Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
case study พบ.281 - Coggle Diagram
case study พบ.281
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
A1: ปวดท้องเนื่องจากมีก้อนเนื้อในช่องท้อง เส้นประสาทถูกกดทับจากการมีมะเร็งในช่องท้อง
S: ผู้ป่วยบอก “ปวดอืด แน่นท้อง ไม่ผายลม ไม่ถ่ายอุจจาระ 3 วัน”
O:
ข้อมูลจากการสังเกต
หน้าท้องโตตึง
ข้อมูลจากการตรวจร่างกาย
pain score = 8
พบ tenderness, distension
bowel sound = 3 ครั้ง/นาที
V/S
RR = 28 ครั้ง/นาที (สูงกว่าปกติ)
BP = 123/73 mmHg (สูงกว่าปกติ)
T = 38 องศาเซลเซียส (สูงกว่าปกติ)
Analysis : ผู้ป่วยมีอาการปวดอืดแน่นท้องบริเวณท้อง ได้รับการวินิจฉัยเป็น Carcinoma sigmoid colon ยังไม่ได้รับการผ่าตัด จึงทำให้ผู้ป่วยยังคงอาการปวดอยู่ ซึ่งเข้ากับทฤษฎีประตูควบคุมการเปิดและปิด (gate control theory) กระแสประสาทรับความเจ็บปวดนำเข้าจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะถูกปรับให้ลดลงในไขสันหลังก่อนส่งขึ้นไปรับรู้ความเจ็บปวดในสมอง โดยขนาดของกระแสประสาทขนาดใหญ่ (รับรู้ตำแหน่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ความสั่นสะเทือน รับสัมผัส อย่างละเอียด) และใยประสาทขนาดเล็ก (รับความเจ็บปวด อุณหภูมิ) เมื่อใยประสาทขนาดใหญ่ ( A alpha , A beta ) ,มีผลกระตุ้น T cell และ Substantia gelatinosa (S.G.) cell พร้อมกันซึ่งเป็นการยับยั้งการทำงานของ T cell ทำให้กระแสประสาทขนาดเล็ก (ซึ่งนำความเจ็บปวด) ทำงานไม่ได้ จึงปิดประตู ขณะเดียวกันหากมีการกระตุ้นกระแสประสาทขนาดเล็กอย่างแรงหรือมีการทำลายกระแสประสาทขนาดใหญ่เป็นการเปิดประตูทำให้เกิดความเจ็บปวด
วัตถุประสงค์ : บรรเทาอาการปวดอืดแน่นท้อง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยบอกว่าปวดแน่นอึดอัดท้องน้อยลง
Bowel sound ปกติ 5-34 ครั้ง/นาที
pain score < 3
หน้าท้องยุบลง เคาะท้องอาการเกร็งตึงและกดเจ็บลดลง
V/S อยู่นเกณฑ์ปกติ
RR = 20-24 ครั้ง/นาที
BP = 120/80 mmHg
T = 36.5-37.5 องศาเซลเซียส
แผนการพยาบาล
ประเมินความรุนแรงของอาการท้องอืดปวดท้องโดยการสังเกตและตรวจร่างกาย
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของผู้ป่วยและอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น
ประเมินประดับอาการปวดโดยใช้มาตรวัดความปวดตัวเลข (pain score) ลักษณะปวด ระยะเวลา ความบ่อยครั้งของการปวด
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อให้ทราบถึงระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วย หากมีระดับความเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้นให้รีบ
แจ้งแพทย์ทันที
ประเมิน vital signs ทุก ๆ 4 ชั่วโมง
เหตุผลการพยาบาล
การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพสามารถบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในการทำหน้าที่ของร่างกายได้ ซึ่งสัญญาณชีพที่ต้องเฝ้าระวัง บ่งชึ้ถึงการติดเชื้อคืออุณหภูมิมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ชีพจรมากกว่า 90 ครั้ง/นาที การหายใจมากกว่า 24 ครั้ง/นาที ความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิลิตรปรอท
ดูแลให้งดอาหารและน้ำ ใส่ NG tube ต่อกับ Gomco suction
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อระบายสารเหลวและเศษอาหารเป็นการลดความดันในลำไส้และการเพาะอาหารช่วยบรรเทาอาการปวด อธิบายถึงความสำคัญและความจำเป็นของการงดอาหารและน้ำให้ผู้ป่วยทราบ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษาพยาบาลการงดอาหารและน้ำจะช่วยลดการกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องลดลง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
5.1 Morphine 10 mg
เหตุผลทางการพยาบาล
ใช้บรรเทาอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง โดยออกฤทธิ์โดยจับกับ mu (µ) receptors เป็น หลักที่บริเวณสมองและไขสันหลัง มีผลบรรเทาอาการปวด
แนะนำผู้ป่วยใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความเจ็บปวด เช่น สอนให้ผู้ป่วยหายใจออกช้า ๆ หรือการทำสมาธิ
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยได้ดึงความสนใจจากสิ่งที่กำลังทำส่งผลให้ความสนใจต่อความปวดและความปวดลดลงตามลำดับ
อธิบายผู้ป่วยและญาติให้ทราบถึงแผนการรักษาต่อไป คือการผ่าตัด
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อแก้ไขสาเหตุของอาการปวดท้อง พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามปัญหาและข้อสงสัยต่าง ๆ
A2: มีโอกาสเกิดการติดเชื้อเนื่องจากมีก้อนเนื้อที่ลำไส้ใหญ่
S: ผู้ป่วยบอก “ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายปนเลือดบางครั้ง”
O:
ข้อมูลจากการตรวจร่างกาย
พบ distension ท้องโป่งพอง
tenderness กดเจ็บ
Bowel sound 3 ครั้ง/นาที (Hypoactive bowel sound)
Pain score = 8
V/S
RR = 28 ครั้ง/นาที (สูงกว่าปกติ)
BP = 123/73 mmHg (สูงกว่าปกติ)
T = 38 องศาเซลเซียส (สูงกว่าปกติ)
ข้อมูลจากผลการตรวจห้องปฏิบัติการ (1 พฤศจิกายน 2564)
WBC 11,400 cells/mm3 (สูงกว่าปกติ), Neutrophil 88% (สูงกว่าปกติ)
Plan H/C if T > 38.5 องศาเซลเซียส
Analysis การอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute inflammation) เกิดจากสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตรายที่มาจากปัจจัยด้านกายภาพ ชีวภาพหรือด้านเคมีมาก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเชื่อและเซลล์ ปฏิกิริยาเกิดขึ้นภายหลังได้รับสิ่งกระตุ้นการอักเสบเฉียบพลันประกอบไปด้วย การขยายของหลอดเลือดเล็ก พร้อมการคั่งของเม็ดเลือดแดง เกิดการบวมทั่วไปของเนื้อเยื่อบริเวณอักเสบ ซึ่งลักษณะทางคลินิกที่สำคัญของการอักเสบเลียบพลัน คือ เนื้อเยื่อจะมีลักษณะปวด (Pain)
บวม (Edema) แดง (Redness) ร้อน (Heat) นอกจากนี้ยังพบสารน้ำซึ่งมีโปรตีน (Exudate) อยู่ภายในเนื้อเยื่อและจะพบการอักเสบชนิคนิวโทรฟิล (Neutrophil) การอักเสบนี้จะอยู่ในระยะการติดเชื้อระยะที่ 3 Acute period เป็นระยะที่มีอาการและอาการแสดงรุนแรงมากขึ้น เป็น Localized acute infection เป็นการติดเชื้อที่สมารถระบุตำแหน่งไว้ชัดเจน ร่างกายมีปฏิกิริยาการอักเสบ (Inflammatory response) เกิดขึ้น อาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ คือ ปวด (Pain) บวม (Swelling) แดง (Redness) และร้อน (Heat)
วัตถุประสงค์ : เพื่อลดการติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมิน
V/S อยู่นเกณฑ์ปกติ
RR = 20-24 ครั้ง/นาที
BP = 120/80 mmHg
T = 36.5-37.5 องศาเซลเซียส
ผลการตรวจห้องปฏิบัติการปกติ Neu = 54-75%
pain score ลดลง = 3
ไม่มีอาการและอาการแสดงของการอักเสบติดเชื้อ คือ ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณแผลผ่าตัด
แผนการพยาบาล
วัดสัญญาณชีพทุก ๆ 4 ชั่วโมง
เหตุผลการพยาบาล
การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพสามารถบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในการทำหน้าที่ของร่างกายได้ ซึ่งสัญญาณชีพที่ต้องเฝ้าระวัง บ่งชึ้ถึงการติดเชื้อคืออุณหภูมิมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ชีพจรมากกว่า 90 ครั้ง/นาที การหายใจมากกว่า 24 ครั้ง/นาที ความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิลิตรปรอท
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2.1 ค่า WBC
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อติดตามผลการติดเชื้อ WBC ยังคงสูงขึ้นร่วมกับอุณหภูมิยังไม่ลดลง ต้องทำตาม แผนการรักษาต่อไปคือ Plan H/C if T > 38.5 องศาเซลเซียส
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
3.1 metronidazole 500 mg iv drip ทุก ๆ 8 ชั่วโมง
เหตุผลการพยาบาล
metronidazole เป็นยาปฏิชีวนะ ที่จะออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในร่างกายซึ่งจะใช้ในการรักษาโรค จากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะกับเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ เจริญเติบโตได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาออกซิเจน (Anaerobic Bacteria) และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เซลล์เดียวหรือ โปรโตซัว (Protozoa Microorganisms)
3.2 Ceftriaxone 2 gm iv OD
เหตุผลการพยาบาล
Ceftriaxone เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) ที่ออก ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยการทำลายผนังเซลล์ทำให้แบคทีเรียตาย ใช้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย กระจายลุกลามไปทั่ว
A3: ปวดเนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลายและมีการผ่าตัด Explor lap to sigmoidectomy with Hartmann's procedure
S: ผู้ป่วยบอก "นอนไม่หลับ ปวดแผล"
O:
ข้อมูลจากการสังเกต
pain score = 8
V/S
RR = 28 ครั้ง/นาที
BP 130/80 mmHg
T = 38.2 องศาเซลเซียส
PR = 108 ครั้ง/นาที
ข้อมูลจากการตรวจร่างกาย
มีแผลผ่าตัดแนว midline เปิดทวารเทียมท้องด้านซ้าย
Analysis ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็น Carcinoma sigmoid colon ได้รับการผ่าตัด Explor lap to sigmoidectomy with Hartmann's procedure หลังการผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการปวด ซึ่งเข้ากับทฤษฎีประตูควบคุมการเปิดและปิด (gate control theory) กระแสประสาทรับความเจ็บปวดนำเข้าจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะถูกปรับให้ลดลงในไขสันหลังก่อนส่งขึ้นไปรับรู้ความเจ็บปวดในสมอง โดยขนาดของกระแสประสาทขนาดใหญ่ (รับรู้ตำแหน่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ความสั่นสะเทือน รับสัมผัส อย่างละเอียด) และใยประสาทขนาดเล็ก (รับความเจ็บปวด อุณหภูมิ) เมื่อใยประสาทขนาดใหญ่ ( A alpha , A beta ) ,มีผลกระตุ้น T cell และ Substantia gelatinosa (S.G.) cell พร้อมกันซึ่งเป็นการยับยั้งการทำงานของ T cell ทำให้กระแสประสาทขนาดเล็ก (ซึ่งนำความเจ็บปวด) ทำงานไม่ได้ จึงปิดประตู ขณะเดียวกันหากมีการกระตุ้นกระแสประสาทขนาดเล็กอย่างแรงหรือมีการทำลายกระแสประสาทขนาดใหญ่เป็นการเปิดประตูทำให้เกิดความเจ็บปวด
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้อาการปวดแผลลดลง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยนอนพักได้ ไม่มีอาการกระสับกระส่าย หน้านิ่วคิ้วขมวด
Pain score 4-5 คะแนน
V/S อยู่นเกณฑ์ปกติ
RR = 20-24 ครั้ง/นาที
BP = 120/80 mmHg
T = 36.5-37.5 องศาเซลเซียส
PR = 60-100 ครั้ง/นาที
แผนการพยาบาล
ประเมินพฤติกรรมการแสดงความเจ็บปวดของผู้ป่วย และ Pain score ตรวจบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อให้ทราบถึงระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วย หากมีระดับความเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้นให้รีบแจ้งแพทย์ทันทีและการเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพสามารถบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในการทำหน้าที่ของร่างกายได้ ซึ่งสัญญาณชีพที่ต้องเฝ้าระวัง บ่งชึ้ถึงการติดเชื้อคืออุณหภูมิมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ชีพจรมากกว่า 90 ครั้ง/นาที การหายใจมากกว่า 24 ครั้ง/นาที ความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิลิตรปรอท
จัดท่านอน Fowler’s position โดยไขหัวเตียงสูง 45-60 องศา และไขส่วนล่างตรงบริเวณเข่าสูง 15-20 องศา
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องมีการหย่อนตัว ลดอาการเจ็บตึงแผล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยและระบายความรู้สึกต่าง ๆ รวมทั้งให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามความเหมาะสม
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วย เป็นการลดความเจ็บปวด
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล แสดงท่าทีที่เป็นกันเอง เห็นอกเห็นใจผู้ป่วย ดูแลด้านจิตใจโดยการพูดคุยปลอบโยนให้กำลังใจ สัมผัส เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และอธิบายให้ผู้ป่วยทราบเกี่ยวกับระยะเวลาในการเจ็บปวด แผลผ่าตัดจะปวดมากกว่าเป็นเวลา 3 วันแรกหลังผ่าตัด
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยไม่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับแผลและมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบเท่าที่สามารถทำได้
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและสุขสบายขึ้นสามารถพักผ่อนได้เต็มที่
แนะนำวิธีการพลิกตะแคงตัวหรือเปลี่ยนอิริยาบท โดยใช้มือ 2 ข้างประคองบริเวณแผลผ่าตัด
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อช่วยลดภาวะการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง และช่วยลดการสั่นสะเทือนของแผลผ่าตัด จะทำให้อาการปวดแผลลดลง ขณะเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนท่านอน ให้ทำด้วยความระมัดระวัง และดูแลไม่ให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ดึงรั้ง ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล
สอนการไออย่างถูกวิธี โดยใช้มือประคองแผลผ่าตัดและหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ ผ่านทางจมูกและ
หายใจออกช้า ๆ ผ่านทางปาก จำนวน 5 ครั้ง ในขณะหายใจเข้าครั้งสุดท้ายให้ผู้ป่วยอ้าปาก และไอออกมา จากส่วนลึกของลำคอ 1-2 ครั้ง
เหตุผลการพยาบาล
เป็นการช่วยขับเสมหะออกมาและลดการสั่นสะเทือนของบาดแผลใช้มือประคองแผลทุกครั้ง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์พร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก
8.1 Morphine 10 mg
เหตุผลการพยาบาล
ใช้บรรเทาอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง โดยออกฤทธิ์โดยจับกับ mu (µ) receptors
เป็นหลักที่บริเวณสมองและไขสันหลัง มีผลบรรเทาอาการปวด
ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น
A4: มีโอกาสสูญเสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่
S: -
O:
ข้อมูลจากการสังเกต
อ่อนเพลีย
ข้อมูลจากการตรวจร่างกาย
RR = 28 ครั้ง/นาที
BP 130/80 mmHg
T = 38.2 องศาเซลเซียส
PR = 108 ครั้ง/นาที
ข้อมูลจากผลการตรวจห้องปฏิบัติการ (1 พฤศจิกายน 2564)
Na = 132 mEq/L (ต่ำกว่าปกติ)
K = 2.8 mEq/L (สูงกว่าปกติ)
Analysis
ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย เป็นภาวะที่อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายไม่สมดุลซึ่งอาจเกิดจากปริมาณของอิเล็กโทรไลต์ที่มากหรือน้อยจนเกินไป อิเล็กโทรไลต์เป็นชื่อที่ใช้เรียกแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาระดับของเหลวในร่างกาย และช่วยให้ระบบที่สำคัญอื่น ๆ ทำงานได้อย่างปกติ เมื่ออิเล็กโทรไลต์ไม่สมดุลอาจทำให้เกิดอาการ อย่างหัวใจเต้นผิดปกติ เหนื่อยล้า ชัก และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ สาเหตุของภาวะนี้อาจเกิดจากการสูญเสียน้ำในร่างกายเป็นจำนวนมาก อย่างการเสียเหงื่อ ท้องร่วง หรืออาเจียน โดยวิธีในการรักษาภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายนั้นอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ
Hypernatremia
หรือภาวะโซเดียมในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณโซเดียมในเลือดเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งโซเดียมนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายหลายด้าน เช่น ควบคุมปริมาณของน้ำในเซลล์ภายในร่างกายให้สมดุล ช่วยด้านการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ เป็นต้น แต่เมื่อโซเดียมในเลือดสูงอาจส่งผลให้มีอาการกระหายน้ำมากกว่าปกติ อ่อนเพลีย หรือชักเกร็ง ส่วนใหญ่ภาวะนี้เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ดื่มน้ำน้อยเกินไป หรือร่างกายเสียน้ำเป็นปริมาณมาก หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีผลกระทบต่อสมองและเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
Hyperkalemia
หรือโพแทสเซียมในเลือดสูง คือภาวะที่มีปริมาณโพแทสเซียมในเลือดสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติของไต เช่น ไตวายเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง ส่งผลให้ไตมีความสามารถในการกำจัดโพแทสเซียมที่ร่างกายไม่ต้องการลดลง ซึ่งหากมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมากอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ลักษณะและความรุนแรงของอาการผู้ป่วย Hyperkalemia ขึ้นอยู่กับปริมาณโพแทสเซียมในเลือด หากมีระดับไม่สูงมากอาจไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติหรือมีอาการไม่รุนแรง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นเหน็บชาตามร่างกาย เป็นต้น แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมากหรือตั้งแต่ 7 มิลลิโมลต่อลิตรขึ้นไปนั้นอาจกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรง เช่น หัวใจเต้นช้า ชีพจรเต้นเบากว่าปกติ รวมถึงภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างหัวใจเต้นผิดจังหวะ และหัวใจหยุดเต้น
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ร่างกายเกิดภาวะสมดุลอิเล็กโทรไลต์และเกลือแร่
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการอ่อนเพลีย สีหน้าสดชื่นขึ้น
V/S อยู่ในเกณฑ์ปกติ
RR = 20-24 ครั้ง/นาที
BP = 120/80 mmHg
T = 36.5-37.5 องศาเซลเซียส
PR = 60-100 ครั้ง/นาที
แผนการพยาบาล
บันทึกสัญญาณชีพทุก ๆ 4 ชั่วโมง
เหตุผลการพยาบาล
การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพสามารถบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในการทำหน้าที่ของร่างกายได้ ซึ่งสัญญาณชีพที่ต้องเฝ้าระวัง บ่งชึ้ถึงการติดเชื้อคืออุณหภูมิมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ชีพจรมากกว่า 90 ครั้ง/นาที การหายใจมากกว่า 24 ครั้ง/นาที ความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิลิตรปรอท
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อสังเกตและติดตามผลการตรวจว่ามีค่าที่สูงขึ้นหรือลดลงเพื่อนำไปวางแผนการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
3.1 5% D/N/2 1000 ml
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อให้ช่วยทดแทนสารน้ำที่สูญเสียไป
A5: ไม่ตระหนักรู้เกี่ยวกับการผ่าตัด colostomy
S: -
O: ไม่เคยได้รับการผ่าตัด colostomy
Analysis Colostomy หมายถึง การผ่าตัดให้เกิดช่องเปิดของลำไส้ใหญ่ออกมาภายนอกร่างกาย โดยผ่านผนังหน้าท้องเพื่อเป็นทางระบายออกของอุจจาระแทนตำแหน่งเดิม คือ ทวารหนัก บริเวณช่องเปิดลำไส้ส่วนที่โผล่ออกมาจากหน้าท้องเรียกว่า stoma เพื่อมิให้อุจจาระผ่านไปยังบริเวณที่มีพยาธิสภาพหรือบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ โดยมีขั้นตอนในการผ่าตัดดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สำไส้ใหญ่ส่วนที่มีพยาธิสภาพถูกตัดออกไป ขั้นตอนที่ 2 นำส่วนของสำไส้ส่วนต้น (proximal end) มาเปิดที่หน้าท้องแล้วเย็บตรึงไว้ Stoma เป็นภาษากรีก หมายถึง ปากหรือรูเปิด, ช่องเปิด ผู้ป่วยที่จะต้องมี Colostomy เรียกว่า Ostomate
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เรื่อง colostomy และการปฏิบัติตัวหลังจากการผ่าตัด colostomy ได้อย่างถูกต้อง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยมีความรู้เรื่อง colostomy และการปฏิบัติตัวหลังจากการผ่าตัด colostomy
ผู้ป่วยสามารถตอบคำถามจากการประเมินได้ 3 ใน 5 ข้อ คิดเป็น 80%
แผนการพยาบาล
ประเมินความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัด โดยการซักถามและการสังเกต
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วย
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรค ขั้นตอนและวิธีการรักษาพยาบาล
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยทราบถึงความเป็นมาของการผ่าตัด colostomy
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวภายหลังการผ่าตัดขณะที่อยู่โรงพยาบาล
เหตุผลการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวภายหลังการผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง
CC อาการสำคัญ
ปวดอืด แน่นท้อง 3 ชม. ก่อนมารพ.
PI ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
1 เดือนก่อนมารพ. ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายปนเลือดบางครั้ง ไม่ได้ไปรักษา 7 วันก่อนมารพ. ปวดอืดแน่นท้อง ไม่ถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียนเป็นน้ำ ซื้อยาธาตุน้ำขาวมารับประทาน เช้านี้ปวดอืดแน่นท้องมากขึ้น ปวดบิดๆ เป็นบางครั้ง ท้องโต แน่นท้องมากขึ้น จึงมารักษาที่รพ.ลำพูน (pain score=8)
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการและการเผาผลาญ (เช่น CBC, FBS, electrolyte, enzyme, LFT, x-ray, ultrasound, CT scan, gastroscopy เป็นต้น)
การวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 9.00 น.
CBC
Neu = 88 (ค่าปกติ = 60-70%) = สูง
Eosi = 0.3 (ค่าปกติ = 1-6%) = ต่ำ
Lym = 15.1 (ค่าปกติ = 30-45%) = ต่ำ
HB = 12.8 (ค่าปกติ = 13.8-17.2 กรัม/เดซิลิตร) = ต่ำ
WBC = 11,400 (ค่าปกติ = 4,500-10,000 cell/ml)= สูง
Electrolyte
Na = 132 mEq/L (ค่าปกติ = 135-145 mEq/L) = ต่ำ
INR = 1.11s (ค่าปกติ= 2-3s) = ต่ำ
วันที่ 1 พฤศจิกายน 18.00 น.
CBC
Neu = 82 (ค่าปกติ = 60-70%) = สูง
Eosi = 0 (ค่าปกติ = 1-6%) = ต่ำ
Lym = 10.1 (ค่าปกติ = 30-45%) = ต่ำ
HB = 12.2 (ค่าปกติ = 13.8-17.2 กรัม/เดซิลิตร) = ต่ำ
Hct = 35 (ค่าปกติ = 38.8-50.0%) = ต่ำ
WBC = 10,110 (ค่าปกติ = 4,500-10,000 cell/ml) = สูง
Electrolyte
Na = 132 mEq/L (ค่าปกติ = 135-145 mEq/L) = ต่ำ
INR = 1.06s (ค่าปกติ= 2-3s) = ต่ำ
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 9.00 น.
Electrolyte
Na = 132 mEq/L (ค่าปกติ = 135-145 mEq/L) = ต่ำ
K = 2.8 mEq/L (ค่าปกติ = 3.5-50 mEq/L) = ต่ำ
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 9.00 น.
CBC
Hct = 36 (ค่าปกติ = 38.8-50.0%) = ต่ำ
Electrolyte
Na = 132 mEq/L (ค่าปกติ = 135-145 mEq/L) = ต่ำ