Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา Duodenal ulcer perforation (โรคแผลที่ลำไส้ส่วนต้นทะลุ) -…
กรณีศึกษา
Duodenal ulcer perforation
(โรคแผลที่ลำไส้ส่วนต้นทะลุ)
ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย
การวินิจฉัยโรคเมื่อแรกรับ
Hollow viscus organ perforation (อวัยวะมีการทะลุ)
ผู้ป่วยเพศ ชาย อายุ 65 ปีศาสนา พุทธ อาชีพ พ่อบ้าน
การวินิจฉัยโรคครั้งสุดท้าย
Duodenal ulcer perforation (โรคแผลที่ลำไส้ส่วนต้นทะลุ)
การผ่าตัด + วันที่ผ่าตัด
Distal gastrectomy การผ่าตัดกระเพาะอาหารส่วนล่างออกอย่างน้อย 2 ใน 3 ส่วนของกระเพาะอาหารทั้งหมด วันที่ 13 ตุลาคม 2564
อาการสำคัญ
Refer มาจากโรงพยาบาลพรหมพิรามด้วยอาการ ปวดทั่วๆ
ท้อง
มีไข้ 8 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน
4 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล ขณะนอนอยู่ที่โรงพยาบาล BP Drop 83/67 mmHg , SPA 79% , RR 38 ได้รับ NSS 500 ml + Acetar 1000 ml lv load , on ET-Tube no.8 mark 20 จากนั้นจึง Refer มาโรงพยาบาลพุทธชินราช
DX. Hollow viscus organperforation (อวัยวะมีการทะลุ)
8 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล ขณะนอนอยู่มีอาการปวดทั่วๆท้อง มีไข้ ไปโรงพยาบาลพรหมพิราม
ประวัติเจ็บป่วยในอดีต
ปี 2557 Cerebrovascular accident (CVA) อัมพฤกษ์ อัมพาต ไม่ทราบประวัติการเจ็บป่วย
Hypertention (HT) โรคความดันโลหิตสูง ไม่ทราบประวัติการเจ็บป่วย
พยาธิสภาพของโรค
พยาธิสภาพของโรค
โดยปกติแล้วกระเพาะอาหารจะมีการสร้างฮอร์โมน COX ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยน arachidonic acid เป็น
โปรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ซึ่งมีหน้าที่ในควบคุม mucosal blood flow (การงอกของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้) โดยปัจจัยที่มีผลที่ทำให้การสร้าง COX ลดลง เช่น การรับประทานยากลุ่ม NSAIDs เช่น ยาแอสไพลิน ซึ่งจะไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมน COX ที่ทำให้การสร้าง postaglandลดลง และเมื่อ postagland ที่มีบทบาทในการช่วยปกป้องผนังกระเพาะอาหารลดลง บวกกับรับประทานยากลุ่ม NSAIDs ต่อไปเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการระคายเนื้อเยื่อบุผิว (epithelium) ในกระเพาะอาหารโดยตรง ทำอันตรายต่อชั้นเยื่อเมือก (mucosa) ผ่านการชักนำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ ทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กที่ชั้นเยื่อเมือกเสียหาย ทำให้กระเพาะและลำไส้เกิดแผล เมื่อเวลาผ่านไปทำให้แผลนั้นขยายใหญ่ขึ้นและเกิดเป็นรูรั่ว
พยาธิสภาพของกรณีศึกษา
โดยกรณีศึกษาประวัติการรับประทานยากลุ่ม NSAIDs เป็นประจำ คือ ยาแอสไพลิน ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเนื้อเยื่อบุผิวในกระเพาะอาหาร พร้อมกับอายุที่มาก ซึ่งมีผลที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูด Pyloric Sphincter หย่อนคล้อย ความยืดหยุ่นลดลงส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารไหลลงไปทำอันตรายลำไส้เล็กส่วนต้นของ Duodenum ทำให้เกิดแผล เมื่อเวลาผ่านไป ลำไส้เล็กที่ถูกกรดจากกระเพาะอาหารทำลายเนื้อเยื่อก็จะทำให้เกิดแผลและอาจกลายเป็นรูรั่วขึ้นได้ กระเพาะอาหารนั้น มีกล้ามเนื้อหูรูดตอนปลายสุดของกระเพาะอาหาร ซึ่งกล้ามเนื้อหนาและแข็งแรงมาก เรียกว่า Pyloric Sphincter ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้อาหารออกจากกระเพาะอาหารขณะย่อยอาหาร และกรดภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร และป้องกันกรดไหลไปที่ลำไส้เล็ก ซึ่งในผู้ป่วยเมื่อมีอายุมากขึ้นส่งผลให้เกิดการเสื่อมสภาพในการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อหูรูด ดังนั้นในขณะที่มีการหดรัดเกร็งของกระเพาะอาหาร อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหูรูดปิดไม่สนิท ทำให้มีกรดและน้ำย่อย ไหลออกจากกระเพาะอาหาร ไปกัดลำไส้และเกิดเป็นแผลในลำไส้ ส่งผลทำให้เกิดกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นมีการทะลุได้ในที่สุด
สาเหตุปัจจัย
ผู้ป่วยมี อายุ 65 ปี และมีการใช้ยา กลุ่ม NSAIDs เป็นประจำ
คือยา Aspirin และการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน ร่วมกับมีอาการกลืนลำบาก ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรค
การรักษา
ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด คือ Distal gastrectomy การผ่าตัดกระเพาะอาหารส่วนล่างออกอย่างน้อย 2 ใน 3 ส่วนของกระเพาะอาหารทั้งหมด (เป็นการผ่าตัดเอากระเพาะส่วน Antrum และ Aylorus ออก และนำลำไส้เล็กส่วน Duodenal ไปต่อกับกระเพาะส่วน Body ) Subtotal gastractomy with Gastroduodenostomy (Billoth 1) การผ่าตัดกระเพาะอาหาร ส่วนล่าง ออกบางส่วน และเย็บต่อเข้ากับลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum)