Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case 2 เด็กชายไทย วัยทารกอายุ 4 วัน CC: หายใจเร็ว ซึมลง ขม่อมโปงตึง 30…
Case 2
เด็กชายไทย วัยทารกอายุ 4 วัน
CC: หายใจเร็ว ซึมลง ขม่อมโปงตึง 30 นาที
ความหมายหรือความรู้เรื่องโรค พยาธิสรีรภาพและการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
Congenital hydrocephalus with IICP
Congenital hydrocephalus
ความหมาย
ภาวะนํ้าคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus) คือ ภาวะที่เกิดจากการความสมดุลของการสร้างและการดูดซึมของน้ำไขสันหลัง เกิดน้ำไขสันหลัง (cerebrospinal fluid: CSF) คั่งบริเวณ ventricle และ subarachnoid space ในกระโหลกศีรษะมากผิดปกติ
พยาธิสภาพ
นําไขสันหลังสร้างที่ Choroid plexuses บริเวณ Lateral ventricles ไหลเวียนผ่าน Ventricular system และดูดซึมบริเวณ Subarachnoid spaces ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติในการดูดซึมน้ำไขสันหลังเข้าสู่ระบบเลือด (Communicating hydrocephalus) การอุดกั้นของทางผ่านน้ำไขสันหลัง (Obstructive hydrocephalus or non-communication hydrocephalus) หรือการสร้างน้ำไขสันหลังมากผิดปกติจากเนื้องอกของ Choroid plexus
อาการและอาการแสดง
เด็กที่มีอาการไม่รุนแรงมักจะมีศีรษะโตเล็กน้อยเด็กป่วยที่มีศีรษะโตมากเมื่อเทียบกับตัวจะมีหน้าผากโปนเด่นกว่าปกติหนังศีรษะบางเป็นมันหลอดเลือดดำบริเวณหนังศีรษะมีขนาดใหญ่เห็นชัดเจนมี Sunset eyes กระหม่อมหน้ากว้างใหญ่กว่าปกติและตึงเมื่อเคาะดูจะมีเสียงเหมือนภาชนะร้าว (Cracked pot) ถ้าเป็นรุนแรงและไม่ได้รับการแก้ไขเป็นเวลานานจะมีขาเกร็งทั้ง 2 ข้างมี reflex ไวขึ้นมี Clonus ที่ข้อเท้าอาจมีอาเจียนซึมและเลี้ยงไม่โต
สาเหตุ
การอุดตันทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง อาจเกิดจากความพิการแต่กำเนิด การอักเสบหรือเนื้องอก ซึ่งตำแหน่งที่พบได้บ่อย ได้แก่ Aqueduct of sylvirus , foramen of Luschka
การดูดซึมผิดปกติ สาเหตุจากการอุดตันหลอดเลือดดำ (Venous sinus thrombosis) หรือการอักเสบ Arachnoiditis จากการติดเชื้อหรือเลือดออก ก่อให้เกิด communicating hydrocephalus
การสร้างหรือการผลิตน้ำไขสันหลังมากผิดปกติ (increase CSF secretion ) เช่น เนื้องอกของ Choroid plexus (Choroid plexus papillorma)
ชนิดของ Hydrocephalus
Communicating hydrocephalus เป็นภาวะที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การอุดตันของทางเดินของน้ำไขสันหลังเช่นการสร้างหรือการดูดซึมน้ำหล่อสมองและไขสันผิดปกติ
Non communicating hydrocephalus (Obstructive hydrocephalus) เป็นภาวะที่เกิดจากมีการอุดตันของทางเดินของน้ำไขสันหลังสาเหตุมีได้หลายอย่างเช่นเนื้องอกสมอง, การบาดเจ็บที่ศีรษะทำให้เลือดออกในโพรงสมองและเนื้อสมอง, ความพิการ แต่กำเนิด (Aqueductal stenosis), การติดเชื้อเช่นพยาธิตืดหมูในสมอง (Neurocysticcercosis) เป็นต้น
IICP
ความหมาย
ภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง (increased intracranial pressure: IICP) คือ ภาวะที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูงกว่าปกติคือสูงกว่า 20 mmHg ค่าความดันในกะโหลกศีรษะสามารถวัดได้จากในช่อง ventricle หรือ Subarachnoid หรือ subdural หรือ epidural ดันในกะโหลกศีรษะปกติแตกต่างตามอายุ ทารกแรกเกิดประมาณ 1.5-6 mmHg ทารกและเด็กเล็กประมาณ 3-7 mmHg เด็กประมาณ 10-15 mmHg
พยาธิสภาพ
สมองเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งเป็นโครงแข็งไม่สามารถขยายออกได้ ยกเว้นในเด็กเล็กที่รอยแยกของกะโหลกศีรษะยังติดกันไม่สนิท เมื่อปริมาตรหรือส่วนประกอบในส่วนใดส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นหรือลดลง ส่วนประกอบที่เหลือจะปรับตัวเพื่อให้อยู่ในภาวะสมดุล เพื่อให้สมองทำงานได้ตามปกติ แต่ถ้าการปรับเปลี่ยนไม่อยู่ในภาวะสมดุลจะทำให้ความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น อาจก่อให้เกิดภาวะความพิการทางสมองหรือได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ ในผู้ป่วยเด็กเล็กที่กะโหลกศีรษะยังปิดไม่สนิทสามารถเพิ่มปริมาตรของกะโหลกศีรษะได้ โดยศีรษะจะขยายใหญ่ขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยเด็กสามารถปรับตัวต่อภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงได้ดีกว่าในเด็กหรือในผู้ใหญ่
อาการและอาการแสดง
กลุ่มที่อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (acute onset) : ที่พบบ่อยเกิดจากการอุดกั้นทางเดินน้ำไขสันหลังอย่างทันทีทันใด เช่น Encephalitis อาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียนรุนแรง ภาวะการรู้สติเร็วลงอย่างรวดเร็ว ตรวจ eyeground พบ papilledema และมักมีอาการบ่งชี้ว่ามี brain herniation ได้แก่ ม่านตาขยายข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วต่อไปทั้ง 2 ข้างและไม่ค่อยมีปฏิกิริยาต่อแสง อัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจค่อยๆช้าลง ความดันเลือดในระยะแรกจะสูงขึ้น ต่อไปก็จะลดลง
กลุ่มที่อาการเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป (insidious onset) : มีคามดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นช้าๆ ใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเดือน สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ เนื้องอกในสมอง hydrocephalus ฝีในสมอง อาการและอาการแสดงที่พบ ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียน ซึมลง เห็นภาพซ้อน ตามัว papilledeman ขม่อมโป่งตึง ในเด็กเล็กและมีการแยกของรอยประสานกระดูกกะโหลกศีรษะ
สาเหตุ
การรักษาที่ได้รับ
Lumbar Punture
การเจาะหลัง (Lumbar puncture) สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 18 เดือนขึ้นไปที่กระหม่อมหน้าปิดแล้วเป็นหัตถการที่ใช้เข็มเจาะเข้าไปใน Subarachnoid space ของ spinal column L3 หรือ L4 หรือช่องระหว่างกระดูกสันหลังระดับ L4 และ L5 ในแนวกลางตัวเพื่อช่วยการวินิจฉัยการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลางวัดความดันในน้ำไขสันหลังและเพื่อการให้ยาทางน้ำไขสันหลังข้อห้ามทําในเด็กป่วยที่มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงมีภาวะเลือดออกง่ายมีความผิดปกติหรือบาดแผลบริเวณกระดูกสันหลัง
การเตรียมผู้ป่วยก่อนเจาะหลัง
ตรวจสอบชื่อนามสกุลของเด็กให้ถูกต้องอธิบายให้ผู้ปกครองและเด็กโตเข้าใจถึงความจําเป็นและข้อบ่งชี้ในการเจาะหลังและขอความยินยอมจากผู้ปกครองและให้ลงลายมือชื่อในเอกสารยินยอมการเจาะหลัง
เปิดเส้นให้สารทางหลอดเลือดาตามแผนการรักษา
ตรวจประเมินสัญญาณชีพ
การดูแลเด็กขณะการเจาะหลัง
จัดท่านอนตะแคงซ้ายชิดขอบเตียงหันหลังให้แพทย์พร้อมงอเข่าสองข้างชิดหน้าอกให้มากที่สุดและก้มศีรษะ
สังเกตการหายใจระดับความรู้สึกตัว
ปลอบโยนเต็กป่วยหรืออนุญาตให้บิดามารดาอยู่ด้วยในเด็กโตให้ผ่อนคลายหายใจเข้าออกลึก ๆ หรือจินตนาการเพื่อช่วยลดความวิตกกังวลหรือความกลัว
การดูแลเด็กหลังการเจาะหลัง
จัดให้นอนราบไม่หนุนหมอนประมาณ 6-8 ชั่วโมง
วัดและประเมินสัญญาณชีพจนกว่าจะอยู่ในช่วงปกติ
สังเกตผ้าก๊อซที่ปิดบริเวณที่เจาะว่ามีเลือดหรือน้ำไขสันหลังซึมหรือไม่พร้อมทั้งสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดเช่นการติดเชื้อปวดศีรษะเวียนศีรษะปวดหลังหากพบสิ่งผิดปกติรายงานแพทย์
ผ่าตัดใส่สายระบายน้ําในโพรงสมองออกนอกร่างกาย (External Ventricular Drainage: EVD, Ventriculostomy)
เเนวทางการดูแล
ให้จัดท่า30 องศา หรือตามเเผนการรักษาในผู้ป่วย
Ventriculostomy drain กำหนดตำเเหน่งอ้างอิงกลางรูหูมนท่านอนหงาย/ตั้งระดับความดันตามเเพทย์กำหนด โดยวัดจากกึ่งกลางรูหูขึ้นไปจนถึงจุดหยดของสายระบบน้ำไขสันหลัง
ตรวจสอบสายระบบไม่ให้หักพับงอ
สังเกตการFlution
ตรวจสอบให้เป็นระบบClose system
ระวังระวังการเคลื่อนหลุดของสายจากศีรษะ เเละระวังการเคลื่อนระดับที่ตั้งไว้
การเปลี่ยนแปลงจุดหยดต้อง Clamp สายทุกครั้ง
สังเกตสี ลักษณะ และปริมาณ
ตรวจสอบระดับจุดหยัดทุกเวร
ประเมินการรั่วซึมของCSFจากเเผลหรือรูDrain
เก็บตัวอย่างน้ำไขสันหลังส่งตรวจด้วยเทคนิคปลอดภัย
เก็บตัวอย่างน้ำไขสันหลังส่งตรวจด้วยเทคนิคปลอดภัย
เฝ้าระวังภาวะเเทรกซ้อนต่างๆ ได้เเก่ ภาวะติดเชื้อ IICP Brain Herniation
Ampicillin150mgIVทุก12hrs
มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ผนังเซลล์ของแบคทีเรีย โดยเข้าจับกับ penicillin-binding protein (PBPs)
ผลข้างเคียง อาการขึ้นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เกิดผื่นแดง เจ็บปาก ลิ้นเป็นสีดำ เกิดคืน อาการแพ้ยาแบบ Steven-Johnson การเกิดพิษต่อผิวหนัง อาการบวม เป็นไข้ ปวดข้อ ภาวะโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก
Phenobarbital 40 mg IV OD
เป็นยาในกลุ่มยากันชัก และกลุ่มยากดประสาท
ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางจึงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสงบ ผ่อนคลายและหลับได้ง่ายขึ้น
ผลข้างเคียง คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หัวใจเต้นช้า
Furoseminde 3 mg IV q 12 hrs.
กลุ่มยา Lood diuretic drug
กลไกการออกฤทธิ์: ออกฤทธิ์ที่ thick ascending limb of Henle's loop โดยยับยั้งปั๊มที่ดูดโซเดียมโพแทสเซียมและคลอไรด์กลับเข้าหลอดเลือดทำให้เกลือแร่เหล่านี้สูญออกไปทางปัสสาวะและดึงน้ำตามออกไปด้วยขณะที่ปั๊มอีกด้านยังคงทำหน้าที่ขับโพแทสเซียมออกทิ้งได้ตามปกติจึงทำให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมออกไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับน้ำปัสสาวะ
ผลข้างเคียง: ปวดศีรษะ ง่วงซึม เกร็งกล้ามเนื้อ ตะคริว ความดันโลหิตต่ำ ปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ อ่อนเพลีย ภาวะของเหลวในร่างกายต่ำ ภาวะขาดน้ำ
การซักประวัติและตรวจร่างกาย
การซักประวัติเพิ่มเติม
ประวัติการคลอดบุตรคนก่อน
โรคประจำตัวของมารดา
ประวัติการคลอด
การได้รับบาดเจ็บขณะตั้งครรภ์หรือได้รับความกระทบกระเทือนระหว่างคลอด
ประวัติการตั้งครรภ์
การรับวิตามินและโฟเลท
ตรวจร่างกายเพิ่มเติม
ประเมินGCS
CT scan
ประเมิน Primitive reflexes
Plantar reflex
Sucking reflex
Palmar grasp reflex
เคาะบริเวณศีรษะเสียงเหมือนภาชนะร้าว (craked pot)
ตรวจตาว่ามีภาวะ sunset eyes หรือไม่
ตรวจเท้าว่ามี clonus หรือไม่ (การหดตัวซ้ำๆของกล้ามเนื้อที่เท้า)
Ultrasound
Transillumination test
การตรวจร่างกาย
ระบบการหายใจ : หายใจเร็ว RR 56/min ร้องเสียงดัง mild subcostal retraction oxygen sat 90-92%
มี reflex ของขาทั้ง2ข้างไวกว่าปกติ
ศีรษะ : วัดศีรษะได้ 42 เซนติเมตร (33-37ซม.) ขม่อมโป่งตึง หนังศีรษะบาง เห็นเส้นเลือดชัดเจน พบ suture separation
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC, Electrolyte, Hemoculture และ ตรวจ DTX ได้ 77 mg/dl (ปกติ) Hematocrit 48%(ปกติ)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
Hydrocephalus
1: ได้รับอันตรายต่อเซลล์สมองเนื่องจากภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
ข้อมูลสนับสนุน
O:หนังศีรษะบางมัน เห็นเส้นเลือดชัดเจน
O: วัดรอบศีรษะได้ 42 cm.
O: Reflex ขาทั้งสองข้างไวกว่าปกติ
O: มีอาการซึมลง
O: ขม่อมโปงตึง
O: หายใจเร็ว
เป้าหมายการพยาบาล: เซลล์สมองไม่ได้รับอันตรายหรือความดันในกะโหลกศีรษะลดลง
เกณฑ์การประเมิน
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
Neuro sign ปกติ
เส้นรอบศีรษะไม่เพิ่มขึ้น กระหม่อมไม่โป่งตึง
ไม่มีอาการของความดันในกะโหลกศีรษะสูง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ระดับความรู้สึกตัวลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลตามแผนการรักษา ได้แก่
ยา Phenobarbital 40 mg IV OD เพื่อป้องกันการชัก
ยา Furosemide 3 mg IV ทุก 12 hr. เพื่อลดความดันในกระโหลกศีรษะและลดภาวะสมองบวม
เจาะน้ำไขสันหลัง วันละครั้ง
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 15 องศา เพื่อเพิ่มการไหลกลับของเลือดดำ จากสมองเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้นเป็นการลดแรงต้านในสมอง และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดแดงไปสู่สมอง ไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนราบเพราะเลือดดำคั่งค้าง และไม่ควรนอนศีรษะสูงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการเลื่อนของสมอง (brain herniation) หลีกเลี่ยงไม่ให้คอของผู้ป่วยงอ หรือพับ เพราะจะขัดขวางการไหลกลับของเลือดดำจากสมองผ่าน jugular vein
หลีกเลี่ยงการงอของสะโพกเกิน 90 องศา เพื่อไม่ให้ความดันในช่องท้องหรืออกสูงขึ้น เพราะจะทำให้ความดันในกะโหลศีรษะสูงขึ้นด้วย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจน/ เครื่องช่วยหายใจตามแผนการรักษา ดูแลทางเดินหายใจของผู้ป่วยให้โล่งโดยการดูดเสมหะตามความจำเป็นเพื่อช่วยให้มีการระบายอากาศได้ดี ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้น เพราะถ้าร่างกายมีการคั่งค้างของคาร์บอนไดออกไซด์สูง หรือมีออกซิเจนต่ำจะส่งผลให้เส้นเลือดสมองขยายตัวทำให้ปริมาณเลือดในสมองเพิ่มขึ้น ความดันในกะโหลกศีรษะจะสูงขึ้นด้วย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยากันชัก/ ยาลดการเกร็งของกล้ามเนื้อตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันเซลล์สมองถูกทำลายมากขึ้น
ดูแลไม่ให้ผู้ป่วยท้องผูก โดยสังกตุการขับถ่ายอุจจาระ หากมีอาการท้องผูก รายงานแพทย์ เพื่อให้ยาระบาย เพื่อป้องกันการเบ่งถ่ายอุจจระ เพราะจะเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ส่งผลให้ความดันในกะโหลกศีรษะจะสูงขึ้นด้วย
จัดสิ่งแวดล้อมรอบๆเตียงผู้ป่วยให้เงียบสงบ ไม่รบกวนผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ อย่างน้อยทุก 4 ชั่งโมง เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและความผิดปกติ
ประเมินและบันทึกการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท ทุก 1 ชั่วโมงในระยะแรก จนอาการคงที่ จากนั้นประเมินทุก 2 และ 4 ชั่วโมง ตามสภาพของผู้ป่วย
วัดและบันทึกความเข้มข้นของออกซิเจนในหลอดเลือดฝอย (O2 sat) อย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนในเลือด
ประเมินและบันทึกอาการเขียวจากภาวะขาดออกซิเจน เช่น ปลายมือ ปลายเท้ าเขียว ริมฝีปากเขียวเป็นต้น
ส่งตรวจและติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการตามแผนการรักษา เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกายผู้ป่วย
2: เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำไขสันหลัง
ข้อมูลสนับสนุน
O: เจาะระบายน้ำไขสันหลัง วันละ 1 ครั้ง
เป้าหมายการพยาบาล: ผู้ป่วยไม่เกิดการติดเชื้อจากการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำไขสันหลัง
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการหรืออาการแสดงติดเชื้อ เช่น ปวด บวม แดง ร้อน
สัญญาณชีพปกติ
เป้าหมายการพยาบาล: ผู้ป่วยไม่เกิดการติดเชื้อจากการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำไขสันหลัง
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อแผลผ่าตัดหรือส่วนอื่นในร่างกาย
สัญญาณชีพปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ได้แก่ Ampicillin 150 mg IV ทุก 12 hr. เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ดูแลทำความสะอาดแผลผ่าตัด (Dry dressing) ตามแผนการรักษา โดยอาศัยเทคนิคการปลอดเชื้อ
สังเกตุอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดใส่สายระบายน้ำไขสันหลัง เช่น บวม แดงอักเสบ
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
IICP
1: การกำซาบของเนื้อเยื่อสมอง (cerebral tissue perfusion) ลดลง เนื่องจากความดันในกะโหลกศรีษะสูง
ข้อมูลสนับสนุน
O:หนังศีรษะบางมัน เห็นเส้นเลือดชัดเจน
O: suture separation
O: Reflex ขาทั้งสองข้างไวกว่าปกติ
O: มีอาการซึมลง
O: ขม่อมโปงตึง
O: หายใจเร็ว
เป้าหมายการพยาบาล: ไม่เกิดอันตรายจากภาวะความดันในกะโหลกศรีษะสูง เกณฑ์การประเมิน สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
เกณฑ์การประเมิน
-สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
-อัตราการหายใจเท่ากับ 40-60 /min
-อัตราการเต้นของหัวใจเท่ากับ 120-160/min
-ความดันโลหิตมากกว่า 60/50 mmHg
-Map >40 mmHg
neuro sign ปกติ
ไม่มีอาการของความดันในกะโหลกศีรษะสูง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ระดับความรู้สึกตัวลดลง เป็นต้น
ไม่เกิด Cushing reffec
ไม่มีภาวะเขียว
ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนมากกว่า 95%
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ และอาการทางสมอง ควรทำทุก 10-15 นาทีในช่วงวิกฤตและเมื่ออาการคงที่สามารถทำได้ทุก 1 ชั่วโมง อาการต่อไปนี้แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการแย่ลง
-ระดับคะแนนกลาสโกว์ โคมาสเกล (GCS) ลดลง 1-2 คะแนน
ความดันโลหิตsystolic สูงขึ้นมากกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท และความดันชีพจรกว้างขึ้น
หัวใจเต้นช้าลง
รูปแบบการหายใจผิดปกติ (chyne-stokes, central neurogenic,hyperventilation)
เพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะ มีกิจกรรมดังนี้
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงประมาณ 15 องศา ศีรษะสูงขึ้น 10 องศาจะทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะลดลง 1 มิลลิเมตรปรอท แต่ถ้าศีรษะสูงเกิน 30 องศา จะลดความดันกำซาบของหลอดเลือดสมองจัดศีรษะของผู้ป่วยอยู่ในแนวตรง ไม่ให้คอหักพับงอหรือบิดไปด้านใดด้านหนึ่ง เพราะจะกดทับหลอดเลือด (Jugular) ห้ามจัดท่านอนคว่ำหรือนอนศีรษะต่ำหลีกเลี่ยงการงอสะโพกมากกว่า 90 องศา หลีกเลี่ยงการนอนทับบริเวณที่ทำผ่าตัด Craniectomy
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจวิธีการดูดเสมหะเพื่อป้องกันความดันในกะโหลกศีรษะ ควรประเมินผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดทั้งก่อน ขณะ และหลังการดูดเสมหะ หลีกเลี่ยงการเคาะปอด เพื่อป้องกันการเกิด isometric contraction และ valsalva's maneuver ก่อนและหลังการดูดเสมหะ ควรเพิ่มออกซิเจนแก่เซลล์ร่างกายด้วยการทำ hyperoxygenate และ hyperventilate ดูดเสมหะครั้งละไม่
เกิน 30 วินาที และให้ผู้ป่วยได้พัก 2-3 นาที ในการดูดเสมหะแต่ละครั้ง
4.ดูแลสาย EVD ดังนี้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ และ Brain herniation โดยสังเกตอาการและอาการแสดง เช่น รูม่านตาลดลงหรือไม่เท่ากัน ไม่มีปฏิกริยาต่อแสงหรือมีลดลง สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง กล้ามเนื้ออ่อนแรงมี decorticate หรือdecerebrate posture ควรรายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ
-ให้จัดท่า30 องศา หรือตามเเผนการรักษาในผู้ป่วย
-Ventriculostomy drain กำหนดตำเเหน่งอ้างอิงกลางรูหูมนท่านอนหงาย/ตั้งระดับความดันตามเเพทย์กำหนด โดยวัดจากกึ่งกลางรูหูขึ้นไปจนถึงจุดหยดของสายระบบน้ำไขสันหลัง
ตรวจสอบสายระบบไม่ให้หักพับงอ
สังเกตการFlution
ตรวจสอบให้เป็นระบบClose system
ระวังระวังการเคลื่อนหลุดของสายจากศีรษะ เเละระวังการเคลื่อนระดับที่ตั้งไว้
การเปลี่ยนแปลงจุดหยดต้อง Clamp สายทุกครั้ง
สังเกตสี ลักษณะ และปริมาณ
ตรวจสอบระดับจุดหยัดทุกเวร
ประเมินการรั่วซึมของCSFจากเเผลหรือรูDrain
เก็บตัวอย่างน้ำไขสันหลังส่งตรวจด้วยเทคนิคปลอดภัย
5.ได้รับสารอาการและน้ำอย่างเพียงพอหรือตามแผนการรักษา ประเมิน และบันทึก I/O
ดูแลให้ร่างกายได้รับความอบอุ่นเพียงพอ
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา เช่น
ยา Phenobarbital 40 mg IV OD เพื่อป้องกันการชัก
ยา Furosemide 3 mg IV ทุก 12 hr. เพื่อลดความดันในกระโหลกศีรษะและลดภาวะสมองบวม
วางแผนการทำ กิจกรรมการพยาบาลให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยมีเวลาพัก และหลีกเลี่ยงการเพิ่มความดันในกะโหลกศรีษะ
เสี่ยงเกิดอาการชักเนื่องจากมีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
ข้อมูลสนับสนุน
O: Congenital hydrocephalus with IICP
เป้าหมายทางการพยาบาล ปลอดภัยจากภาวะชัก และไม่เกิดอันตรายต่อภาวะชัก
เกณฑ์การประเมินผล
ระดับความรู้สึกตัวปกติ
สัญญาณชีพปกติ
ไม่มีอาการปวดศีรษะ อาเจียน การมองเห็นผิดปกติ ไม่มีอาการชัก
กิจกรรมพยาบาล
.ให้ได้รับ Phenobarbital 40 mg IV OD เพื่อป้องกันการชัก
สังเกตอาการชักหรืออาการนำชักเพื่อเฝ้าระวังอาการชักและได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
3.หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการชัก เช่น มีไข้ เครียด อาเจียน ท้องเสีย อากาศร้อนเพื่อป้องกันภาวะชักซ้ำ
ประเมิณสัญญาณชีพทุก 4 ชม
เช็ดตัวลดไข้เมื่อมีอุณหภูมิสูงเพื่อป้องกันภาวะชัก
6.ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการนอนหลับเพื่อลดการกระตุ้นชัก
ทารกมีความพร่องในปฏิสัมพันธ์กับบิดามารดาเนื่องจากถูกแยกจากบิดามารดาเพื่อการรักษา
ข้อมูลสนับสนุน
ทารกมีภาวะเจ็บป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤตขณะอายุได้ 4 วัน
เป้าหมายการพยาบาล
เพื่อให้ทารกมีปฏิสัมพันธ์กับบิดามารดาอย่างต่อเนื่อง
เกณฑ์การประเมินผล
บิดามารดาให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำของพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ
กิจกรรมการพยาบาล
1.อธิบายให้บิดามารดาทราบถึง เหตุผลที่ต้องแยกทารกมาเพื่อสังเกตอาการ วิธีการให้การดูแลรักษาเป็นระยะ ตลอดจนอาการของทารกในแต่ละวัน เพื่อให้บิดามารดาคลายความวิตกกังวล
ส่งเสริมสัมพันธภาพสำหรับทารกและบิดามารดา เพื่อป้องกันการขาดการกระตุ้นสัมผัส
ส่งเสริมและกระตุ้นให้บิดามารดาเข้าเยี่ยมทารกสม่ำเสมอ
แนะนำส่งเสริม สนับสนุนให้บิดามารดาสร้างสัมพันธภาพกับบุตร โดยการสัมผัส การอุ้ม พูดคุยกับทารก กระตุ้นทารกให้มองหน้าและ จ้องมองทารกทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการ
ส่งเสริมให้บิดามารดามีส่วนร่วมในการดูแลทารก เช่น การเปลี่ยนผ้าอ้อม การเช็ดตัว
สนับสนุนให้มารดาได้เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง โดยนัดเวลามาให้นมตามเวลาและตามความเหมาะสม สอนวิธีบีบและเก็บน้ำนมใส่ขวดไว้ให้ทารก
สังเกตปฏิกิริยาการโต้ตอบของทารกเสมอ เพื่อการดูแลให้ทารกเกิดความพึงพอใจ และให้ การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล รวดเร็วทุกครั้ง
บิดา มารดา มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของบุตร
ข้อมูลสนับสนุน
บิดามารดามีสีหน้าเคร่งเครียดหวั่นวิตกมารดาร้องไห้เมื่อมาเยี่ยมบุตร
บิดามารดาสอบถามอาการของบุตรแนวทางการรักษาและระยะเวลาการรักษาทุกครั้งที่มาเยี่ยมบุตร
เป้าหมายการพยาบาล
เพื่อลดความวิตกกังวลของมารดาบิดา
เกณฑ์การประเมิน
ยอมรับฟังและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลและมาเยี่ยมบุตรสม่ำเสเสมอ
มารดาบิดามีสีหน้าสดชื่นขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบิดา มารดาด้วยความจริงใจ และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้บิดา มารดาเกิดความไว้วางใจ และเปิดโอกาสให้พูดคุยระบายความรู้สึกต่างๆ รวมทั้งขอมรับท่าทีและปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดหรือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นและระมัดระวังคำพูดและกิริยาท่าทางที่ไม่สุภาพเพื่อช่วยให้บิดา มารดามี กำลังใจและเกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของทารก
ประเมินความวิตกกังวลของบิดา มารดา แลครอบครัวต่อความเจ็บปวดและเหตุผลของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ประเมินความสามารถและความต้องการของบิดา มารดาในการทำกิจกรรมให้กับทารกพบมีความมั่นใจน้อยในการทำกิจกรรมให้ทารกและกลัวว่าทารกจะเจ็บปวด
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทารกที่ชัดเจนและถูกต้องตามความจำเป็นเกี่ยวกับอาการ สิ่งที่ทารกต้องประสบขณะรับการรักษาพยาบาล ซึ่งความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้
5.หลีกเลี่ยงบรรยากาศที่ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ดี การทำให้ความวิตกกังวลของบิดา มารดา เพิ่มขึ้น เช่น การใช้ศัพท์แพทย์ที่ไม่เข้าใจ เพราะอาจเกิดจินตนาการที่ผิดได้
เป็นผู้ฟังที่ดีโดยให้บิดา มารดาได้ระบายความรู้สึกและความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและการรักษาในโรงพยาบาล
ให้กำลังใจสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแล เช่น การเปลี่ยนผ้าอ้อม การเช็ดตัว ทำให้บิดามารดา รู้สึกว่าได้ทำทุกสิ่งเท่าที่สามารถจะทำได้ดีที่สุดแก่ทารก
ให้กำลังใจชมเชยเมื่อบิดา มารดา สามารถช่วยเหลือดูแลบุตรได้ ความภาคภูมิใจจะช่วยให้บิดา มารดารู้สึกว่ามีคุณค่าในบทบาทของตนเอง