Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Tonsillitis c Scarlet fever, นางสาวปภาวดี โภคาพานิชย์ รหัสนิสิต…
Acute Tonsillitis c Scarlet fever
การวางแผนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยที่ 2 : เสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและ
อิเล็กโทรไลต์เนื่องจากเจ็บคอ รับประทานอาหารได้น้อยลง
จากต่อมทอนซิลอักเสบ
ประเมินผล
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ไม่มีอ่อนเพลีย หิวหนังชุ่มชื้นมากขึ้น ริมฝีปากไม่แห้ง
ปัสสาวะได้ปกติ
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้แก่ BT = 36.6-36.9 องศาเซลเซียส,
PR = 75-100 ครั้ง/นาที, RR = 20-28 ครั้ง/นาที, BP = Systolic = 85-113 mmHg, Diactolic = 52-70 mmHg
ปัสสาวะออกดี
ได้รับพลังงาน 1,600-1,800 Kcal/day
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ปกติ Na = 136-146 mmol/L,
K = 3.40-4.50 mmol/L, Cl = 101-109 mmol/L
กิจกรรมทางการพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะขาดสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ ได้แก่ เหนื่อย หอบ หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชา คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด
หลอดเลือดดำบริเวณคอโป่งพอง
ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมงและวัดค่า O2 sat บันทึกและรายงานผลการเปลี่ยนแปลง
เพื่อสังเกตและติดตามภาวะการเปลี่ยนแปลงของภาวะขาดสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ตามแผนการรักษาของแพทย์
วันที่ 4/5/64 on 5% DN/2 1000 ml rate 65 ml/hr
วันที่ 5/5/64 on 5% DN/2 1000 ml rate 40 ml/hr
เพื่อทดแทนสารน้ำและพลังงานที่ร่างกายสูญเสียไป และควรเฝ้าระวังการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบและสังเกตอาการแสดงของการแพ้สารน้ำ ได้แก่ มีผดผื่นแดง มีผื่นคัน หน้าบวม ปากบวม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกทุก 8 ชั่วโมง เพื่อประเมินสมดุลน้ำในร่างกาย
ดูแลให้ได้รับประทานอาหารตามแผนการรักษาของแพทย์ คือ อาหารอ่อน (Soft diet) ได้แก่
โจ๊ก ข้าวต้มที่ไม่ร้อนจนเกินไป และควรงดอาหารที่มีลักษณะแข็ง และขนมกรุบกรอบ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด แนะนำให้ดื่มน้ำเย็น หรืออาหารแช่เย็น ได้แก่ ไอศกรีม เพราะจะช่วยลดอาการปวดและบวมจากการอักเสบของต่อมทอนซิลได้
ชั่งน้ำหนักทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า ตามแผนการรักษาของแพทย์
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Electrolyte : Na, Cl และ K
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะขาดสารน้ำและสารอาหาร ได้แก่ อ่อนเพลีย
กระหายน้ำ ริมฝีปากแห้ง ผิวแห้ง ความตึงตัวของผิวหนังลดลง ง่วงซึม ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
ความดันโลหิตต่ำ น้ำหนักลด
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้แก่ BT = 36.4-37.5 องศาเซลเซียส, PR = 75-100 ครั้ง/นาที
, RR = 20-30 ครั้ง/นาที, BP = Systolic = 85-114 mmHg, Diactolic = 52-85 mmHg
ปัสสาวะออกอย่างน้อย 1 มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อชั่วโมง
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ปกติ
Electrolyte : Na = 136-146 mmol/L, K = 3.40-4.50 mmol/L, Cl = 101-109 mmol/L
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อให้มีภาวะสมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาให้ข้อมูลว่า - 1 วันก่อนผู้ป่วยมีไข้ เจ็บคอ รับประทานอาหารไม่ได้
มีประวัติเป็นต่อมอะนอยด์โต และแพ้ไข่ขาว
O :
Vital sign : วันที่ 04/05/64 เวลา 9:30 BT = 38.2 องศาเซลเซียส, BP 125/75 mmHg,
PR = 157 /min, RR = 36 ครั้ง/นาที
เวลา 18:00 น. BT = 38.5 องศาเซลเซียส
เวลา 22:00 น. RR = 32 ครั้ง/นาที, BP = 125/71 mmHg
น้ำหนัก 36.5 กก. ส่วนสูง 120 ซม. จากกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต
น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง อยู่ในเกณฑ์อ้วน
ตรวจร่างกายพบต่อมทอมซิลบวม โต อักเสบ มีหนอง และบริเวณช่องคอพบอาการแดง
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการพบ : Na = 134 mmol/L, Cl = 100 mmol/L
ข้อวินิจฉัยที่ 4: บิดาและมารดามีความวิตกกังวลต่อการเจ็บป่วย
และการรักษาที่บุตรได้รับ
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบิดาและมารดา ด้วยสีหน้าและท่าทางที่เป็นมิตร
เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
ประเมินความวิตกกังวลของบิดาและมารดา โดยการสังเกตสีหน้า ท่าทาง
และการพูดคุย โดยเปิดโอกาสให้มารดาแสดงความรู้สึก ระบายความวิตกกังวล
และซักถามปัญหาที่สงสัย
ให้ข้อมูลแก่บิดาและมารดาเกี่ยวกับโรค Tonsillitis และ Scarlet fever สาเหตุ อาการและอาการแสดง การรักษาต่างๆ และยาที่ผู้ป่วยจะได้รับ และเปิดโอกาสให้บิดาและมารดาได้ซักถามในข้อที่สงสัย
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลบุตรเมื่อต้องกลับบ้าน ตามหลัก D-METHOD ดังนี้
D :ให้ความรู้เรื่อง โรค Tonsillitis และ Scarlet fever โดย Tonsillitis คือ การติดเชื้อบริเวณคอหอยจากไวรัสหรือแบคทีเรียที่ผ่านเข้าทางปาก พบบ่อยที่สุดในช่วงอายุ 3-14 ปี อาการที่สำคัญ คือ ไข้และเจ็บคอ การรักษา ได้แก่ รักษาตามอาการ และการให้ยาต้านจุลชีพ และ Scarlet fever คือ ไข้อีดําอีแดง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถสร้างสารพิษที่ทําให้เกิดผื่นแดงตามตัว มักเกิดร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ อาการที่สำคัญ คือ ลิ้นบวมแดงคล้ายผลสตรอเบอร์รี่ และมีผื่นแดงตามตัว มีลักษณะเฉพาะคือ คลำแล้วสากเหมือนกระดาษทราย การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนนิซิลิน
M : การรับประทานและสังเกตอาการและอาการแสดงของยา Nasonex และ Singulair และควรรับประทานยาอย่าต่อเนื่องตามแผนการรักษาของแพทย์
E : แนะนำบิดาและมารให้ดูแลบริเวณบ้าน และบริเวณใกล้เคียงให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ มีอากาศถ่ายเท
ไม่มีฝุ่น
T : ล้างจมูกด้วย 0.9 NSS เพื่อช่วยลดการคั่งค้างของน้ำมูกในโพรงจมูก และชะล้างสารที่ก่อให้เกิด
อาการแพ้ ทำให้โพรงจมูกชุ่มชื้นขึ้น บรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้หายใจสะดวกขึ้น
H :ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
O : การมาพบแพทย์ตามนัด หากไม่สามารถมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลได้ สามารถไปที่สถานีอนามัย
ใกล้บ้าน หรือขอความช่วยเหลือจาก 1669
D : การดูแลให้เด็กได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ควรรรับประทานอาหารอ่อนๆ ได้แก่ โจ๊ก ข้าวต้มที่ไม่ร้อนจนเกินไป และการดื่มน้ำเย็น หรืออาหารแช่เย็น ได้แก่ ไอศกรีม เพราะจะช่วยลดอาการปวดและบวมจากการอักเสบของต่อมทอนซิลได้
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาบอกว่า “กังวลเนื่องจากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว”
O : บิดาและมารดามีสีหน้าวิตกกังวล, ผู้ป่วยมีประวัติโรคประจำตัวเป็นต่อมอะดินอยด์โต
เกณฑ์การประเมินผล
บิดาและมารดามีความวิตกกังวลลดลง
เช่น มีสีหน้าสดชื่นขึ้น ยิ้มแย้มแจ่มใส
บิดาและมารดามีความเข้าใจเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของบุตรและการรักษาที่บุตรจะได้รับ เมื่อถามตอบสามารถตอบคำถามได้
7 จาก 10 ข้อ
ในระยะ 3 เดือน เด็กไม่มีการติดเชื้อ
ประเมินผล
บิดาและมารดามีสีหน้าสดชื่นขึ้น ยิ้มแย้มแจ่มใส
บิดาและมารดามีความเข้าใจเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของบุตรและการรักษาที่บุตรจะได้รับ เมื่อถามตอบสามารถตอบคำถามได้ 9 จาก 10 ข้อ
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
บิดามารดามีความวิตกกังวลลดลง
ข้อวินิจฉัยที่ 3 : ไม่สุขสบายเนื่องจากมีผื่นตามร่างกายจาก
Scarlet fever และ
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
มีอาการคันลดลงจากผื่นคันลดลง
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการและอาการแสดงของ Scarlet fever ได้แก่ ไม่มีไข้สูง ไม่ไอ ไม่เจ็บคอ
ต่อมทอนซิลไม่มีหนองและไม่บวม ไม่พบผื่นคันขึ้นตามร่างกาย
สามารถนอนหลับพักผ่อนได้นานต่อเนื่อง 9-12 ชั่วโมง และไม่บ่นคัน
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้แก่ BT = 36.4-37.5 องศาเซลเซียส, PR = 75-100 ครั้ง/นาที, RR = 20-30 ครั้ง/นาที, BP = Systolic = 85-114 mmHg, Diactolic = 52-85 mmHg
กิจกรรมทางการพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงของ Scarlet fever ได้แก่ ไข้สูง ไอ เจ็บคอ ต่อมทอนซิล
มีหนองและบวม พบผื่นคันขึ้นตามร่างกาย และ strawberry tongue
ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง บันทึกและรายงานผลการเปลี่ยนแปลงเพื่อประเมิน
การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายให้สะอาด เช็ดผิวหนังให้แห้ง ไม่ให้เกิดอารอับชื้น ตัดเล็บให้สั้น
ดูแลให้ยา Calamine เพื่อบรรเทาอาการคัน โดยแนะนำไม่ให้ผู้ป่วยเกาบริเวณผื่นแต่ใช้วิธีการ
ลูบเบาๆแทน เพราะ การเกาอาจจะทำให้เกิดแผล และผิวหนังอักเสบได้
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ สะอาด อากาศถ่ายเท เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน
ข้อมูลสนับสนุน
S: มารดา ให้ข้อมูลว่า “1 วันก่อน ผู้ป่วยมีไข้ เจ็บคอ มีไม่มีไอ จาม น้ำมูก มีผื่นขึ้นตามร่างกาย เริ่มบริเวณหน้าอก มีอาการคัน”
O : Vital sign : วันที่ 04/05/64 เวลา 9:30 BT = 38.2 ครั้ง/นาที,
BP 125/75 mmHg RR = 34 ครั้ง/นาที, เวลา 18:00 น. BT = 38.5 องศาเซลเซียส - ตรวจร่างกายพบ ผื่นขึ้นตามร่างกายเริ่มลามจากอก ลำตัว แขนและขา มือและเท้า
ประเมินผล
ไม่มีไข้สูง ไม่ไอ ไม่เจ็บคอ ต่อมทอนซิลไม่มีหนองและ
ไม่บวม ไม่พบผื่นคันขึ้นตามร่างกาย และไม่มีอาการ strawberry tongue
สามารถนอนหลับพักผ่อนได้นานต่อเนื่อง 9-10 ชั่วโมง และไม่บ่นคัน
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้แก่ BT = 36.6-36.9 องศาเซลเซียส, PR = 75-100 ครั้ง/นาที, RR = 20-28 ครั้ง/นาที, BP = Systolic = 85-113 mmHg, Diactolic = 52-70 mmHg
ข้อวินิจฉัยที่ 1 : เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนจากต่อมทอนซิลอักเสบและต่อมอะดินอยด์โต
กิจกรรมทางการพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจน ได้แก่ อาการหายใจเหนื่อย ซึม ไอ
หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก เขียวที่ริมฝีปาก ปลายมือปลายเท้าซีด
ประเมินอาการและอาการของต่อมทอนซิลอักเสบและต่อมอะดินอยด์โต ได้แก่ มีไข้สูง ต่อมทอนซิล
บวม โต หรือมีหนอง ไอ จาม มีเสมหะ เจ็บคอ กลืนลำบาก กดเจ็บบริเวณลำคอ
ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง ทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าอาการจะคงที่
และวัดค่า O2 sat บันทึกและรายงานผลการเปลี่ยนแปลง เพื่อประเมินภาวะพร่องออกซิเจนและภาวะติดเชื้อ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและยาตามแผนการรักษาของแพทย์
5% DN/2 1000 ml ทางหลอดเลือดดำ rate 65 ml/hr เพื่อทดแทนสารน้ำและพลังงานที่ร่างกาย
สูญเสียไป และควรเฝ้าระวังการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ และสังเกตอาการแสดงของการแพ้สารน้ำ ได้แก่ มีผดผื่นแดง มีผื่นคัน หน้าบวม ปากบวม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง
Paracetamol 10 ml เมื่อมีไข้ ทุก 4-6 ชม. เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดไข้
Augmentin 300 mg IV q 8 hr เพื่อรักษาโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย
Nasonex ข้างละ 1 กด ตอนเช้า เพื่อรักษาอาการโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
Bromhexine 5 ml po bid pc เพื่อละลายเสมหะ
Singulair 1x1 po hs เพื่อป้องกันและรักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง, บรรเทาเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
ล้างจมูกด้วย 0.9 NSS เพื่อช่วยลดการคั่งค้างของน้ำมูกในโพรงจมูก และชะล้างสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ทำให้โพรงจมูกชุ่มชื้นขึ้น บรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้หายใจสะดวกขึ้น
สังเกตและประเมินอาการและอาการแสดงผลข้างเคียงจากยา
ดูแลเช็ดตัวลดไข้ และติดตามวัดอุณหภูมิซ้ำหลังจากเช็ดตัวลดไข้ 30 นาที
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างต่อเนื่อง 9-11 ชม. โดยจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ มีอากาศถ่ายเท
เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน และลดการใช้ออกซิเจน
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร โดยรับประทานอาหารอ่อน (Soft diet) ได้แก่ โจ๊ก ข้าวต้ม
ที่ไม่ร้อนจนเกินไป และควรงดอาหารที่มีลักษณะแข็ง และขนมกรุบกรอบ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด แนะนำให้ดื่มน้ำเย็น หรืออาหารแช่เย็น ได้แก่ ไอศกรีม เพราะจะช่วยลดอาการปวดและบวมจากการอักเสบของต่อมทอนซิลได้
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ WBC, Neutrophil
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาให้ข้อมูลว่า
1 วันก่อนผู้ป่วยมีไข้ เจ็บคอ เช็ดตัวลดไข้อาหารไม่ดีขึ้น ไม่มีไอจาม ไม่มีน้ำมูก 23:00 มารดาให้ทานยาลดไข้
2 ชม.ก่อนมารพ. มีไข้สูง อ่อนเพลีย หายใจเร็ว เหนื่อย
มีปัญหาการนอนกรน และมีประวัติโรคประจำตัวเป็นต่อมอะดินอยด์โต
O :
-Vital sign : วันที่ 04/05/64 เวลา 9:30 BT = 38.2 องศาเซลเซียส, BP 125/75 mmHg, PR = 157 /min, RR = 36 ครั้ง/นาที เวลา 18:00 น. BT = 38.5 องศาเซลเซียส เวลา 22:00 น. RR = 32 ครั้ง/นาที, BP = 125/71 mmHg
มีอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หายใจทางปาก
ตรวจร่างกายพบ ต่อมทอนซิลอักเสบ และมีหนอง
-น้ำหนัก 36.5 กก. ส่วนสูง 120 ซม. จากกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง อยู่ในเกณฑ์อ้วน
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ WBC = 32,800 cell/mm3, Neutrophil = 92%, Lymphocyte 2%
การประเมินผล
หายใจปกติ ไม่มีเหนื่อย
ไม่มีไข้ ต่อมทอนซิลไม่มีการอักเสบ ไม่ไอจามและไม่มีเสมหะ
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้แก่ BT = 36.6-36.9 องศาเซลเซียส, PR = 75-100 ครั้ง/นาที, RR = 20-28 ครั้ง/นาที,
BP = Systolic = 85-113 mmHg, Diactolic = 52-70 mmHg
ค่า O2 Sat อยู่ระหว่าง 96-97 %
ฟังเสียงปอดไม่พบเสียงผิดปกติที่แสดงถึงการมีสารคัดหลั่งในปอด
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ RBC = 4.0-5.5 106/uL, Hb = 12.0-16.0 g/dL, Hct = 36-48 %, WBC = 4,000-11,000 cell/mm3, Neutrophil = 40-75%, Lymphocyte = 20-50%, Monocyte =2-10%, Eosinophil = 1-5%, Basophil = 0-1 %
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน
ไม่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจน ได้แก่ อาการหายใจเหนื่อย ซึม ไอ หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก เขียวที่ริมฝีปาก
ปลายมือปลายเท้าซีด
ไม่มีอาการและอาการของต่อมทอนซิลอักเสบและต่อมอะดินอยด์โต ได้แก่ มีไข้สูง ต่อมทอนซิลบวม โต หรือมีหนอง ไอ จาม มีเสมหะ
เจ็บคอ กลืนลำบาก กดเจ็บบริเวณลำคอ
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้แก่
BT = 36.4-37.5 องศาเซลเซียส
PR = 75-100 ครั้ง/นาที
RR = 20-30 ครั้ง/นาที
BP = Systolic = 85-114 mmHg
Diactolic = 52-85 mmHg
ค่า O2 Sat อยู่ระหว่าง 95-100 %
ฟังเสียงปอดไม่พบเสียงผิดปกติที่แสดงถึงการมีสารคัดหลั่งในปอด
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ WBC = 4,000-11,000 cell/mm3,
Neutrophil = 40-75%
สรุปอาการก่อนรับไว้ในความดูแล
ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 6 ปี 18 วัน มีประวัติโรคประจำตัว เป็นต่อมอะดินอยด์โต 1 วันก่อนมาโรงพยาบาลมีไข้ เจ็บคอ ไม่มีไอจาม ไม่มีน้ำมูก มีผื่นขึ้นตามร่างกาย เริ่มจากบริเวณหน้าอก
มีอาการคัน รับประทานอาหารได้น้อย ไม่มีอาเจียน ไม่มีถ่ายเหลว ไม่มีปัสสาวะแสบขัด
เช็ดตัวลดไข้อาการไม่ดีขึ้น มารดาจึงพามาโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัยโรคแรกรับ Acute Tonsillitis c rash วันที่รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล 04/05/64 เวลา 09:30 น. วันที่รับผู้ป่วยไว้
ในความดูแล 04/05/64 เวลา 12:15 น.
แรกรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี มีไข้ หายใจทางปาก ผู้ป่วยต้องการอยู่กับมารดา แสดงพฤติกรรมร้องไห้ และมีความวิตกกังวลเมื่ออยู่โรงพยาบาล สัญญาณชีพแรกรับ BT = 38.2 องศาเซลเซียส, PR = 157 /min, RR = 36 /min, BP = 125/72 mmHg, O2 Sat = 96-97%
ภาวะสุขภาพ
ประวัติการได้รับอาหาร
รับประทานอาหารตรงเวลา ครบ 3 มื้อ ชอบดื่มน้ำอัดลม มีประวัติการแพ้ไข่ขาว
ประวัติการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
น้ำหนัก 36.5 กก. ส่วนสูง 120 ซม.
กราฟน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ มากกว่าเปอร์เซ็นไทล์
ที่ 97 แปลผล น้ำหนักมากเกินเกณฑ์
กราฟส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ อยู่ระหว่างเปอร์เซ็นไทล์ที่ 50-75 แปลผล ส่วนสูงตามเกณฑ์
กราฟน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง มากกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 97 แปลผล อ้วน
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ประวัติการแพ้อาหาร : แพ้ไข่ขาว
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
1 วันก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยมีไข้ เจ็บคอ ไม่มีไอจาม น้ำมูก มีผื่นขึ้นตามร่างกาย เริ่มบริเวณหน้าอก คัน รับประทานอาหารได้น้อยลง กินยาลดไข้ 23:00 น. ร่วมกับเช็ดตัวลดไข้ อาการไม่ดีขึ้น ไม่มีอาเจียน ไม่มีปัสสาวะแสบขัด
2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยมีไข้สูง รับประทานอาหารไม่ได้ หายใจเร็วเหนื่อย มารดาจึงพามาโรงพยาบาล
ตรวจร่างกาย พบต่อมทอมซิลอักเสบ และมีหนอง แพทย์จึงให้ Admit
ประวัติโรคประจำตัว : ต่อมอะดินอยด์โต
ประวัติการใช้ยาประจำ : Nasonex และ Singular
ประวัติการได้รับภูมิคุ้มกัน
ได้รับวัคซีนครบตามวัคซีนพื้นฐาน (EPI)
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
มารดามีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืด
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีไข้สูง
รับประทานอาหารไม่ได้
มารดาจึงพามาโรงพยาบาล
การตรวจร่างกาย
ลักษณะทั่วไป
ผู้ป่วยเพศหญิง แรกรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี แสดงพฤติกรรมร้องไห้ และมีความวิตกกังวล เมื่ออยู่โรงพยาบาลผู้ป่วยต้องการอยู่กับมารดา
Skin
ผิวหนังมีผื่นนูน มีตุ่ม ผื่นแบนหรือรอยแดงกระจายตามผิวหนังตามส่วนต่างๆ ทั่วทั้งร่างกาย
Lymph node
พบต่อมทอนซิลอักเสบ บวม โต มีหนอง และตรวจช่องคอพบอาการคอแดง
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและห้องตรวจพิเศษ
CBC
WBC : 32,800 cell/mm3 (ค่าปกติ 4,000-11,000 cell/mm3)
แปลผล สูงกว่าปกติ
Neutrophil : 92% (ค่าปกติ40-75%) แปลผล สูงกว่าปกติ
Lymphocyte : 2% (ค่าปกติ 20-50%) แปลผล ต่ำกว่าปกติ
Plt : 491,000 cell/mm3 (ค่าปกติ 150,000-440,000 cell/mm3 )
แปลผล สูงกว่าปกติ
MCV : 71.2 fl (ค่าปกติ 83-97 fl) แปลผล ต่ำกว่าปกติ
MCH : 23.8 pg (ค่าปกติ 27-33 pg) แปลผล สูงกว่าปกติ
Urinalysis
WBC = 5-10 /HPF
แปลผล สูงกว่าปกติ
Leukocyte = trace
Ketone = trace
protein = trace
mucous = trace
Electrolyte
Na : 134 mmol/L (ค่าปกติ 136-146 mmol/L) แปลผล ต่ำกว่าปกติ
Cl : 100 mmol/L (ค่าปกติ 101-109 mmol/L) แปลผลต่ำกว่าปกติ
CO2 : 20.4 (21-31 mmol/L) แปลผลต่ำกว่าปกติ
eGFR
164.6 ml/min/1.73m2
(90-120 ml/min/1.73m2) แปลผล สูงกว่าปกติ
CXR ผล no Infiltration
ข้อมูลพื้นฐาน
ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 6 ปี 18 วัน
เชื้อชาติ ไทย อาชีพ ในความปกครอง
หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมสามัญ
วันที่รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล 04/05/64 เวลา 09:30 น.
วันที่รับผู้ป่วยไว้ในความดูแล 04/05/64 เวลา 12:30 น.
การวินิจฉัยโรค
Scarlet fever :
ไข้อีดำอีแดง
สาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus group A สามารถสร้างสารพิษที่เรียกว่า erythrogenic toxin ทําให้เกิดผื่นแดงตามตัว มักเกิดร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ
อาการและอาการแสดง : มีไข้สูง เจ็บคอ ทอนซิลมีหนองและบวมแดง หลังจากมีไข้ 1-2 วันจะเริ่มมีผื่นเม็ดเล็กสีแดง เริ่มที่ คอ หน้าอก และกระจายไปทั่วตัวในเวลา 2-3 วัน ผื่นจะสากเหมือนกระดาษทราย (sandpaper like) พบผื่นหนาแน่นบริเวณข้อพับ(Pastia’s lines) แก้มจะแดงแต่รอบปากจะขาวซีด (circumoral pallor) ช่วง 2-3 วันแรกลิ้นจะขาวแต่ tongue papillae จะแดงเรียกว่า white strawberry tongue ในวันที่ 4-5 ฝ้าขาวที่ลิ้นจะหายไป เห็นลิ้นแดงมาก และ tongue papillae เป็นตุ่มนูนแดงเรียกว่า red strawberry tongue หลังจากผื่นจางได้ 1 สัปดาห์ ผิวหนังจะเริ่มลอกเป็นแผ่นที่รักแร้ ขาหนีบ ปลายนิ้วมือและเท้า ส่วนลำตัวมักลอกเป็นขุยๆ
Acute Tonsillitis :
ทอมซิลอักเสบเฉียบพลัน
สาเหตุ : การติดเชื้อที่ต่อมทอนซิลเกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรียที่ผ่านเข้าทางปาก โดยต่อมทอนซิลจะช่วยป้องกันการติดเชื้อด้วยการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวออกมาต่อสู้กับเชื้อโรค และเนื่องจากเป็นภูมิคุ้มกันด่านแรก ต่อมทอนซิลจึงเป็นอวัยวะที่เสี่ยงต่อการอักเสบและติดเชื้อได้เช่นกัน ทั้งนี้สาเหตุส่วนใหญ่ของทอนซิลอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสมากกว่าแบคทีเรีย
อาการและอาการแสดง : ต่อมทอนซิลบวมและแดง
มีชั้นบางๆ หรือจุดสีขาวหรือสีเหลืองปกคลุมบนต่อมทอนซิล มีอาการเจ็บคอที่อาจรุนแรงและคงอยู่ยาวนานกว่า 48 ชั่วโมง กลืนลำบาก กลืนแล้วเจ็บ ต่อมน้ำเหลืองในคอโตและฟกช้ำ เสียงแหบหรือเสียงเปลี่ยน มีกลิ่นปาก มีไข้ ปวดท้อง คอแข็ง ปวดศีรษะ ปวดที่หู
นางสาวปภาวดี โภคาพานิชย์ รหัสนิสิต 62010066 กลุ่ม 02-12