Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ลักษณะพฤติกรรมที่เป็นปัญหา - Coggle Diagram
ลักษณะพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
ความหมายของการสังเกต
วิธีการศึกษาบุคคลด้วยการมองและการเฝ้าดู พฤติกรรมที่แสดงออกมาในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ในสถานการณ์ปกติ หรือสถานการณ์ที่กำหนดขึ้นโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมนั้น ๆ
วิธีการสังเกตพฤติกรรมเด็ก
ควรสังเกตเด็กเป็นรายบุคคลและเป็นคณะโดยสม่ำเสมอ
ควรสังเกตเด็กเป็นรายบุคคลทุกครั้งที่จัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก
ควรมีแบบบันทึกการสังเกต
ควรบันทึกข้อบกพร่อง ข้อดีและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข
ควรศึกษาสาเหตุและอาการที่เด็กมีพฤติกรรมที่มีปัญหา
ควรมีแนวในการสังเกตอาการซึ่งเป็นเครื่องชี้ถึงความบกพร่องต่างๆ
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กปฐมวัย
เด็กมีปัญหาการขับถ่าย
สาเหตุ
ในบางรายถูกฝึกการขับถ่ายเคร่งครัดมากเกินไป หรืออาจได้รับการลงโทษขณะฝึกการขับถ่าย
พ่อแม่ไม่ได้ฝึกหัดนิสัยในการขับถ่าย
วิธีแก้ไข
ไม่ควรบังคับให้เด็กขับถ่ายถ้าเด็กยังไม่พร้อม
หาสถานที่และกำหนดเวลาขับถ่ายให้แน่นอน
ขจัดสิ่งล่อใจต่าง ๆ ขณะฝึกการขับถ่าย เช่น ไม่ให้มีเด็กอื่น หรือมีของเล่นอื่นมาล่อจะทำให้เด็กหันเหความสนใจจนลืมถ่าย
ไม่เร่งเด็กให้รีบขับถ่ายเพราะเด็กอาจโกรธ และขัดขืนไม่ยอมขับถ่าย
ควรชมหรือให้รางวัลเด็ก เมื่อเด็กสามารถฝึกขับถ่ายจนเป็นนิสัย
ปัสสาวะรดที่นอน
สาเหตุ
ขาดอาหาร ทำให้กล้ามเนื้อขาดความสมบูรณ์
เป็นโรคประสาทอ่อน ๆ ทำให้ผิดปกติทางอารมณ์
เหน็ดเหนื่อยมากเกินไป
เกิดจากการเจ็บป่วย
เป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากมีโลหิตแดงลดจำนวนลง
เป็นโรคปัสสาวะกะปริดกะปรอย เนื่องจากมีกรดในกระเพาะปัสสาวะมาก
วิธีแก้ไข
ไม่ใช้วาจาข่มขู่หรือทำโทษเด็กจนทำให้เด็กเกิดความตกใจกลัวหรือมีความคับข้องใจ
เลี้ยงดูเด็กด้วยความรักสม่ำเสมอต่อเด็ก ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการตามวัย
หัดนิสัยการขับถ่ายที่ถูกต้อง ไม่สร้างความกลัวจนเด็กไม่กล้าไปห้องส้วม
ชี้แจงให้เด็กเข้าใจว่า เขามีหน้าที่รับผิดชอบที่จะไม่ทำให้ที่นอนเปียก
เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน
สาเหตุ
ไม่พร้อมที่จะเรียนทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ติดบ้าน ติดคนเลี้ยง
ปรับตัวเข้ากับสถานที่ใหม่ได้ยาก
มีโรคประจำตัว
พ่อแม่เข้มงวดเรื่องเรียนกับเด็กมากเกินไป
พ่อแม่ให้เด็กทำงานบ้านมากเกินไป
วิธีแก้ไข
พ่อแม่ชี้แจงความสำคัญของโรงเรียนให้เด็กเข้าใจ
ควรให้เด็กเข้าโรงเรียนเมื่อเด็กพร้อมโดยปกติควรให้เด็กเข้าโรงเรียนเมื่ออายุประมาณ 3 ปี
พ่อแม่ควรเข้าเยี่ยมชม หรือศึกษาวิธีดำเนินการในสถานศึกษานั้น ๆ
เล่าสภาพน่าอยู่ของโรงเรียนให้เด็กฟัง ด้วยความชื่นชมบ่อย ๆ
ฝึกให้เด็กรู้จักช่วยตัวเองบ้างก่อนไปโรงเรียน
การแก้ไขพฤติกรรมความต้องการของเด็กแต่ละคน
ทางด้านร่างกาย ควรตั้งคำถามว่า
สุขภาพทั่ว ๆ ไปของเด็กดีไหม
เด็กอ่อนเพลีย หรือเหนื่อยง่ายไหม
เด็กสามารถร่วมในกิจกรรมที่ครูจัดทุกอย่างไหม
ร่างกายผิดปกติส่วนไหนหรือเปล่า
เด็กมีอาการซึมเนื่องจากการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือไม่
เด็กเลือกรับประทานอาหารหรือไม่
ทางด้านสติปัญญา ควรตั้งคำถามว่า
เด็กเคยเข้าโรงเรียนประเภทนี้มาจากที่อื่นหรือไม่
เด็กพูดได้ชัดเจนคล่องแคล่วดีไหม
เด็กสามารถเข้าใจคำพูดที่ผู้อื่นพูดด้วยดีไหม
เด็กสามารถแสดงออกทางด้านริเริ่มสร้างสรรค์ไหม
เด็กสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองไหม
เด็กช่างคิดค้น มีเหตุผลของตนเองไหม
เด็กช่างชัก ช่างถาม แสดงความอยากรู้อยากเห็นหรือไม่
ทางด้านอารมณ์ ควรตั้งคำถามว่า
เด็กเป็นคนง่าย ๆ ไหม เปิดเผยหรือไม่
เด็กเป็นคนขี้แย ร้องไห้เก่งหรือไม่
เด็กเป็นขี้ตื่นตกใจง่ายหรือไม่
เด็กเป็นคนดื้อ ไม่ยอมเชื่อฟังใครหรือไม่
เด็กเป็นคนอยู่ไม่สุข ซุกซนหรือไม่
เด็กเป็นซึมเศร้า เงียบเหงาหรือไม่
ทางความถนัด ควรตั้งคำถามว่า
เด็กถนัดมือซ้ายใช่ไหม
เด็กชอบฟังนิทานไหม
เด็กชอบร้องเพลงไหม
เด็กชอบวาดภาพระบายสีไหม ชอบวาดภาพอะไร
เด็กชอบรำหรือเต้นตามจังหวะไหม
เด็กชอบเล่นเกมอะไร
เด็กชอบเล่นเป็นสมมุติอะไร
ประโยชน์ของการสังเกตพฤติกรรมเด็ก
ได้ศึกษาเกี่ยวกับเด็กในสภาพที่การประทำของเด็กเป็นไปตามธรรมชาติมากกว่าเสแสร้ง
การสังเกตเป็นวิธีสามารถนำไปใช้กับเด็กทุกสภาพการณ์
วิธีสังเกตไม่ต้องใช้เครื่องมือใด ๆ ประกอบมากจนเกินไป
ครูปฐมวัยสามารถเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเด็กได้
การสังเกตมีส่วนช่วยกระตุ้นความสนใจของครูปฐมวัยเกี่ยวกับความประพฤติของเด็ก
วิธีสังเกตช่วยให้ได้ข้อมูลบางประการซึ่งสามารถจะหาได้โดยวิธีอื่น ๆ