Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๑ ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับการวิจัย - Coggle Diagram
บทที่ ๑ ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
๑ ความหายของการวิจัย
พจนานุกรม
การสะสม การรวบรวมเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา
พจน์ สะเพียรชัย
การเสาะแสวงหาความรู้ความจริงเพื่อเสริมสร้างกฎเกณฑ์และทฤษฎี
ประคอง กรรณสูตร
ขบวนการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และข้อเท็จจริง
นิภา ศรีไพโรจน์
กระบวนการแสวงหาความรู้อย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ในขอบเขตที่กำหนด
บุญชม ศรีสะอาด
กระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่เชื่อถือได้ มีระบบแบบแผน มีจุดมุ่งหมายชัดเจน
บุญเรียง ขจรศิลป์
การค้นหาซ้ำแล้วซ้ำอีก กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อาศัยวิธีทางวิทยาศาสตร์
พวงรัตน์ ทวีรัตน์
การค้นคว้าหาความรู้ความจริงที่น่าเชื่อถือได้ วิธีการที่มีระบบแบบแผนที่เชื่อถือได้
เครือวัลย์ ลิ้มปิยะศรีสกุล
การแสวงหาหรือพิสูจน์ความเป็นจริงที่เป็นข้อเท็จจริง มีระเบียบแบบแผน ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์
กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ มีระบบระเบียบ มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน
นิภา ศรีไพโรจน์
จากการประชุมที่สหรัฐอเมริกา
R = การฝึกคนให้มีความรู้
E = ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา
S = เป็นศาสตร์ที่ต้องพิสูจน์เพื่อค้นหาความจริง
E = รู้จักการประเมินผลดูว่ามีประโยชน์สมควรจะทำต่อหรือไม่
A = มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอน
R = ยอมรับผลของการวิจัยนั้นอย่างดุษฎี
C = ต้องมีความอยากรู้อยากเห็น มีความสนใจ
H = ผลของการวิจัยจะก่อให้เกิดสันติสุขแก่สังคมนั่นเอง
Wiersma
กระบวนการแสวงหาความรู้ที่เป็นระบบ และดำเนินการตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
*วิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่และเพื่อนำความรู้นั้นไประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์
๒ จุดมุ่งหมายของการวิจัย
๑ เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่หรือเพื่อสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ทางวิทยาการมากยิ่งขึ้น
๒ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์
-ใช้สำหรับบรรยายสภาพของปัญหา ทำให้เข้าใจสิ่งเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น
-ใช้สำหรับพยากรณ์หรือทำนายเหตุการณ์ ทำให้สามารถเตรียมป้องกันรับสถานการณ์นั้น ๆ ได้
-ใช้สำหรับปรับปรุงและพัฒนาสภาพการ
-ใช้สำหรับควบคุมปัญหา ช่วยในการวางแผนได้อย่างรัดกุม
-ใช้สำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด ทำให้แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและหมดไป
๓ ประโยชน์ของการวิจัย
๑ ประโยชน์ต่อสังคม
ช่วยให้สังคมได้ความรู้ใหม่ ๆ เป็นความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ และช่วยให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในการบรรยายสภาพการ ควบคุมสถานการณ์ปัญหา แก้ปัญหา และพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ในสังคมให้ดียิ่งขึ้น
๒ ประโยชน์ต่อนักวิจัย
ช่วยให้นักวิจัยได้รับความรู้ใหม่ที่กว้างขวาง อันเป็นการเพิ่มพูนสติปัญญาของนักวิจัย ยังช่วยให้นักวิจัยมีคุณลักษณะประจำตัวที่ดี เช่น เป็นคนใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ
๔ พัฒนาการของวิธีการแสวงหาความรู้
๑ การแสวงหาความรู้อย่างไม่มีระบบแบบแผน
๑ การได้รับความรู้โดยบังเอิญ (By Chance)
เป็นการได้รับความรู้มาโดยไม่คาดคิดมาก่อน ส่วนใหญ่จะเกิดจากการประสบกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น การเห็นกิ่งไม้แห้งเสียดสีกันแรง ๆ แล้วเกิดลุกเป็นไฟ ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับการกำเนิดของไฟ
๒ การได้รับความรู้โดยการลองผิดลองถูก (Trial and Error)
เป็นการแสวงหาความรู้โดยการเดา ลองทำเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้คำตอบที่ตนพอใจ เช่น การลองผิดลองถูกในการปั้นหม้อ อาจจะมีการลองผสมดินสำหรับการปั้นด้วยการใช้วัสดุและสัดส่วนที่แตกต่างกันไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้วัสดุและสัดส่วนที่สวยทนทาน
๓ การได้รับความรู้จากผู้รู้ (Authority)
ผู้รู้ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ มีสติปัญญาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ผู้รู้อาจจะเป็นบุคคล เช่น พระหรือนักบวช อยู่ในรูปของการบันทึกเป็นตัวหนังสือหรือเป็นภาพวาด เช่น ศิลาจารึก เอกสารใบลาน
๔ การได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญหรือนักปราชญ์ (Expert or Wiseman)
ผู้เชี่ยวชาญหรือนักปราชญ์ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้กว้างขวางและลึกซึ้ง เช่น อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณ ความรู้หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ถือเป็นความรู้ที่น่าเชื่อถือ
๕ การได้รับความรู้จากประเพณีและวัฒนธรรม (Tradition and Culture)
ประเพณีและวัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่สังคมหนึ่ง ๆ ยอมรับเชื่อถือและปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมาเป็นเวลาช้านาน เช่น การทำตามประเพณีของเผ่า การไหว้เจ้าป่าเจ้าเขา ส่วนวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรมภาษา
๖ การได้รับความรู้จากประสบการณ์ของตนเอง (Personal Experience)
มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าของตนเองในการหาความรู้และประสบการณ์ มีการสรุปเป็นความรู้เฉพาะตัว เช่น ฝรั่งเห็นว่าอาหารไทยประเภทแกงมีรสจัดและเผ็ด แต่คนไทยเห็นว่าไม่เผ็ด
๒ การแสวงหาความรู้ด้วยระบบเหตุผล
๑ วิธีอนุมาน หรือนิรนัย
ใช้เหตุผลซึ่งประกอบด้วยกฎเกณฑ์และข้อความ การที่จะได้ความรู้ใหม่มานั้นควรจะเริ่มจากการนำความรู้เดิมมาอ้างเป็นหลัก จากนั้นค่อยพยายามคิดหาเหตุผลเพื่ออธิบายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง แล้วจึงสรุปผลจากความสัมพันธ์ของสถานการณ์เป็นความรู้ใหม่ เช่น การตีความพิจารณาคดีในศาล
๒ วิธีอุปมาน หรืออุปนัย
การคิดด้วยวิธีอุปมานมีความแตกต่างและตรงข้ามกับวิธีอนุมาน ซึ่งเป็นการหาความรู้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อเท็จจริงย่อย ๆ ก่อน จากนั้นจึงนำมาพิจารณาวิเคราะห์และสังเคราะห์ แล้วจึงสรุปเป็นข้อเท็จจริงใหญ่ต่อไป วิธีการนี้เป็นการพิจารณาจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่
๓ วิธีอนุมาน-อุปมาน
ความรู้ทั้งวิธีอนุมานและอุปมานร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการช่วยลดข้อบกพร่องในการใช้เฉพาะ และยังจะทำให้ได้ความรู้ใหม่ที่มีความเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้นด้วย
๓ การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
๑ ขั้นระบุปัญหา
เป็นการตระหนักว่ามีปัญหา และมีความต้องการที่จะแก้ปัญหา
๒ ขั้นตั้งสมมุติฐาน
เป็นการเดาหรือคาดหมายคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้า
๓ ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์
๔ ขั้นวิเคราะห์และตีความ
เป็นการแยกแยะและแปลผลข้อมูล
๕ ขั้นสรุปผล
เป็นการสรุปผลที่ได้ เป็นความรู้หรือความจริงที่เชื่อถือได้ เพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป
๕ คุณสมบัติของนักวิจัย
๑ ด้านความรู้หรือพุทธิพิสัย (C : Cognitive)
๑ มีความรู้ในเรื่องการทำวิจัย
๒ มีความรู้ในเรื่องหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการวิจัย
๓ มีความรู้ในระเบียบวิธีวิจัย เช่น ขั้นตอน การตั้งจุดมุ่งหมาย การตั้งสมมุติฐาน เป็นต้น
๒ ด้านความสามารถหรือทักษะพิสัย (P : Psychomotor)
มีความสามารถในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจับ หรือเทคนิค เช่น มีความสามารถในการเลือกปัญหา ในการตั้งจุดมุ่งหมาย การตั้งสมมุติฐาน เป็นต้น
๓ ด้านเจตคติหรือจิตพิสัย (A : Affective)
ด้านความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ และคุณลักษณะประจำตัวที่ควรมีอยู่ในตัวของนักวิจัย เช่น มีเจตคติในเชิงวิทยาศาสตร์ มีเจตคติที่ดีต่อการวิจัย รู้จักตนเอง เป็นต้น
๖ จรรยาบรรณของนักวิจัย
๑ การมีความเชื่อในหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific Faith) เชื่อในหลักของเหตุผล การสามารถพิสูจน์ได้
๒ การมีความซื่อสัตย์
๑ ซื่อสัตย์ต่อตัวเลขข้อมูล ไม่ยกเมฆ ไม่แต่งข้อมูล
๒ ซื่อสัตย์ในการวิเคราะห์ ตีความ และการสรุปผลข้อมูล ไม่มีอคติหรือความลำเอียง
๓ ซื่อสัตย์เชิงวิชาการ ใช้ความรู้ทางวิชาการไปในทางที่ถูกต้อง
๓ การมีจิตสำนึก
๔ การมีจิตสำนึกในความปลอดภัยของการวิจัยและผลการวิจัย
๕ การยอมรับในสิทธิส่วนบุคคลของผู้ให้ข้อมูล และการมีความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการวิจัยและผลงานวิจัยของตน
๗ ประเภทของการวิจัย
๑ การจำแนกประเภทตามลักษณะของข้อมูล
๑ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือการวิจัยเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Research)
เป็นการแสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงเพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อมนั้น วิธีการนี้จะสนใจข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด ความหมาย ค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคลนอกเหนือไปจากข้อมูลเชิงปริมาณ
๒ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
แสดงผลการวิจัยเป็นตัวเลขและค่าสถิติต่าง ๆ ฉะนั้นในการวิจัยเชิปริมาณถ้าต้องรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตหรือสัมภาษณ์แล้ว จะต้องสังเกตหรือสัมภาษณ์ให้ได้ผลเชิงปริมาณ
๓ การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ
๑ ความแตกต่างในลักษณะข้อมูล ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะเฉพาะ เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับโลกทัศน์ ความรู้สึกนึกคิด ข้อมูลที่แจงนับได้หรือเป็นสถิติต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ
๒ ความแตกต่างของวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งไปที่ความเข้าใจความหมาย ไม่ใช่การหาความถูกต้องของสิ่งที่ปรากฏอยู่หรือรูปธรรมดังเช่นวิธีการเชิงปริมาณ
๓ ความแตกต่างในการเก็บข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูลของวิจัยเชิงคุณภาพคือ การให้ผู้วิจัยออกไปสัมผัสข้อมูลด้วยตัวเอง วิธีการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นวิธีการที่กินเวลานาน การวิจัยเชิงคุณภาพจึงไม่สามารถทำได้ในเวลาอันรวดเร็ว
๔ ความแตกต่างในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพไม่จำเป็นต้องอาศัยคณิตศาสตร์หรือสถิติชั้นสูง นอกจากนั้นนักวิจัยเชิงคุณภาพยังมีวิธีตรวจสอบความแม่นตรงและความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลเช่นกัน
๒ การจำแนกประเภทตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย
๑ การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Basic Research or Pure Research)
เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการแสวงหาความจริงหรือความรู้ใหม่ๆ เพื่อสนองความอยากรู้ เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาการ
๒ การวิจัยประยุกต์ (Applied Research)
เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการนำผลของการวิจัยไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปแก้ปัญหา นำไปประกอบการตัดสินใจ นำไปใช้เพื่อช่วยให้ดำรงชีวิตดีขึ้น
๓ การจำแนกประเภทตามระเบียบวิธีวิจัย
๑ การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research)
๑ เป็นการวิจัยที่พยายามอธิบายเหตุการณ์ในอดีต เพื่อประโยชน์ในการอธิบายเหตุการณ์ในปัจจุบัน และทำนายเหตุการณ์ในอนาคต
๒ ใช้เอกสารและห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล
๓ มีการวิเคราะห์พิจารณาความเชื่อถือได้ของหลักฐานหรือข้อมูลที่ได้มา
เป็นต้น
๒ การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณนา (Descriptive Research)
๑ การศึกษาสำรวจ เป็นการศึกษาถึงลักษณะความเป็นจริงตามสภาพในเรื่องต่าง ๆ เช่น การสำรวจโรงเรียน การสำรวจชุมชน
๒ การศึกษาสัมพันธภาพ เป็นการศึกษาที่สนใจ ทำให้เราเข้าใจเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
๓ การศึกษาพัฒนาการ เป็นการวิจัยเชิงบรรยายที่เน้นความเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการที่เกิดขึ้น
๓ การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)
เช่น เปลี่ยนแปลงปริมาณแสงสว่างบนโต๊ะอ่านหนังสือ เพื่อศึกษาว่าจะมีผลต่อพฤติกรรมการอ่านอย่างไร
๑ การวิจัยเชิงทดลองแท้ เป็นการวิจัยที่สามารถควบคุมตัวแปรได้ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด การวิจัยเชิงทดลองทางวิทยาศาสตร์ในห้องทดลอง
๒ การวิจัยกึ่งทดลอง เป็นการวิจัยที่ไม่สามารถควบคุมตัวแปรได้ทั้งหมด การสุ่มกล่มตัวอย่าง จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงกึ่งทดลองก็คือ พยายามจะตอบสมมุติฐานเกี่ยวกับเหตุและผล
๘ ขั้นตอนของการวิจัย
๑ การเลือกและกำหนดปัญหา (Identifying the Problem)
เป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยต้องระบุลงไปอย่างชัดเจนว่า ตนจะทำการศึกษาวิจัยเรื่องอะไร คำตอบคืออะไร เช่น จะต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีการระบุตัวแปร เป็นต้น
๒ การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Reviewing Information)
เป็นขั้นตอนของการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ ช่วยให้มองเห็นแนวทางในการทำวิจัยของตน
๓ การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)
ขั้นตอนของการลงมือทำการวิจัยตามกิจกรรมและตามขั้นตอนที่ได้กำหนดเป็นแนวทางไว้ในเค้าโครงการวิจัย เช่น ถ้าเป็นการทดลอง ขั้นตอนนี้ก็คือผู้วิจัยลงมือทดลองและวัดผลของกรทดลอง
๔ การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data)
เป็นขั้นตอนของกิจกรรมหลายอย่าง นำข้อมูลมาจัดเป็นระบบระเบียบ แปลงข้อมูลเป็นตัวเลข
๕ การสรุปผลการวิจัย (Drawing Conclusion)
เป็นขั้นตอนของการลงสรุปผลที่ได้จากการวิจัยว่าคืออะไร ผู้วิจัยได้ความรู้อะไรใหม่บ้าง