hypoxia) ได้รับยาขยายหลอดเลือด มีการอุดตันทางเดินเลือดดำ เช่น การหมุนบิดคอ ก้มคอมากเกินไป การเพิ่มความดันในช่องท้อง กลั้นหายใจ เกร็งกล้ามเนื้อขา งอตะโพก หรือใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดความดันบวกขณะหายใจออก
สาเหตุที่ทำให้น้ำไขสันหลังเพิ่มขึ้น เช่น เป็นเนื้องอกของคอรอยด์เพลกซัส ทำให้สร้างน้ำไขสันหลังเพิ่มขึ้นหรือในทางตรงกันข้าม น้ำไขสันหลังถูกดูดซึมน้อยลง หรือเนื้องอกอุดตันทางเดินไขสันหลัง เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
กลุ่มที่อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (acute onset) : ที่พบบ่อยเกิดจากการอุดกั้นทางเดินน้ำไขสันหลังอย่างทันทีทันใด เช่น Encephalitis อาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียนรุนแรง ภาวะการรู้สติเร็วลงอย่างรวดเร็ว ตรวจ eyeground พบ papilledema และมักมีอาการบ่งชี้ว่ามี brain herniation ได้แก่ ม่านตาขยายข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วต่อไปทั้ง 2 ข้างและไม่ค่อยมีปฏิกิริยาต่อแสง อัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจค่อยๆช้าลง ความดันเลือดในระยะแรกจะสูงขึ้น ต่อไปก็จะลดลง
กลุ่มที่อาการเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป (insidious onset) : มีคามดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นช้าๆ ใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเดือน สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ เนื้องอกในสมอง hydrocephalus ฝีในสมอง อาการและอาการแสดงที่พบ ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียน ซึมลง เห็นภาพซ้อน ตามัว papilledeman ขม่อมโป่งตึง ในเด็กเล็กและมีการแยกของรอยประสานกระดูกกะโหลกศีรษะ
พยาธิสภาพ
สมองเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งเป็นโครงแข็งไม่สามารถขยายออกได้ ยกเว้นในเด็กเล็กที่รอยแยกของกะโหลกศีรษะยังติดกันไม่สนิท เมื่อปริมาตรหรือส่วนประกอบในส่วนใดส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นหรือลดลง ส่วนประกอบที่เหลือจะปรับตัวเพื่อให้อยู่ในภาวะสมดุล เพื่อให้สมองทำงานได้ตามปกติ แต่ถ้าการปรับเปลี่ยนไม่อยู่ในภาวะสมดุลจะทำให้ความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น อาจก่อให้เกิดภาวะความพิการทางสมองหรือได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ ในผู้ป่วยเด็กเล็กที่กะโหลกศีรษะยังปิดไม่สนิทสามารถเพิ่มปริมาตรของกะโหลกศีรษะได้ โดยศีรษะจะขยายใหญ่ขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยเด็กสามารถปรับตัวต่อภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงได้ดีกว่าในเด็กหรือในผู้ใหญ่
ความหมาย
ภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง (increased intracranial pressure: IICP) คือ ภาวะที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูงกว่าปกติคือสูงกว่า 20 mmHg ค่าความดันในกะโหลกศีรษะสามารถวัดได้จากในช่อง ventricle หรือ Subarachnoid หรือ subdural หรือ epidural ดันในกะโหลกศีรษะปกติแตกต่างตามอายุ ทารกแรกเกิดประมาณ 1.5-6 mmHg ทารกและเด็กเล็กประมาณ 3-7 mmHg เด็กประมาณ 10-15 mmHg