Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1 สตรีตั้งครรภ์ G2P0A1 อายุ 28 ปี อาชีพรับราชการครู - Coggle…
กรณีศึกษาที่ 1 สตรีตั้งครรภ์ G2P0A1
อายุ 28 ปี อาชีพรับราชการครู
สตรีตั้งครรภ์รายนี้มีภาวะตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ
อายุครรภ์ 20 wks ฝากครรภ์ครั้งแรก OF positive, VDRL reactive (บ่งชี้ถึงการติดเชื้อซิฟิลิส) ฟันผุ 2 ซี่
เต้านมหัวนม ยาว 0.3 เซนติเมตร ( ปกติ 0.7 เซนติเมตร )
อายุครรภ์ 28 wks มีค่า Hct 29 % (Hb 9.6 mg/dl) : Moderate anemia ขณะ นอนอัลตราซาวด์ที่แผนกฝากครรภ์ (ANC) มีอาการเหงื่อออก ตัวเย็น หน้ามืด ตาลาย มีความวิตกกังวล, ระดับยอดมดลูก 1/4 เหนือสะดือ ( อายุครรภ์ไม่สัมพันธ์กับระดับยอดมดลูก)
มาฝากครรภ์ครั้งแรกวันที่ 1 มีนาคม 2564 ( 21 สัปดาห์ 5 วัน / 5 เดือน )
อายุครรภ์ 34 wks คลำท่าที่ 4 (Fourth leopold maneuver หรือ Bilateral inguinal grip ) พบปลายนิ้วของผู้ตรวจสอบชนกัน Hct 24% (Hb 8 mg/dl) : Moderate anemia
การตรวจครรภ์โดยการคลํา มีกี่ท่า แต่ละท่ามีวัตถุประสงค์เพืออะไร พร้อมท้ังอธิบายวิธีตรวจ
ในแต่ละท่า
3.Third maneuver (Pawlik's grip) การคลำเพื่อตรวจหาส่วนนำ presenting part) และ attitude ของทารกในครรภ์
-ใช้มือขวาคลำและจับส่วนของทารกที่บริเวณเหนือหัวเหน่าให้อยู่ภายในอุ้งมือ -ตรวจหาส่วนนําถ้าเป็นศีรษะจะมีลักษณะกลมแข็งและเรียบมี ballottement ชัดเจนและอาจคล้าได้ร่องคอ -ตรวจหาระดับของส่วนนำโดยถ้าโยกส่วนนําของทารกให้เคลื่อนไหวไปมาได้แสดงว่าส่วนนำยังลอยอยู่ แต่ถ้าไม่สามารถโยกได้แดงว่าส่วนผ่านลงสู่ช่องเชิงกรานแล้ว (engagement) -ตรวจทรงของทารกโดยคลำหา cephalic prominence ของทารกถ้าคลำได้ตรงกันข้ามกับหลังและสูงกว่าแสดงว่าทารกอยู่ทรงก้นถ้าคลำได้ด้านเดียวกับหลังแสดงว่าทารกอยู่ในทรงเงย)
4.Fourth maneuver (Bilateral inguinal grip) การคลำเพื่อตรวจหาระดับของส่วนนําและทรงของทารกในครรภ์
-มือหนึ่งวางทีหัวเหน่ามือหนึ่งวางที่หน้าท้องจับหัวเด็กกดลงช่องเชิงกรานคลําดูว่าหัวเด็กอยู่ต่ำกว่าหรือสูงกว่ากระดูกหัวเหน่าปกติหัวเด็กจะอยู่ต่ำกว่ากระดูกหัวเหน่าถ้าอยู่ระดับเดียวกันอาจมีความผิดปกติเล็กน้อยถ้าแรงผลักดันเพียงพอหัวเด็กมีการ Molding ทำให้ผ่านลงช่องเชิงกรานได้ถ้าคลำได้หัวอยู่สูงกว่ากระดูกหัวเหน่าแสดงว่ามีการเงยของหัวชัดเจนบ่งถึง CPD, Compound presentation จำเป็นต้องตรวจสภาพเด็กและเชิงกรานอย่างละเอียดต่อไป
2.Second maneuver (Umbitical grip) การคลาเพื่อตรวจหาหลังของทารกว่าอยู่ด้านใด
-ใช้มือทั้งสองข้างคลำหาแผ่นเรียบใหญ่คือหลังของเด็ก (Large part) ส่วนด้านตรงข้ามจะคลำได้เป็นปุ่มอาจมีการเคลื่อนไหวให้เห็นคือแขนขาศอกเข่า (Small part) กรณีที่คลำได้ไม่ชัดเจนบริเวณที่เป็นหลังของเด็กอาจรู้สึกว่าเหมือนอะไรมาด้านฝ่ามือไว้ต่างจากส่วนที่มีแขนขาซึ่งอยู่จะรู้สึกว่ามีที่ว่างมากกว่าด้านที่เป็นหลังและกดผนังหน้าท้องผู้ตรวจครรภ์ได้มากกว่า
-สังเกตว่าหลังอยู่ตำแหน่งใดของหน้าท้องแม่กรณีที่เป็น anterior position หลังจะอยู่เต็มด้านใดด้านหนึ่งคล้าแขนขาไม่ชัดเจนถ้าเป็น Transverse position จะคล้าหลังได้เพียงข้างเดียวของลําตัวแม่ posterior position จะคลาได้เพียงหัวไหล่และสีข้างเด็กค่อนไปทางสีข้างแม่และคลําได้แขนขาทั่วบริเวณหน้าท้อง
1.First maneuver (Fundal grip) การคลำส่วนยอดมดลูกเพื่อตรวจหาระดับยอดมดลูก
-ใช้มือหนึ่งคลที่ยอดมดลูกอีกมือหนึ่งแตะที่บริเวณลิ้นปีแล้วดูว่าระดับของยอดมดลูกเป็นสัดส่วนเท่าใดกับหน้าท้อง -ตรวจดูว่าที่บริเวณยอดมดลูกมีลักษณะอย่างไรซึ่งหัวจะมีลักษณะเรียบกลมแข็งและมี ballottement ต่างจากก้นซึ่งนุ่มกว่าบางแห่งแข็งบางแห่งเรียบและไม่กลมอาจมี ballottement แต่ไม่ชัดเจนเท่าหัว -ตรวจดูว่าสัดส่วนของเด็กค่อนไปทางด้านใดเพื่อประกอบในการวินิจฉัยทำเด็กเพราะเด็กที่อยู่ในลักษณะ fetal avoid ถ้าคลำได้ส่วนของเด็กที่ยอดมดลูกค่อนไปข้างขวาหลังเด็กควรงอไปทางซ้ายของมดลูก
แหล่งข้อมูล
อ้างอิงรูปภาพ จาก
http://courseware.npru.ac.th/admin/files/20200810144026_c67ab366e240c0f585bbc4b126ab3d93.pdf
Nuresnpru. (ม.ป.ป.). การตรวจครรภ์ 4 ท่า-สูติศาสตร์1 . สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 . สืบค้นจาก
http://nursenpru.blogspot.com/p/4.html
มี4 ท่า
การฝากครรภ์ครั้งแรก(วันท่ี1มี.ค.2564)ควรซักประวัติและตรวจร่างกายหญิงต้ังครรภ์ในประเด็น
ใดเพิ่มเติม และตรวจทางห้องปฏิบัติการ พร้อมระบุเหตุผล
การซักประวัติ
-ข้อมูลพื้นฐาน : อายุ เชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ การศึกษา สิทธิ์การรักษาพยาบาล
-ประวัติทางสูติกรรม เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
• วิธีการคลอดบุตร รวมถึงข้อบ่งชี้ในกรณีใช้หัตถการช่วยคลอด หรือ ผ่าคลอดทางหน้าท้อง
อายุครรภ์เมื่อคลอดบุตร
ประวัติการแท้งบุตร
เคยแท้งบุตร 1 ครั้ง
สอบถามการขูดมดลูก
-ประวัติประจำเดือนและการคุมกำเนิด : วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย (LMP) ความสม่ำเสมอและลักษณะประจำเดือนก่อนหน้านั้น การคุมกำเนิดก่อนการตั้งครรภ์
-ประวัติโรคประจำตัว
-ประวัติการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดบริเวณหน้าท้องและอุ้งเชิงกราน
-ประวัติครอบครัว : ประวัติความผิดปกติทางพันธุกรรม ความพิการแต่กำเนิด ครรภ์แฝด โรคเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
-ประวัติส่วนตัว : การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด
-ประวัติวัคซีน : ประวัติการฉีดวัคซีนบาดทะยัก หัดเยอรมัน อีสุกอีใส ไวรัสตับอักเสบบี
-ประวัติการแพ้ยาและสารอาหาร
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายทั่วไป : น้ำหนัก ส่วนสูง BMI ความดันโลหิต ต่อมไทรอยด์ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบหายใจ เต้านม/หัวนม
-การตรวจช่องปาก
ฟันผุ 2 ซี่
-การตรวจครรภ์ :
Leopold maneuver 4 ท่า
คลําท่าที่ 4 พบปลายนิ้วของผู้ตรวจสอบชนกัน
การฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ ในกรณีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป
การตรวจภายใน
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
-ตรวจหมู่เลือดชนิด ABO และ Rh
การตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี : HBsAg
-การตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัส HIV
HIV Non reactive
-การตรวจหาโปรตีนและน้ำตาลในปัสสาวะ
-การตรวจคัดกรองภาวะการติดเชื้อซิฟิลิส (syphilis) : VDRL
VDRL reactive
-การตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย : MCV, DCIP, Hb typing
OF positive
DCIP Negative
-การตรวจทางโลหิตวิทยา เพื่อดูค่า hemoglobin และ hematocrit
ฝากครรภ์ครั้งที่ 1 Hct 32.6 %, อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ Hct 29%, อายุครรภ์ 34 สัปดาห Hct 24 %
กรมอนามัย. สมุดบันทึกสุขภาพ แม่และเด็ก กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ในครั้งแรกที่มาฝากครรภ์นักศึกษาคิดว่าหญิงต้ังครรภ์รายนี้มีอายุครรภ์กี่สัปดาห์ และจะคํานวณ
ได้อย่างไร
-อายุครรภ์ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ 21 สัปดาห์ 5 วัน
-คำนวณจาก LMP 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก 1 มีนาคม 2564 เป็นเวลา 152 วัน คิดเป็น 21 สัปดาห์ 5 วัน
อาการไม่สุขสบายในระยะตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 1 และ 2 มีอาการอะไรบ้าง และมีสาเหตุจากอะไร
ไตรมาส2
-หายใจลำบากหรือหายใจสั้น ๆ (Dyspnea or Shortness of breath) เนื่องจากขนาดของมดลูกโต ไปกดเบียดกระบังลมและปอด และสตรีตั้งครรภ์มีความต้องการใช้ออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น อาการหายใจลำบากหรือหายใจสั้น ๆ ได้ชัดเจนในช่วงเวลากลางคืนขณะนอนหงายราบ
-อาการแสบร้อนยอดอกหรืออาการจุกเสียดท้อง (Heartburn or Pyrosis) เกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร บางครั้งอาจไหลย้อนเข้าไปถึงในช่องปาก เกิดจากการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ช้าลง ร่วมกับกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารคลายตัวเนื่องจาก ผลฮอร์โมน progesterone ร่วมกับขนาดของมดลูกโตขึ้นกดเบียดกระเพาะอาหารให้เล็กลง
-อาการท้องอืด (Flatulence) เกิดจากขนาดของมดลูกที่โตขึ้นแล้วไปกดเบียดกระเพาะอาหารให้มีขนาดเล็กลง เกิดจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน progesterone
-อาการท้องผูก (Constipation) ขนาดของมดลูกที่โตไปกดเบียดกระเพาะอาหารให้ขนาดเล็กลง ฮอร์โมน Progesterone เพิ่มขึ้น แต่การที่อาหารค้างนานเกินไปจะทําให้เกิดอาการท้องอืดและอุจจาระแข็งมากขึ้น ทําให้ท้องผูกและเกิดริดสีดวงทวารได้
-ตะคริว (Leg Cramps) เกิดจากความไม่สมดุลของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ คือมีระดับของแคลเซียมลดลง และมีการเพิ่มขึ้นของฟอสฟอรัสมากขึ้น มดลูกโตขึ้นจะทําให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณส่วนปลายไม่ดี จึงทําให้เกิดเป็นตะคริวได้
-เส้นเลือดขอด (Varicosities) เกิดจากการขยายของเส้นเลือดมักพบในสตรีที่มีประวัติพันธุกรรมสาเหตุเกิดจากลิ้นของเส้นเลือดดำปิดไม่สนิททําให้มีการไหลย้อนกลับในสตรีตั้งครรภ์จะมีปริมาณของเลือดเพิ่มขึ้นร่วมกับมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นแล้วกดทับการไหลเวียนของเลือดทําให้ความดันในเส้นเลือดสูงขึ้นเส้นเลือดเกิดการขยายตัวและโป่งพองจึงเกิดอาการเส้นเลือดขอด ถ้ายืนนานๆ อาจทําให้เส้นเลือดดำมีการอักเสบและเจ็บปวดได้
-ปวดหลัง Backaches or Back pain) ปวดหลังบริเวณกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว (Lumbar region) อาการปวดหลังจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมดลูกมีขนาดโตขึ้นทําให้สตรีตั้งครรภ์ต้องรับน้ำหนักของมดลูกร่างกายของสตรีตั้งครรภ์การปรับสมดุลของร่างกายโดยการทําให้กระดูกสันหลังโค้งแอ่น (Lordosis) สตรีที่มีน้ำหนักตัวมาก สตรีที่ปวดหลังมาก่อน การใช้ท่าเดิน ยืน นั่งหรือนอนไม่ถูกต้อง
-ริดสีดวงทวาร คือภาวะเส้นเลือดดำในทวารหนักโป่งพองหรืออาจยื่นออกมาข้างนอกทวารหนัก การตั้งครรภ์ทำให้มีเลือดไหลเวียนมาที่บริเวณทวารหนักเพิ่มมากขึ้นร่วมกับแรงกดดันจากมดลูกโตไปกดทับเส้นเลือดดำ ทําให้เกิดการคั่งของเลือด และการยืนนานๆ การใช้แรงเบ่งอุจจาระมากเกินไปและการเบ่งคลอดทำให้ริดสีดวงทวารมีอาการรุนแรงขึ้น ริดสีดวงทวารอาจมีอาการต่อเนื่องไปจนถึงระยะคลอดได้
ไตรมาส1
-ภาวะหลั่งนํ้าลายมาก (Ptyalism) เกิดจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน
-อาการคลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and vomiting การเพิ่มของปัจจัยทางอารมณ์พฤติกรรม การรับประทานอาหารที่ไม่เป็นเวลา หรือการขาดวิตามิน B6 ที่เป็นสาเหตุร่วมได้อาการคลื่นไส้อาเจียนพบได้ตั้งแต่อาการเล็กน้อย ถึงรุนแรง
-คัดตึงเต้านม (Breast tenderness) มีการเพิ่มระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน มีผลทำให้เต้านมมีขนาดโต คัดตึง มองเห็นเส้นเลือดสีเขียวๆใต้ผิวหนังชัดเจน
-หน้ามืดเป็นลม (Faintness) อาจเกิดจากความตันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนอิริยาบถ (Postural hypotension) low blood sugar level)
-ปัสสาวะบ่อย (Frequent urination) เนื่องจากมดลูกที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานขนาดโตแล้วกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ
การพยาบาล
อาการบวม
ประเมินภาวะบวมและแยกอาการบวมจากโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจครรภ์เป็นพิษ
ถ้าพบว่าการบวมนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาควรให้คำแนะนำคือ
ให้บริหารปลายเท้าโดยขยับข้อเท้าขึ้นลงอย่างละ 10 ครั้งทุก 2 ชั่วโมง หมุนข้อเท้าเพื่อเพิ่มการ ไหลเวียนของเลือดไปที่เท้า
ใช้ Bandage support บริเวณขา
นั่ง เหยียดขายกปลายเท้าสูงเล็กน้อยวันละหลายๆ ครั้งๆละ 10 นาที
นอนยกปลายเท้าสูงเล็กน้อย นวดฝ่าเท้าและหลังเท้า
เลี่ยงการยืนนานๆ
ลดอาหารเค็ม เพิ่มอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย กีวี่ มะละกอ เป็นต้น
งดเครื่องดื่มคาเฟอีน ดื่มน้ำเพิ่มขึ้นให้ได้อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร
อาการปัสสาวะบ่อย
1.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มหรือนมก่อนนอนหรือดื่มให้ห่างจากเวลานอนให้มากเพื่อลดการปัสสาวะ บ่อยในช่วงกลางคืน ถ้าต้องลุกมาถ่ายปัสสาวะตอนกลางคืนต้องระวังอย่าให้มีของวางเกะกะกีดขวาง ทางเดิน เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
ฝึกบริหารกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะปัสสาวะโดยการขมิบก้น (Kegel exercises) วันละ 50-100 ครั้ง หรือ แนะนำให้ทำได้ตลอดเวลาที่สามารถทำได้ เพื่อให้กล้ามเนื้อควบคุมการปัสสาวะได้ดี
ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและทำให้มีอาการ ปัสสาวะบ่อยมากขึ้น
ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2,000 ซี.ซี. หรือ ประมาณ 8 แก้วต่อวัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ในระบบทางเดินปัสสาวะที่เป็นสาเหตุให้ปัสสาวะบ่อย
แนะนำการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์จากด้านหน้าไปยังทวารหนักเพื่อป้องกันการนำเชื้อโรค จากทวารหนักมากให้เกิดการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ
7.ถ้ามีอาการปัสสาวะบ่อยร่วมกับอาการแสบขัดควรมาปรึกษาแพทย์
ท้องผูก
รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ๆ เช่น ผักสด ผลไม้
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทาให้เกิดก็าซ เช่น กะหล่ำปลี อาหารทอด ถั่ว เป็นต้น
รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่ให้บ่อยครั้ง เพราะการรับประทานอาหารมากไปจะทำให้ อาหารหมักหมมอยู่ในกระเพาะอาหารนาน
ฝึกการถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาและสม่ำเสมอ
อาการเหนื่อยง่าย
แนะนำให้พักผ่อนมากขึ้นและออกกำลังกายพอสมควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
แนะนำให้พักในช่วงกลางวัน ลดความเครียดเรื่องงานต่าง ๆ
เส้นเลือดขอดที่ขา
ไม่ยืน/นั่งนานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ เพื่อช่วยเลือดไหลเวียนดีขึ้น และควรยกปลายเท้าสูง กว่าสะโพกประมาณ 45 องศาวันละ 4-5 ครั้งๆ ละ 5-10 นาที (ถ้ายกขาสูงเกินไปจะขัดขวางการไหลเวียนได้)
2.ถ้าเป็นที่อวัยวะเพศให้นอนราบยกสะโพกสูงวันละหลายๆครั้ง
เลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง (Crossing the legs)
สวมถุงน่อง หรือพันผ้ายืดจากปลายเท้าถึงเข่า
วินิจฉัยแยกโรค
อาการเหนื่อยง่าย
เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ร่างกายก็จะทำงานหนักมากขึ้น โดยหัวใจทำงานหนักมากขึ้น เม็ดเลือดแดงนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีอาการเหนื่อยมากขึ้น ปริมาณน้ำในร่างกายจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เม็ดเลือดแดงจางลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เหนื่อยมาก รวมทั้งสตรีตั้งครรภ์มีอาชีพรับราชการครูทำให้ทำงานหนักนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจากสรีระร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้มีอากาาเหนื่อยง่าย
อาการปัสสาวะบ่อย
นื่องจากมดลูกที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานมีขนาดโตขึ้นแล้วไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงมีเลือดไหลเวียนมายังบริเวณอุ้งเชิงกรานมากขึ้น
ระยะใกล้คลอดจะมี อาการปัสสาวะบ่อย อีกเช่นกัน เนื่องจากศีรษะของทารกในครรภ์เคลื่อนตัวไปใกล้ช่องคลอดและกดลงบริเวณหัวหน่าวซึ่งใกล้กับกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้เบียดกระเพาะปัสสาวะได้อีก
ภาวะซีด
ขณะตั้งครรภ์จะมีการเพิ่มปริมาตรพลาสมาก่อนและเพิ่มปริมตรของเม็ดเลือดแดงร้อยละ 30-50 และเพิ่มอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่สองส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ ร่างกายต้องการธาตุเหล็กเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างเม็ดเลือดแดง
อาการเหงื่อออก ตัวเย็น หน้ามืด ตาลาย
ฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ทำให้หลอดเลือดต่างๆขยายมากขึ้นเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
มดลูกขยายใหญ่ขึ้น หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนของมดลูกและร่างกายส่วนล่างเพิ่มมากขึ้น สูบฉีดไปเลี้ยงสมองน้อยลง
อาการบวม
เกิดจากการคั่งของน้ำเนื่องจากเลือดจากส่วนปลายไหลกลับได้ไม่ดี
เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์มีอาการบวมเพราะเข้าสู่การตั้งครรภ์ในระยะท้ายจึงมีอาการบวมเป็นอาการปกติ และ มีอาชีพรับราชการครูต้องยืนหรือนั่งเป็นเวลานานๆ
ที่มา : สุมลทิพย์ สนธิเมือง. (2564). การปรับตัวของสตรีตั้งครรภ์และการพยาบาลในระยะตั้งครรภ์. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลักษณ์
อาการข้างต้นมีสาเหตุมาจาก
มาฝากครรภ์ครั้งแรกช้า อาจส่งผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพของมารดา อันได้แก่ โรคโลหิตจาง ภาวะทุพโภชนาการ โรคความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์
มาฝากครรภ์ครั้งแรกวันที่ 1 มีนาคม 2564 ( 21 สัปดาห์ 5 วัน / 5 เดือน )
มารดาติดเชื้อซิฟิลิส
(VDRL reactive)
เคยมีประวัติการแท้งบุตร
( เคยแท้งบุตร 1 ครั้ง)
Hct อยู่ในระดับกว่าปกติ
Hct : 24% (Hb 8 mg/dl) : Moderate anemia
ยอดมดลูกไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์
สัปดาห์ ที่ 28 ระดับยอดมดลูก 1/4 เหนือสะดือ ( อายุครรภ์ไม่สัมพันธ์กับระดับยอดมดลูก)
ปิดบังข้อมูล หลีกเลี่ยงปัญหา
นักศึกษาคิดว่าอาชีพ อายุ จํานวนครั้งของการตั้งครรภ์ ส่งผลต่อการเกิดอาการดังกล่าวข้างต้น
หรือไม่ อย่างไร
อาชีพ อายุ และ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ของสตรีตั้งครรภ์ไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ สตรีตั้งครรภ์เคยมีประวัติการแท้ง 1 ครั้ง ซึ่งจะส่งผลให้เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดได้
สตรีตั้งครรภ์ฝากครรภ์ไม่เป็นมาตรฐาน [ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 (21 สัปดาห์ 5 วัน)]